พ้อง ชีวานันท์
พ้อง ชีวานันท์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 |
เสียชีวิต | 12 มีนาคม พ.ศ. 2559 (68 ปี) |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2551–2559) |
คู่สมรส | นพพร ชีวานันท์ |
พ้อง ชีวานันท์ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2559) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นบิดาของ นพ ชีวานันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[1] เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ)
ประวัติ
[แก้]พ้อง ชีวานันท์ เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 เป็นบุตรของนายศุลี และนางมาลี ชีวานันท์ มีพี่น้อง 5 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท บริหารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิสซูรี สหรัฐอเมริกา สมรสกับนางนพพร มีบุตรธิดา 2 คน
พ้อง ชีวานันท์ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559 สิริอายุรวม 68 ปี โดยคนสนิทของ นายพ้อง เปิดเผยว่า ก่อนหน้าที่จะเสียชีวิต นายพ้อง ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากต้องเข้ารักษาตัวที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลังเข้าพักรักษาตัวเป็นเวลาเกือบ 3 สัปดาห์ จนเสียชีวิตด้วยอาการสงบ [2][3] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
งานการเมือง
[แก้]พ้องเป็นเพื่อนของนายมนตรี พงษ์พานิช[4] อดีตหัวหน้าพรรคกิจสังคม เมื่อนายมนตรีเข้าสู่การเมืองจนกระทั่งเป็นรัฐมนตรี จึงนำนายพ้องมาช่วยงานด้วย เริ่มตั้งแต่เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2525 และครั้งสุดท้ายเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมให้กับนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีในโควตาพรรคกิจสังคม[5]
หลังจากนายมนตรีวางมือทางการเมือง นายพ้องจึงถอยจากวงการการเมืองไประยะหนึ่ง ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2544 จะกลับมาอีกครั้งในฐานะผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันมารวม 4 ครั้ง
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เขาได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[6][7]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]พ้อง ชีวานันท์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดพรรคพลังประชาชน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ “ศึกสายเลือด” ในสนามเลือกตั้งเมืองกรุงเก่า
- ↑ สิ้นอดีตรมช.'พ้อง ชีวานันท์' 'มะเร็งลำไส้'คร่าในวัย 69 ปี
- ↑ ‘พ้อง ชีวานันท์’ อดีตรมช.คมนาคม จากไปอย่างสงบในวัย 69 ปี ด้วยโรคมะเร็ง
- ↑ เสี้ยวชีวิต "มนตรี" จากโคลนตมสู่ "เจ้าพ่อโปรเจกท์"
- ↑ พ้อง ชีวานันท์ จากที่ปรึกษารมต.มาทำออดิโอเท็กซ์
- ↑ สิ้น 'พ้อง ชีวานันท์' อดีต รมช. วัย 69 ปี ด้วยมะเร็งลำไส้
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นายพ้อง ชีวานันท์ เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายพ้อง ชีวานันท์[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลสมาชิกพรรคเพื่อไทย (นายพ้อง ชีวานันท์) เก็บถาวร 2012-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, พรรคเพื่อไทย
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายพ้อง ชีวานันท์), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2559
- บุคคลจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- พรรคกิจสังคม
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้