เบญจา แสงจันทร์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เบญจา แสงจันทร์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (5 ปี 136 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2523 (44 ปี) จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อนาคตใหม่ (2561–2563) ก้าวไกล (2563–2567) คณะก้าวหน้า (2567–ปัจจุบัน) |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนชลราษฎรอำรุง มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
อาชีพ | นักธุรกิจ นักการเมือง |
เบญจา แสงจันทร์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล 2 สมัย และอดีตกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล
ประวัติ
[แก้]เบญจา แสงจันทร์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนชลราษฎรอำรุง ต่อมาได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง[1]
เบญจามีความสนใจเกี่ยวกับกระดานสนทนา (เว็บบอร์ด) เช่น พันทิป.คอม ห้องราชดำเนิน, เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, และประชาไท ซึ่งประเด็นในการสนทนาค่อนข้างเปิดกว้าง และมีความเสรีทั้งในเชิงสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เบญจาเริ่มมีความสนใจในด้านการเมืองยิ่งขึ้น เริ่มตามอ่านงานวิชาการต่างๆ ของนักวิชาการ อาทิ นิธิ เอียวศรีวงศ์, เกษียร เตชะพีระ, และ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ธุรกิจ
[แก้]ในช่วงปี พ.ศ. 2551 จนถึง พ.ศ. 2553 เบญจาประกอบอาชีพที่ปรึกษาโครงการผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ต่อมาเบญจาหันมาประกอบอาชีพที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ เป็นเวลา 3 ปี จากนั้นจึงผันตัวมาเป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการบริษัท บิลเลี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด
ภายหลังจากที่เบญจาตัดสินใจทำงานการเมือง เธอจึงลาออกจากทุกตำแหน่งในบริษัททันที
งานการเมือง
[แก้]เดิมเบญจาไม่ได้สนใจในการลงเลือกตั้ง เพราะเธอเดิมทำธุรกิจอยู่ ทว่า ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เธออย่างมาก ด้วยคำพูดที่ว่า "ถ้าคุณอยากจะเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยในช่วงยุคสมัยที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปนี้ มันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าคุณไม่ลงมือทำมันด้วยตัวคุณเอง" ทำให้เธอตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 40 สังกัดพรรคอนาคตใหม่ ต่อมาพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ จึงย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกล และเบญจาได้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค
เบญจามีบทบาทที่โดดเด่น จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เรื่องกลุ่มทุนพลังงานผูกขาด[2] จนทำให้เธอถูกบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายต่อเธอ จำนวน 100 ล้านบาท[3] และการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2565 ในประเด็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ และแผนบูรณาการใหม่ 3.3 หมื่นล้าน ตั้งแต่โครงการในพระราชดำริ, โครงการเทิดพระเกียรติ, ซุ้มเฉลิมพระเกียรติ, การจัดงานวันเฉลิมพระชนมพรรษา, พร้อมกับปิดท้ายด้วยการยืนยันว่างบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ต้องตรวจสอบได้ และหน่วยรับงบอย่างส่วนราชการในพระองค์ ก็ควรต้องเข้ามาชี้แจงกับกรรมาธิการงบประมาณเพื่อให้เกิดความโปร่งใส[4]
และในการเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เบญจาได้ลงสมัครแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 14 และได้รับเลือกตั้ง เบญจายังได้ดำรงตำแหน่งประธานของคณะทำงานพิเศษป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางเพศของพรรคก้าวไกล ซึ่งมีความสำคัญในการขับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคที่มีคดีล่วงละเมิดทางเพศรวมทั้งสิ้น 2 คน ออกจากพรรค[5]
วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคก้าวไกลซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2567[6] ต่อมาเบญจาได้ไปทำงานในคณะก้าวหน้า
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]เบญจา แสงจันทร์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ → พรรคก้าวไกล
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Writer, Best (2023-11-07). "ประวัติ เบญจา แสงจันทร์ กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล". Thaiger ข่าวไทย.
- ↑ ""เบญจา" จวกรัฐบาลเอื้อทุนพลังงาน ประชาชนใช้ไฟฟ้าแพง". Thai PBS.
- ↑ Ltd.Thailand, VOICE TV (2023-06-08). "เปิด 7 คดี 'กัลฟ์' ฟ้องหมิ่น เรียก 100 ล้าน ปมวิจารณ์ค่าไฟแพง-ผูกขาดพลังงาน". VoiceTV.
- ↑ "จากทุนผูกขาดถึงงบสถาบันฯ ภาษีประชาชนต้องตรวจสอบได้ทุกบาท 'เบญจา แสงจันทร์'" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-06-16.
- ↑ "มติ "ก้าวไกล" ขับ "ส.ส.ปราจีนฯ" พ้นพรรค ส่วน "ส.ส.ฝั่งธน" คาดโทษ-ตัดสิทธิตำแหน่งในพรรค". mgronline.com. 2023-11-01.
- ↑ "มติ ศาลรัฐธรรมนูญ ยุบ "ก้าวไกล" เพิกถอนสิทธิการเมือง กก.บห.พรรค 10 ปี". Thai PBS.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔