วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/พฤษภาคม
1 พฤษภาคม: เมย์เดย์; วันแรงงานสากล; แบลเตย์นในไอร์แลนด์
- พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) – อดัม ไวเชาพท์และอดอล์ฟ ฟอน คนิกเกอก่อตั้งสมาคมลับชื่อภาคีอิลลูมินาตี ในอิงโกลชตัดท์ ไบเอิร์น ประเทศเยอรมนี
- พ.ศ. 2329 (ค.ศ. 1786) – งานแต่งงานของฟีกาโร อุปรากรซึ่งประพันธ์โดยว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท แสดงรอบปฐมทัศน์ในกรุงเวียนนา
- พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) – เปิดตึกเอ็มไพร์สเตต (ในภาพ) ในนครนิวยอร์ก ซึ่งขณะนั้นเป็นอาคารสูงสุดในโลก
- พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) – การรายงานการพบ "การระบาดทั่วของโรคลึกลึบ ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทกลาง" โดยแพทย์ชาวญี่ปุ่น นำไปสู่การค้นพบโรคมินามาตะอย่างเป็นทางการ
ดูเพิ่ม: 30 เมษายน – 1 พฤษภาคม – 2 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
2 พฤษภาคม: วันครูในอิหร่าน; วันธงในโปแลนด์
- พ.ศ. 1737 (ค.ศ. 1179) – พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษพระราชทานพระบรมราชานุญาตครั้งแรกแก่นครพอร์ตสมัท
- พ.ศ. 2079 (ค.ศ. 1536) – สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ แอนน์ โบลีน ทรงถูกจับในข้อหาทำชู้ ร่วมประเวณีกับญาติสนิท และกบฏ แล้วทรงถูกนำตัวไปคุมขังอยู่ ณ หอคอยแห่งลอนดอน
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – สงครามโลกครั้งที่สอง: พลเอก เฮลมุท ไวด์ลิง ผู้บัญชาการทหารเยอรมันในกรุงเบอร์ลิน สละนครต่อกำลังโซเวียตภายใต้การบังคับบัญชาของจอมพล เกออร์กี จูคอฟ ยุติยุทธการที่เบอร์ลิน
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) – โทนี แบลร์ แห่งพรรคแรงงาน ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรสมัยแรก และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่มีอายุน้อยที่สุดในรอบ 185 ปี
- พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) – พายุหมุนนาร์กิส (ในภาพ) ซึ่งมีความรุนแรงระดับ 4 พัดขึ้นฝั่งของพม่า เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 130,000 ศพ นับเป็นภัยธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์พม่า
ดูเพิ่ม: 1 พฤษภาคม – 2 พฤษภาคม – 3 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
3 พฤษภาคม: วันรัฐธรรมนูญในโปแลนด์และญี่ปุ่น; วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก
- พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) – รัฐธรรมนูญโปแลนด์ 3 พฤษภาคม หนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งชาติฉบับแรกของโลกซึ่งประมวลขึ้น ผ่านความเห็นชอบของเซย์ม
- พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) – กำลังออสเตรียอันมีเฟรเดอริก เบียงซี ดยุคแห่งคาซาเลนซาเป็นผู้นำ รบชนะกำลังอันมีฌออากีม มูว์ราแห่งเนเปิลส์เป็นผู้นำที่ยุทธการที่โตเลนตีโน เป็นชัยชนะเด็ดขาดซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามนโปเลียน
- พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) – เกาะไอร์แลนด์ถูกแบ่งเป็นสองดินแดนแยกกัน คือ ไอร์แลนด์เหนือและไอร์แลนด์ใต้
- พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) – มาร์กาเร็ต มิตเชลล์ (ในภาพ) นักประพันธ์ชาวอเมริกัน ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ประเภทบันเทิงคดี จากผลงานวรรณกรรมเรื่อง วิมานลอย
- พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) – รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ บัญญัติการปกครองระบบรัฐสภา รับรองสิทธิพื้นฐาน และจำกัดให้จักรพรรดิญี่ปุ่นมีพระราชอำนาจเฉพาะในทางพิธีการ
ดูเพิ่ม: 2 พฤษภาคม – 3 พฤษภาคม – 4 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
4 พฤษภาคม: วันรำลึกผู้ตายในเนเธอร์แลนด์; วันสีเขียวในญี่ปุ่น; วันสตาร์ วอร์ส
- พ.ศ. 2036 (ค.ศ. 1493) – สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 ทรงประกาศสารตรา อินเทอร์เซเทอรา กำหนดเส้นแบ่งดินแดนในอเมริกาใต้ระหว่างสเปนกับโปรตุเกส
- พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) – นักศึกษาในประเทศจีนเริ่มเดินขบวนขนานใหญ่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน คัดค้านการประชุมสันติภาพ ณ เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส และข้อเรียกร้อง 21 ข้อของประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) – สงครามโลกครั้งที่สอง: กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นโจมตีกองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตรในยุทธนาวีที่ทะเลคอรัล เป็นการปฏิบัติทางเรือครั้งแรกที่เรือบรรทุกเครื่องบินปะทะกัน
- พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) – ในปีแรกของการก่อตั้ง องค์การสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการดอนท์เมคอะเวฟ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในประเทศแคนาดา เปลี่ยนชื่อเป็นมูลนิธิกรีนพีซ อย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) – มาร์กาเรต แทตเชอร์ (ในภาพ) สมาชิกพรรคอนุรักษนิยม ได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของสหราชอาณาจักร หลังเจมส์ คัลลาฮานและพรรคแรงงานแพ้การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อหนึ่งวันก่อน
ดูเพิ่ม: 3 พฤษภาคม – 4 พฤษภาคม – 5 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
5 พฤษภาคม: วันปลดปล่อยในเดนมาร์ก, เอธิโอเปีย และเนเธอร์แลนด์; วันเด็กในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
- พ.ศ. 2183 (ค.ศ. 1640) – พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษมีพระราชโองการยุบรัฐสภาสั้น ซึ่งเป็นรัฐสภาอังกฤษที่อายุได้เพียงสามสัปดาห์
- พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) – สภาฐานันดรประชุมกันในแวร์ซายเพื่อถกวิกฤตการณ์ทางการเงินในประเทศฝรั่งเศส เป็นชนวนเหตุการณ์ต่าง ๆ อันนำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) – สิบประเทศยุโรปลงนามสนธิสัญญาลอนดอน ซึ่งสถาปนาสภายุโรป นับเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่เก่าแก่ที่สุดองค์การหนึ่งซึ่งทำงานเพื่อบูรณาการยุโรป
- พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) – สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (ในภาพ) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) – บ็อบบี แซนด์ส ผู้สนับสนุนสาธารณรัฐชาวไอริช เสียชีวิตจากการอดอยาก หลังอดอาหารเป็นเวลา 66 วัน
ดูเพิ่ม: 4 พฤษภาคม – 5 พฤษภาคม – 6 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2225 (ค.ศ. 1682) – พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทรงย้ายราชสำนักและที่ทำการรัฐบาลจากกรุงปารีส ไปยังพระราชวังแวร์ซาย ในนครแวร์ซาย
- พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) – เริ่มก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง ที่ประทับอย่างเป็นทางการของพระมหากษัตริย์ไทย
- พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) – เจ้าชายจอร์จ เจ้าชายแห่งเวลส์ ราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร หลังพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระราชบิดา เสด็จสวรรคต
- พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) – เซ็พเพอลีน ฮินเดินบวร์ค ของเยอรมนี ลุกติดไฟ (ในภาพ) และถูกทำลายขณะพยายามลงจอดที่สถานีวิศวกรรมอากาศนาวีเลคเฮิร์ส ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ มีผู้เสียชีวิตกว่า 30 คน
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) – อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ อุโมงค์ระบบรางยาว 50.5 กิโลเมตร ลอดช่องแคบอังกฤษ ณ ช่องแคบโดเวอร์ ซึ่งเชื่อมเกาะบริเตนใหญ่กับฝรั่งเศส เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ
ดูเพิ่ม: 5 พฤษภาคม – 6 พฤษภาคม – 7 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) – ซิมโฟนีสมบูรณ์ชิ้นสุดท้ายของลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน ซิมโฟนีหมายเลข 9 ในบันไดเสียง ดี ไมเนอร์ แสดงรอบปฐมทัศน์ในกรุงเวียนนา
- พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) – สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง: เรือดำน้ำอู-20 ของเยอรมนียิงตอร์ปิโดจมเรือเดินสมุทร อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย (ในภาพ) ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,198 ราย
- พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) – มาซารุ อิบุกะ และอากิโอะ โมริตะ ก่อตั้งบรรษัทวิศวกรรมโทรคมนาคมโตเกียว ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโซนี่
- พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) – สงครามเย็น: นีกีตา ครุชชอฟ ผู้นำโซเวียต ประกาศว่าประเทศเขากำลังควบคุมตัวนักบินชาวอเมริกัน แฟรนซิส แกรี พาวเวอส์ ซึ่งเครื่องบินสอดแนมยู-2 ถูกยิงตกเหนือสหภาพโซเวียตเมื่อหกวันก่อน
- พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) – คณะนักโบราณคดีชาวอิสราเอลค้นพบสุสานของพระเจ้าเฮโรดมหาราช ผู้ปกครองยูเดียสมัยศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล
ดูเพิ่ม: 6 พฤษภาคม – 7 พฤษภาคม – 8 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
8 พฤษภาคม: วันกาชาดโลก; วันชัยในทวีปยุโรป
- พ.ศ. 1972 (ค.ศ. 1429) – กำลังฝรั่งเศสอันมีฌาน ดาร์กเป็นผู้นำแก้ไขการล้อมออร์เลอ็องของอังกฤษ เป็นจุดพลิกผันในสงครามร้อยปี
- พ.ศ. 2337 (ค.ศ. 1794) – สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว: อ็องตวน ลาวัวซีเย นักเคมีชาวฝรั่งเศส อดีตเจ้าภาษีหลวง ถูกตีตราเป็นผู้ทรยศ ถูกไต่สวน พิพากษาลงโทษและประหารชีวิตด้วยกิโยตีนในวันเดียวกัน
- พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) – ในแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย จอห์น เพมเบอร์ตัน เภสัชกรชาวอเมริกัน ขายเครื่องดื่มอัดลมที่ต่อมาใช้ชื่อว่า โคคา-โคล่า เป็นครั้งแรก โดยอ้างสรรพคุณรักษาโรคต่าง ๆ
- พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) – ภูเขาไฟเปอเลปะทุ ทำลายเมืองแซงปีแยร์ เกาะมาร์ตินีก ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 30,000 คน
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – กองทัพส่วนใหญ่ที่เยอรมนีควบคุมอยู่ยุติปฏิบัติการที่ยังดำเนินอยู่เมื่อเวลา 23.01 น. ตามเวลายุโรปกลาง หลังมีการให้สัตยาบันตราสารยอมจำนนของเยอรมนี (การลงนามในภาพ) อย่างเป็นทางการ นับเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรป
ดูเพิ่ม: 7 พฤษภาคม – 8 พฤษภาคม – 9 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
9 พฤษภาคม: วันยุโรป/วันชูมันในสหภาพยุโรป; วันชัยในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก
- พ.ศ. 1635 (ค.ศ. 1092) – ก่อสร้างอาสนวิหารลิงคอล์น (สถาปัตยกรรมด้านในในภาพ) ในมณฑลลิงคอล์นเชอร์ ประเทศอังกฤษ เสร็จ
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – กรณีพิพาทอินโดจีนระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศสยุติลง หลังการลงนามอนุสัญญาสันติภาพซึ่งมีจักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นคนกลางในกรุงโตเกียว
- พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) – พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 พระมหากษัตริย์อิตาลี ทรงสละราชสมบัติ โดยทรงหวังว่าจะมีอิทธิพลต่อการลงประชามติว่า อิตาลีจะคงเป็นราชอาณาจักรหรือจะเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ
- พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) – รอแบร์ ชูมาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส เสนอปฏิญญาชูมาน ให้รวมอุตสาหกรรมถ่านหินและเหล็กกล้าของประเทศฝรั่งเศสกับเยอรมนีตะวันตกอยู่ใต้การบริหารร่วมกัน เป็นเหตุการณ์แรกซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งสหภาพยุโรปในที่สุด
- พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) – องค์การอาหารและยาของสหรัฐประกาศว่าจะอนุมัติการใช้อีโนวิดของเซิร์ลเพื่อคุมกำเนิด ทำให้เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดตัวแรก
ดูเพิ่ม: 8 พฤษภาคม – 9 พฤษภาคม – 10 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
10 พฤษภาคม: วันแม่ในเอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา และเม็กซิโก; วันรัฐธรรมนูญในสหพันธรัฐไมโครนีเซีย
- พ.ศ. 2046 (ค.ศ. 1503) – คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสและลูกเรือ เป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เดินทางถึงหมู่เกาะเคย์แมนในทะเลแคริบเบียน โดยตั้งชื่อว่า ลาสตอร์ตูกาส
- พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) – หอศิลป์แห่งชาติในกรุงลอนดอนเปิดต่อสาธารณะ ในอดีตทาวน์เฮาส์ของนักสะสม จอห์น จูเลียส แองเกอร์สไตน์
- พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) – เจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางคนแรก
- พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) – เนวิล เชมเบอร์ลิน (ในภาพ) นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ประกาศลาออก และเสนอให้วินสตัน เชอร์ชิลล์สืบตำแหน่งอย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – สงครามโลกครั้งที่สอง: รูด็อล์ฟ เฮ็ส สมาชิกพรรคนาซี โดดร่มสู่ประเทศสกอตแลนด์ ในความพยายามเจรจาสันติภาพกับสหราชอาณาจักร
ดูเพิ่ม: 9 พฤษภาคม – 10 พฤษภาคม – 11 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 873 (ค.ศ. 330) – นครบิแซนเทียมเปลี่ยนชื่อเป็น โนวาโรมา หรือ คอนสแตนติโนเปิล เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมัน ในรัชกาลจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1
- พ.ศ. 2354 (ค.ศ. 1811) – อิน-จัน (ในภาพ) ต้นกำเนิดคำเรียกฝาแฝดที่มีร่างกายติดกันว่า แฝดสยาม เกิดที่จังหวัดสมุทรสงคราม
- พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) – มอสซาด หน่วยสืบราชการลับของอิสราเอล จับกุมอาด็อล์ฟ ไอช์มัน ผู้นำระดับสูงของนาซีและอาชญากรสงคราม ขณะลี้ภัยในประเทศอาร์เจนตินา
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) – ดีปบลูเป็นคอมพิวเตอร์หมากรุกเครื่องแรกที่ชนะนักเล่นหมากรุกระดับแชมป์โลก เมื่อชนะแกรี คาสปารอฟ ในการรีแมตช์กระดานสุดท้าย
- พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) – เดวิด แคเมอรอนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร เมื่อพรรคอนุรักษนิยมและเสรีประชาธิปไตยตั้งรัฐบาลผสมชุดแรกของประเทศนับแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
ดูเพิ่ม: 10 พฤษภาคม – 11 พฤษภาคม – 12 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) – พระเจ้าราดามาที่ 2 แห่งมาดากัสการ์ (ในภาพ) ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ เป็นผลให้ราชบัลลังก์มาดากัสการ์ขาดเสถียรภาพ
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – คอนราด ซูเซอ วิศวกรชาวเยอรมัน นำเสนอ เซท 3 คอมพิวเตอร์ทำงานอัตโนมัติและสามารถตั้งโปรแกรมได้ ต่อนักวิทยาศาสตร์ในกรุงเบอร์ลิน
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) – มหาอำนาจตะวันตกซึ่งยึดครองเยอรมนีตะวันตก เห็นชอบให้ผ่านกฎหมายหลักพื้นฐานแห่งรัฐเยอรมันในอนาคต (ประเทศเยอรมนีปัจจุบัน)
- พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) – สหรัฐอเมริกาและแคนาดาลงนามในสนธิสัญญาอย่างเป็นทางการเพื่อก่อตั้งศูนย์บัญชาการป้องกันห้วงอวกาศอเมริกาเหนือเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการโจมตีทวีปอเมริกาเหนือทางอากาศและอวกาศ
- พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) – เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ที่มณฑลเสฉวน ประเทศจีน มีผู้เสียชีวิตกว่า 69,000 ศพ ได้รับบาดเจ็บ 374,000 คน และไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 4.8 ล้านคน
ดูเพิ่ม: 11 พฤษภาคม – 12 พฤษภาคม – 13 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2389 (ค.ศ. 1846) – สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามต่อเม็กซิโก หลังเกิดความขัดแย้งต่อเนื่องจากการผนวกเท็กซัสของสหรัฐ (พ.ศ. 2388) เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเม็กซิโก–อเมริกา
- พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1848) – มีการบรรเลงมามเมะ เพลงชาติฟินแลนด์ที่ฟรีดิก ปาซิอุส คีตกวีชาวเยอรมัน และโยฮัน ลุดวิก รุเนเบิร์ก กวีชาวฟินแลนด์ เป็นผู้เขียน ครั้งแรก
- พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) – ราชยสภา สภาสูงของรัฐสภาอินเดีย จัดประชุมครั้งแรก
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) – ความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวมาเลย์กับชนกลุ่มน้อยชาวจีน ทำให้เกิดการจลาจลจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 184 คนในกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มีผู้เสียชีวิต 190 คน รัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และระงับรัฐสภา จนถึง พ.ศ. 2514
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) – เมห์เมต อาลี แอกคา ชาวตุรกี พยายามลอบสังหารโดยการยิงสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 (ในภาพ) ณ จัตุรัสเซนต์ปีเตอร์ นครรัฐวาติกัน
ดูเพิ่ม: 12 พฤษภาคม – 13 พฤษภาคม – 14 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
14 พฤษภาคม: วันฉลองนักบุญมัทธีอัส (คริสตจักรโรมันคาทอลิก)
- พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) – เอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เริ่มทดลองใช้ฝีดาษวัวเป็นวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ
- พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) – สงครามเย็น: สหภาพโซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์รวม 8 ประเทศ ริเริ่มและลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอ ในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์
- พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) – สกายแล็บ สถานีอวกาศขององค์การนาซา ขึ้นสู่อวกาศจากแหลมคะแนเวอรัล
- พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) – อิสราเอลประกาศตนเป็นรัฐเอกราชและตั้งรัฐบาลชั่วคราว แต่ถูกรัฐอาหรับรุกรานทันที นำไปสู่สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949
- พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) – ศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้วินิจฉัยให้กลับมติของรัฐสภาที่ขับประธานาธิบดีโน มู-ฮย็อน (ในภาพ) ออกจากตำแหน่ง
ดูเพิ่ม: 13 พฤษภาคม – 14 พฤษภาคม – 15 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
15 พฤษภาคม: วันชาติในปารากวัย (พ.ศ. 2354); วันครูในเม็กซิโกและเกาหลีใต้
- พ.ศ. 2379 (ค.ศ. 1836) – นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ฟรานซิส เบลีย์ สังเกตปรากฏการณ์ลูกปัดเบลีย์เป็นครั้งแรก อันเป็นปรากฏการณ์ระหว่างสุริยุปราคา ซึ่งแสงอาทิตย์ลอดผ่านภูมิประเทศอันขรุขระของดวงจันทร์จนเห็นเป็นลูกปัด
- พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) – มิกกี้ เมาส์ และ มินนี่ เมาส์ ปรากฏตัวครั้งแรกในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง เพลนเครซี
- พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) – นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น อินุไก สึโยะชิ ถูกลอบสังหารในระหว่างความพยายามก่อรัฐประหารโดยกลุ่มทหารเรือชาตินิยมหัวรุนแรง
- พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) – ทางรถไฟสายแรกของรถไฟใต้ดินมอสโก ในกรุงมอสโก เปิดให้บริการแก่สาธารณะ ซึ่งเชื่อมระหว่างโซคอลนีกีกับปัร์ค คุลตูรี
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) – ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช โดย ฟินเซนต์ ฟัน โคค (ในภาพ) ถูกจำหน่ายโดยคริสตีส์สาขานครนิวยอร์ก เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 82.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเวลานั้นนับว่าเป็นภาพเขียนที่แพงที่สุดในโลก
ดูเพิ่ม: 14 พฤษภาคม – 15 พฤษภาคม – 16 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 1747 (ค.ศ. 1204) – สงครามครูเสดครั้งที่สี่: เคานต์บอลด์วินที่ 9 แห่งแฟลนเดอร์ส (พระราชานุสาวรีย์ในภาพ) ราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิละตินพระองค์แรกที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล
- พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) – งานประกาศผลครั้งแรกของรางวัลออสการ์ จัดขึ้นในโรงแรมโรสเวลต์ฮอลลีวูด ลอสแอนเจลิส
- พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) – คณะกรรมาธิการปฏิวัติทหาร นำโดย พัก จองฮี นำรัฐประหารที่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อ ต่อรัฐบาลยุน โบ-ซ็อน
- พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) – เหมา เจ๋อตง ผู้นำจีน เริ่มการปฏิวัติทางวัฒนธรรมอย่างเป็นทางการ อันเป็นการรณรงค์เพื่อกำจัดส่วนประกอบของชนชั้นกลางจากประเทศจีน และเพื่อดำเนินการต่อสู้ระหว่างชนชั้นต่อไป
- พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) – ตามผลการลงประชามติซึ่งจัดขึ้นราวหนึ่งเดือนก่อนหน้า รัฐสิกขิมล้มเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ และผนวกเข้าเป็นรัฐที่ 22 ของอินเดีย
ดูเพิ่ม: 15 พฤษภาคม – 16 พฤษภาคม – 17 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
17 พฤษภาคม: วันรัฐธรรมนูญในนอร์เวย์ (พ.ศ. 2357); วันวรรณกรรมกาลิเซียในแคว้นกาลิเซีย ประเทศสเปน
- พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) – ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ตลาดหลักทรัพย์ในวอลสตรีต โลวเออร์แมนฮัตตัน เริ่มเปิดทำการซื้อขาย นับเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามมูลค่าตามราคาตลาด
- พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1865) – ก่อตั้งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศซึ่งกำหนดมาตรฐานและวางระเบียบวิทยุและโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ในชื่อแรกว่า สหภาพโทรเลขสากล
- พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) – มีการค้นพบกลไกแอนติคิเธียรา (ในภาพ) กลไกเฟืองอายุมากสุดที่หลงเหลือเท่าที่ทราบ ในบรรดาสิ่งประดิษฐ์ที่กู้ได้จากซากเรือนอกเกาะแอนติคิเธียรา ประเทศกรีซ
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) – ตำรวจและทหารสกัดการเคลื่อนขบวนของประชาชนที่ชุมนุมประท้วงรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร ในกรุงเทพมหานคร นำไปสู่การก่อการกำเริบของประชาชนนานสามวัน
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) – ฌัก ชีรัก ผู้เป็นนายกเทศมนตรีกรุงปารีส 18 ปี ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสสมัยแรก
ดูเพิ่ม: 16 พฤษภาคม – 17 พฤษภาคม – 18 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) – แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ลงนามในรัฐบัญญัติตั้งโครงการหุบเขาเทนเนสซี เพื่อกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจของหุบเขาเทนเนสซี อันเป็นพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
- พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) – เอฟ-104 สตาร์ไฟเตอร์ เครื่องบินสกัดกั้นความเร็วเหนือเสียงของกองทัพอากาศสหรัฐ ทำความเร็วเป็นสถิติโลกที่ 1,404.19 ไมล์ต่อชั่วโมง
- พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) – ประเทศอินเดียทดลองระเบิดนิวเคลียร์ครั้งแรกที่เมืองโปขรัน นับเป็นการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของชาติที่มิใช่สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซึ่งได้รับการยืนยันครั้งแรก
- พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) – เซนต์เฮเลนส์ ภูเขาไฟประเภทกรวยสลับชั้น ปะทุ (ในภาพ) คร่าชีวิตประชาชน 57 คนในรัฐวอชิงตันตอนใต้ ทำให้ที่ดินหลายร้อยตารางไมล์ใช้ประโยชน์ไม่ได้ และสร้างความเสียหายเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) – ขบวนการชาติโซมาเลียประกาศเอกราชของโซมาลีแลนด์ รัฐโดยพฤตินัยซึ่งนานาประเทศรับรองว่าเป็นเขตปกครองตนเองของประเทศโซมาเลีย หลังรัฐบาลกลางล่มสลายระหว่างสงครามกลางเมืองโซมาเลีย
ดูเพิ่ม: 17 พฤษภาคม – 18 พฤษภาคม – 19 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
19 พฤษภาคม: วันอาภากรในไทย; วันเยาวชนและกีฬาในตุรกี
- พ.ศ. 2042 (ค.ศ. 1499) – เจ้าหญิงกาตาลินาแห่งอารากอน พระชันษา 13 ปี ก่อนมาเป็นพระมเหสีพระองค์แรกในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ได้เสกสมรสกับเจ้าชายอาเธอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์ พระชนมายุ 12 พรรษา
- พ.ศ. 2192 (ค.ศ. 1649) – ภายหลังสงครามกลางเมืองอังกฤษ และการสำเร็จโทษพระเจ้าชาลส์ที่ 1 รัฐสภารัมป์ผ่านพระราชบัญญัติสถาปนาเครือจักรภพแห่งอังกฤษอย่างเป็นทางการ ก่อให้เกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ
- พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1780) – ควัน หมอก และเมฆหนาทึบได้เข้าปกคลุมบางส่วนของแคนาดา และนิวอิงแลนด์ของสหรัฐ จนตกอยู่ในความมืด ต้องจุดเทียนให้แสงสว่างตั้งแต่เที่ยงวันถึงเที่ยงคืน
- พ.ศ. 2345 (ค.ศ. 1802) – นโปเลียน โบนาปาร์ต กงสุลเอกแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ตั้งเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ (ตัวอย่างในภาพ) เพื่อเป็นรางวัลชมเชยแก่พลเรือนและทหาร
- พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) – รัฐสภาสหรัฐผ่านรัฐบัญญัติโควตาฉุกเฉิน ซึ่งจำกัดจำนวนผู้อพยพสู่สหรัฐ
ดูเพิ่ม: 18 พฤษภาคม – 19 พฤษภาคม – 20 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
20 พฤษภาคม: วันชาติในแคเมอรูน (พ.ศ. 2515), วันเอกราชในติมอร์-เลสเต (พ.ศ. 2545)
- พ.ศ. 2041 (ค.ศ. 1498) – วัชกู ดา กามา (ในภาพ) นักสำรวจชาวโปรตุเกส เดินทางถึงเมืองโคชิโคด อินเดีย เริ่มเปิดการติดต่อการค้าทางทะเลกับตะวันออกไกลโดยตรง
- พ.ศ. 2050 (ค.ศ. 1507) – นักเขียนแผนที่ อับราฮัม ออร์ทีเลียส เผยแพร่ Theatrum Orbis Terrarum แผนที่โลกสมัยใหม่เล่มแรก
- พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) – อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีสหรัฐ ลงนามผ่านรัฐบัญญัติเคหสถาน ซึ่งให้พลเมืองมีกรรมสิทธิ์เด็ดขาดในที่ดินขนาด 160 เอเคอร์ ในดินแดนที่ไม่พัฒนาทางตะวันตกของประเทศ
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – สงครามโลกครั้งที่สอง: พลร่มเยอรมันโดดลงสู่เกาะครีต ประเทศกรีซ ในยุทธการเกาะครีตวันแรก
- พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) – ประเทศติมอร์-เลสเตได้รับเอกราชจากประเทศอินโดนีเซีย นับเป็นเป็นรัฐเอกราชแห่งแรกที่ได้รับเอกราชในคริสต์ศตวรรษที่ 21
ดูเพิ่ม: 19 พฤษภาคม – 20 พฤษภาคม – 21 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
21 พฤษภาคม: วันกองทัพเรือในชิลี
- พ.ศ. 2217 (ค.ศ. 1674) – ขุนนางโปแลนด์เลือกยัน ซอบีแยสกีเป็นพระมหากษัตริย์เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย
- พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) – สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ องค์การที่ดำเนินการในกีฬาฟุตบอลระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นในกรุงปารีส
- พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) – ชาลส์ ลินด์เบิร์ก นักบินชาวอเมริกันบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกคนเดียวโดยไม่หยุดพักสำเร็จด้วยเครื่องบินสปิริตออฟเซนต์หลุยส์ จากนครนิวยอร์กไปกรุงปารีส
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) – ราชีพ คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย ถูกลอบสังหารด้วยการระเบิดพลีชีพ (จุดเกิดเหตุในภาพ) ในรัฐทมิฬนาฑู
- พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) – ซูฮาร์โตประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีหลังเขาเสียการสนับสนุนของประชาชน ยุติการปกครองนานสามทศวรรษ
ดูเพิ่ม: 20 พฤษภาคม – 21 พฤษภาคม – 22 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
22 พฤษภาคม: วันสากลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) – โครงการอะพอลโล: นักบินอวกาศ 2 คน ในยานลงดวงจันทร์ของอะพอลโล 10 (ในภาพ) โคจรเฉียดพื้นผิวดวงจันทร์ที่ระยะห่าง 15.6 กิโลเมตร
- พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) – แพ็ก-แมน เกมอาร์เคดซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมสมัยนิยมในคริสต์ทศวรรษ 1980 เปิดตัวครั้งแรกในญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) – สาธารณรัฐอาหรับเยเมนและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเยเมนผนวกเข้าด้วยกันเป็นสาธารณรัฐเยเมน
- พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) – โตเกียวสกายทรี หอคอยสูงที่สุดในโลกด้วยความสูง 634 เมตร เปิดต่อสาธารณะ
- พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) – คณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ ประกาศยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลรักษาการนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล; มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเขาในอีกสี่วันถัดมา
ดูเพิ่ม: 21 พฤษภาคม – 22 พฤษภาคม – 23 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2041 (ค.ศ. 1498) – จีโรลาโม ซาโวนาโรลา ชาวฟลอเรนซ์ ถูกประหารชีวิตฐานนอกรีต เผยพระวจนะ ปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง และอาชญากรรมอื่น
- พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) – หอสมุดแอสเตอร์และเลน็อกซ์ตกลงผนวกรวมกันตั้งเป็นหอสมุดประชาชนนิวยอร์ก ซึ่งปัจจุบันเป็นหอสมุดขนาดใหญ่สุดเป็นอันดับสองในสหรัฐ
- พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) – บอนนี พาร์คเกอร์ และไคลด์ บาร์โรว์ (ในภาพ) อาชญากรชาวอเมริกัน ถูกตำรวจดักซุ่มและวิสามัญฆาตกรรมบนถนนใกล้กับที่กบดานในรัฐลุยเซียนา
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) – ออกภาษาจาวารุ่นแรก ซึ่งพัฒนาโดยเจมส์ กอสลิงและคณะ อย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) – ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศวินิจฉัยยกมิดเดิลร็อกส์ให้มาเลเซีย และเปดราบรังกาให้สิงคโปร์ ยุติกรณีพิพาทดินแดนนาน 29 ปีในช่องแคบสิงคโปร์
ดูเพิ่ม: 22 พฤษภาคม – 23 พฤษภาคม – 24 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
24 พฤษภาคม: วันชาติในเอริเทรีย
- พ.ศ. 2375 (ค.ศ. 1832) – ราชอาณาจักรกรีซได้รับการประกาศจัดตั้งในการประชุมลอนดอน
- พ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844) – ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส ส่งโทรเลขไฟฟ้าฉบับแรก จากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ไปถึงผู้ช่วยของเขาในบอลทิมอร์ รัฐแมริแลนด์
- พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) – สะพานบรุกลิน (ในภาพ) ในนครนิวยอร์ก ซึ่งเชื่อมระหว่างบรุกลินกับแมนแฮตตัน เปิดให้บริการ ในเวลานั้นนับเป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – สงครามโลกครั้งที่สอง: เรือรบ บิสมาร์ค ของเยอรมัน จมเรือหลวงฮูด ภายในเวลา 11 นาที ระหว่างยุทธนาวีที่ช่องแคบเดนมาร์ก
- พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) – ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ครองตำแหน่งนางงามจักรวาลคนที่ 37 นับเป็นชาวไทยคนที่สองที่ได้รับตำแหน่ง
ดูเพิ่ม: 23 พฤษภาคม – 24 พฤษภาคม – 25 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
25 พฤษภาคม: วันประกาศเอกราชในจอร์แดน (พ.ศ. 2489)
- พ.ศ. 1963 (ค.ศ. 1420) – เจ้าชายเอ็งรีกึราชนาวิกได้เป็นผู้ว่าการคนแรกของคณะอัศวินแห่งพระคริสต์ ซึ่งเป็นคณะอัศวินชาวโปรตุเกสที่สืบมาจากอัศวินเทมพลาร์
- พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) – สาธารณรัฐฟอร์โมซาได้รับการสถาปนาขึ้นในเกาะไต้หวัน เป็นการประกาศเอกราชจากราชวงศ์ชิง
- พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) – ระหว่างสมัยประชุมร่วมรัฐสภาสหรัฐ ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประกาศสนับสนุนโครงการอะพอลโล โดยตั้งเป้าให้ "มนุษย์เหยียบดวงจันทร์และกลับสู่โลกอย่างปลอดภัยก่อนสิ้นทศวรรษนี้"
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1977) – สตาร์ วอร์ส ภาพยนตร์ที่จอร์จ ลูคัส (ในภาพ) เขียนบทและกำกับ ออกฉายเป็นวันแรก เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ประสบความสำเร็จสูงสุดตลอดกาล
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) – คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติเป็นเอกฉันท์ผ่านข้อมติที่ 827 ซึ่งจัดตั้งคณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย
ดูเพิ่ม: 24 พฤษภาคม – 25 พฤษภาคม – 26 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
26 พฤษภาคม: วันเอกราชในกายอานา (พ.ศ. 2509) และจอร์เจีย (พ.ศ. 2461), วันแม่ในโปแลนด์
- พ.ศ. 2348 (ค.ศ. 1805) – นโปเลียนได้รับราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์อิตาลี ณ มหาวิหารมิลาน
- พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) – ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ อันแสดงถึงหุ้น 12 ตัวในอุตสาหกรรมอเมริกันหลายอย่าง เริ่มตีพิมพ์เป็นครั้งแรกโดยชาลส์ ดาร์วิน (ในภาพ) เป็นดัชนีตลาดหลักทรัพย์
- พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) – สงครามโลกครั้งที่สอง: กองเรือเริ่มอพยพทหารอังกฤษ ฝรั่งเศส และเบลเยียมออกจากดันเคิร์กที่ถูกกองทัพเยอรมันตัดขาดระหว่างยุทธการที่ดันเคิร์กขนานใหญ่
- พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) – ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และเลโอนิด เบรจเนฟ ผู้นำโซเวียต ลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านขีปนาวุธ ในกรุงมอสโก อันเป็นผลให้เกิดการเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ครั้งแรก
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) – เครื่องบินโบอิง 767-300 เที่ยวบินที่ 004 ของสายการบินเลาดาแอร์ ระเบิดกลางอากาศในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี มีผู้เสียชีวิต 223 ศพ นับเป็นอุบัติเหตุทางอากาศยานครั้งร้ายแรงที่สุดในประเทศไทย
ดูเพิ่ม: 25 พฤษภาคม – 26 พฤษภาคม – 27 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2246 (ค.ศ. 1703) – จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ทรงสถาปนาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก หลังจากทรงรบชนะสวีเดนในมหาสงครามเหนือ
- พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) – ตึกไครสเลอร์ ความสูง 319 เมตร ในนครนิวยอร์ก ซึ่งในเวลานั้นเป็นตึกสูงสุดในโลก เปิดให้บริการ
- พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) – สะพานโกลเดนเกต ซึ่งในเวลานั้นเป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก เชื่อมระหว่างซานฟรานซิสโกกับมาร์ตินเคาน์ตี รัฐแคลิฟอร์เนีย เปิดการจราจร
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – หลังถูกกองทัพเรือบริติชไล่ตามนานกว่าสองวัน เรือรบบิสมาร์ค ของเยอรมนี ถูกระเบิดตอร์ปิโดอัปปาง มีลูกเรือเสียชีวิตกว่า 2,200 คน
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) – คริสโตเฟอร์ รีฟ (ในภาพ) นักแสดงชาวอเมริกัน ตกม้า ทำให้เขาเป็นอัมพาตแขนขาสองข้าง ต่อมาเขาเป็นนักกิจกรรมในนามผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลัง
ดูเพิ่ม: 26 พฤษภาคม – 27 พฤษภาคม – 28 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
28 พฤษภาคม: วันสาธารณรัฐในอาเซอร์ไบจานและอาร์มีเนีย
- 42 ปีก่อน พ.ศ. (585 ปีก่อน ค.ศ.) – เกิดสุริยุปราคาซึ่งพลันหยุดยุทธการที่ฮาลิสระหว่างชาวลิเดียกับเมเดสสงบลงชั่วคราว ตามบันทึกของเฮโรโดตัส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก
- พ.ศ. 2131 (ค.ศ. 1588) – สงครามอังกฤษ-สเปน: อาร์มาดาสเปนซึ่งมีเรือ 130 ลำ และทหารกว่า 30,000 นาย ออกเดินทางจากลิสบอนไปช่องแคบอังกฤษเพื่อพยายามบุกครองประเทศอังกฤษ
- พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) – กำลังญี่ปุ่นซึ่งมีพลเรือเอก โทโง เฮฮะชิโร เป็นผู้นำทำลายกองเรือบอลติกของรัสเซียในยุทธนาวีช่องแคบสึชิมะ เป็นยุทธนาวีชี้ขาดในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) – นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ แอลัน ทัวริง (ในภาพ) ริเริ่มเครื่องทัวริง อุปกรณ์จัดดำเนินการสัญลักษณ์นามธรรมพื้นฐานซึ่งสามารถจำลองตรรกะของขั้นตอนวิธีคอมพิวเตอร์ได้ทุกชนิด
- พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) – ดิออบเซิร์ฟเวอร์ หนังสือพิมพ์บริติช จัดพิมพ์บทความ นักโทษที่ถูกลืม ของปีเตอร์ เบเนนสัน ทนายความชาวอังกฤษ เริ่มการรณรงค์เขียนจดหมายซึ่งเติบโตกลายเป็นองค์การนิรโทษกรรมสากล องค์การสิทธิมนุษยชน
ดูเพิ่ม: 27 พฤษภาคม – 28 พฤษภาคม – 29 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
29 พฤษภาคม: วันสากลแห่งเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติ
- พ.ศ. 1871 (ค.ศ. 1328) – พระเจ้าฟีลิปที่ 6 แห่งฝรั่งเศสทรงประกอบพิธีราชาภิเษก ณ อาสนวิหารแร็งส์ นับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์วาลัว
- พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) – จักรวรรดิไบแซนไทน์ล่มสลาย หลังจักรวรรดิออตโตมันตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก
- พ.ศ. 2203 (ค.ศ. 1660) – ระบอบกษัตริย์ในอังกฤษได้รับการฟื้นฟูในรัชกาลพระเจ้าชาลส์ที่ 2
- พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1848) – รัฐวิสคอนซินกลายเป็นรัฐที่ 30 ซึ่งรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐ
- พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) – เอดมันด์ ฮิลลารี นักปีนเขาชาวนิวซีแลนด์ และเทนซิง นอร์เก นักปีนเขาชาวเศรปา (ทั้งสองคนในภาพ) เป็นบุคคลกลุ่มแรกที่ไปถึงยอดเขาเอเวอเรสต์
ดูเพิ่ม: 28 พฤษภาคม – 29 พฤษภาคม – 30 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 1974 (ค.ศ. 1431) – สงครามร้อยปี: ฌาน ดาร์ก (ในภาพ) ถูกประหารชีวิตโดยการเผาทั้งเป็น ที่รูอ็อง ฝรั่งเศส ฐานนอกรีต
- พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) – เปิดตัวอนุสาวรีย์ลินคอล์น รูปสลักอดีตประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ฝีมือแดเนียล เชสเตอร์ เฟรนช์ ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) – สมาชิกกองทัพแดงญี่ปุ่นก่อการสังหารหมู่ที่ท่าอากาศยานลอด ในกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ในนามของฝ่ายปฏิบัติการภายนอกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ มีผู้เสียชีวิตกว่า 20 คน และได้รับบาดเจ็บอีกเกือบ 80 คน
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) – นักศึกษาผู้ประท้วงตั้งรูปปั้นเทพีประชาธิปไตย สูง 10 เมตร ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่ง
ดูเพิ่ม: 29 พฤษภาคม – 30 พฤษภาคม – 31 พฤษภาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
31 พฤษภาคม: วันเอกราชในแอฟริกาใต้ (พ.ศ. 2453), วันงดสูบบุหรี่โลก; วันฉลองพระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน
- 736 ปีก่อนพุทธกาล (1279 ปีก่อนคริสตกาล) – แรเมซีสที่ 2 ขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์แห่งจักรวรรดิอียิปต์
- พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) – สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสบอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งล่มบริเวณใกล้กับวัดเกาะพญาเจ่ง เสด็จสวรรคต
- พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) – เขื่อนเซาท์ฟอล์ก ใกล้กับเมืองจอนส์ทาวน์ รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐ แตก ทำให้น้ำปริมาณ 18.1 ล้านลูกบาศก์เมตรไหลเข้าท่วมเมือง มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,200 คน
- พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) – กองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันและราชนาวีบริติช ปะทะกันในยุทธนาวีที่จัตแลนด์ ซึ่งเป็นยุทธนาวีที่ใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) – ครอง จันดาวงศ์ (ในภาพ) นักโทษการเมือง ถูกประหารชีวิตโดยคำสั่งของสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ดูเพิ่ม: 30 พฤษภาคม – 31 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ