ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดอุบลราชธานี"

พิกัด: 15°15′N 104°50′E / 15.25°N 104.83°E / 15.25; 104.83
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
ลบภาพ "AjahnMun.JPG", ซึ่งถูกลบที่คอมมอนส์โดย INeverCry เพราะ Copyright violation: Derivative work; wax figures are sculptures
บรรทัด 556: บรรทัด 556:


=== พระสงฆ์ ===
=== พระสงฆ์ ===

[[ไฟล์:AjahnMun.JPG|thumb|150px|[[พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต]]]]
* [[พระอริยาจารย์ (สุ้ย)]]
* [[พระอริยาจารย์ (สุ้ย)]]
* [[ท่านเทวธมฺมี (ม้าว)]]
* [[ท่านเทวธมฺมี (ม้าว)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:35, 12 มีนาคม 2556

จังหวัดอุบลราชธานี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Ubon Ratchathani
คำขวัญ: 
อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่นำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล

ข้อผิดพลาด: ต้องระบุภาพในบรรทัดแรก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายวันชัย สุทธิวรชัย
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2555)
พื้นที่
 • ทั้งหมด16,112.650 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 5
ประชากร
 (พ.ศ. 2554)
 • ทั้งหมด1,816,057 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 3
 • ความหนาแน่น112.71 คน/ตร.กม. (291.9 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 44
รหัส ISO 3166TH-34
ชื่อไทยอื่น ๆอุบล, อุบลราชธานีศรีวนาลัย ประเทศราช
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ยางนา
 • ดอกไม้บัว
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 4525 4539, 0 4531 9700
เว็บไซต์http://www.ubonratchathani.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและของประเทศไทย ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากว่า 200 ปี มีพื้นที่กว้างใหญ่ ภายหลังถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดใหม่คือจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2515 และจังหวัดอำนาจเจริญในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งถ้ารวมพื้นที่อีกสองจังหวัดที่แยกออกไป จังหวัดอุบลราชธานีจะมีพื้นที่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

อาณาเขต

แนวพรมแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา รวมความยาวประมาณ 428 กิโลเมตร

  • ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชาชนลาว 361 กิโลเมตร (จากอำเภอเขมราฐถึงอำเภอน้ำยืน ติดต่อกับแขวงสะหวันนะเขต แขวงสาละวัน และแขวงจำปาสัก)
  • ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา 67 กิโลเมตร (อำเภอน้ำยืน ติดต่อกับจังหวัดพระวิหาร ราชอาณาจักรกัมพูชา)

ผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี

พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เป็นผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี บุตรของพระเจ้าตาและนางบุศดี เกิดเมื่อปี พ.ศ 2252 ที่นครเวียงจันทร์ เสกสมรสกับเจ้านางตุ่ยธิดาอุปราช (ธรรมเทโว) อนุชา ของพระเจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) เจ้านครจำปาศักดิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระประทุมสุรราช เมื่อปี พ.ศ. 2323 อันเป็นตำแหน่งนายกกองใหญ่คุมเลก (ไพร่) อยู่ที่บ้านดู่ บ้านแก ขึ้นกับนครจำปาศักดิ์ ปี พ.ศ. 2329 ได้ย้ายครอบครัวและไพร่พลจากบ้านดู่ บ้านแก มาตั้งบ้านเมืองใหม่ที่ตำบล ห้วยแจระแม โดยพระบรมราชาอนุญาตในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และตั้งชื่อ เมืองนี้ว่า "เมืองอุบล" จากการร่วมปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วในปี พ.ศ. 2334 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งพระประทุมสุรราช (เจ้าคำผง) เป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ และยกฐานะเมืองอุบลเป็น “เมืองอุบลราชธานีศรีวนาไล ประเทศราช" เมื่อวันจันทร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1151 ตรงกับปี พ.ศ. 2335 พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ได้สร้างวัดหลวงเป็นวัดคู่เมืองขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ซึ่งถือเป็นวัดแรกของเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนนี้ พ.ศ. 2338 พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ได้ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ปีเถาะ จุลศักราช1157 รวมอายุได้ 86 ปี อยู่ในตำแหน่งเจ้าเมืองอุบลราชธานี 3 ปี

ประวัติศาสตร์

อนุสาวรีย์พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี

เมื่อปีพุทธศักราช 2228 เกิด วิกฤติทางการเมืองในนครเชียงรุ้ง เพราะกลุ่มจีนฮ่อธงขาวยกกำลังปล้น เมืองเจ้านครเชียงรุ้งคือ เจ้าอินทกุมาร เจ้านางจันทกุมารี และเจ้าปางคำ ได้อพยพไพร่พลมาขอพึ่งบารมีพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ของเวียงจันท์ จึงโปรดให้นำไพร่พลไปตั้งเมืองที่หนองบัวลุ่มภู (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) โดยตั้งชื่อเมืองว่า "นครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบาน"

ต่อมาพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้เจ้าปางคำเสกสมรสกับพระราชนัดดาได้โอรส คือ เจ้าพระตา เจ้าพระวอซึ่งมีความสำคัญต่อเมืองอุบลราชธานีอย่างยิ่ง เพราะต่อมา ปีพุทธศักราช 2314 เกิดสงครามแย่งชิงอำนาจระหว่างเวียงจันท์กับเมืองหนองบัวลุ่มภู โดยเจ้าสิริบุญสาร เจ้าแผ่นดินเวียงจันท์ ขอบุตรธิดาของเจ้าพระตา เจ้าพระวอ ไปเป็นนางห้ามและนางสนม แต่เจ้าพระตา เจ้าพระวอไม่ให้ เจ้าสิริบุญสาร จึงส่งกองทัพมาตีเมืองหนองบัวลุ่มภู เจ้าพระตา เจ้าพระวอ ยกกองทัพออกต่อสู้ และกองทัพเวียงจันท์ต้องพ่ายกลับไปหลายครั้ง

การรบระหว่างเวียงจันทร์กับเมืองหนองบัวลุ่มภู ต่อสู้กินเวลายาวนานถึง 3 ปี ไม่มีผลแพ้ชนะกัน เจ้าสิริบุญสารได้ส่งทูตไปขอกองทัพพม่าที่เมืองเชียงใหม่ ให้มาช่วยตีเมืองหนองบัวลุ่มภู โดยมีเงื่อนไขเวียงจันทร์ยอมเป็นเมืองขึ้นของพม่า กองทัพพม่าที่เมืองเชียงใหม่ จึงให้ม่องระแง คุมกองทัพมาช่วยเจ้าสิริบุญสารรบ เมื่อฝ่ายเจ้าพระตาทราบข่าวศึก คะเนคงเหลือกำลังที่จะต้านศึกกองทัพใหญ่กว่าไว้ได้ จึงให้เจ้าคำโส เจ้าคำขุย เจ้าก่ำ เจ้าคำสิงห์ พาไพร่พล คนชรา เด็ก ผู้หญิง พร้อมพระสงฆ์ อพยพมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อหาที่สร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ไว้รอท่า หากแพ้สงครามจะได้อพยพติดตามมาอยู่ด้วย

โดย แรกได้มาตั้งเมืองที่บ้านสิงห์โคก บ้านสิงห์ท่า (ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร) และการสู้รบในครั้งสุดท้าย เจ้าพระตาถึงแก่ความตายในสนามรบ เจ้าพระวอผู้เป็นบุตรชายคนโต พร้อมด้วยพี่น้องคือ นางอูสา นางสีดา นางแสนสีชาด นางแพงแสน เจ้าคำผง เจ้าทิตพรหม และนางเหมือนตา ได้หลบหนีออกจากเมืองมารับเสบียงอาหารจากบ้านสิงห์โคก สิงห์ท่า แล้วผ่านลงไปตั้งเมืองที่ "ดอนมดแดง" พร้อมขอพึ่งพระเจ้าไชยกุมารองค์หลวง แห่งนครจำปาศักดิ์ ฝ่ายเจ้าสิริบุญสารทราบข่าวการตั้งเมืองใหม่ จึงให้อัคฮาดหำทอง และพญาสุโพ ยกกองทัพมาตีเจ้าพระวอสู้ไม่ได้ และเสียชีวิตในสนามรบ เจ้าคำผงผู้น้องจึงขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่ม พร้อมมีใบบอกลงไปที่เมืองนครราชสีมา และกรุงธนบุรี เพื่อขอพึ่งบารมีพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งให้ เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ยกกองทัพมาช่วยเจ้าคำผง ด้านพญาสุโพรู้ข่าวศึกของเจ้ากรุงธนบุรี จึงสั่งถอยทัพกลับเวียงจันท์ แต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้เดินทัพติดตามทัพเวียงจันทร์ จนสามารถเข้ายึดเมืองได้สำเร็จ จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พร้อมคุมตัวเจ้าสิริบุญสารไปกรุงธนบุรี ส่วนเจ้าคำผงหลังเสร็จศึกได้กลับไปตั้งเมืองอยู่ที่ดอนมดแดงเหมือนเดิม กระทั่งปีพุทธศักราช 2319 เกิดน้ำท่วมใหญ่ เจ้าคำผงจึงอพยพไพร่พลไปอยู่ที่ดอนห้วยแจระแม (ปัจจุบัน คือบ้านท่าบ่อ) รอจนน้ำลด แล้วจึงหาทำเลที่ตั้งเมืองใหม่ที่ที่ตำบลบ้านร้าง เรียกว่า ดงอู่ผึ้งริมฝั่งแม่น้ำมูลอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน เมื่อปีพุทธศักราช 2320 พร้อมกับได้สร้างพระอารามหลวงขึ้นเป็นวัดแรก

ต่อมาปีพุทธศักราช 2322 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี เชิญท้องตราขึ้นมาตั้งเป็นเมืองอุบลราชธานี พร้อมให้เจ้าคำผงเป็นเจ้าเมืองในราชทินนาม "พระประทุมราชวงศา" เจ้าทิตพรหมเป็นพระอุปฮาด เจ้าก่ำเป็นราชวงศ์ เจ้าสุดตาเป็นราชบุตร โดยเป็นคณะอาญาสี่ชุดแรกของเมืองอุบลราชธานี จนถึงกาลเปลี่ยนแผ่นดินปีพุทธศักราช 2334 สมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เกิดขบถอ้ายเชียงแก้วเขาโอง ยกกำลังมาตีเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าฝ่ายหน้าผู้น้องพระประทุมราชวงศาได้ยกกำลังไปรบ สามารถจับอ้ายเชียงแก้วได้ และทำการประหารชีวิตที่บริเวณแก่งตะนะ

ในปีถัดมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเมืองอุบลขึ้นเป็นเมืองประเทศราช แต่งตั้งให้พระประทุมราชวงศาเป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) เจ้าครองเมือง "เมืองอุบลราชธานีศรีวนาไล ประเทศราช" พระราชทานพระสุพรรณบัตร และเครื่องยศเจ้าเมืองประเทศราช พร้อมทำพิธีสบถสาบานถือน้ำพิพัฒน์สัตยา เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 แรม 13 ค่ำ จุลศักราช 1154 ปีชวด จัตวาศก ตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม 2335 โดยเป็นเจ้าเมืองคนแรกของอุบลราชธานี ถึงปี 2338 พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ทิตพรหม) น้อง ชายพระประทุม จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนต่อมา รวมมีเจ้าเมืองอุบลราชธานี ที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งทั้งสิ้น 4 ท่าน

ภายหลังการก่อตั้งเมืองอุบลฯ แล้ว ก็ได้มีการตั้งเมืองสำคัญในเขตปกครองของจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นอีกหลายเมือง เช่น ใน พ.ศ. 2357 โปรดฯให้ตั้งบ้านโคกพเนียง เป็นเมืองเขมราฐธานี

ปี พ.ศ. 2366 ยกบ้านนาก่อขึ้นเป็นเมืองโขงเจียง (โขงเจียม) โดยขึ้นกับนครจำปาศักดิ์

ปี พ.ศ. 2388 ในรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านช่องนางให้เป็นเมืองเสนางคนิคม ยกบ้านน้ำโดมใหญ่ขึ้นเป็นเมืองเดชอุดม ให้หลวงอภัยเป็นหลวงยกบัตรหลวงมหาดไทยเป็นหลวงปลัด ตั้งหลวงธิเบศร์เป็นพระศรีสุระ เป็นเจ้าเมือง รักษาราชการแขวงเมืองเดชอุดม

ปี พ.ศ. 2390 ตั้งบ้านดงกระชุหรือบ้านไร่ ขึ้นเป็นเมืองบัวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นเมืองบัวบุณฑริก หรืออำเภอบุณฑริกในปัจจุบัน

ปี พ.ศ. 2401 ตั้งบ้านค้อใหญ่ ให้เป็นเมือง ขอตั้งท้าวจันทบรม เป็นพระอมรอำนาจ เป็นเจ้าเมือง ตั้งท้าวบุตตะเป็นอุปฮาด ให้ท้าวสิงหราชเป็นราชวงศ์ ท้าวสุริโยเป็นราชบุตร รักษาราชการเมืองอำนาจเจริญขึ้นกับเมืองเขมราฐ

ปี พ.ศ. 2406 ในรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านกว้างลำชะโด ตำบลปากมูล เป็นเมืองพิบูลมังสาหารและให้ตั้งบ้านสะพือ เป็นเมืองตระการพืชผล ตั้งท้าวสุริยวงษ์ เป็นพระอมรดลใจ เป็นเจ้าเมือง

ปี พ.ศ. 2422 ในรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านท่ายักขุเป็นเมืองชานุมานมณฑล และให้ตั้งบ้านเผลา (บ้านพระเหลา) เป็นเมืองพนานิคม

ปี พ.ศ. 2423 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านนากอนจอ เป็นเมืองวารินชำราบ

ปี พ.ศ. 2424 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านจันลานาโดม เป็นเมืองโดมประดิษฐ์ (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านที่อำเภอน้ำยืน)

ปี พ.ศ. 2425 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านทีเป็นเมืองเกษมสีมา ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอม่วงสามสิบนั่นเอง

อุบลราชธานี จึงเป็นเมืองที่มีเขตการปกครองอย่างกว้างขวางที่สุด ทางด้านตะวันออกของภาคอีสานตอนล่างครอบคลุมที่ราบและแม่น้ำสายสำคัญของภาค อีสานถึง 3 สายด้วยกัน คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง อีกทั้งยังมีแม่น้ำสายเล็กๆที่มีกำเนิดจากเทือกเขาในพื้นที่ เช่น ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมใหญ่ เป็นต้น

แม่น้ำทั้งหลายเหล่านี้ไหลผ่านที่ราบทางด้านเหนือและทางด้านใต้ทอด เป็นแนวยาวสู่ปากแม่น่ำมูลและแม่น้ำโขง ยังความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ในบริเวณแถบนี้ทั้งหมด ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์มาแต่ โบราณกาล [3]

ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการยกเลิกมณฑลทั้งประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีซึ่งแยกออกมาจากมณฑลนครราชสีมาในขณะนั้น ได้กลายเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หลังจากนั้นจังหวัดอุบลราชธานีก็ได้ถูกแบ่งออก โดยอำเภอยโสธรและอำเภอใกล้เคียงเป็นจังหวัดยโสธร ในปี พ.ศ. 2515 และต่อมาปี 2536 ได้ถูกแบ่งอีกครั้ง โดยอำเภออำนาจเจริญและอำเภอใกล้เคียงเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ ปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่เป็นอันดับ 5 ของไทย และมีประชากรลำดับที่ 3 ของประเทศ

ลักษณะภูมิอากาศและอุตุนิยมวิทยา

จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในเขตที่มีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของจังหวัดอื่น ๆ

ฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเรื่อยไปจนถึงปลายเดือนตุลาคม และมักปรากฏเสมอว่าฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม แต่ระยะเวลาการทิ้งช่วงมักจะไม่เหมือนกันในแต่ละปี และในช่วงปลายฤดูฝน มักจะมีพายุดีเปรสชั่นฝนตกชุกบางปีอาจมีภาวะ น้ำท่วมแต่ภาวการณ์ไม่รุนแรงนัก

ฤดูหนาว เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศ ทำให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก่อนภูมิภาคอื่น อุณหภูมิจะเริ่มลดต่ำลงตั้งแต่เดือนตุลาคมและจะสิ้นสุดปลายเดือนมกราคม

ฤดูร้อน ถึงแม้ว่าเคยปรากฏบ่อยครั้งว่าอากาศยังคงหนาวเย็นยืดเยื้อมาจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยส่วนใหญ่แล้วอากาศจะ เริ่มอบอ้าว ในเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงประมาณต้นเดือนพฤษภาคมซึ่งอาจจะมีฝน เริ่มตกอยู่บ้างในปลายเดือนเมษายน แต่ปริมาณน้ำฝนมักจะไม่เพียงพอสำหรับการเพาะปลูก นอกจากนั้นลักษณะภูมิอากาศทั่วไปคล้ายคลึงกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จะมีอากาศร้อน ในฤดูหนาวค่อนข้างหนาว ส่วนในฤดูฝนจะมีฝนตกชุก ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2541 มีฝนตกประมาณ 106 วัน ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 1,297.3 มิลลิเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า แอ่งโคราช (Khorat Basin) โดยสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 68 เมตร (227 ฟุต) ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่สูงต่ำ เป็นที่ราบสูงลาดเอียงไปทางตะวันออกมีแม่น้ำโขง เป็นแนวเขตกั้นจังหวัดอุบลราชธานีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูลซึ่งไหลผ่านกลางจังหวัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกแล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม และมีลำน้ำใหญ่ ๆ อีกหลายสาย ได้แก่ ลำเซบก ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย และมีภูเขาสลับซับซ้อนหลายแห่งทางบริเวณชายแดนตอนใต้ ที่สำคัญคือ ทิวเขาบรรทัดและทิวเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นอาณาเขตระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา

ลักษณะภูมิสัณฐานของจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งออกโดยสังเขป ดังนี้

  • บริเวณที่เป็นสันดินริมน้ำ (river levee) เกิดจากตะกอนลำน้ำที่พัดพามาทับถม สภาพพื้นที่เป็นเนินสันดินริมฝั่งแม่น้ำโขง และบางบริเวณสันดินริมฝั่งลำเซบาย
  • บริเวณที่เป็นแบบตะพักลำน้ำ (terrace) ที่เกิดจากการกระทำของขบวนการของน้ำนานมาแล้ว ประกอบด้วยบริเวณที่เป็นลานตะพักลำน้ำระดับต่ำ ระดับกลาง และระดับสูง ลักษณะพื้นที่ที่มีทั้งที่เป็นที่ราบแบบลูกคลื่นลอนลาดจนถึงลูกคลื่นลอนชัน จะอยู่ถัดจากบริเวณที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงขึ้นมา พื้นที่เหล่านี้จะพบในบริเวณทั่วไปของจังหวัด กล่าวคือทางตอนเหนือ ทางตะวันออก และทางใต้ บางแห่งใช้สำหรับทำนาและบางแห่งใช้สำหรับปลูกพืชไร่
  • บริเวณที่เป็นแอ่ง (depression) หรือที่ลุ่มต่ำหลังลำน้ำ (backswamp) เกิดจากการกระทำของน้ำ พบบางแห่งในบริเวณริมแม่น้ำโขง แม่น้ำชี ลำเซบาย และลำโดมใหญ่ จะมีน้ำแช่ขังนานในฤดูฝน
  • บริเวณที่เป็นเนินตะกอนรูปพัด (coalescing fans) สภาพพื้นที่แบบนี้มีลักษณะเด่นคือ รูปร่างจะเป็นรูปพัด เกิดจากการที่หินในบริเวณเหล่านั้นถูกทำให้แตกหักสะสมอยู่กับพวกที่มีอนุภาคละเอียดกว่าเมื่อฝนตกลงมาในปริมาณมาก กำลังของน้ำจะมีมากจนสามารถพัดพาเอาตะกอนเหล่านั้นออกมานอกหุบเขาได้ เมื่อมาถึงนอกหุบเขาหรือเชิงเขา สภาพพื้นที่ก็จะเป็นที่ราบทางน้ำไหลกระจายออกไป ทำให้กำลังของน้ำลดลง ก็จะตกตะกอนในบริเวณน้ำ จะพบอยู่ทางตอนใต้และทางตะวันตกของจังหวัด
  • บริเวณที่เป็นเนินที่เกิดจากการไหลของธารลาวา (lava flow hill) เป็นเนินเขาที่เกิดจากการไหลของธารลาวา ดินบริเวณนี้จะมีศักยภาพทางการเกษตรสูง ซึ่งเป็นผลจากการสลายตัวผุพังของหินบะซอลต์ บริเวณนี้จะพบอยู่ในอำเภอน้ำยืน
  • บริเวณที่ลาดเชิงเขา (foot hill slope) เป็นที่ลาดเชิงเขาที่ตะกอนบริเวณที่เกิดจากการกระทำของน้ำนานมาแล้วทับถมกัน บริเวณนี้จะพบอยู่ในอำเภอโขงเจียม อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอตระการพืชผล
  • บริเวณที่ลาดเชิงซ้อน (slope complex) ลักษณะเป็นภูเขาหรือทิวเขามีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ จะพบบริเวณทิวเขาพนมดงรักในอำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย และอำเภอบุณฑริก อีกแห่งหนึ่งคือ ทิวเขาภูเขาซึ่งจะพบมากในอำเภอโขงเจียมและอำเภอศรีเมืองใหม่

ทรัพยากรโดยสังเขป

ทรัพยากร ดิน จ.อุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่และมีประชากรมาก ดินเป็นทรัพยากรคิด เป็นร้อยละ 86.6 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด หรือประมาณ 10,299,063 ไร่ ด้านป่าไม้มีทั้งป่าเต็งรัง หรือป่าแดงมีอยู่ทั่วไป มีเขตป่าดงดิบในเขตอำเภอน้ำยืน และป่าผสม ส่วนป่าเบญจพรรณมีอยู่ในอำเภอเขมราฐ อำเภอบุณฑริก และอำเภอพิบูลมังสาหาร ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้กระยาเลย ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตระแบก ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้เคี่ยม ไม้ชุมแพรก ไม้กันเกรา สภาพพื้นที่ป่าไม้จากการสำรวจเมื่อปี 2538 มีเนื้อป่าประมาณ 2,495 ตร.กม. หรือประมาณ 1.56 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 15.49 ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัดอุบลราชธานี สำหรับพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งได้ดังนี้ ป่าถาวร ตามมติ ครม.จำนวน 1 ป่า เนื้อที่ 77,312.50 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 46 ป่า เนื้อที่ 3,396,009.163 ไร่ พื้นที่ป่า สปก. จำนวน 40 ป่า เนื้อที่ 1,665,543.30 ไร่ ป่าอนุรักษ์ ตาม มติ ครม. จำนวน 10 ป่า เนื้อที่ 1,439,998.402 ไร่ ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย จำนวน 5 ป่า เนื้อที่ 880,220.00 ไร่ สวนป่า จำนวน 15 ป่า เนื้อที่ 20,985.73 ไร่ พื้นที่ป่าธรรมชาติ (รวม จ.อำนาจเจริญ) เนื้อที่ 24,292,656 ไร่

แร่ธาตุ จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี พบว่า จังหวัดอุบลราชธานีมีแร่อโลหะเพียงชนิดเดียว คือ เกลือหิน ซึ่งเจาะพบแล้ว 2 แห่งคือ อำเภอเมืองอุบลราชธานีและอำเภอตระการพืชผล นอกจากนี้ มีทรัพยากรแร่ที่อยู่ในรูปของหินชนิดต่าง ๆ อีกมากมาย สำหรับแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญคือ แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

จังหวัดอุบลราชธานีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 219 ตำบล 2469 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองอุบลราชธานี
  2. อำเภอศรีเมืองใหม่
  3. อำเภอโขงเจียม
  4. อำเภอเขื่องใน
  5. อำเภอเขมราฐ
  1. อำเภอเดชอุดม
  2. อำเภอนาจะหลวย
  3. อำเภอน้ำยืน
  4. อำเภอบุณฑริก
  5. อำเภอตระการพืชผล
  6. อำเภอกุดข้าวปุ้น
  1. อำเภอม่วงสามสิบ
  2. อำเภอวารินชำราบ
  1. อำเภอพิบูลมังสาหาร
  2. อำเภอตาลสุม
  3. อำเภอโพธิ์ไทร
  4. อำเภอสำโรง
  1. อำเภอดอนมดแดง
  2. อำเภอสิรินธร
  3. อำเภอทุ่งศรีอุดม
  1. อำเภอนาเยีย
  2. อำเภอนาตาล
  3. อำเภอเหล่าเสือโก้ก
  4. อำเภอสว่างวีระวงศ์
  5. อำเภอน้ำขุ่น
 แผนที่

หมายเลข 6 13 16 17 18 23 27 และ 28 คือ 8 อำเภอที่แยกออกมาตั้งเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ


การปกครองส่วนท้องถิ่น

มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 239 องค์กรแบ่งออกเป็น 1 เทศบาลนคร 4 เทศบาลเมือง 38 เทศบาลตำบล 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 195 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้

อำเภอเมือง

อำเภอพิบูลมังสาหาร

อำเภอวารินชำราบ

อำเภอเดชอุดม

อำเภอศรีเมืองใหม่

อำเภอโขงเจียม

อำเภอเขื่องใน

อำเภอเขมราฐ

อำเภอนาจะหลวย

อำเภอน้ำยืน

อำเภอบุณฑริก

อำเภอตระการพืชผล

อำเภอกุดข้าวปุ้น

อำเภอม่วงสามสิบ

อำเภอตาลสุม

อำเภอโพธิ์ไทร

อำเภอสิรินธร

อำเภอนาเยีย

อำเภอเหล่าเสือโก้ก

อำเภอสว่างวีระวงศ์

อำเภอน้ำขุ่น

การคมนาคม

รถยนต์

ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ไปสระบุรี เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 24 (สายโชคชัย-เดชอุดม) ไปจนถึงอุบลราชธานี หรือใช้ เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา แล้วต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และเข้าสู่จังหวัดอุบลราชธานี

รถไฟ

มีรถด่วน รถเร็ว และรถไฟปรับอากาศด่วนพิเศษทุกวัน จากกรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ สุดปลายทางที่อำเภอวารินชำราบ โดยจังหวัดอุบลราชธานี มีสถานีย่อย 2 แห่ง คือ สถานีบุ่งหวาย และสถานีห้วยขะยุง

เวลาเดินรถไฟ ประกอบด้วย

  • เที่ยวขึ้นจากสถานีต้นทางกรุงเทพฯ เริ่มต้นที่เวลา 05.45 ถึง 23.40 น.
  • เที่ยวล่องจากสถานีรถไฟวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เริ่มต้นที่เวลา 07.00 ถึง 19.30 น.

รถโดยสารประจำทาง

มีทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิตใหม่) นอกจากนี้ บริษัทขนส่งยังมีบริการรถโดยสารระหว่างอุบลราชธานีและเมืองปากเซ สปป.ลาวทุกวัน

นอกจากนี้ยังมีรถประจำทางระหว่างจังหวัดที่เดินรถระหว่างอุบลราชธานีไปถึง ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชลบุรี ระยอง เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พิษณุโลก อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร นครพนม ชัยภูมิ สกลนคร ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) และภูเก็ต

กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศถึงการเปิดเดินรถสายอุบลราชธานี -เกาะสมุย เพื่อเชื่อมเมืองท่องเที่ยวสำคัญของภูมิภาคในอนาคต และอีกในอนาคตข้างหน้า กรมการขนส่งทางบกอาจจะได้ออกประกาศถึงการเปิดเดินรถสายสายเหนืออีก 1 เส้นทาง รถสายอุบลราชธานี - แม่สาย (เชียงราย) ขึ้นกับบริษัทนครชัยแอร์ เพื่อเชื่อมเมืองท่องเที่ยวสำคัญของภูมิภาคในอนาคต

และนอกจากนี้กรมการขนส่งทางบกกำลังจะเปิดเดินรถสายระหว่างประเทศคือ สายอุบลราชธานี-จำปาสัก อุบลราชธานี-คอนพะเพง และ อุบลราชธานี-เสียมราฐ อีกด้วย

อากาศยาน

จังหวัดอุบลราชธานี มีสนามบินนานาชาติ 1 แห่ง ซึ่งมีสายการบินของบริษัทต่างๆ คือ

ไป - กลับ จาก กรุงเทพมหานคร - อุบลราชธานี และเชียงใหม่ - อุบลราชธานี ซึ่งเดินทางออกจากทั้ง ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ มายังท่าอากาศยานอุบลราชธานี ให้บริการเป็นประจำทุกวัน

รถเช่า

บัดเจ็ท รถเช่า สาขาท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี และนอกจากนี้ก็มีการบริการด้วยรถสามล้อ รถสามล้อเครื่อง (รถตุ๊กตุ๊ก) รถแท็กซี่มิเตอร์ และรถมอเตอร์ไซต์รับจ้าง ที่ให้การบริการ ณ จุดที่สำคัญ เช่น หน้าโรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ หน้าตลาดสดเทศบาล 3 (ตลาดใหญ่) หน้าสถานีรถไฟอุบลราชธานี สถานีขนส่งผู้โดยสาร เป็นต้น

รถเมล์หรือรถสองแถวประจำทาง

มีการบริการด้วยรถสองแถวประจำทางที่ให้การบริการในเขตเมืองอุบลราชธานีและเขตวารินชำราบ มีดังต่อไปนี้

  • สายที่ 1 บ้านธาตุ - สามแยกเข้าหมู่บ้านหนองแก
  • สายที่ 2 สถานีรถไฟอุบลราชธานี - โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคาร
  • สายที่ 3 บ้านก่อ - โรงเรียนเทคโนโลยีและเกษตรกรรมอุบลราชธานี
  • สายที่ 4 เรือนจำกลางอุบลราชธานี - โรงเรียนบ้านกุดลาด (ปัจจุบันยกเลิกเส้นทาง)
  • สายที 6 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ - การประปา
  • สายที่ 7 ศาลปู่เจ้าคำจันทร์ - วัดพุทธนิคมกิติยาราม
  • สายที่ 8 บ้านปลาดุก - สถานีโทรคมนาคมอุบลราชธานี
  • สายที่ 9 ตลาดสดวารินชำราบ - หาดคูเดื่อ
  • สายที่ 10 ศาลาบ้านดู่ - ศูนย์อพยพ
  • สายที่ 11 บ้านบุ่งกาแซว - บ้านด้ามพร้า
  • สายที่ 12 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - บ้านดง
  • สายที่ 13 วงเวียนบ้านท่าข้องเหล็ก - โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ - ขนส่งอุบลราชธานี (ปัจจุบันยกเลิกเส้นทาง)
  • สายที่ 14 (ขึ้นต้นด้วยอักษร ม.) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - ขนส่งอุบลราชธานี

ประชากร

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร[4]
จังหวัดอุบลราชธานี
ปี (พ.ศ.) ประชากร
2549 1,728,529
2550 1,785,709
2551 1,795,453
2552 1,803,754
2553 1,813,088
2554 1,816,057

ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) พ.ศ. 2325-2338 2 พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าทิดพรหม) พ.ศ. 2338-2388
3 เจ้าราชบุตรสุ้ย ถึงแก่อนิจกรรมที่กรุงเทพฯ ก่อนมาดำรงตำแหน่ง 4 พระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) พ.ศ. 2388-2409
5 เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ (เจ้าหน่อคำ) พ.ศ. 2409-2425 6 หลวงจินดารัตน์ พ.ศ. 2425-2426
7 พระยาศรีสิงหเทพ (ทัด ไกรฤกษ์) พ.ศ. 2426-2430 8 พระยาภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์) ไม่ทราบข้อมูล
9 พระโยธีบริรักษ์ (เคลือบ ไกรฤกษ์) ไม่ทราบข้อมูล 10 พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) ไม่ทราบข้อมูล
11 พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) ไม่ทราบข้อมูล 12 หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร) ไม่ทราบข้อมูล
13 อำมาตย์เอกพระภิรมย์ราชา (พร้อม วาจรัต) พ.ศ. 2456-2458 14 อำมาตย์เอกพระยาปทุมเทพภักดี (อ่วม บุณยรัตพันธุ์) พ.ศ. 2458-2465
15 อำมาตย์โทพระยาปทุมเทพภักดี (ธน ณ สงขลา) พ.ศ. 2465-2469 16 อำมาตย์เอกพระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน) พ.ศ. 2469-2471
17 อำมาตย์โทพระยาสิงหบุทนุรักษ์ (สวาสดิ์ บุรณสมภพ) พ.ศ. 2471-2473 18 อำมาตย์โทพระยาประชาศรัยสรเดช (ถาบ ผลนิวาส) พ.ศ. 2473-2476
19 พ.ต.อ.พระขจัดทารุณกรรม (เงิน หนุนภักดี) พ.ศ. 2476-2478 20 อำมาตย์เอกพระปทุมเทวาภิบาล (เยี่ยม เอกสิทธิ์) พ.ศ. 2478-2481
20 อำมาตย์เอกพระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) พ.ศ. 2481-2481
21 อำมาตย์เอกพระพรหมนครานุรักษ์ (ฮกไถ่ พิศาลบุตร) พ.ศ. 2481-2482 22 อำมาตย์โทพระยาอนุมานสารกรรม (โต่ง สารักคานนท์) พ.ศ. 2482-2483
23 พ.ต.อ.พระกล้ากลางสมร (มงคล หงษ์ไกร) พ.ศ. 2483-2484 24 หลวงนครคุณูปถัมภ์ (หยวก ไพโรจน์) พ.ศ. 2484-2487
25 หลวงนรัตถรักษา (ชื่น นรัตถรักษา) พ.ศ. 2487-2489 26 นายเชื้อ พิทักษากร พ.ศ. 2489-2490
27 หลวงอรรถสิทธิ์สิทธิสุนทร (อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร) พ.ศ. 2490-2492 28 นายชอบ ชัยประภา พ.ศ. 2492-2494
29 นายยุทธ จัณยานนท์ พ.ศ. 2494-2495 30 นายสง่า สุขรัตน์ พ.ศ. 2495-2497
31 นายเกียรติ ธนกุล พ.ศ. 2497-2498 32 นายสนิท วิไลจิตต์ พ.ศ. 2498-2499
33 นายประสงค์ อิศรภักดี พ.ศ. 2499-2501 34 นายกำจัด ผาติสุวัณณ์ พ.ศ. 2501-2509
35 นายพัฒน์ บุณยรัตพันธุ์ พ.ศ. 2509-2513 36 พลตำรวจตรีวิเชียร ศรีมันตร พ.ศ. 2513-2516
37 นายเจริญ ปานทอง พ.ศ. 2516-2518 38 นายเดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ พ.ศ. 2519-2520
39 นายประมูล จันทรจำนง พ.ศ. 2520-2522 40 นายบุญช่วย ศรีสารคาม พ.ศ. 2522-2526
41 นายเจริญสุข ศิลาพันธุ์ พ.ศ. 2526-2528 42 เรือตรีดนัย เกตุสิริ พ.ศ. 2528-2532
43 นายสายสิทธิ พรแก้ว พ.ศ. 2532-2535 44 นายไมตรี ไนยกูล พ.ศ. 2535-2537
45 นายนิธิศักดิ์ ราชพิธ พ.ศ. 2537-2538 46 ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี พ.ศ. 2538-2540
47 นายชาติสง่า โมฬีชาติ พ.ศ. 2540-2541 48 นายศิวะ แสงมณี พ.ศ. 2541-2543
49 นายรุ่งฤทธิ์ มกรพงศ์ พ.ศ. 2543-2544 50 นายชัยสิทธิ์ โหตระกิตย์ พ.ศ. 2544-2546
51 นายจิรศักดิ์ เกษณียบุตร พ.ศ. 2546-2548 52 นายสุธี มากบุญ พ.ศ. 2548-2550
53 นายชวน ศิรินันท์พร พ.ศ. 2550-2553 54 นายวิชิต ชาตไพสิฐ (ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง รักษาราชการแทน) พ.ศ. 2553
55 นายสุรพล สายพันธ์ พ.ศ. 2553-2555 56 นายวันชัย สุทธิวรชัย พ.ศ. 2555-ปัจจุบัน

บุคคลที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุบลราชธานี

จังหวัดอุบลราชธานีได้ก่อตั้งมาเป็นเวลากว่า 200 ปี บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การทหาร การศึกษา การศาสนา และศิลปวัฒนธรรมสืบทอดมา จนถึงปัจจุบันก็เพราะบุคคลในท้องถิ่นให้ความร่วมมือในการสร้างความเจริญ ให้กับบ้านเมือง ในการพัฒนาในแต่ละด้านนั้นได้มีบุคคลที่มีบทบาทเด่นชัดในด้านนั้น ๆ เป็นปัจจัยหลัก ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า สั่งสมชื่อเสียงเกียรติคุณให้กับจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งควรแก่การภูมิใจและควรค่าแก่การศึกษาผลงานของท่านเพื่อนำไปเป็นแบบอย่างเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ในการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี ให้เจริญรุดหน้าไป และจนได้ชื่อว่าเป็น "ดินแดนแห่งนักปราชญ์" ที่ได้รับการขนานนานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 โดยมีบุคคลสำคัญที่สร้าง คุณประโยชน์แก่ประเทศชาติเป็นจำนวนมาก ดังนี้

พระสงฆ์

นักปกครอง

นักการเมือง

ไฟล์:Thong in 01.jpg
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์

นักสังคมสงเคราะห์

นักสาธารณสุข

  • นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว
  • นายแพทย์อุทัย สุดสุข
  • นายแพทย์วิฑูร แสงสิงแก้ว
  • นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์
  • นายแพทย์ไพจิตร ปวะบุตร

นักร้อง/นักดนตรี

นักการศึกษา นักศิลปวัฒนธรรม และศิลปิน

  • ดร.ปรีชา พิณทอง
  • นายคำหมา แสงงาม - ศิลปินแห่งชาติ สาขา ทัศนศิลป์ (การปั้นแกะสลัก) พ.ศ. 2529
  • นายบำเพ็ญ ณ อุบล
  • นายสมชัย กตัญญูตานันท์ (ชัย ราชวัตร)
  • นายทองใส ทับถนน - ศิลปินครูพิณเมืองอุบลราชธานี
  • นายทองมาก จันทะลือ (หมอลำถูทา) - ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2529 และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุบลราชธานี 1 สมัย
  • หมอลำเคน ดาเหลา (เคนฮุด) - ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2534
  • ฉวีวรรณ ดำเนิน (ได้รับการยกย่องให้เป็น ราชินีหมอลำ) - ศิลปินแห่งชาติ สาขา ศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2536
  • นางบุญเพ็ง ไฝผิวชัย - ศิลปินแห่งชาติ สาขา ศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2540
  • นางคำปุ่น ฟุ้งสุข - หมอลำหญิงอาวุโสชื่อดัง
  • นายทองคำ เพ็งดี (ฉายา นกกาเหว่า) - หมอลำชายชื่อดัง
  • นายสมาน หงษา - หมอลำชื่อดัง คณะเพชรเสียงทอง
  • นายณรงค์ พงษ์ภาพ (นพดล ดวงพร) - คณะเพชรพิณทอง
  • นายมนัส สุขสาย
  • พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา พลังศิลป์ถิ่นนักปราชญ์ - สร้างภาพยนตร์ กำกับภาพยนตร์ อ.ศรีเมืองใหม่
  • นายสลา คุณวุฒิ - นักแต่งเพลงชื่อดัง
  • นางบานเย็น รากแก่น - หมอลำหญิงชื่อดัง และได้รับการขนานนามว่า "ราชินีหมอลำ"
  • ป.ฉลาดน้อย (ฉลาด ส่งเสริม) - หมอลำชื่อดังและศิลปินแห่งชาติ สาขา ศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2548
  • อังคนางค์ คุณไชย - หมอลำชื่อดัง เจ้าของผลงาน เพลงสาวอุบลรอรัก อีสานลำเพลิน และศิลปินพื้นบ้าน สาขา ศิลปะการแสดง
  • สุรสีห์ ผาธรรม - ผู้กำกับภาพยนตร์
  • วิเศษ เวณิกา - ศิลปินนักร้อง
  • นคร พงษ์ภาพ - นักแต่งเพลงอาวุโส
  • รจนา เพชรกัณหา - นางแบบโฆษณา
  • ชรัมย์ เทพชัย - ศิลปินนักร้อง ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทาน ในปี พ.ศ. 2519 จากบทเพลง "รักเหมือนเหล็กไหล"
  • นายรักพงษ์ คำพีระ - เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขา คุณธรรมและจริยธรรม - นักศึกษารางวัลพระราชทาน
  • กิตติศักดิ์ โคตรคำ - ศิลปินมือกลองวงโลโซ
  • พีรฉัตร จิตรมาส - ศิลปินนักร้องวง Subtention
  • คำพูน บุญทวี - ศิลปินแห่งชาติ ผู้แต่งหนังสือ "ลูกอีสาน"
  • เบิร์ด เอกชัย เจียรกุล คว้าแชมป์นักกีตาร์คลาสสิคดีกรีระดับนานาชาติ ระดับโลกคนแรกของไทย

เพลงลูกกรุง, ลูกทุ่ง และ เพื่อชีวิต

เพลงไทยสากล

วงการบัญเทิง

ดารา / นักแสดง

นักการเกษตร

  • นายประยงค์ พงศ์มัตสยา
  • นายชารี มาระแสง
  • นายสมร ประทุมชาติ

นักกีฬา

  • นายประยูร ถาวรเสถียร
  • นายสุชาติ มุทุกันต์
  • นายศักดา สงวนศักดิ์
  • นายบำเพ็ญ ลัทธิมนต์
  • นายพรชัย ทองบุราณ

ทีมสโมสรฟุตบอลประจำจังหวัด

  • ทีมสโมสรฟุตบอล อุบลราชธานี เอฟซี (ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2555) สนามเหย้า ตั้งอยู่ที่ สนามกีฬาสุนีย์ สเตเดี้ยม (สนามโรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี)

ชื่อสโมสรฟุตบอลในอดีต

  • ทีมสโมสรฟุตบอล อุบลยูไนเต็ด
  • ทีมสโมสรฟุตบอล อุบลไทเกอร์ เอฟซี

การศึกษา

โรงเรียน

ระดับอาชีวศึกษา

ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ระดับอุดมศึกษา

สถานที่ท่องเที่ยว

หอไตรกลางน้ำวัดทุ่งศรีเมือง
ปราสาทบ้านเบ็ญ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16
ไฟล์:Place NPPataem topyard.jpg
จุดชมวิวอุทยานแห่งชาติผาแต้ม
สามพันโบก

สถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ของชาวอุบลราชธานี ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีมาเป็นเวลายาวนานอีกทั้งยังเป็นต้นตำรับของงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาของไทยด้วย ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานีเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 และแรม 1 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา จัดให้มีขึ้นทุกปี

จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ความว่า ชาวอุบลราชธานี ได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2470 จนเมื่อปี พ.ศ. 2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือ บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียน จะเคลื่อนขบวนจาก หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ไปตามถนน มาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน

ประวัติงานประเพณีแห่เทียนพรรษา

ขบวนแห่เทียนพรรษา

ก่อน สมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้ เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน

การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป้นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน

ในระยะเวลาประมาณ พ.ศ. 2480 การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น ถึงขั้นใช้การหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างผู้มีชื่อเสียงในทางนี้คือ นายโพธิ์ ส่งศรี ลายที่พ่อใหญ่โพธิ์ทำขึ้นเป็นลายง่ายๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำบัวหงาย พ่อใหญ่โพธิ์เป็นช่างทำต้นเทียน ให้กับวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมา นายสวน คูณผล ได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปปั้นสัตว์และลายไม้ฉลุ ทำให้ดูสวยงามมากขึ้น ผลงานทำต้นเทียน ของนายสวน คูณผล จึงมักจะได้รางวัลชนะเลิศอยู่เป็นประจำ

ในช่วงปี พ.ศ. 2494 ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญ ในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อทางจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี แต่ต้นเทียนในขณะนั้นยังมีการจัดทำอยู่เพียง 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสีและประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น

ใน พ.ศ. 2495 ได้มีการฟื้นฟูศิลปะการทำต้นเทียน และการแห่เทียนพรรษาของ จังหวัดอุบลราชธานี มีการประกวดเทียนพรรษา 2 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย และประเภท ติดพิมพ์

ครั้น พ.ศ. 2497 ช่างฝีมือรุ่นเยาว์ อันได้แก่ นายอารีย์ สินสวัสดิ์ นายประดับ ก้อนแก้ว ได้พัฒนาวิธีทำขึ้นใหม่ โดยใช้ปูนพลาสเตอร์แกะเป็นแม่พิมพ์ลายต่างๆ แล้วหล่อด้วยเทียนออกมาเป็นดอกๆ ผึ้งที่ใช้หล่อดอกไม้คนละสีกับลำต้น จึงทำให้มองเห็นเป็นส่วนลึกของลายอย่างชัดเจน นายประดับ ก้อนแก้ว ได้ทำต้นเทียนติดพิมพ์ และตกแต่งขบวนต้นเทียนของวัดมหาวนารามได้อย่างสวยงาม จนได้รับรางวัลชนะเลิศ

ประมาณปี พ.ศ. 2500 มีการจัดงานกึ่งพุทธกาลทั่วประเทศ งานด้านศาสนาจึงเฟื่องฟูมาก การแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสนับสนุนให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ทั้งด้านการจัดขบวนแห่ และการจัดหาสาวงามสำหรับต้นเทียน

พ.ศ. 2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างสูงอายุคนหนึ่งได้คิดและแกะสลักต้นเทียนโดยไม่ต้องพิมพ์ดอกมาติด เหมือนเช่นที่ช่างรุ่นก่อนทำมา ทำให้ต้นเทียนแกะสลักที่นายคำหมาทำให้กับบ้านกุดเป่ง อำเภอวารินชำราบ มีความแปลกใหม่สวยงาม ดังนั้น ในปีต่อมา จึงได้มีการเสนอให้จัดประกวดต้นเทียน 3 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ระยะต่อมา จึงตัดต้นเทียนประเภทมัดรวมติดลายที่เป็นต้นเทียนแบบเก่า ออกจากการประกวด ช่างแกะสลักต้นเทียนที่มีฝีมือในรุ่นต่อมา ได้แก่ นายอุตส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมัยจันทรวิจิตร ซึ่งเป็นพี่น้องกัน

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬารมากที่สุดในประเทศไทย มีการประกวดต้นเทียนประเภทต่างๆ ประกวดขบวนแห่ และนางฟ้า โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนอย่างรัดกุม มีการประชาสัมพันธ์งานกันอย่างกว้างขวางและททท.ได้จัดให้บรรจุลงในปฏิทินการท่องเที่ยว ทำให้มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติมาเที่ยวและชมงานเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันจัดได้ว่าเป็นงานแห่เทียนต้นตำรับที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ได้อย่างครบถ้วน

ปี พ.ศ. 2555 เป็นปีที่จังหวัดอุบลราชธานี จัดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาครบรอบ 111 ปี ในชื่องาน "111 ปีลือเลื่อง ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบล"

ของดีจังหวัดอุบลราชธานี

จังหวัดอุบลราชธานีขึ้นชื่อในเรื่องหัตถกรรม ซึ่งได้แก่ ผ้าทอเมืองอุบล ผ้าฝ้ายทอมือ หมอนขิด ผ้าขาวม้า ผ้าไหม เครื่องทองเหลือง เครื่องจักสานจำพวกกระด้ง กระติ๊บข้าว ข้องใส่ปลา ตะกร้า

นอกจากนี้จังหวัดอุบลราชธานียังขึ้นชื่อในเรื่องของอาหารการกิน ได้แก่ หมูยอ กุนเชียง ไส้กรอกอีสาน และ เค็มบักนัด (เค็มสับปะรด) ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุบลราชธานี ทำด้วยเนื้อปลาสวายหรือปลาเทโพ หั่นเป็นชิ้นยาวๆ ดองในน้ำเกลือและเนื้อสับปะรดที่ซอยเป็นชิ้นเล็กๆ บรรจุในขวดแก้ว สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น อาหารประเภทหลน มีจำหน่ายทั่วไปในตัวเมือง

ผลิตภัณฑ์ทองเหลืองชุมชนบ้านปะอาว บ้านปะอาวเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพที่เป็นสัญลักษณ์ประจำหมู่บ้าน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ คือ การทำเครื่องทองเหลือง กรรมวิธีการผลิตยังเป็นแบบดั้งเดิม นอกจากนี้แล้ว ในหมู่บ้านยังมีศูนย์สาธิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทองเหลือง และทอผ้าไหมที่สวยงาม เปิดทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ผ้ากาบบัวอุบลราชธานี

จังหวัดอุบลราชธานีมีชื่อเสียงในด้านการทอผ้ามาเป็นเวลา เห้นได้จากวรรณกรรมโบราณอีสานและประวัติศาสตร์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดอุบลราชธานีได้ปรากฏให้เห็นถึงความประณีตสวยงาม แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้ทอผ้าที่ได้สร้างสรรค์บรรจงด้วยจิตวิญญาณ ออกมาเป็นลวดลายวิจิตรจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบัน "ผ้ากาบบัว" ได้รับการสืบสานเป็นผ้าเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่นิยมในวงการแฟชั่นไทย มีการสวมใส่ตั้งแต่ระดับชั้นของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปจนถึงระดับวัยรุ่นด้วยรูปแบบที่หลากหลาย

ผ้ากาบบัวในหน้าประวัติศาสตร์

ในสมัยพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงสำเร็จราชการมณฑลลาวกาวและมณฑลอีสานได้นำผ้าทอเมืองอุบลราชธานี ทูลเกล้าถวายซึ่งปรากฏในหน้าพระราชหัตถเลขา ตอบเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 114 ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ความว่า "ถึงสรรพสิทธิ์ ด้วยได้รับหนังสือลงวันที่ 13 มกราคม ส่งผ้าเยียรบับลาวมาให้นั้นได้รับแล้ว ผ้าทอดีมากจากเชียงใหม่ยังสู้ไม่ได้เลย ถ้าจะยุให้ทำมาขายคงจะมีผู้ซื้อ ฉันจะรับเป็นนายหน้า ส่วนที่ส่งมาจะให้ตัดเสื้อ ถ้ามีเวลาจะถ่ายรูปให้ดู แต่อย่าตั้งใจคอยเพราะจะถ่ายเมื่อใดบอกไม่ได้ จุฬาลงกรณ์ ปร."

จากการค้นคว้าถึงตำนานผ้าเยียรบับนี้พบว่า เป็นผ้าลายกาบบัวคำ ทอด้วยเทคนิคขิดหรือยกด้วยไหมคำ (ดิ้นทอง) แทรกด้วยไหมมัดหมี่ ใช้เทคนิคด้วยการจกหรือเกาะด้วยไหมสีต่างๆลงบนผ้า ในเวลาอีก 55 ปีถัดจากนั้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ชาวอุบลราชธานีได้ร่วมใจกันทอ "ผ้าซื่นไหมเงิน ยกดอกลายพิกุล" ทูลเกล้าถวายเนื่องในพิธีพระราชบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ในรัชกาลปัจจุบันและถัดจากนั้นอีก 5 ปีถัดมาในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2498 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าซิ่นไหมเงิน ที่ชาวอุบลราชธานีทูลเกล้า ฯถวาย และมีเสด็จรับสั่งกับพสกนิกรที่หน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ว่า "ชาวอุบลฯเขาให้ผ้าซื่นเป็นของขวัญวันอภิเษกสมรส เมื่อมาเยี่ยมอุบลฯ จึงนำมานุ่งให้คนอุบลฯเขาดู" ยังความปีติปลาบปลื้มเป็นล้นพ้นของชาวอุบลราชธานีเป็นอย่างมาก[5]

อ้างอิง

  1. จังหวัดอุบลราชธานี. "ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ubonratchathani.go.th/common_tourist.html [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. http://www.lib.ubu.ac.th/html/ub_info/introduction/history.html
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "บริการข้อมูลประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/ 2555. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2556.
  5. อุบล...ราชธานีแห่งสุนทรี...การสืบสานผ้าเมืองอุบล

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

15°15′N 104°50′E / 15.25°N 104.83°E / 15.25; 104.83