ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคเพื่อไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{ล้าสมัย}}
{{กล่องข้อมูล พรรคการเมือง
|name = พรรคเพื่อไทย
|logo = : [[ไฟล์:PTPLogo.png]]
|colorcode = #ff0000
|leader = [[วิโรจน์ เปาอินทร์|พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์]] (รักษาการ)
|spokesperson = [[พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์]]
|leader1_title = เลขาธิการ
|leader1_name = [[ภูมิธรรม เวชยชัย]]
|slogan = ขอคิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน... อีกครั้ง
|founded = {{วันเกิด-อายุ|2550|9|20}}
|สำนักงานใหญ่ = 1770 อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
|youth_wing = [[สถาบันเยาวชนเพื่อไทย]]
|membership_year = [[พ.ศ. 2556|2556]]
|membership = 124,780 คน<ref>[http://www.ect.go.th/th/wp-content/uploads/2013/11/party_2jan14.pdf ข้อมูลพรรคการเมือง]</ref>
|colors = [[สีน้ำเงิน]] และ [[สีแดง]]
|seats1_title = [[สภาผู้แทนราษฎรไทย|สภาผู้แทนราษฎร]]
|seats1 =
|website = http://www.ptp.or.th
|country = ไทย
}}
{{วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2554}}
{{วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2556-2557}}

'''พรรคเพื่อไทย'''เป็นพรรคที่แย่มาก ([[อักษรย่อ|ย่อว่า]]: พท. {{lang-en|Pheu Thai Party}}) จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ [[20 กันยายน]] [[พ.ศ. 2550]] โดยมี [[บัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ|นายบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ]] เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และ [[โอฬาร กิจเลิศไพโรจน์|นายโอฬาร กิจเลิศไพโรจน์]] เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก

สำนักงานใหญ่ของพรรค ตั้งอยู่ที่ 1770 อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร [[รหัสไปรษณีย์]] 10310 ซึ่งเป็นที่ทำการเดิมของพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน (ย้ายมาจากอาคารนวสร [[ถนนพระรามที่ 3]] แขวงบางคอแหลม [[เขตบางคอแหลม]] กรุงเทพมหานคร และ 626 อาคาร บีบีดี บิลดิง ซอยจินดาถวิล [[ถนนพระรามที่ 4]] [[แขวงมหาพฤฒาราม]] [[เขตบางรัก]] กรุงเทพมหานคร 10500) และสำนักงานสาขาพรรคแห่งแรก ตั้งอยู่ที่[[จังหวัดพิจิตร]] ซึ่งเป็นสาขา[[พรรคพลังประชาชน]]เดิม<ref>[http://talk.mthai.com/topic/20966 พปช.สาขาพิจิตร เปลี่ยนเป็น พรรคเพื่อไทย แล้ว] จากหน้าข่าว[[เอ็มไทยดอตคอม]]</ref>

== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
=== ยุค ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นหัวหน้าพรรค ===
=== ยุค ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นหัวหน้าพรรค ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:59, 17 สิงหาคม 2560

ประวัติ

ยุค ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นหัวหน้าพรรค

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคนัดพิเศษ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551 มีมติให้ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นหัวหน้าพรรค นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร เป็นเลขาธิการพรรค นายศักดา นพสิทธิ์ เป็นโฆษกพรรค และ นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ เป็นผู้อำนวยการพรรค[1][2][3]

ต่อมา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ดร.สุชาติได้ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค โดยให้เหตุผลว่า มีบุคคลที่มีประสบการณ์ทางการเมืองจำนวนมาก ได้เข้ามาสมัครเป็นสมาชิกพรรค ตนจึงต้องการเปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสม เข้ารับตำแหน่งต่อไป นอกจากนี้ ตนก็ยังเป็นสมาชิกพรรคอยู่ ส่วนจะรับตำแหน่งอื่นภายในพรรคหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของสมาชิก[4]

อดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชนเข้าร่วมพรรค

หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน เมื่อวันที่ 2 ธันวาคมแล้ว ส.ส.และสมาชิกพรรคเกือบทั้งหมดได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคเพื่อไทย[5] ยกเว้นกลุ่มเพื่อนเนวิน ซึ่งภายหลังย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย โดยในการยุบพรรคการเมืองครั้งนี้ได้ส่งผลให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย

ยุคนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็นหัวหน้าพรรค

จากนั้น เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 4/2551 ของพรรคขึ้น ที่อาคารที่ทำการพรรค โดยมีวาระสำคัญคือ การลงมติเลือกหัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยในส่วนหัวหน้าพรรค มีการเสนอชื่อ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รักษาการรองหัวหน้าพรรค เพียงรายชื่อเดียว นายยงยุทธจึงได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคไปอย่างไม่มีคู่แข่ง ส่วนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ได้รับการคาดหมายว่าจะขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่นั้น ที่ประชุมมีมติให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค[6]

การลาออกของสมาชิกคนสำคัญ

ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพรรคได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งและสมาชิกพรรค หลังจากมีข่าวคราวเกี่ยวกับเรื่องนี้มาพอสมควร ซึ่งคนใกล้ชิดของ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่าสาเหตุเนื่องจาก พล.อ.ชวลิตไม่พอใจในบทบาทที่สมาชิกพรรคบางคนที่เป็นแกนนำของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ได้ขึ้นเวทีปราศรัยและพาดพิงไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้ทางกองทัพเกิดปฏิกิริยาตอบกลับในเรื่องนี้ทันที[7][8] ซึ่งหลังจากการลาออกของ พล.อ.ชวลิตแล้ว ก็ได้มีสมาชิกพรรคอีกหลายคนได้ทยอยลาออกตามมาหรือสละตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค อาทิ พล.อ.จิรเดช คชรัตน์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก[9] หรือ นายสุพล ฟองงาม เลขาธิการพรรคที่ได้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค[10]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

วันที่ 7 มิถุนายน 2557 หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รายงานว่า พรรคเพื่อไทยแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม สมาชิกกลุ่มหนึ่งกล่าวอย่างเปิดเผยว่าจะต่อสู้กับคณะรัฐประหาร กลุ่มที่สองเลือกไม่ต่อต้านและพยายามลดบทบาท ส่วนกลุ่มที่สามตัดสินใจรอดูสถานการณ์ มีรายงานว่าจักรภพ เพ็ญแข อดีตแกนนำ นปก. กำลังใช้กลวิธีจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร ไม่เห็นด้วยกับการตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น เนื่องจากปฏิกิริยาต่อรัฐประหาร และผลประโยชน์ทางการเมืองและธุรกิจของสกุลชินวัตร[11]

บทบาทในรัฐสภา

การสนับสนุน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่าผู้ที่ ส.ส. หารือกันว่าผู้ที่มีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ประกอบด้วย นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ส.ส.สัดส่วน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการ รมว.สาธารณสุข และ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รักษาการ รมว.คมนาคม โดยผู้มาเป็นนายกรัฐมนตรีต้องพลิกฟื้นความเชื่อมั่นและสร้างความสามัคคีให้คืนมา[12] แต่ต่อมาที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ได้มีมติสนับสนุนแนวคิดของนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราชที่เสนอให้ทุกพรรคการเมืองร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลเพื่อชาติ มีนายกรัฐมนตรีจากพรรคการเมืองขนาดเล็ก ที่ไม่ได้มาจากพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ [13] โดยพรรคเพื่อไทยจะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่ง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ว่าที่หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ตอบรับที่จะให้เสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี[14]

การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ที่ประชุมได้เสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสม เพื่อให้สมาชิกลงมติเลือก จำนวน 2 คน โดย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ เสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 6 หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ นายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 5 และหัวหน้าพรรคประชาราช เสนอชื่อ พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก ส.ส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 3 ว่าที่หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นนายกรัฐมนตรี โดยนายอภิสิทธิ์ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียง 235 เสียง ขณะที่ พล.ต.อ.ประชา ได้รับคะแนน 198 เสียง และ งดออกเสียง 3 เสียง โดย พล.ต.อ.ประชา ลงมติสนับสนุนตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ลงมติสวนมติพรรคสนับสนุน พล.ต.อ.ประชา ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ งดออกเสียง ภายหลังการลงมติ พล.ต.อ.ประชา เดินเข้ามาจับมือนายอภิสิทธิ์แสดงความยินดีด้วย[15]

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครม.อภิสิทธิ์

พรรคเพื่อไทยมีมติยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี พร้อมกันนี้ยังมีมติเสนอชื่อ ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย เป็นนายกรัฐมนตรีแทน[16] โดยรัฐมนตรีที่ถูกยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีและถอดถอน 5 คนคือ นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย เพราะพบประเด็นการบริหารที่ผิดพลาดและทุจริตประพฤติมิชอบ [17]

การเลือกตั้ง

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

เมื่อปี พ.ศ. 2552 พรรคเพื่อไทยมีมติส่งยุรนันท์ ภมรมนตรี ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยในการเลือกตั้ง ยุรนันท์ได้รับหมายเลข 10[18][19] สำหรับผลการเลือกตั้ง ยุรนันท์ได้รับ 611,669 คะแนน เป็นอันดับที่ 2[20]

และในปี พ.ศ. 2556 พรรคเพื่อไทยมีมติส่ง พลตำรวจเอก ดร.พงศพัศ พงษ์เจริญ ลงสมัครชิงตำแหน่ง โดยในการเลือกตั้ง พลตำรวจเอก ดร.พงศพัศได้รับหมายเลข 9 สำหรับผลการเลือกตั้ง พลตำรวจเอก ดร.พงศพัศได้รับ 1,077,899 คะแนน เป็นอันดับที่ 2

การเลือกตั้งซ่อม 29 ที่นั่งทั่วประเทศ

นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดเผยผลการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างไม่เป็นทางการ 29 คน ใน 22 จังหวัด 26 เขตเลือกตั้ง พบว่าพรรคร่วมรัฐบาลสามารถกวาดที่นั่ง ส.ส.ได้เพิ่มอีก 20 เขต ขณะที่พรรคฝ่ายค้านได้ไปเพียง 9 เขต ทั้งนี้ ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือก 7 คน, พรรคชาติไทยพัฒนาได้รับเลือก 10 คน, พรรคเพื่อไทยได้รับเลือก 5 คน, พรรคประชาราชได้รับเลือก 4 คน และพรรคเพื่อแผ่นดินได้รับเลือก 3 คน[21]

ส.ส.ของพรรคที่ได้รับการเลือกตั้ง

ลำดับ รายนาม เขตเลือกตั้ง คะแนน
1 ปิยะรัช หมื่นแสน จังหวัดร้อยเอ็ด เขต 2 116,241 คะแนน
2 สุริยา พรหมดี จังหวัดนครพนม เขต 1 48,083 คะแนน
3 ขจิตร ชัยนิคม จังหวัดมหาสารคาม เขต 1 83,251 คะแนน
4 เกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ จังหวัดอุดรธานี เขต 2 86,763 คะแนน
5 สมโภช สายเทพ จังหวัดลำปาง เขต 1 109,546 คะแนน

การเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดสกลนครและศรีสะเกษ

จังหวัดสกลนคร

นางอนุรักษ์ บุญศล พรรคเพื่อไทย ได้ 103,277 คะแนน เอาชนะนายพิทักษ์ จันทรศรี พรรคภูมิใจไทย ได้ 47,300 คะแนน

จังหวัดศรีสะเกษ

นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ พรรคเพื่อไทย ได้ 124,327 คะแนน เอาชนะนางสกุลทิพย์ อังคสกุลเกียรติ พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ 76,435 คะแนน

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยทั่วไป

พรรคเพื่อไทยที่นำโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้ง สามารถกวาดที่นั่ง ส.ส. 265 คน ทิ้งห่างพรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปกว่า 100 คน พร้อมกับคว้าคะแนนเสียงเกินครึ่งหนึ่งและสามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ

หัวหน้าพรรค

ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่งสำคัญ
1 ไฟล์:บัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ.jpg บัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ
(15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 — )
20 กันยายน พ.ศ. 2550 20 กันยายน พ.ศ. 2551
2 ไฟล์:Suchart.jpg ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช
(8 สิงหาคม พ.ศ. 2495 — )
21 กันยายน พ.ศ. 2551 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
• อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
3 ยงยุทธ วิชัยดิษฐ
(15 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 — )
7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 • อดีตรองนายกรัฐมนตรี
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
• อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
• อดีตอธิบดีกรมที่ดิน
- ไฟล์:วิโรจน์ เปาอินทร์.jpg พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
(7 ธันวาคม พ.ศ. 2476 — )
(รักษาการหัวหน้าพรรค)
8 ตุลาคม พ.ศ. 2555 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 • อดีตรองนายกรัฐมนตรี
• อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
4 ไฟล์:จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ.jpg จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
(15 สิงหาคม พ.ศ. 2489 — )
30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557[22] • อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- ไฟล์:วิโรจน์ เปาอินทร์.jpg พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
(7 ธันวาคม พ.ศ. 2476 — )
(รักษาการหัวหน้าพรรค)[23]
16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ปัจจุบัน • อดีตรองนายกรัฐมนตรี
• อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

เลขาธิการพรรค

ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่งสำคัญ
1 ไฟล์:โอฬาร กิจเลิศไพโรจน์.jpg โอฬาร กิจเลิศไพโรจน์
(30 ธันวาคม พ.ศ. 2514 — )
20 กันยายน พ.ศ. 2550 20 กันยายน พ.ศ. 2551
2
(1,2)
ไฟล์:Sunee.jpg สุณีย์ เหลืองวิจิตร
(27 สิงหาคม พ.ศ. 2502 — )
21 กันยายน พ.ศ. 2551 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 14 กันยายน พ.ศ. 2553
3 ไฟล์:Supon F.jpg สุพล ฟองงาม
(5 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 — )
15 กันยายน พ.ศ. 2553 20 เมษายน พ.ศ. 2554 • อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
• อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
4 ไฟล์:จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ.jpg จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
(15 สิงหาคม พ.ศ. 2489 — )
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 • อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงแรงงาน
• อดีตรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (รัฐบาลยิ่งลักษณ์ฯ)
5 ไฟล์:ภูมิธรรม เวชยชัย.jpg ภูมิธรรม เวชยชัย
(5 ธันวาคม พ.ศ. 2496 — )
30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 • อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

คณะกรรมการบริหารพรรค

ชุดที่ 5 (30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16 มิถุนายน 2557)

กรรมการบริหารพรรคพ้นจากตำแหน่งตามหัวหน้าพรรคที่ได้ลาออกไป แต่ต้องรักษาการต่อจนกว่าจะมีกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[24]

ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง
1 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้าพรรค (ลาออกมีผล 16 มิ.ย. 2557)
2 พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รองหัวหน้าพรรค (รักษาการหัวหน้าพรรค ตั้งแต่ 16 มิ.ย. 2557)
3 กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองหัวหน้าพรรค
4 ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค
5 พล.อ.วรวิทย์ ชินะนาวิน รองหัวหน้าพรรค
6 เกรียง กัลป์ตินันท์ รองหัวหน้าพรรค
7 ภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรค
8 ธานี ยี่สาร รองเลขาธิการพรรค
9 ดนุพร ปุณณกันต์ รองเลขาธิการพรรค
10 ชวลิต วิชยสุทธิ์ รองเลขาธิการพรรค
11 ธวัชชัย สุทธิบงกช รองเลขาธิการพรรค
12 อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองเลขาธิการพรรค
13 ทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ เหรัญญิกพรรค
14 ดร.พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค
15 เอกธนัช อินทร์รอด นายทะเบียนสมาชิกพรรค
16 วรวีร์ มะกูดี กรรมการบริหารพรรค
17 ปรีชา ธนานันท์ กรรมการบริหารพรรค
18 พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ กรรมการบริหารพรรค
19 ภาคิน สมมิตร กรรมการบริหารพรรค
20 กมล บันไดเพชร กรรมการบริหารพรรค
21 พิทยา พุกกะมาน กรรมการบริหารพรรค
22 วิมล จันจิราวุฒิกุล กรรมการบริหารพรรค

ชุดที่ 4 (15 กันยายน พ.ศ. 2553 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555)

ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง
1 ยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรค (ลาออก 4 ต.ค. 2555)
2 พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รองหัวหน้าพรรค
3 ปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค
ประยุทธ์ ศิริพาณิชย์ รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
4 กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ รองหัวหน้าพรรค
พล.ท.มะ โพธิ์งาม รองหัวหน้าพรรค (ลาออก ก.พ. 2555)
วิชาญ มีนชัยนันท์ รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
วิทยา บุรณศิริ รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
5 คณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรค
พงศกร อรรณนพพร รองหัวหน้าพรรค (ลาออก)
6 พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รองหัวหน้าพรรค (แต่งตั้ง 3 พ.ค. 2554)[25]
พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี รองหัวหน้าพรรค (ลาออก 15 ส.ค. 2554)
7 พล.อ.วรวิทย์ ชินะนาวิน รองหัวหน้าพรรค (แต่งตั้ง 3 พ.ค. 2554)
สุพล ฟองงาม เลขาธิการพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
8 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรค (แต่งตั้ง 3 พ.ค. 2554)
ชวลิต วิชยสุทธิ์ รองเลขาธิการพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
วิมล จันทร์จิราวุฒิกุล รองเลขาธิการพรรค (แต่งตั้ง 3 พ.ค. 2554)
10 ทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ เหรัญญิกพรรค
11 พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค
วัฒนา เตียงกูล นายทะเบียนสมาชิกพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
12 เอกธนัช อินทร์รอด นายทะเบียนสมาชิกพรรค (แต่งตั้ง 3 พ.ค. 2554)
13 วรวีร์ มะกูดี กรรมการบริหารพรรค
14 ปรีชา ธนานันท์ กรรมการบริหารพรรค (แต่งตั้ง 3 พ.ค. 2554)
15 พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ กรรมการบริหารพรรค (แต่งตั้ง 3 พ.ค. 2554)
16 ภาคิน สมมิตร กรรมการบริหารพรรค (แต่งตั้ง 3 พ.ค. 2554)
17 วิม รุ่งวัฒนจินดา กรรมการบริหารพรรค (แต่งตั้ง 3 พ.ค. 2554)
18 จักรพงษ์ แสงมณี กรรมการบริหารพรรค (แต่งตั้ง 3 พ.ค. 2554)

ชุดที่ 3 (7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 กันยายน พ.ศ. 2553)

ไฟล์:PT Yongyuth.gif
คณะกรรมการบริหารพรรคชุดที่ 3
ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง
1 นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรค
2 นายคณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรค
3 ดร.ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองหัวหน้าพรรค
4 ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค
5 นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร เลขาธิการพรรค
6 นายสง่า ธนสงวนวงศ์ รองเลขาธิการพรรค
7 นางทัสน์วรรณ มุสิกบุญเลิศ เหรัญญิกพรรค
8 นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค
9 นายวิม รุ่งวัฒนะจินดา รองโฆษกพรรค
10 น.พ.ชลน่าน ศรีแก้ว รองโฆษกพรรค
11 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองโฆษกพรรค
12 นางฐิติมา ฉายแสง รองโฆษกพรรค
13 นายสุชาติ ลายน้ำเงิน รองโฆษกพรรค
14 ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช รองโฆษกพรรค
15 นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ รองโฆษกพรรค
16 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรค
17 นายพิทยา พุกกะมาน รองโฆษกพรรค
18 นายกมล บันไดเพชร นายทะเบียนพรรค
19 นายวรวีร์ มะกูดี กรรมการบริหารพรรค
20 นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ กรรมการบริหารพรรค
21 นายเอกธนัช อินทร์รอด กรรมการบริหารพรรค

ลำดับที่ 10-17 แต่งตั้งเพิ่มเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ชุดที่ 2 (21 กันยายน พ.ศ. 2551 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551)

ไฟล์:PT Suchart.jpg
คณะกรรมการบริหารพรรคชุดที่ 2
ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง
1 ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช หัวหน้าพรรค
2 นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองหัวหน้าพรรค
3 ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค
4 นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร เลขาธิการพรรค
5 นายคณวัฒน์ วศินสังวร รองเลขาธิการพรรค
6 นางอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ เหรัญญิกพรรค
7 นายศักดา นพสิทธิ์ โฆษกพรรค
8 นายกมล บันไดเพชร นายทะเบียนพรรค
9 นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ กรรมการบริหารพรรค
10 นายวิมล จันทร์จิราวุฒิกุล กรรมการบริหารพรรค
11 นายไมตรี อรรถปรียางกูร กรรมการบริหารพรรค
12 นายเอกธนัช อินทร์รอด กรรมการบริหารพรรค
13 นายสง่า ธนสงวนวงศ์ กรรมการบริหารพรรค

ชุดที่ 1 (20 กันยายน พ.ศ. 2550 - 20 กันยายน พ.ศ. 2551)

ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง
1 นายบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ หัวหน้าพรรค
2 นายบุญสิน เสริญวงศ์สัตย์ รองหัวหน้าพรรค
3 นายคณิศร สมมะลวน รองหัวหน้าพรรค
4 นายโอฬาร กิจเลิศไพโรจน์ เลขาธิการพรรค
5 นายสามชาย ศรีสันต์ รองเลขาธิการพรรค
6 นายกฤษฎา แรงสูงเนิน รองเลขาธิการพรรค
7 นายธีระวุฒิ สัมมาทรัพย์ รองเลขาธิการพรรค
8 นางอัมพร ก้อนทอง เหรัญญิกพรรค
9 นายเจษฎา แรงสูงเนิน โฆษกพรรค
10 นางกนิษฐา สัตยะยุกต์ กรรมการบริหารพรรค
11 นายปราโมทย์ คงประเสริฐ กรรมการบริหารพรรค
12 นายพิเชฐ เพิ่งพิศ กรรมการบริหารพรรค
13 นายพิสิฐ กอเกียรติธำรง กรรมการบริหารพรรค
14 นายสิครินทร์ จันทรศร กรรมการบริหารพรรค
15 นายกฤษดา ทองกลั่น กรรมการบริหารพรรค
16 นางสาวจันจิรา จำปาทอง กรรมการบริหารพรรค

เครื่องหมายพรรค

ไฟล์:PTP LOGO.jpg
เครื่องหมายพรรคแบบแรก (2550-2551)

เครื่องหมายแรกของพรรค ที่ใช้ในช่วง พ.ศ. 2550-2551 มีคำอธิบายว่า "การรู้รักสามัคคีและรวมกันเป็นพลังอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ" ขณะที่ภาพเครื่องหมายพรรค ภายใต้รูปสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรไทย "" สีขาว บนพื้นสีน้ำเงินกับสีแดง ล้อมด้วยกรอบสี่เหลี่ยม เส้นสีน้ำเงินและสีแดง โดยตัวอักษร "พ" หมายถึง การรู้รักสามัคคี และรวมพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของคนในชาติ ส่วนพื้นสีน้ำเงินกับสีแดง หมายถึง ความมุ่งมั่น รวมเอาคนไทยจากทุกภาคส่วน มาระดมสติปัญญา เพื่อพัฒนาประเทศชาติ[26]

ต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้งลงมติตอบรับ การเปลี่ยนแปลงข้อ 5 ของข้อบังคับพรรคเพื่อไทย ซึ่งว่าด้วยภาพเครื่องหมายพรรค เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[27] โดยเครื่องหมายดังกล่าว เป็นหนึ่งในรูปแบบการจัดวางตำแหน่งของเครื่องหมายพรรค โดยแต่ละรูปแบบ จะมีการจัดวางตำแหน่งขององค์ประกอบที่แตกต่างกัน

โดยองค์ประกอบของเครื่องหมายพรรคเพื่อไทย มีตัวอักษร "พ" ตัวอักษร "ท" สีน้ำเงินเข้ม ซึ่งมีแถบสีแดง สีขาว และสีน้ำเงินประกอบ หมายถึง การรู้รักสามัคคี และรวมพลังกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนชาติไทย โดยตามรอยพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และตัวอักษร "พรรคเพื่อไทย" สีน้ำเงินเข้ม หมายถึง ความมุ่งมั่นที่จะรวบรวมคนไทยจากทุกภาคส่วน มาระดมสติปัญญา กำหนดนโยบายทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อร่วมกันพัฒนาชาติไทย ให้เจริญรุ่งเรืองมั่นคงยั่งยืนตลอดไป[27]

ซึ่งเครื่องหมายนี้ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ กับเครื่องหมายพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน ด้วยการใช้สีของธงไตรรงค์ และอักษร "พ" ที่คล้ายกับเครื่องหมายพรรคพลังประชาชน และอักษร "ท" ในเครื่องหมายพรรคไทยรักไทย ทั้งนี้เพื่อสื่อสารให้ผู้ชมทราบว่า พรรคเพื่อไทยสืบทอดเจตนารมณ์ จากพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน[28]

ทั้งนี้ ในการเลือกตั้ง ส.ส. วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปรากฏปัญหาเกี่ยวกับเครื่องหมายพรรค ในบัตรเลือกตั้ง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ (สีเขียว) กล่าวคือ สัญลักษณ์ของพรรคเพื่อไทยตามรูปแบบที่ยื่นไว้ต่อ กกต. เมื่อปี พ.ศ. 2551 มีชื่อ "พรรคเพื่อไทย" ต่อท้ายสัญลักษณ์ "พ" และ "ท" ส่งผลให้การจัดพิมพ์สัญลักษณ์ดังกล่าวลงในบัตรเลือกตั้งมีขนาดเล็กมากกว่าสัญลักษณ์ของพรรคการเมืองอื่น จนไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน

ประกอบกับคำชี้แจงตอนบนของบัตรระบุว่า "ให้ทำเครื่องหมายกากบาท ภายใน "ช่องทำเครื่องหมาย" ด้านขวามือของ "หมายเลขพรรคการเมือง" เพียงหมายเลขเดียวเท่านั้น" ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว "ช่องทำเครื่องหมาย" นั้นอยู่ถัดไปทางขวามือของช่อง "ชื่อพรรคการเมือง" แต่ทว่า ช่องที่อยู่ถัดไปทางขวามือของช่อง "หมายเลขพรรคการเมือง" คือช่อง "ภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง" ต่างหาก จากปัญหาสองกรณีดังกล่าวนั้น อาจทำให้ผู้ลงคะแนนบางส่วนเกิดความเข้าใจผิด กลับไปลงคะแนนในช่อง "ภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง" แทนที่จะลงคะแนนใน "ช่องทำเครื่องหมาย" อย่างถูกต้อง[29]

เป็นผลให้ต่อมา พรรคเพื่อไทยจัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ. 2555 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม โดยมีมติรับรองการเปลี่ยนแปลงข้อ 5 ของข้อบังคับพรรค ซึ่งว่าด้วยภาพเครื่องหมายพรรค ให้แก้ไขด้วยการนำตัวอักษร "พรรคเพื่อไทย" ออกจากเครื่องหมาย คงไว้เฉพาะตัวอักษร "พ" และ "ท" เท่านั้น[30] ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คณะกรรมการการเลือกตั้ง ลงมติตอบรับเมื่อวันที่ 26 เมษายน และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ปีเดียวกัน[31]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. สุชาตินั่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย จากสำนักข่าวไทย
  2. มติเป็นเอกฉันท์โหวตหนุน “สุชาติ” นั่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย จากกลุ่มสื่อประชาชน
  3. สุชาติ คว้าเก้าอี้ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย จากหน้าข่าวกระปุกดอตคอม
  4. สุชาติ ลาออกหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแล้ว จากหน้าข่าวสนุกดอตคอม
  5. พลิกปูม3พรรคการเมือง “รังใหม่” 245 ส.ส.“พลังประชาชน-ชาติไทย-มัชฌิมา” แตกทัพแห่ซบหลังโดนยุบ จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
  6. “ยงยุทธ” นั่งหัวหน้า “พท.” เก็บ “ยิ่งลักษณ์” จากมติชนรายวัน
  7. 'บูรพาพยัคฆ์'พรึ่บ!!แสดงพลังป้องสถาบันย้ำความจงรักภักดีอยู่ในสายเลือด จากประชาทรรศน์
  8. ทหารรักษาพระองค์ประกาศกร้าว หนุนผบ.ทบ.ร่วมปกป้องสถาบัน จากประชาทรรศน์
  9. พท.ผวาถูกยุบ!ตั้ง'เพื่อธรรม'สำรอง'ตท.9'เผ่นตาม'บิ๊กจิ๋ว' จากประชาทรรศน์
  10. “สุพล ฟองงาม”ลาออกเลขาฯ“เพื่อไทย” จากคมชัดลึก
  11. "Coup opens up split in Pheu Thai ranks". Bangkok Post. 2014-06-07. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  12. เฉลิม-มิ่งขวัญ ชิงนายกฯใหม่ เพื่อนเนวิน ถกหานายกฯวันนี้
  13. เพื่อไทยพลิกเกมสู้ตั้ง"เสนาะ" ดึง 5 พรรคชู"รบ.เพื่อชาติ" เสนอภารกิจ1ปียุบสภา คุยมี ส.ส.244เสียง
  14. พ.อ.อภิวันท์ เผย พล.ต.อ.ประชา ตอบรับเป็นนายกรัฐมนตรี
  15. ด่วน !! "อภิสิทธิ์" ได้รับโหวตนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี คนที่ 27
  16. พรรคเพื่อไทยมีมติส่งเฉลิมชิงเก้าอี้นายกฯ เดินยื่นญัตติไม่ไว้วางใจ
  17. เพื่อไทยมีมติยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ5รมต.
  18. ยุรนันท์ สมัครชิงผู้ว่าฯ กทม.ในนามพรรคเพื่อไทย ได้เบอร์ 10
  19. เพื่อไทยส่ง ยุรนันท์ ลุยศึกชิงผู้ว่าฯ กทม.
  20. ซิวเก้าอี้-ผู้ว่าฯกทม. "สุขุมพันธุ์" ชนะขาด"แซม-ปลื้ม"!
  21. ผลการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. อย่างไม่เป็นทางการ
  22. http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000071601
  23. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ลาออกจากตำแหน่ง, พรรคเพื่อไทย 20 มิถุนายน 2557
  24. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/D/082/40.PDF
  25. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  26. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคเพื่อไทย, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 124 ตอนพิเศษ 174 ง, 9 พฤศจิกายน 2550, หน้า 1.
  27. 27.0 27.1 ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลง นโยบายพรรค ข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหาร พรรคเพื่อไทย, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 125 ตอนที่ 105 ง, 25 พฤศจิกายน 2551, หน้า 272.
  28. เครื่องหมายพรรคเพื่อไทย
  29. ชาวเน็ตตั้งข้อสังเกตบัตรเลือกตั้ง ส.ส.โลโก้พรรคเพื่อไทยเล็กเท่ามด
  30. พท.ประชุมใหญ่ อนุมัติเปลี่ยนโลโก้พรรคใหม่แล้ว, ไทยรัฐออนไลน์, 21 มีนาคม 2555.
  31. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคเพื่อไทย, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 129 ตอนที่ 62 ง, 14 มิถุนายน 2555, หน้า 27.

แหล่งข้อมูลอื่น