เจิมมาศ จึงเลิศศิริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจิมมาศ จึงเลิศศิริ
ม.ว.ม., ป.ช.
ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 5 เมษายน พ.ศ. 2565
นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2565
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ก่อนหน้า ศิริ หวังบุญเกิด
ถัดไป ยุบเขต
เขตเลือกตั้ง เขตพระนคร และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ก่อนหน้า กฤษฎา สัจจกุล
ประจวบ อึ๊งภากรณ์
หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล
ถัดไป ตัวเธอเอง
อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์
ลีลาวดี วัชโรบล
เขตเลือกตั้ง เขตดุสิต, เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตปทุมวัน และเขตราชเทวี
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้า หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล
อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์
ตัวเธอเอง
ถัดไป กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ
เขตเลือกตั้ง เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตสัมพันธวงศ์
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 25 เมษายน พ.ศ. 2545
ดำรงตำแหน่ง
16 มิถุนายน พ.ศ. 2545 – 6 มีนาคม พ.ศ. 2548
ก่อนหน้า ศิริ หวังบุญเกิด
ถัดไป เอก จึงเลิศศิริ
เขตเลือกตั้ง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 (63 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรค ประชาธิปัตย์
คู่สมรส เอก จึงเลิศศิริ

เจิมมาศ จึงเลิศศิริ เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ประจำคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช)[1] กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[2] อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตที่ 1 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 3 สมัย และอดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย

ประวัติ[แก้]

นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน ที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจาก โรงเรียนคริสต์ธรรมวิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจาก โรงเรียนสีตบุตรบำรุง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอัสสัมชัญพณิชยการ (ACC) ระดับปริญญาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ชีวิตส่วนตัว สมรสกับนายเอก จึงเลิศศิริ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

การเมือง[แก้]

นางเจิมมาศ เริ่มเข้าสู่วงการการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และชนะการเลือกตั้งติดต่อกัน 2 สมัย ต่อมาในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 นางเจิมมาศจึงได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขตเลือกตั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย เขตพระนคร - เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สังกัด พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสามารถเอาชนะ นายศิริ หวังบุญเกิด เจ้าของพื้นที่เดิมจากพรรคไทยรักไทย และเป็น 1 ใน 4 ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 นางเจิมมาศ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยลงประกบคู่กับ หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล และนางสาวอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ ซึ่งได้รับเลือกตั้งไปหมดทั้ง 3 คน ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554 นางเจิมมาศได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อีกครั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร - เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย - เขตสัมพันธวงศ์) ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 นางเจิมมาศ สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร เขตพระนคร - เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย - เขตสัมพันธวงศ์ และ เขตดุสิต ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่แพ้การเลือกตั้งเป็นครั้งแรก จากนั้นจึงเข้าดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ประจำคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ต่อมาได้ลงรับสมัครในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 แต่มิได้รับการเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2562
  2. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]