ชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชาติ (อังกฤษ: nation) คือชุมชนเสถียรของมนุษย์ที่ก่อตัวขึ้นบนพื้นฐานของภาษา ดินแดน ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ หรือองค์ประกอบทางจิตวิทยาร่วมกันที่แสดงออกในวัฒนธรรมร่วมกัน ชาติมีความเป็นการเมืองอย่างชัดเจนกว่ากลุ่มชาติพันธุ์[1][2] และได้รับการพรรณนาว่าเป็น "กลุ่มชาติพันธุ์ที่ผ่านการจัดระดมกำลังหรือกลายเป็นสถาบันโดยสมบูรณ์"[3] ชาติบางชาติเป็นกลุ่มชาติพันธุ์และชาติบางชาติไม่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์[3] นอกจากนี้ ชาติยังได้รับการนิยามว่าเป็นชุมชนทางวัฒนธรรมและการเมืองที่ตระหนักถึงอัตตาณัติ (autonomy) เอกภาพ และผลประโยชน์เฉพาะของตน[4]

เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน อธิบายลักษณะของชาติว่าเป็น "ชุมชนในจินตนาการ" (imagined community)[5] และพอล เจมส์ นักวิชาการชาวออสเตรเลีย มองว่าชาติเป็น "ชุมชนนามธรรม" (abstract community)[6] ในกรณีส่วนใหญ่ สมาชิกของชาติยังคงเป็นคนแปลกหน้าต่อกันและไม่น่าจะมีโอกาสได้รู้จักกัน[7] ดังนั้นจึงเกิดวลี "ชาติแห่งคนแปลกหน้า" ซึ่งนักเขียนหลายคนเช่นแวนซ์ แพ็กการ์ด นักข่าวชาวอเมริกัน นำไปใช้ ชาติเป็นความจริงเชิงสหอัตวิสัย (intersubjectivity) และดำรงอยู่ในจินตนาการร่วมของพลเมืองเท่านั้น แม้ว่าบุคคลหนึ่ง ๆ จะหันมาเชื่อว่าชาติหนึ่ง ๆ ไม่มีอยู่จริง แต่ชาตินั้น ๆ ก็จะไม่ตกอยู่ในอันตราย เพราะมันไม่ใช่ความจริงเชิงอัตวิสัย (subjectivity) ที่ปรากฏอยู่ในจิตใจของปัจเจกบุคคล เว้นแต่ในกรณีที่ผู้คนจำนวนมากหันมาเชื่อว่าชาตินั้นไม่ควรดำรงอยู่และยกเลิกความสมเหตุสมผลของมัน ชาตินั้นก็จะสูญไป[8][9]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Garner, Bryan A., บ.ก. (2014). "nation". Black's Law Dictionary (10th ed.). p. 1183. ISBN 978-0-314-61300-4.
  2. James, Paul (1996). Nation Formation: Towards a Theory of Abstract Community. London: Sage Publications.
  3. 3.0 3.1 Eller 1997.
  4. Anthony D. Smith (8 January 1991). The Ethnic Origins of Nations. Wiley. p. 17. ISBN 978-0-631-16169-1.
  5. Anderson, Benedict (1983). Imagined Communities. London: Verso Publications.
  6. James, Paul (1996). Nation Formation: Towards a Theory of Abstract Community. London: Sage Publications. p. 34. A nation is at once an objectively abstract society of strangers, usually connected by a state, and a subjectively embodied community whose members experience themselves as an integrated group of compatriots.
  7. James, Paul (2006). Globalism, Nationalism, Tribalism: Bringing Theory Back In. London: Sage Publications.
  8. "End of nations: Is there an alternative to countries?". New Scientist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-18. สืบค้นเมื่อ 10 May 2017.
  9. Packard, Vance (1968). A Nation of Strangers. สืบค้นเมื่อ 8 November 2018.

บรรณานุกรม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]