ข้ามไปเนื้อหา

โกวิทย์ โปษยานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกวิทย์ โปษยานนท์
เกิด17 กันยายน พ.ศ. 2478 (89 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
สัญชาติไทย
อาชีพข้าราชาการ, นักธุรกิจ, กรรมการตรวจสอบ
บิดามารดา

ศาสตราจารย์พิเศษ[1] โกวิทย์ โปษยานนท์ (17 กันยายน พ.ศ. 2478 - ) กรรมการกฤษฎีกา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[2] เคยดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสรรพสามิต อธิบดีกรมสรรพากร รองปลัดกระทรวงการคลัง และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

ประวัติ

[แก้]

ศาสตราจารย์พิเศษ โกวิทย์ โปษยานนท์ หรือ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.โกวิทย์ โปษยานนท์ เกิดที่ กรุงเทพมหานคร บิดาหลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์) มารดานางอรุณ (โปษยจินดา) โปษยานนท์ และเป็นหลานของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาพิพัฒนธนากร (ฉิม โปษยานนท์) จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาชั้นเตรียมอุดมศึกษาจาก St Edmund's School Canterbury, England ศึกษาต่อที่ เมืองเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ B.A. (Honours) และได้เข้าศึกษา มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา เคยเข้ารับการอบรมหลักสูตรการสืบสวนจากสหรัฐอเมริกา จบหลักสูตรวิชาการป้องกันประเทศ จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.รุ่นที่ 30) และได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เศรษฐศาสตร์) จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โกวิทย์ โปษยานนท์ เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ ในปี พ.ศ. 2528

ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและด้านอื่นๆ

[แก้]

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. โกวิทย์ โปษยานนท์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักการเงินที่มีความสามารถ เคยดำรงตำแหน่งทั้งในราชการ องค์กรอิสระ และ เอกชน โดยล้วนเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินทั้งสิ้น โดยเริ่มประวัติการทำงานหลังจากจบการศึกษามาเข้ารับราชการเป็นข้าราชการประจำ ของกระทรวงการคลัง และขึ้นดำรงตำแหน่ง อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง, อธิบดีกรมสรรพสามิต[3], อธิบดีกรมสรรพากร[4] ตามลำดับ หลังจากเกษียณอายุราชการจึงได้เข้ารับดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการบริหารอีกหลายตำแหน่งหลายบริษัท นอกจากนี้ยังเป็นผู้รักษา "ยาเทพนิมิตร" ใช้ในตระกูลโปษยานนท์ ตั้งแต่สมัยพระยาพิพัฒนธนากร ซึ่งเป็นการนำเอาสมุนไพรของไทย มาทำยารักษาโรคผิวหนัง และใช้ทาแผลสด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศแต่งตั้งศาตราจารย์พิเศษ
  2. กรรมการกฤษฎีกา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  3. "อธิบดีกรมสรรพสามิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-06. สืบค้นเมื่อ 2013-05-01.
  4. อธิบดีกรมสรรพากร
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๖, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๓๓๒, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]