ข้ามไปเนื้อหา

สามเหลี่ยมมรกต

พิกัด: 14°20′10″N 105°12′47″E / 14.336°N 105.213°E / 14.336; 105.213
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูมิศาสตร์ของสามเหลี่ยมมรกต
แผนที่
ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภูมิภาคไทย, ลาว, กัมพูชา
พิกัด14°20′10″N 105°12′47″E / 14.336°N 105.213°E / 14.336; 105.213
พื้นที่
 • ทั้งหมด12 km2 (4.6 sq mi)

สามเหลี่ยมมรกต หรือ ช่องบก (อังกฤษ: Emerald Triangle; เขมร: មុំបី, แปลตรงตัว'สามมุม'[1] อ่านว่า มุมไบ[2]) เป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างชายแดนประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ 12 ตารางกิโลเมตร สำหรับพื้นที่ส่วนที่อยู่ในประเทศไทยคือ พื้นที่ในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ในเขตประเทศลาวคือเมืองมูลประโมกข์ แขวงจำปาศักดิ์ ส่วนพื้นที่ในประเทศกัมพูชาคือเมืองจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร สามเหลี่ยมมรกตตั้งชื่อเลียนแบบสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อของไทย ลาว และพม่า ในภาคเหนือ

ปัจจุบันบริเวณสามเหลี่ยมมรกตถูกประเทศ 1 ใน 3 คือประเทศกัมพูชาอ้างสิทธิพื้นที่ทั้งหมดจนรุกล้ำเข้ามาในเขตแดนของประเทศไทยและลาวจนทำให้เกิดข้อพิพาท อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาผ่านกลไกลทางการทูต[3]

สมรภูมิช่องบก

[แก้]

เกิดขึ้นในช่วงเดือนมราคม พ.ศ.​ 2528 - เดือนธันวาคม พ.ศ.​ 2530 เป็นสงครามระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพเวียดนามซึ่งควบคุมพื้นที่กัมพูชาในขณะนั้น โดยทางเวียดนามได้รุกล้ำเข้ามาในพรมแดนไทย ซึ่งสุดท้ายกองทัพไทยสามารถขับไล่ทหารเวียดนามกลับไปได้ แต่ทหารเสียชีวิต 109 นาย และบาดเจ็บ 664 นาย[4]

ความร่วมมือ

[แก้]

เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง 3 ประเทศที่อยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมมรกต เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543 โดยนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นผู้เสนอ โดยฝ่ายไทยนั้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อ 12 กุมภาพันธ์​ พ.ศ.​ 2545 และดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หน่วยงานของไทยที่รับผิดชอบคือ กระทรวงการต่างประเทศ และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมถึงได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization: WTO) และ UNDP เป็นต้น[5]

จุดผ่านแดน

[แก้]

จุดผ่านแดนอย่างเป็นทางการของพื้นที่สามเหลี่ยมมรกต มีดังนี้

  1. ประเทศกัมพูชา กัมพูชา (จอม) – ประเทศไทย ไทย (จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ ศรีสะเกษ)
  2. ประเทศกัมพูชา กัมพูชา (ดอนกระลอ) – ประเทศลาว ลาว (เวินคำ)
  3. ประเทศลาว ลาว (วังเต่า) – ประเทศไทย ไทย (จุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก อุบลราชธานี)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ភូមិសាស្ត្រ​តំបន់​មុំ​៣​នៃ​ប្រទេស​ទាំង​៣​មិនសូវ​មាន​អ្នក​ស្គាល់". Koh Santepheap Daily (ภาษาเขมร). 2019-06-09. สืบค้นเมื่อ 2025-06-05. {{cite web}}: zero width space character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 12 (help)
  2. ""ภูมิธรรม" ยังไม่เชื่อ กัมพูชาไม่ถกปมช่องบกใน JBC วอนสื่อเช็กให้ชัวร์ ย้ำจุดยืน 14 มิ.ย.คุยให้จบ ศาลโลกไม่มีอำนาจบังคับไทย". mgronline.com. 2025-06-05. สืบค้นเมื่อ 2025-06-05.
  3. "เจาะแผนเขมรฮุบดินแดนไทย "ช่องบก" แอบยึดแล้วยั่วให้รบ ก่อนชงขึ้นศาลโลก". mgronline.com. 2025-06-01. สืบค้นเมื่อ 2025-06-03.
  4. "กระดานข่าว กองบิน 21 กองพลบินที่ 2 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-19. สืบค้นเมื่อ 2008-07-19.
  5. สามเหลี่ยมมรกต เก็บถาวร 2008-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]