ขจิตร ชัยนิคม
ขจิตร ชัยนิคม | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 17 ตุลาคม พ.ศ. 2567 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 เมษายน พ.ศ. 2494 |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
ขจิตร ชัยนิคม (เกิด 9 เมษายน พ.ศ. 2494) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม
ประวัติ
[แก้]ขจิตร เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2494 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และระดับปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1]
การทำงาน
[แก้]ขจิตร ชัยนิคม เคยรับราชการครู[2] ต่อมาหันมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ซึ่งเขาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี 2539[1]
ต่อมาในปี 2548 ขจิตร ชัยนิคม ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดอุดรธานีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคกสิกรไทย แข่งขันกับอดีต ส.ส. 4 คน คือ ทองดี มนิสสาร เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ วิชัย เอี่ยมวงศ์ และขจิตร ชัยนิคม โดยเขาได้คะแนน 6,703 คะแนน เป็นลำดับที่ 3 และในปี 2550 เขาย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง กระทั่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 มีการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคามแทน สุทิน คลังแสง ซึ่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง โดยเขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม[3]
จากนั้นในปี 2554 เขากลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดอุดรธานีอีกครั้ง และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่อง ในปี 2554 และ 2562 เป็น ส.ส.สมัยที่ 6
ในปี 2563 เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกพรรคเพื่อไทยที่ร่วมแสดงตนในการนับองค์ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในการลงมติตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาผลกระทบ ม.44[4][5] ซึ่งไม่เป็นไปตามมติพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมฝ่ายค้าน จนพรรคเพื่อไทยมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และลงโทษภาคทัณฑ์ ไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมพรรคในระยะเวลาหนึ่ง และพิจารณาไม่ส่งลงเลือกตั้งในครั้งต่อไป[6]
ปลายปีพ.ศ. 2567 เขาได้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เริ่มปฏิบัติหน้าที่ 17 ตุลาคม 2567[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สภาผู้แทนราษฎร
- ↑ เพื่อไทยค้านยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ชี้ไม่ต่างทำลายการศึกษาชาติ
- ↑ ผลเลือกตั้งซ่อม ส.ส. 26 เขต 29 ตำแหน่ง อย่างไม่เป็นทางการ 11 มกราคม 2552 หลังนับคะแนนครบทุกหน่วยเลือกตั้ง
- ↑ 'ขจิตร' โต้เป็นงูเห่า ยันไม่ได้อยู่ห้องประชุมสภาฯ
- ↑ ไม่เคยเทใจให้รัฐบาล!"ขจิตร"ปัดเป็นงูเห่าเพื่อไทย
- ↑ พท.ลงโทษ3งูเห่า! ไม่ส่งลงเลือกตั้งครั้งหน้า
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายขจิตร ชัยนิคม พรรคเพื่อไทย)"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดอุดรธานี
- ครูชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม
- นักการเมืองพรรคความหวังใหม่
- พรรคมัชฌิมาธิปไตย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- นิสิตเก่าคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ