นริศร ทองธิราช
นริศร ทองธิราช | |
---|---|
![]() | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 3 | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 (59 ปี) |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | สุลักษณ์ ทองธิราช |
นายนริศร ทองธิราช (เกิด 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 3 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคชาติไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย อดีต สจ.สกลนคร, อดีตประธานสภา สจ.สกลนคร, อดีต สว.สกลนคร, อดีตสส.สกลนคร 2 สมัย
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
ดร.นริศร ทองธิราช เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 เป็นบุตรของนายนิยุต และนางหนูไสย ทองธิราช เป็นหลานชายโดยสายเลือดของหลวงศรีสุราษฎร์ ทองธิราช สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก สาขารัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท MBA จากประเทศอเมริกา ปริญาเอกจากประเทศอินเดีย สมรสกับนางสุลักษณ์ (อดีต ส.อบจ.เขตอำเภอพรรณานิคม[1]) มีบุตร 3 คน
งานการเมือง[แก้]
อดีตเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ตามลำดับ
พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก ในสังกัดพรรคชาติไทย โดยเอาชนะนายเฉลิมชาติ การุญ จากพรรคความหวังใหม่ แต่ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 นายนริศรพ่ายให้กับนายเฉลิมชาติ ซึ่งย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย
ต่อมา พ.ศ. 2549 นายนริศรลงสมัคร และได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสกลนคร หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นายนริศรลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง สังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 5 ของเขต (มี ส.ส.ได้ 3 คน) หลังจากนั้นนายนริศรจึงไปดำรงตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร
พ.ศ. 2554 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง สังกัดพรรคเพื่อไทย ซึ่งในปี พ.ศ. 2556 เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กดบัตรแสดงตนอิเล็กทรอนิกส์แทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนอื่น ในการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติให้ดำเนินคดีอาญาต่อเขา เนื่องจากไม่ตรวจทานร่างรัฐธรรมนูญ [2]
ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติถอดถอนเขาออกจากตำแหน่งส่งผลให้เขา ถูกห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการ เป็นเวลา 5 ปี [3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
นริศร ทองธิราช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2544 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2545 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2547 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2554 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ การเมืองของส.อบจ.เขต3สกลนคร มีสามีหนุนหลัง-ให้กำลังใจตลอด
- ↑ http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9590000090423
- ↑ http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9590000110349
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๒๔ ข, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- นายนริศร ทองธิราช, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายนริศร ทองธิราช, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายนริศร ทองธิราช), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2503
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดสกลนคร
- นักการเมืองไทย
- พรรคชาติไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
- พรรคเพื่อไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสกลนคร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง