อำเภอหัวหิน
อำเภอหัวหิน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Hua Hin |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: หัวหิน ถิ่นเมืองขลัง ทะเลสวย นักมวยดัง พระราชวังงดงาม | |
แผนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เน้นอำเภอหัวหิน | |
พิกัด: 12°34′7″N 99°57′28″E / 12.56861°N 99.95778°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ประจวบคีรีขันธ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 838.9 ตร.กม. (323.9 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 125,277 คน |
• ความหนาแน่น | 149.34 คน/ตร.กม. (386.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 77110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7707 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอหัวหิน เลขที่ 2 หมู่ที่ 10 ถนนเพชรเกษมแนวใหม่ ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
หัวหิน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เดิมมีชื่อว่า "บ้านถมอเรียง", "บ้านสมอเรียง" ,"กบาลถมอ" หรือ "บ้านแหลมหิน" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงสร้างวังไกลกังวลเพื่อประทับพักผ่อนในฤดูร้อน และปัจจุบันวังไกลกังวลนั้นเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร(รัชกาลที่ 9)
ทุกวันนี้หัวหินมีชื่อเสียงจากการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศที่สามารถเที่ยวได้ใน 1 วัน และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเพียง 196 กิโลเมตร หากใช้เส้นทางถนนพระรามที่ 2 ใช้เวลาประมาณ 2.5-3 ชั่วโมงหากโดยสารทางรถ หรือ 45 นาทีหากเดินทางโดยเครื่องบิน
ประวัติ
[แก้]ชุมชนหัวหินก่อตั้งขึ้นในราว พ.ศ. 2377 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมื่อชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจากทางตอนเหนือละทิ้งถิ่นฐานและเดินทางมาจนถึงพื้นที่ที่เป็นบริเวณใกล้กับเขาตะเกียบในปัจจุบัน แล้วได้ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณนี้ เพราะเห็นว่าเป็นหาดทรายที่สวยงามและแปลกกว่าที่อื่น คือมีกลุ่มหินกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป อีกทั้งที่ดินก็มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับทำการเกษตรและการประมง แล้วตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านสมอเรียง"
ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร ต้นราชสกุลกฤดากร) ได้มาสร้างตำหนักหลังใหญ่ชื่อ "แสนสำราญสุขเวศน์" ที่ด้านใต้ของหมู่หินริมทะเล (ปัจจุบันคือบริเวณที่อยู่ติดกับโรงแรมโซฟิเทลฯ) และทรงขนานนามหาดทรายบริเวณนี้เสียใหม่ว่า "หัวหิน" จนเมื่อเวลาล่วงไป ทั้งตำบลในบริเวณนี้ก็ถูกเรียกในชื่อเดียวกันว่าหัวหิน และเจริญเติบโตขยายขึ้นเป็นอำเภอหัวหินจนถึงปัจจุบัน[1]
อำเภอหัวหินในอดีตเป็นพื้นที่เขตปกครองของส่วนหนึ่งในเมืองปราณบุรี (เมืองชั้นจัตวา) ขึ้นตรงแขวงเมืองเพชรบุรี จนกระทั่งมีการจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล จึงได้อยู่ในพื้นที่ของอำเภอปราณบุรี เมืองเพชรบุรี (จังหวัดเพชรบุรี)[2] ต่อมาวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการเหนือเกล้าให้รวมเอาอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อนเข้ารวมเป็นจังหวัดปราณบุรี[3] และภายหลังได้รับการจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอหัวหิน ขึ้นกับอำเภอปราณบุรี
อำเภอหัวหิน ได้รับประกาศยกฐานะจากกิ่งอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2492 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2492[4]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอหัวหินตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง และอำเภอชะอำ (จังหวัดเพชรบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอปราณบุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับภาคตะนาวศรี (ประเทศพม่า)
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองท้องที่
[แก้]อำเภอหัวหินแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล, 63 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[5] |
---|---|---|---|---|
1. | หัวหิน | Hua Hin | –
|
45,765
|
2. | หนองแก | Nong Kae | –
|
19,759
|
3. | หินเหล็กไฟ | Hin Lek Fai | 16
|
18,661
|
4. | หนองพลับ | Nong Phlap | 10
|
11,439
|
5. | ทับใต้ | Thap Tai | 14
|
18,096
|
6. | ห้วยสัตว์ใหญ่ | Huai Sat Yai | 11
|
7,583
|
7. | บึงนคร | Bueng Nakhon | 12
|
5,067
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอหัวหินประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองหัวหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวหินและตำบลหนองแกทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหนองพลับ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองพลับ
- องค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินเหล็กไฟทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพลับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองพลับ (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองพลับ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับใต้ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงนคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงนครทั้งตำบล
จำนวนประชากร
[แก้]- ประชากรที่มีชื่อในสำมะโนประชากร 114,936 คน
- ประชากรแฝง ประมาณ 100,000 คน
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]หัวหินมีลักษณะภูมิประเทศที่ติดชายฝั่งทะเลจรดเทือกเขาตะนาวศรี ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถท่องเที่ยวได้ในบรรยากาศที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น
- หาดหัวหิน
- สถานีรถไฟหัวหิน
- ตลาดโต้รุ่งหัวหิน
- เขาตะเกียบและเขาพิทักษ์
- จุดชมวิวเขาหินเหล็กไฟ
- ถ้ำไก่หล่น
- น้ำตกป่าละอู
- วัดห้วยมงคล
- หมู่บ้านช้างหัสดินทร์
- หมู่บ้านกะเหรี่ยงป่าละอู[6]
- สนามกอล์ฟหัวหิน
- โรงแรมรถไฟ
- สวนสัตว์หัวหินซาฟารี
- สวนน้ำวานา นาวา หัวหิน
- อุทยานราชภักดิ์
- สวนสนประดิพัทธ์ (สถานพักฟื้นและพักผ่อนกองทัพบก สวนสนประดิพัทธ์)
- Cicada Market
- ไร่องุ่นมอนซูน แวลลีย์ วินยาร์ด หัวหิน
- Black Mountain Water Park
- บ้านศิลปินหัวหิน
- เขาเต่า
- ตลาดแทมมารีน
- พิพิธภัณฑ์ภาพ 4 มิติ For Art’s Sake
- Seen Space
- หาดทรายน้อย
หมายเหตุ วังไกลกังวล เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ห้ามมิให้ผู้ไม่มีกิจธุระเกี่ยวข้องเข้าชมและกระทำการใด ๆ เนื่องจากมีการขึ้นประกาศเป็นรโหฐานแต่ยังคงให้ผู้ที่ต้องการออกกำลังกายเข้าไปใช้พื้นที่ทะเลน้อยได้ และพระราชทานพื้นที่ในการปลูกผักปลอดสารพิษของโรงเรียนวังไกลกังวลได้
โครงการพระราชดำริในอำเภอหัวหิน
[แก้]- ศูนย์รักษ์สุนัขหัวหินในพระบรมราชูปถัมภ์
- ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน เก็บถาวร 2022-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์เพาะเลี้ยง และขยายพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทราย
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย
- สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- อ่างเก็บน้ำเขาเต่า และศูนย์ศิลปาชีพทอผ้าเขาเต่า
- ถนนสายหัวหิน - บ้านห้วยมงคล
การเดินทางมาหัวหิน
[แก้]เนื่องจากหัวหินเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของภาคกลางตอนล่าง แหล่งการค้าและธุรกิจ ทำให้มีขนส่งมวลชนสาธารณะรองรับการเดินทางหลากหลาย ตามจังหวัดหัวเมืองต่าง ๆ เชื่อมต่อกับอำเภอหัวหิน ตัวอย่างสายรถขนส่งทางบกบริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
- รถตู้สาธารณะกรุงเทพฯ (สถานีขนส่งสายใต้ปิ่นเกล้า - หัวหิน)
- รถตู้สาธารณะกรุงเทพฯ (สถานีขนส่งสายใต้ตลิ่งชัน - หัวหิน)
- รถตู้สาธารณะกรุงเทพฯ (สถานีขนส่งหมอชิต - หัวหิน)
- รถตู้สาธารณะกรุงเทพฯ (สถานีขนส่งเอกมัย - หัวหิน)
- รถตู้สาธารณะปทุมธานี (สายรังสิต - หัวหิน)
- รถบัสชั้นหนึ่งวีไอพี สมบัติทัวร์ (วิภาวดี-หัวหิน)
- รถบัสชั้นหนึ่งวีไอพีสนามบินสุวรรณภูมิ (สนามบินสุวรรณภูมิ-หัวหิน)
นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารระหว่างจังหวัด เช่น กาญจนบุรี-หัวหิน, เชียงใหม่ - หัวหิน, หัวหิน - สุราษฎร์, หัวหิน - นครราชสีมา, หัวหิน - หนองคาย, หัวหิน - ภูเก็ต, หัวหิน - พัทยา และอื่น ๆ
ตัวอย่างขนส่งสาธารณะทางน้ำ
- เรือข้ามฝากอ่าวไทย เก็บถาวร 2019-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รอยัล พาสเสนเจอร์ ไลเนอร์ พัทยา-หัวหิน (ท่าเรือแหลมบาลีฮาย - ท่าเรือเขาตะเกียบ)
- เรือเร็วลมพระยา (หัวหิน - เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า)
ตัวอย่างขนส่งสาธารณะทางอากาศ
- แอร์เอเชีย เที่ยวบินกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (KUL) – หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (HHQ)
ตัวอย่างขนส่งสาธารณะทางราง
- รถไฟสายใต้
- รถไฟนำเที่ยวกรุงเทพฯ - สวนสนประดิษฐ์พัทธ์
-
สถานีรถไฟหัวหิน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คู่มือท่องเที่ยว หัวหิน
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย (ปรับปรุงการจัดตั้งแบ่งเขตแขวงเมืองเพ็ชร์บุรีเสียใหม่ โดยให้มี ๖ อำเภอ และการจัดกรมการอำเภอ)] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๘ ตอนที่ ๕ ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ หน้าที่ ๕๙
- ↑ ประกาศ ตั้งเมืองปราณบุรี ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๔๑ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ หน้าที่ ๑๐๖๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นเป็นอำเภอ เล่มที่ ๖๖ ตอนที่ ๒๔ ง วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๒ หน้าที่ ๑๖๔๔
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
- ↑ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กะเหรี่ยงป่าละอู เก็บถาวร 2021-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 18 พฤษภาคม 2554.