อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
พรรคการเมือง | พลังธรรม (2531–2538) นำไทย (2538–2540) |
คู่สมรส | วรลักษณ์ ชุมสาย ณ อยุธยา |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยลอนดอน(Ph.D.) |
อาชีพ | วิศวกร |
อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา (เกิด 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483) เป็นวิศวกรชาวไทย ผู้เคยเป็นลูกทีมจำลองแบบชิ้นส่วนระบบลงจอดของงานอวกาศในบริษัทคู่สัญญาของมาร์ติน มาเรียทต้า (ปัจจุบันได้ควบรวมกิจการกลายเป็นบริษัทล็อกฮีด มาร์ติน) ซึ่งเป็นผู้สร้างยานอวกาศไวกิ้งให้กับองค์การนาซาของสหรัฐอเมริกาเพื่อนำไปใช้ในภารกิจสำรวจดาวอังคาร[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนสัตยาไส ที่ดำเนินการตามแนวทางความเชื่อของตนเอง
ประวัติ
[แก้]อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา มีชื่อเล่นว่า "เอ๊ะ" เกิดที่วชิรพยาบาล เป็นบุตรคนที่สองของหม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย กับเฉลิมขวัญ ชุมสาย ณ อยุธยา (ธิดาของพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย)) [2][3] มีพี่น้องร่วมบิดามารดา คือ
- สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา
- สุชาดา สถิตพิทยายุทธ์
- จินดารัตน์ ชุมสาย ณ อยุธยา [2][3]
เมื่อแรกเกิด อาจอง มีชื่อว่า องอาจ เป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว)[2][3] ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อาจอง ศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จนจบชั้น ประถม 4 แล้วย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นเวลา 6 เดือน ต่อมาย้ายตามบิดาไปอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ศึกษาที่ Lycée Janson de Sailly จนอายุ 12 ปี ได้ย้ายไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ ที่ Enfield Grammar School และ Haileybury and Imperial Service College
อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่วิทยาลัยทรินิตี มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ระหว่างศึกษา เริ่มมีความสนใจในพระพุทธศาสนาและเริ่มฝึกหัดการนั่งสมาธิ[4] อาจองจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมเครื่องกล ศึกษาต่อปริญญาเอกด้านวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัยลอนดอน จนจบปริญญาเอกในปี พ.ศ. 2509 [5]โดยมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับคลื่นไมโครเวฟแล้วจึงเดินทางกลับประเทศไทย เป็นอาจารย์สอนที่ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึงปี พ.ศ. 2516 จึงลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว
หลังจากนั้นได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกา ทำงานเป็นวิศวกรในบริษัทรับเหมาช่วง ของบริษัทมาร์ติน มาริเอทต้า (ปัจจุบัน คือ ล็อกฮีด มาร์ติน) ซึ่งเป็นคู่สัญญาหลักกับนาซาในการสร้างยานไวกิงสำหรับสำรวจดาวอังคาร โดยอาจองได้เล่าว่าได้รับมอบหมายให้เขียนโปรแกรมจำลองการลงจอดบนดาวอังคารจากบริษัท และได้ค้นพบวิธีการแก้ปัญหาจากผลของการนั่งสมาธิบนยอดเขา หลังจากส่งงานให้บริษัทแล้ว อาจองได้ลาออกจากบริษัททันทีและเดินทางกลับประเทศไทย โดยไม่ทราบว่าผลงานจากแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของตนเองได้ถูกนำไปใช้งานต่อหรือไม่ เนื่องจากไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างระบบลงจอดดาวอังคารที่ใช้งานจริงในยานไวกิ้งซึ่งสร้างโดยบริษัทมาร์ติน มาเรียทต้า [2][3] หลังจากยานไวกิ้ง ทำภารกิจลงจอดบนดาวอังคารเป็นผลสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2519 อาจองได้ให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการออกแบบระบบลงจอดของยานไวกิ้ง และได้กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์คนหนึ่งของประเทศไทย โดยยังไม่มีข้อมูลจริงยืนยัน
ปี พ.ศ. 2558 ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท บริษัท ล่ำสูง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) [6]
งานการเมือง
[แก้]อาจองเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม สมัยที่พลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นหัวหน้าพรรค เคยร่วมงานกับพรรคนำไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรค[7] และ เคยตั้งพรรคการเมืองขนาดเล็กของตัวเองแต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จนกระทั่งการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2549 ได้รับเลือกตั้ง แต่ยังไม่ทันได้ประกาศรับรองอย่างเป็นทางการก็เกิดรัฐประหารเสียก่อน
โรงเรียนสัตยาไส
[แก้]อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา มีศรัทธาต่อแนวทางปฏิบัติของสัตยา ไส บาบา เป็นผู้ก่อตั้งและอำนวยการโรงเรียนสัตยาไสในประเทศไทย ซึ่งมีเครือข่ายใน 35 ประเทศ เน้นเรื่องคุณธรรมและการปฏิบัติธรรมตามแบบของสัตยา ไส บาบา[8] โรงเรียนสัตยาไสเป็นโรงเรียนเอกชน ไม่คิดค่าเล่าเรียน แต่มีค่าใช้จ่ายเทอมละ 10,000 บาท[9]
ผลงานภาพยนตร์
[แก้]อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา แสดงภาพยนตร์ไทยสองเรื่อง คือ ข้างหลังภาพ (ภาพยนตร์ปี พ.ศ. 2544) แสดงเป็น เจ้าคุณอธิการบดี และ มายเบสท์บอดี้การ์ด แสดงเป็น ผู้พันนที
การเตือนภัยพิบัติ
[แก้]อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา มักปรากฏชื่อในสื่อในการเตือนภัยพิบัติ เช่น การเตือนภัยภัยพิบัติแผ่นดินไหวจากพายุสุริยะ และจะทำให้เกิดสึนามิเข้าประเทศไทยในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 - เดือนมกราคม พ.ศ. 2556[10] วิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติอาจทำได้ด้วยการจูนจิต ทำสมาธิ[11] ซึ่งขัดกับข้อมูลของนาซาทั้งเวลาที่เกิดซึ่งจะอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2557 และข้อบ่งชี้ขนาดผลกระทบของพายุสุริยะที่จะเกิดต่อโลกได้[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "คนเก่งไทยในนาซ่า (ดร.อาจอง ชุมสาย)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-27. สืบค้นเมื่อ 2012-02-25.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 สานุพันธ์ ตันติศิริวัฒน์. อัจฉริยะบนทางสีขาว ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ฟรีมายด์, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2548. หน้า หน้าที่. ISBN 974-93482-8-1
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 สานุพันธ์ ตันติศิริวัฒน์. อัจฉริยะบนทางสีขาว ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ฟรีมายด์, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2548. หน้า หน้าที่. ISBN 974-93482-8-1
- ↑ "บทสัมภาษณ์ ใช้สมาธิช่วยองค์การนาซ่าสำรวจอวกาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2006-07-21.
- ↑ "ปริญญาเอกด้านวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัยลอนดอน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-10. สืบค้นเมื่อ 2018-07-27.
- ↑ "บริษัท ล่ำสูง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-12-15.
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคนำไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 56ง วันที่ 13 กรกฎาคม 2538
- ↑ ประวัติโรงเรียนสัตยาไส เว็บไซต์ โรงเรียนสัตยาไส
- ↑ หมวดหมู่ โรงเรียน, โรงเรียน สัตยาไส เว็บไซต์ เยลโล่เพจเจส
- ↑ "ดร.อาจอง เตือนภัย "สึนามิ" อ่าวไทย ครั้งแรกปลายปี". 2012-09-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-28. สืบค้นเมื่อ 2012-12-24.
ในช่วงเดือนธันวาคม ถึงมกราคม จะครบรอบ 11 ปีของการเกิดพายุสุริยะ ซึ่งพบสัญญาณเมื่อเดือนมีนาคม และมิถุนายนไปแล้ว หากเกิดพายุสุริยะจริง จะส่งผลการเกิดแผ่นดินไหวอย่างหนัก และอาจเกิดสึนามิในบริเวณอ่าวไทยเป็นครั้งแรก เนื่องจากมีรอยเลื่อนแผ่นดินไหวในแถบประเทศฟิลิปปินส์ โดยไทยจะมีเวลาในการเตรียมตัวและเตือนภัย 15 ชั่วโมง แต่โอกาสเกิดพายุสุริยะครั้งใหญ่ยังไม่ 100 เปอร์เซ็นต์
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) ข่าว [เอเอสทีวีผู้จัดการ] คอลัมน์ คุณภาพชีวิต - ↑ "เตรียมกาย เตือนใจ ในการรับมือกับภัยพิบัติในปี 2012-2014 (พ.ศ. 2555-2557)" (PDF). 2012-02-25.
ศ.ดร.อาจองฯ ยืนยันว่า รอบๆตัวเรานั้นมีคลื่นต่างๆมากมาย หากเราสามารถจูนคลื่นจิตของเรา ให้เข้ากับ คลื่นไฟฟ้ารอบตัวเราได้ หากคลื่นตรงกัน เราก็สามารถรับรู้เรื่องต่างๆได้ เหมือนกับคลื่นวิทยุ คลื่นทีวี คลื่นโทรศัพท์ เมื่อจูนให้ตรงกันก็รับเสียง และ รับภาพได้ ซึ่งถ้าเราสามารถจูนคลื่นจิตของเรา ให้เข้ากับคลื่นไฟฟ้ารอบตัวเราได้ตรงกัน ย่อมทำให้สามารถล่วงรู้ไปในเรื่องอดีตที่ผ่านมานานร้อยปี พันปี แล้วได้ หรือ เรื่องอนาคตที่ยังมาไม่ถึงได้ แต่จะต้องฝึ กฝนกันค่อนข้างหนัก ด้วยความตั้งใจจริงๆ รวมทั้งเราอาจเคลื่อนตัวไปในมิติกาลเวลาไปสู่อดีต และ อนาคตได้
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)[ลิงก์เสีย] เอกสารรวบรวมบรรยาย:มงคล กริชติทายาวุธ - ↑ 2012: Killer Solar Flares Are a Physical Impossibility เก็บถาวร 2013-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์:นาซ่า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บทสัมภาษณ์ จากนิตยสาร เสาร์สวัสดี เก็บถาวร 2006-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2483
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ราชสกุลชุมสาย
- ณ อยุธยา
- วิศวกรชาวไทย
- นักวิชาการชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
- พรรคชาติไทย
- พรรคพลังธรรม
- พรรคนำไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.