ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะราษฎร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
ผิด
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล พรรคการเมือง
| name = คณะราษฎร
| native_name = สมาคมคณะราษฎร<br />สโมสรราษฎร์สราญรมย์
| สี = blue
| ประเทศ = ไทย
| leader2_title = ผู้นำฝ่ายทหาร
| leader2_name = [[พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)]] <br> [[หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)]]
| leader1_title = ผู้นำฝ่ายพลเรือน
| leader1_name = [[หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)]]
| leader3_title = นายกสมาคม
| leader3_name = พระยานิติศาสตร์ไพศาล
| นโยบายพรรค = [[หลัก 6 ประการของคณะราษฎร|หลัก 6 ประการ]]
| membership_year = 2475
| membership = 102 คน {{เล็ก|(ผู้ก่อการ)}}<br />10,000 คน<ref name="ชาญวิทย์"/>{{rp|132}}
| สำนักงานใหญ่ = [[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] (ปี 2475–2482) <br> [[วังสวนกุหลาบ]] (หลังปี 2482)
| founded = 5 กุมภาพันธ์ 2469
| dissolved = 8 พฤศจิกายน 2490{{efn|[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490]]}}
| ideology = [[ชาตินิยม]] <br> [[เสรีนิยม]] <br>[[รัฐธรรมนูญนิยม]]
| logo = [[ไฟล์:Memorial peg of Siamese Revolution of 2475.jpg|250px]]
| caption = [[หมุดคณะราษฎร]]
}}

'''คณะราษฎร''' ([–ราดสะดอน];<ref>{{cite web|title=เรื่องการอ่านคำว่า “คณะราษฎร”|publisher=ราชบัณฑิตยสภา|author=ราชบัณฑิตยสภา|date=2017-04-25|accessdate=2017-05-10|language=th|location=กรุงเทพฯ|website=สำนักงานราชบัณฑิตยสภา|url=https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1463239280400829&id=206167399441363|quote=เรื่องการอ่านคำว่า “คณะราษฎร” ตามที่มีประชาชนสอบถามการอ่านคำว่า “คณะราษฎร” นั้น สำนักงานราชบัณฑิตยสภา โดยคณะกรรมการชำระพจนานุกรมและคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ประวัติศาสตร์ไทย ได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า ในทางภาษา คำว่า “คณะราษฎร” ออกเสียงตามรูปเขียนว่า [คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน] และปรากฏหลักฐานจากการให้สัมภาษณ์ของ นายปรีดี พนมยงค์ แก่สถานีวิทยุบีบีซี ภาคภาษาไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ นายปรีดี พนมยงค์ ออกเสียงคำว่า “คณะราษฎร” ว่า [คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน]}}</ref> มักสะกดผิดเป็น '''คณะราษฎร์''') หรือ '''สมาคมคณะราษฎร''' หรือต่อมาใช้ว่า '''สโมสรราษฎร์สราญรมย์''' เป็นกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการ[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]] บ้างยกให้เป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของไทย แม้ไม่ได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ

คณะราษฎรเกิดขึ้นจากการประชุมของคณะผู้ก่อการในเดือนกุมภาพันธ์ 2469 จากนั้นมีการสมัครสมาชิกเพิ่ม จนในปี 2475 ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจาก[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของ[[ประเทศสยาม]] จาก[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]]มาเป็น[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]] แม้ว่าพระมหากษัตริย์และฝ่าย[[กษัตริย์นิยม]]จะต่อต้านคณะราษฎรทุกวิถีทางก็ตาม เช่น [[รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476|การปิดสภาฯ]], [[กบฏบวรเดช]] และ[[กบฏพระยาทรงสุรเดช]] แต่คณะราษฎรเป็นฝ่ายชนะ และมีบทบาทอย่างสูงในการเมืองไทยแทนสถาบันพระมหากษัตริย์ในช่วงปี 2481–90 อย่างไรก็ดี บรรยากาศหลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]และ[[การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]]ทำให้ฝ่ายกษัตริย์นิยมสบช่องทวงอำนาจคืน จนสำเร็จใน[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490]] ซึ่งสมาชิกคณะราษฎรหมดอำนาจไปโดยสิ้นเชิง คงเหลือเพียงจอมพล ป. พิบูลสงครามซึ่งไม่มีอำนาจดังเก่าแล้ว

มรดกของคณะราษฎรถูกโจมตีในเวลาต่อมาว่าเป็นเผด็จการทหารและ "ชิงสุกก่อนห่าม" และมีการยกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "บิดาแห่งประชาธิปไตยไทย" แทน<ref name="ณัฐพล" />{{rp|54}}

== การก่อตั้ง ==
== การก่อตั้ง ==
{{ดูเพิ่มที่|ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม}}
{{ดูเพิ่มที่|ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:33, 22 ธันวาคม 2564

การก่อตั้ง

อาคารสโมสรราษฎร์สราญรมย์ ในสวนสราญรมย์ ปัจจุบันเป็นที่ทำการสวน

ราชอาณาจักรสยามปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาติได้ประสบกับปัญหาซึ่งเกิดจากรัฐบาลต้องรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจที่ร้ายแรงและภัยคุกคามจากต่างชาติ (จักรวรรดิบริติชและจักรวรรดิฝรั่งเศส) นอกจากนี้ ประเทศยังประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขนานใหญ่เมื่อชาวเมืองและชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานครเริ่มขยายจำนวนขึ้น และเริ่มแสดงความต้องการสิทธิเพิ่มมากขึ้นจากรัฐบาล และวิจารณ์ว่ารัฐบาลไร้ประสิทธิภาพ

คณะราษฎรประกอบด้วยกลุ่มบุคคลผู้ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนและนักเรียนทหารที่ศึกษาและทำงานอยู่ในทวีปยุโรป โดยเริ่มต้นจากปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฎหมาย และประยูร ภมรมนตรี[a] นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ก่อนที่จะหาสมาชิกที่มีความคิดแบบเดียวกันเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 7 คน ได้แก่ [1]

  1. ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ นักเรียนวิชาทหารปืนใหญ่ ประเทศฝรั่งเศส
  2. ปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศฝรั่งเศส
  3. ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ประเทศฝรั่งเศส
  4. ร้อยตรี ทัศนัย มิตรภักดี นักเรียนวิชาทหารม้า ประเทศฝรั่งเศส
  5. ตั้ว ลพานุกรม นักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
  6. จรูญ สิงหเสนี[b] ผู้ช่วยราชการสถานทูตสยามในประเทศฝรั่งเศส
  7. แนบ พหลโยธิน นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศอังกฤษ
ถนนซอเมอราร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่ประชุมครั้งแรกของผู้ก่อตั้งคณะราษฎร

มีการประชุมครั้งแรกที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอเมอราร์ (Rue Du Sommerard) ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ซึ่งติดต่อกันนานถึง 5 วัน[2] ที่ประชุมมีมติตกลงเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย โดยตกลงที่ใช้วิธีการ "ยึดอำนาจโดยฉับพลัน" รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงการนองเลือด เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วในการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติรัสเซีย[3] ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการถือโอกาสเข้ามาแทรกแซงจากมหาอำนาจบริเตนและฝรั่งเศสที่มีดินแดนติดกับสยามในเวลานั้น[4]

กลุ่มผู้ก่อการยังตั้งปณิธานในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพื่อให้สยามบรรลุเป้าหมาย 6 ประการ[4] ซึ่งต่อมาหลังจากปฏิวัติยึดอำนาจได้แล้ว ก็ได้ประกาศเป้าหมาย 6 ประการนี้ไว้ในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และต่อมาได้เรียกว่าเป็น "หลัก 6 ประการของคณะราษฎร" ประกอบด้วย[4]

  1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
  2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
  3. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
  4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่
  5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
  6. จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

สุดท้ายที่ประชุมได้ลงมติให้ ปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าไปพลางก่อน[1]

การสมัครสมาชิก

สำหรับระยะเวลาเตรียมการนั้นบอกไว้ไม่ตรงกัน นายทหารระดับสูงที่มีแนวความคิดอย่างเดียวกันมานานก่อนหน้านี้ 4–5 ปีแล้ว[5] ส่วนพระยาพหลพลพยุหเสนาเคยให้สัมภาษณ์ว่า สายทหารมีความคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองมาแล้ว 2–3 ปี และสายพลเรือนมีความคิดมาแล้ว 6–7 ปี[6]: 48  จากข้อมูลดังกล่าวทำให้น่าเชื่อว่าสายทหารน่าจะรวมกันในสยามแล้วในปี 2472–73[6]: 48–9 

ระหว่างปี 2470–72 ร้อยโทประยูรสามารถหาสมาชิกเพิ่มได้อีก 8 นาย รวมทั้งพระยาทรงสุรเดชขณะเดินทางไปดูงานที่ประเทศฝรั่งเศส และหลวงสินธุสงครามชัยซึ่งเป็นนักเรียนนายเรือที่ประเทศเดนมาร์ก นอกจากนี้ยังมีควง อภัยวงศ์และทวี บุณยเกตุด้วย[6]: 50  การก่อตัวของคณะดังกล่าว 15 คนแรกมาจากความสัมพันธ์ส่วนตัว คือเป็นศิษย์ร่วมสถาบันหรือเป็นเครือญาติกัน[6]: 50–1  แม้สมาชิกคณะราษฎรจะเป็นักเรียนนอกหลายคน แต่บางคนก็ไม่เคยศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ เช่น พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)[6]: 51 

การสมัครสมาชิกของคณะราษฎรนั้นถือว่ารัดกุมกว่าเมื่อเทียบกับเหตุการณ์กบฏ ร.ศ. 130 เนื่องจากไม่ปรากฏว่าข่าวรั่วไหลจนถูกจับได้ มีหลักฐานว่าบางคนปฏิเสธเข้าร่วมแต่สัญญาว่าจะไม่บอกรัฐบาล[6]: 52 

สมาชิกสายทหารบก
สมาชิกสายทหารเรือ

การแบ่งสายของคณะราษฎรนั้นมีสองแบบ ดังนี้

หลักฐานชี้ว่าคณะราษฎรแบ่งสมาชิก 102 นายเป็นสามสายคือ สายทหารบก สายทหารเรือ สายพลเรือน โดยสมาชิกที่สำคัญในการก่อตั้งคณะราษฎร ในแต่ละสาย ได้แก่

สำหรับคำบอกเล่าของพระยาทรงสุรเดช แบ่งออกเป็นสี่พวก

พระยาทรงสุรเดชเล่าว่า เกิดจากสายพลเรือนหาทหารไว้เป็นพวกด้วยแต่เป็นพวกยศน้อยจึงทำให้เกิดการแบ่งเป็นสายที่สี่[6]: 48 

ทุกสายตกลงให้พระยาพหลพลพยุหเสนาที่มีอายุมากที่สุด (45 ปี) เป็นหัวหน้า[6]: 47  สำหรับการประสานงานข้ามสายเป็นบทบาทของร้อยโท ประยูร ภัทรมนตรี[6]: 47  คณะราษฎรยังตกลงกันว่า ในเรื่องของการปฏิวัติ ตลอดจนสถาปนาความมั่นคง และความปลอดภัยของบรรดาสมาชิก และของประเทศ เป็นหน้าที่ของฝ่ายทหาร และในส่วนของการร่างคำประกาศ ตลอดจนการร่างกฎหมาย และการวางเค้าโครงต่าง ๆ ของประเทศ เป็นหน้าที่ของฝ่ายพลเรือน[3][7]

การเตรียมการ

การประชุมเพื่อเตรียมลงมือนั้นเกิดขึ้นเพียง 4 เดือนก่อนวันที่ 24 มิถุนายน รวม 7 ครั้ง เหตุการณ์ช่วงนั้นประจวบกับความอ่อนแอของรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและความขัดแย้งในหมู่เสนาบดี ด้านชาญวิทย์ เกษตรศิริสันนิษฐานว่าเนื่องจากมีการหารือเรื่องแนวทางการปกครองสยามโดยทั่วไปในหมู่ปัญญาชน ทำให้การประชุมของคณะราษฎรดูเกือบไม่ผิดปกติ[6]: 52–3  ประกอบกับสมาชิกผู้ก่อการอยู่ในแวดวงแห่งอำนาจ และผู้ใหญ่ในรัฐบาลชะล่าใจด้วยเห็นว่าคุ้นเคยกันอยู่[6]: 53–4  พระยาทรงสุรเดชได้ชื่อว่าเป็นมันสมองเบื้องหลังการปฏิวัติสยาม[6]: 47  โดยภายหลังการปฏิวัตินั้นคณะราษฎรได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีหนังสือขออภัยโทษที่คณะราษฎรได้ใช้ถ้อยคำรุนแรงในป่าวประกาศการปฏิวัติ สยามครั้งนั้น[8]

อุดมการณ์

สมาชิกผู้ก่อการมีอุดมกาารณ์ชาตินิยมที่ตกทอดมาจากการตั้งรัฐชาติในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เล็งเห็นว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ เป็นระบอบที่ทำให้ประเทศชาติล้าหลังไม่เจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ นอกจากนี้ยังตระหนักถึงภัยจากจักรวรรดินิยมจากบริเตนใหญ่และฝรั่งเศสที่มีดินแดนติดกับสยามทั้งสองทิศ[6]: 71–3  นอกจากนี้ยังมีความเห็นนิยมระบอบรัฐธรรมนูญด้วย และมองว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองเดียวที่ได้รับความนับถือในประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า[6]: 79  โดยมองว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ใช้เวลานานในการก่อให้เกิดประชาธิปไตย คือมีการประวิงเวลามาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[6]: 80 

ประกาศคณะราษฎร (๒๔๗๕-๐๖-๒๔)

คณะราษฎรระบุเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงการปกครองในเบื้องต้นจะให้เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญดังข้อความ

ต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลาย ๆ ความคิด ดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึ่งได้ขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงค์ตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร

แต่หากไม่ทรงยินยอม ได้ระบุต่อไปว่า

ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธ หรือไม่ตอบภายในกำหนด โดยเห็นแก่ส่วนตนว่า จะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะชื่อว่า ทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปตัย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นอยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา"

จากบทนิยามของ "ประชาธิปตัย" ในประกาศจะเห็นว่าเป็นความหมายของสาธารณรัฐ[9]: 11 

สถานภาพ

หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คณะราษฎรมีการจัดตั้งเป็น "สมาคมคณะราษฎร" ซึ่งมีลักษณะเป็นพรรคการเมือง มีพระยานิติศาสตร์ไพศาลเป็นนายกสมาคม มีประกาศรับสมาชิกทั่วประเทศจนมีรายงานว่ามีสมาชิก 10,000 คน[6]: 132  อย่างไรก็ดี หลังรัฐบาลพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ประกาศห้ามตั้งสมาคมการเมือง จึงเท่ากับเป็นการยุบสมาคมคณะราษฎรตามไปด้วย แม้หลังพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วก็ยังไม่ยกเลิกการห้ามจัดตั้งพรรคการเมือง สมาคมคณะราษฎรจึงเปลี่ยนบทบาทเป็น "สโมสรราษฎร์สราญรมย์" ที่มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นองค์การการเมืองโดยตรง[6]: 133–4 

บทบาทในการเมืองไทย

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จแล้ว นับว่าคณะราษฎรได้มีบทบาทและอิทธิพลอย่างสูงในทางการเมืองและสังคมของประเทศไทย เป็นระยะเวลาประมาณ 15 ปี จนกระทั่งมาหมดบทบาทอย่างสิ้นเชิงในปลายปี พ.ศ. 2490 จากการรัฐประหารของคณะนายทหาร ภายใต้การนำของพลโท ผิน ชุณหะวัณ และจากนั้นได้ให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถึงแม้จอมพล ป. จะเป็นสมาชิกคณะราษฎรก็ตาม แต่สมาชิกและบุคคลร่วมคณะในรัฐบาลก็มิได้เป็นสมาชิกคณะราษฎรเลย โดยรัฐประหารครั้งนั้นถือได้ว่าเป็นการล้างอำนาจทางการเมืองของคณะราษฎรเสียสิ้น[4] และจากนั้นต่อมาแม้สมาชิกคณะราษฎรหลายคนจะยังมีชีวิตอยู่ และยังอยู่ในเส้นทางสายการเมืองก็ตาม แต่ก็มิได้มีบทบาทอย่างสูงเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว[10][1]

ปี 2476 แผนเค้าโครงเศรษฐกิจของปรีดี พนมยงค์หรือเรียก "สมุดปกเหลือง" นั้นได้วางแนวทางให้รัฐบาลเป็นเจ้าของที่ดิน และให้ประชาชนเป็นลูกจ้างของรัฐ[11] ผลจากแผนดังกล่าวทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นในหมู่คณะราษฎรระหว่างสมาชิกสายทหารบกที่คัดค้าน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลุ่มหนุ่มพลเรือนที่สนับสนุน[12] ปรากฏว่าในการสั่งปิดสภาในเดือนเมษายน 2476 มีสมาชิกคณะราษฎรแยกตัวไปเข้ากับระบอบเก่าด้วย เช่น พระยาทรงสุรเดช และประยูร ภัทรมนตรี[13]

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการและทีนิวส์อ้างว่า สมาชิกคณะราษฎรเข้ามาจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ฉวยโอกาส ก่อให้เกิดสิ่งของมีค่าสูญหายไปจากพระบรมมหาราชวัง และวัดพระแก้ว โดยมีหลักฐานที่บ่งบอกถึงกลุ่มคณะราษฎร ด้วยการสมคบคิดกับผู้แทนราชการพระองค์ นำที่ดินของพระมหากษัตริย์มาซื้อเองในราคาที่ถูกกว่าราคาตลาด และนำขายต่อ หรือขายคืนพระราชสำนักในราคาแพง[14][15]

การครองตำแหน่งสำคัญของคณะราษฎร
พ.ศ.
(นับแบบเก่า)
นายกรัฐมนตรี ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ
2475 พระยาพหลพลพยุหเสนา
2476 พระยาพหลพลพยุหเสนา
2477
2478
2479 อดุล อดุลเดชจรัส
2480
2481 หลวงพิบูลสงคราม
(ป. พิบูลสงคราม)
หลวงสินธุสงครามชัย
(สินธุ์ กมลนาวิน)
หลวงพิบูลสงคราม
(ป. พิบูลสงคราม)
2482
2483
2484
2485
2486
2487
ควง อภัยวงศ์ พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน)
2488
ทวี บุณยเกตุ
2489
ปรีดี พนมยงค์ อดุล อดุลเดชจรัส
ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
2490

ปัจจุบันสมาชิกคณะราษฎรทั้งหมดเสียชีวิตแล้ว โดยคนสุดท้ายที่เสียชีวิตคือ ร้อยโท กระจ่าง ตุลารักษ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ด้วยอายุ 96 ปี[16]

ปรปักษ์

"วงศ์จักรีจักแก้แค้นคณะก่อการฯ ตัดหัวเอาเลือดล้างตีนวงศ์จักรี"[17]: 20 

หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร

พระมหากษัตริย์และกลุ่มกษัตริย์นิยมสมคบกันบ่อนทำลายขัดขวางคณะราษฎรเกิดเป็น "คณะชาติ" เริ่มจากการต่อรองรัฐธรรมนูญ จนมีการเพิ่มพระราชอำนาจและชะลอการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไป 10 ปี[17]: 17–8  นำไปสู่กฎหมายปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญเพื่อขัดขวางกระบวนการพิจารณาเค้าโครงการเศรษฐกิจ พ.ศ. 2475 (สมุดปกเหลือง) ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่[17]: 19  พระบาทสมเด็จพระปกกเล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงตำหนินายกรัฐมนตรีว่าจัดการกับคณะราษฎรได้ไม่เด็ดขาดพอ และลงพระปรมาภิไธยในพระบรมราชโองการประหารชีวิต สมาชิกคณะราษฎรไว้ล่วงหน้า[17]: 21  ทรงตั้งหน่วยสืบราชการลับส่วนพระองค์เพื่อถวายรายงานความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ[17]: 23–4  เกิดเป็นเครือข่ายต่อต้านการปฏิวัติใต้ดินระหว่างกลุ่มกษัตริย์นิยม พรรคการเมือง และหนังสือพิมพ์ที่มีวังไกลกังวลเป็นศูนย์กลาง[17]: 27  ในการเตรียมการกบฏบวรเดชนั้นมีเช็คสั่งจ่ายเงินของพระคลังข้างที่แก่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชจำนวน 200,000 บาท[17]: 27  นอกจากนี้ สายลับส่วนพระองค์ยังลงมือลอบสังหารผู้นำคณะราษฎรหลายครั้งระหว่างปี 2476–78 รวมทั้งมีคำสั่งฆ่าตัดตอนมือปืนชุดหนึ่งเพื่อไม่ให้สืบสาวมาถึงสายลับด้วย[17]: 32–3  หลังจากทรงเพลี่ยงพล้ำหลายครั้งแก่คณะราษฎร ทรงเปลี่ยนกลับมาแสดงท่าทีสนับสนุนประชาธิปไตยเพื่อให้เข้าใจว่ากฎหมายต่าง ๆ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นไม่ใช่พระราชประสงค์[17]: 35–6 [18]

พระยาทรงสุรเดชซึ่งได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ทหารเสือของคณะราษฎร และเป็นผู้ร่วมวางแผนการปฏิวัติสยาม ได้กล่าวในภายหลังว่าความผิดอันใหญ่หลวงของตน[19] ซึ่งต่อมาพระยาทรงสุรเดชก่อกบฏต่อรัฐบาลคณะราษฎร ในปี 2481 และหลังจากนั้นรัฐบาลคณะราษฎรสามารถกวาดล้างขบวนการกษัตริย์นิยมได้ขนานใหญ่ หนึ่งในนั้นมีเจ้านายชั้นสูง คือ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ในเอกสารของศาลพิเศษกล่าวถึงความเคลื่อนไหวในการเข้าเฝ้าอดีตพระมหากษัตริย์ที่กรุงลอนดอน และกรมนครสวรรค์วรพินิตที่อินโดนีเซียเพื่อจัดหาทุนสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง[17]: 39  หลังการกวาดล้างใหญ่นี้ทำให้ขบวนการดังกล่าวเสื่อมลงไปช่วงหนึ่ง

มาจนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง บรรยากาศการเมืองไทยขณะนั้นเอื้อต่อการประนีประนอม ทำให้ขบวนการกษัตริย์นิยมกลับคืนมาอีกครั้ง มีการนิรโทษกรรมกบฏต่อรัฐบาลคณะราษฎร เครือข่ายกษัตริย์นิยมตั้งพรรคประชาธิปัตย์[17]: 42  แต่หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลในปี 2489 กลุ่มกษัตริย์นิยมสบช่องทวงคืนอำนาจ[17]: 43  และคิดอ่านกำจัดผู้นำคณะราษฎรคนสำคัญสองคน คือ ปรีดี พนมยงค์ และจอมพล ป. พิบูลสงคราม สุดท้ายรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 เกิดขึ้น โดยได้รับพระราชหัตถเลขาแสดงความพอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช[17]: 44 

กล่าวโดยสรุปว่าพระมหากษัตริย์และกลุ่มกษัตริย์นิยมสร้างพันธมิตรกับหลายกลุ่ม บางครั้งร่วมกับพลเรือน บางครั้งร่วมกับทหาร บางครั้งร่วมกับทหารใหม่เพื่อล้มทหารเก่า จนสุดท้ายสามารถกำจัดคณะราษฎรและสถาปนาคติ "อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ" กับระบอบเผด็จการทหาร ภายใต้ชื่อ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข[17]: 62–3 

มรดก

มรดกคณะราษฎรด้านต่าง ๆ เช่น

การโจมตีมรดกคณะราษฎร

ฝ่ายกษัตริย์นิยมโจมตีคณะราษฎรว่า การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เป็นจุดเริ่มต้นของเผด็จการทหาร เป็นการ "ชิงสุกก่อนห่าม" เพราะตัดหน้าพระบาทสมเด็จพระปกกเล้าเจ้าอยู่หัวที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว อีกทั้งพรรณนาว่าพระองค์ทรงเป็น "บิดาแห่งประชาธิปไตยไทย" ด้วย[17]: 54  นอกจากนี้ยังเล่าว่าฝ่ายตนต่างหากที่เป็นผู้ต่อสู้เพื่อทวงคืนประชาธิปไตยจากเผด็จการคณะราษฎร[17]: 55  มีการเผยแพร่งานเขียนว่าหน้าที่ของราษฎรไทยคือการปฏิบัติตามพระราชประสงค์[17]: 57  มีการใส่ความว่าสมาชิกคณะราษฎรมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุสวรรคต สร้างภาพว่ายุคสมัยของคณะราษฎร การเมืองไทยมีแต่ความแตกแยก ปราศจากศีลธรรม และมีแต่วิปโยคจากสงครามและการสูญเสียพระมหากษัตริย์[17]: 60–1  นวนิยาย สี่แผ่นดิน มุ่งสร้างภาพถวิลหาอดีตและสภาพสังคมที่เสื่อมลงหลังการปฏิวัติ[17]: 61 

วาทกรรมต่าง ๆ ข้างต้นมีการผลิตซ้ำอย่างต่อเนื่องยาวนานจนกลายเป็นเรื่องเล่ากระแสหลัก จนมีการขยายความรวมถึงความล้มเหลวของการปฏิวัติสยาม นอกจากนี้ยังใช้เป็นแนวทางศึกษาทางวิชาการด้วย ทำให้มองข้ามบทบาทของพระมหากษัตริย์และพวกกษัตริย์นิยม[17]: 61–2 

21 พฤษภาคม 2503 รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน และให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันชาติแทน[21]

วันที่ 14 เมษายน 2560 หมุดคณะราษฎรถูกเปลี่ยน โดยหมุดใหม่มีข้อความว่า "ความนับถือรักใคร่ในพระรัตนตรัยก็ดี ในรัฐของตนก็ดี ในวงศ์ตระกูลของตนก็ดี มีจิตซื่อตรงในพระราชาของตนก็ดี ย่อมเป็นเครื่องทำให้รัฐของตนเจริญยิ่ง ขอประเทศสยามจงเจริญยั่งยืนตลอดไป ประชาชนสุขสันต์ หน้าใส เพื่อเป็นพลังของแผ่นดิน"[22]

ในปี 2563 มีการเปลี่ยนชื่อค่ายพหลโยธินและค่ายพิบูลสงคราม ซึ่งได้ชื่อตามผู้นำคณะราษฎร เป็น "ค่ายภูมิพล" และ "ค่ายสิริกิติ์" ตามลำดับ[23]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

  1. ใช้คำนำหน้านามตามประกาศและแถลงการณ์ของคณะราษฎรในขณะนั้น ใช้คำนำหน้านามว่า นาย เนื่องจากขณะนั้นออกจากราชการทหารแล้ว และได้รับราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือน
  2. ขณะนั้นยังมิได้รับบรรดาศักดิ์และราชทินนาม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 รุ่งมณี เมฆโสภณ. อำนาจ 2 : ต่อสู้กู้ชาติ เอกราษฎร์ อธิปไตย. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, 2555. 183 หน้า. ISBN 9786165360791
  2. หน้า 163, เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ โดย นายหนหวย (พ.ศ. 2530, จัดพิมพ์จำหน่ายโดยตัวเอง)
  3. 3.0 3.1 สองฝั่งประชาธิปไตย, "2475" .สารคดีทางไทยพีบีเอส: 26 กรกฎาคม 2555
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 สารคดี, ยุทธการยึดเมือง 24 มิถุนายน 2475, นิตยสารสารคดี, ปรับปรุงล่าสุด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549
  5. นายหนหวย. ทหารเรือปฏิวัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พฤศจิกายน 2555 (พิมพ์ครั้งที่ 3). 124 หน้า. ISBN 9789740210252
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 6.13 6.14 6.15 6.16 เกษตรศิริ, ชาญวิทย์ (2551). ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475–2500. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ISBN 978-974-372-972-0.
  7. คณะราษฎร : ย้อนเหตุการณ์สำคัญของไทย 88 ปี บนเส้นทางประชาธิปไตยหลังปฏิวัติสยาม
  8. วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย. (2555). เอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ 1.กรุงเทพฯ: มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
  9. Patrick Jory. "Republicanism in Thai History". สืบค้นเมื่อ 20 June 2020.
  10. เอกกษัตริย์ ใต้รัฐธรรมนูญ, บทที่ ๒๙ : ก่อนสฤษดิ์ปฏิวัติ (ต่อ) โดย วิมลพรรณ ปิติธวัชชัย : หน้า 2 เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
  11. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง. (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก, 2544) หน้า 5.
  12. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประวัติการเมืองไทย 2475 – 2500, หน้า 138–9.
  13. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประวัติการเมืองไทย 2475 – 2500, หน้า 145.
  14. ยึดทรัพย์ศักดินา
  15. เพื่อเกื้อกูลภาษีประชาชน
  16. ประชาไท, คณะราษฎรคนสุดท้ายเสียชีวิตแล้ว เก็บถาวร 2015-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 24 มิ.ย. 52
  17. 17.00 17.01 17.02 17.03 17.04 17.05 17.06 17.07 17.08 17.09 17.10 17.11 17.12 17.13 17.14 17.15 17.16 17.17 17.18 17.19 ใจจริง, ณัฐพล (2556). ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ: ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500) (1 ed.). ฟ้าเดียวกัน. ISBN 9786167667188.
  18. พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7. หนังสืองานพระบรมศพ สมเด็จพระนางรำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7. 9 เมษายน 2528
  19. นรนิติ เศรษฐบุตร , ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ผู้แต่งร่วม. (2527).บันทึกพระยาสุรเดช เมื่อวันปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475. กรุงเทพฯ: แพร่วิทยา.
  20. ราชกิจจานุเบกศา พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช ๒๔๘๖ เรียกดูวันที่ 2013-02-21
  21. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย; ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 77 ตอน 43 24 พฤษภาคม 2503 หน้า 1452
  22. แชร์ว่อน! หมุดคณะราษฎรถูกเปลี่ยน ผอ.เขตดุสิตปัดเกี่ยว กรมศิลป์แจงไม่อยู่ในความรับผิดชอบ
  23. คณะราษฎร : โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนาม "ค่ายพหลโยธิน" และ "ค่ายพิบูลสงคราม" เป็น "ค่ายภูมิพล" และ "ค่ายสิริกิติ์"
  • สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. การเมืองการปกครองไทย: พ.ศ. 1762–2500. สำนักพิมพ์เสมาธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. พ.ศ. 2549.

แหล่งข้อมูลอื่น