ข้ามไปเนื้อหา

เครือจักรภพแห่งอังกฤษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เครือจักรภพแห่งอังกฤษ
Commonwealth of England (ภาษาอังกฤษ)
ค.ศ. 1649–1653
ค.ศ. 1659–1660
ธงชาติเครือจักรภพแห่งอังกฤษ
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของเครือจักรภพแห่งอังกฤษ
ตราแผ่นดิน
คำขวัญPAX QUÆRITUR BELLO
สงครามนำมาซึ่งความสงบ
(ภาษาอังกฤษ: Peace is sought through war)
อาณาเขตของเครือจักรภพอังกฤษในปี ค.ศ. 1653
อาณาเขตของเครือจักรภพอังกฤษในปี ค.ศ. 1653
สถานะสาธารณรัฐ
เมืองหลวงลอนดอน
ภาษาทั่วไปอังกฤษ
การปกครองสาธารณรัฐ
ประมุขแห่งรัฐ 
• ค.ศ. 1649-ค.ศ. 1653
สภาแห่งรัฐ (Council of State)
• ค.ศ. 1653-ค.ศ. 1658
โอลิเวอร์ ครอมเวลล์
ในฐานะ เจ้าผู้อารักขา (Lord Protector)
• ค.ศ. 1658-ค.ศ. 1659
ริชาร์ด ครอมเวลล์
ในฐานะ เจ้าผู้อารักขา (Lord Protector)
• ค.ศ. 1659-ค.ศ. 1660
สภาแห่งรัฐ (Council of State)
สภานิติบัญญัติรัฐสภารัมพ์
รัฐสภาแบร์โบน
ประวัติศาสตร์ 
• พระราชบัญญัติการก่อตั้งเครือจักรภพแห่งอังกฤษ
19 พฤษภาคม ค.ศ. 1649
4 เมษายน ค.ศ. 1660
พื้นที่
130,395 ตารางกิโลเมตร (50,346 ตารางไมล์)
สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรอังกฤษ
ราชอาณาจักรสกอตแลนด์
สมาพันธรัฐไอร์แลนด์
ยุครัฐในอารักขา
ยุครัฐในอารักขา
ราชอาณาจักรอังกฤษ
ราชอาณาจักรสกอตแลนด์
ราชอาณาจักรไอร์แลนด์

เครือจักรภพแห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Commonwealth of England) คือรัฐบาลสาธารณรัฐที่ปกครองอังกฤษ รวมทั้งเวลส์ ไอร์แลนด์ และสกอตแลนด์ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึง ค.ศ. 1660 หลังจากการสำเร็จโทษของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 เครือจักรภพอังกฤษกำเนิดขึ้นจากพระราชบัญญัติประกาศอังกฤษเป็นเครือจักรภพโดยรัฐสภารัมพ์ (Rump Parliament) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1649 รัฐบาลระหว่างช่วงเวลานี้เรียกว่า ยุครัฐในอารักขา (The Protectorate) ปกครองโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ และริชาร์ด ครอมเวลล์บุตรชายของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์หลังจากที่ครอมเวลล์เสียชีวิต ในฐานะ “เจ้าผู้อารักขา” (Lord Protector)

คำว่า “เครือจักรภพ” เป็นคำที่ใช้กว้าง ๆ สำหรับรัฐบาลที่ปกครองอังกฤษระหว่างช่วงเวลาที่เรียกกันว่า “สมัยไร้กษัตริย์อังกฤษ” (English Interregnum) ในระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึง ค.ศ. 1660 ซึ่งเป็นคนละความหมายกับ “เครือจักรภพแห่งชาติ” (Commonwealth of Nations) หรือ “เครือจักรภพอังกฤษ” ซึ่งเป็นองค์การก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นเครือจักรภพแห่งชาติ

ช่วง ค.ศ. 1649–1653

[แก้]

รัฐสภารัมพ์

[แก้]

รัฐสภารัมพ์ ก่อตั้งขึ้นหลังจากการยึดรัฐสภาของไพรด์จากสมาชิกของรัฐสภายาว (Long Parliament) ซึ่งเคยมีมติไม่สนันสนุนการมีตำแหน่งทางการเมืองเป็น "แกรนดี" ของกองทัพตัวอย่าง ซึ่งก่อนและหลังจากการสำเร็จโทษพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เมื่อ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 รัฐสภารัมพ์ได้มีมติผ่านร่างรัฐบัญญัติหลายร่างซึ่งเป็นพื้นฐานการปกครองแบบสาธารณรัฐ รวมถึงการยกเลิกระบอบกษัตริย์, สภาองมนตรี, และสภาขุนนาง ซึ่งรัฐสภารัมพ์นั้นจึงอยู่ในสภาพที่ไม่ต้องรับการตรวจสอบใดๆ รวมถึงมีอำนาจในการตรากฎหมายอีกด้วย

จากนั้นได้มีการตั้งสภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ (Council of State) ซึ่งมีหน้าที่แทนสภาองคมนตรี มีหน้าที่ดูแลโดยตรงต่ออำนาจการบริหารของพระมหากษัตริย์ ซึ่งสมาชิกสภาแห่งนี้ถูกแต่งตั้งโดยรัฐสภารัมพ์ และสมาชิกส่วนใหญ่ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตาม รัฐสภารัมพ์นั้นสามารถยืนอยู่ได้ด้วยการสนับสนุนของกองทัพซึ่งความสัมพันธ์นั้นก็ไม่ได้เป็นที่ราบรื่นนัก และภายหลังการสำเร็จโทษพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 สภาสามัญชนก็ได้ประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์, สภาขุนนาง และคริสตจักรแห่งอังกฤษ และประกาศให้ประเทศอังกฤษเป็น "สาธารณรัฐ" ภายใต้ชื่อว่า "เครือจักรภพแห่งบริเตน" ภายใต้การนำของ "โอลิเวอร์ ครอมเวลล์"

โครงสร้าง

[แก้]

จากเหตุการณ์การยึดรัฐสภาของไพรด์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ประกอบด้วยนักการเมืองที่ถือนิกายเพรสไบทีเรียนเป็นส่วนใหญ่) ส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยถึงความจำเป็นที่จะนำพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1เข้าสู่การพิจารณาคดีนั้นได้ถูกถอดถอนและกักกัน ดังนั้นสภารัมพ์จึงมีจำนวนไม่ถึงสองร้อยคนเท่านั้น (ซึ่งยังน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาสามัญชนในสมัยรัฐสภายาว) รวมถึงผู้สนับสนุนศาสนาอิสระต่างๆที่ไม่อยากให้มีการบังคับการถือศาสนาประจำชาติ และบุคคลที่เห็นด้วย (โดยเฉพาะผู้นับถือนิกายเพรสไบทีเรียนที่พร้อมจะสนับสนุนการพิจารณาคดีสำเร็จโทษพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ในภายหลังยังมีการสนับสนุนเพิ่มเติมของสมาชิกสภาที่ไม่เห็นด้วยต่อร่างสนธิสัญญานิวพอร์ตกับพระองค์ ซึ่งไม่เป็นผลสำเร็จ

สมาชิกส่วนใหญ่ของสภารัมพ์นั้นถือเป็นผู้สืบตระกูลขุนนางชั้นสูง (Gentry) และถือว่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับในสมัยรัฐสภาเก่า ซึ่งส่วนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ของสภานี้เป็นเหล่าผู้ที่สนับสนุนการสำเร็จโทษพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ดังนั้นจึงทำให้สภาแห่งนี้ค่อนข้างจะมีความคิดทางอนุรักษนิยมซึ่งยังคงห่วงผลประโยชน์ของการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินรวมถึงระบบกฎหมาย และจึงเป็นการยากที่จะให้รัฐสภาแห่งนี้สนับสนุนการปฏิรูปอย่างจริงจัง

อุปสรรค และความสำเร็จ

[แก้]

ในช่วงสองปีแรกของการบริหารประเทศ รัฐสภารัมพ์ได้เผชิญหน้ากับปัญหาความถดถอยทางเศรษฐกิจ และยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการถูกรุกรานจากสกอตแลนด์และไอร์แลนด์ (ในปีค.ศ. 1653 ครอมเวลล์ และกองทัพของเขาได้มีส่วนในการกำจัดปัจจัยนี้ลงได้)

ภายในสภารัมพ์เองก็มีปัญหาด้านความเป็นเอกภาพ ซึ่งบางกลุ่มนั้นสนับสนุนการเป็นสาธารณรัฐอย่างเต็มตัว และบางกลุมนั้นยังคงอยากให้มีการรักษาการปกครองในระบอบกษัตริย์ไว้เพียงบางส่วน ขุนนางเก่าซึ่งเป็นชนชั้นปกครองของอังกฤษส่วนใหญ่นั้นถือว่ารัฐสภารัมพ์เป็นรัฐบาลอย่างผิดกฎหมายซึ่งสร้างขึ้นจากกลุ่มต่อต้านกษัตริย์ และยังทราบดีว่าสภาแห่งนี้จะนำมาซึ่งการปกครองแบบเผด็จการทางทหารในที่สุด ภาษีที่มีอัตราสูงเพื่อใช้ในการทหารเป็นหลักนั้นสร้างความไม่พอใจอย่างมากในเหล่าผู้สืบตระกูลขุนนางชั้นสูง การปฏิรูปต่างที่จำกัดแต่เริ่มต้นนั้นได้สร้างความไม่พึงพอใจชนชั้นปกครองเป็นอย่างมาก แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้มากเพียงพอที่จะทำให้คนรากหญ้านั้นพึงพอใจเลยทีเดียว

ถึงแม้ว่ารัฐสภารัมพ์จะไม่เป็นที่น่ายกย่องภายในอังกฤษ แต่ก็ถือว่าสภาแห่งนี้มีความเกี่ยวข้องกับระบอบเก่าอยู่มาก และช่วยให้ประเทศอังกฤษนั้นพยุงตัวอยู่ได้อย่างมั่นคงภายหลังจากวิกฤตการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยในปีค.ศ. 1653 ประเทศฝรั่งเศสและสเปนได้ยอมรับรัฐบาลใหม่ของอังกฤษอย่างเป็นทางการ

การปฏิรูป

[แก้]

ถึงแม้ว่าคริสตจักรแห่งอังกฤษจะรอดพ้นจากการยุบลง แต่การปกครองโดยคณะสงฆ์นั้นได้ถูกยุบลงและพระราชบัญญัติสมานฉันท์ (Act of Uniformity)นั้นถูกยกเลิกลงในปีค.ศ. 1650 ตามความความเรียกร้องของกองทัพแล้ว คริสตจักรอิสระต่างๆนั้นยังคงทนอยู่ได้ถึงแม้ว่าประชาชนจะยังคงต้องจ่ายภาษีบางส่วนให้กับคริสตจักรแห่งอังกฤษก็ตาม

นอกจากนี้ยังการปรับปรุงหลายอย่างที่ดีต่อกฎหมายและพิธีการศาล ตัวอย่างเช่น การว่าความและพิจารณาคดีนั้นสามารถทำได้ในภาษาอังกฤษแทนที่ภาษาฝรั่งเศสหรือลาติน

แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการปฏิรูปกฎหมายคอมมอนลอว์อย่างแพร่หลาย ซึ่งกรณีนี้นั้นถือว่าไม่เป็นประโยชน์ใดๆต่อชนชั้นสูงซึ่งล้วนมองว่าคอมมอนลอว์นั้นเป็นสิ่งที่ชี้วัดถึงฐานะและสิทธิต่อสมบัติต่างๆของพวกเขา

รัฐสภารัมพ์ยังผ่านร่างกฎหมายหลายฉบับซึ่งใช้บังคับพฤติกรรมและจริยธรรม อาทิเช่น การปิดโรงมหรสพและโรงละครต่างๆ รวมถึงการบังคับทางศาสนาในทุกวันอาทิตย์อย่างเคร่งครัด ซึ่งกฎหมายต่างๆเหล่านี้นั้นล้วนไม่เป็นมิตรต่อชนชั้นสูงในสมัยนั้น

การยุบสภา

[แก้]

ครอมเวลล์ ด้วยความช่วยเหลือของนายพลโธมัส แฮร์ริสัน ได้ใช้กำลังในการยุบรัฐสภารัมพ์ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1653 ด้วยเหตุผลที่ยังไม่ชัดแจ้ง โดยหนึ่งในทฤษฎีนั้นคือ เพราะความเกรงกลัวว่ารัฐสภารัมพ์นั้นจะตั้งตนเป็นรัฐบาลเสียเอง หรือไม่ก็กำลังจะวางแผนการเลือกตั้งซึ่งอาจจะนำผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับการปกครองแบบเครือจักรภพนี้กลับมามีเสียงส่วนใหญ่ได้ ซึ่งต่อมาอดีตสมาชิกรัฐสภารัมพ์นั้นได้ถือตนว่าเป็นเพียงผู้ที่ถูกต้องและมีสิทธิ์อย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น นอกจากนี้สภาแห่งนี้ยังไม่ตกลงที่จะยุบสภาเองตามที่เคยร้องขอโดยครอมเวลล์ ซึ่งนำมาจากหลักกฎหมายเหมือนกับในกรณีของรัฐสภายาวในสมัยก่อนหน้าสงครามกลางเมือง ซึ่งถือว่าสภามีสิทธิตามกฎหมายที่จะไม่มีการยุบสภา ยกเว้นแต่สภาจะตกลงกันแล้วเท่านั้น

รัฐสภาแบร์โบนส์

[แก้]

ภายหลังจากการยุบสภารัมพ์ลงนั้นตามมาด้วยช่วงเวลาสั้นซึ่งครอมเวลล์ และกองทัพเป็นผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยโดยรวม ในขณะนั้นยังไม่มีบุคคลใดที่มีอำนาจทางรัฐธรรมนูญเพียงพอที่จะจัดการเลือกตั้งขึ้นได้ และครอมเวลล์ก็ยังไม่อยากใช้การปกครองแบบเผด็จการทหาร เขาจึงปกครองผ่านทาง"คณะบุคคลซึ่งเป็นตัวแทน" ซึ่งเขาคิดว่าเป็นการง่ายตอการควบคุมโดยกองทัพ เนื่องจากนายทหารทั้งหลายนั้นเป็นผู้คัดเลือกตัวแทนดังกล่าว

รัฐสภาแบร์โบนส์นั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านอย่างมากโดยอดีตสมาชิกรัฐสภารัมพ์ และยังถูกเย้ยหยันโดยเหล่าชนชั้นสูงว่าเป็นศูนย์รวมของบุคคลที่ "ต่ำต้อยกว่า" แต่กระนั้นสภาแห่งนี้ยังประกอบด้วยสมาชิกกว่า 110 คน จากทั้งหมด 140 คน ที่เป็นผู้ที่ถือเป็นชนชั้นสูง และมีสถานะทางสังคมที่สูงกว่า (ยกเว้นแต่เพียงคนขายหนังและนักเทศน์ที่เรียกกันว่า “เพรส-กอด แบร์โบน” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเล่นของรัฐสภาชุดนี้) รวมทั้งยังมีการศึกษาที่ค่อนข้างดีอีกด้วย

สมาชิกของสภาที่ถูกคัดเลือกเข้ามานั้นสะท้อนถึงความคิดอันแตกต่างของนายทหารที่เป็นผู้คัดเลือก โดยแบ่งเป็นสามพวกใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มหัวรุนแรง (The Radicals) ประมาณ 40 คน เป็นกลุ่มที่รวมถึงสมาชิกหัวรุนแรงของกลุ่มราชาธิปไตยที่ห้า (Fifth Monarchists) ซึ่งต้องการที่จะกำจัดระบบกฎหมายแบบคอมมอนลอว์ และกำจัดการความคุมทางศาสนาทั้งหมด กลุ่มเป็นกลาง (The Moderates) ประมาณ 60 คน เป็นกลุ่มที่ต้องการเห็นการปรับปรุงภายในระบบที่เป็นอยู่ และอาจจะพร้อมที่จะสนันสนุนฝั่งหัวรุนแรง และฝั่งอนุรักษนิยมได้ตามสถานการณ์ และกลุ่มอนุรักษนิยม (The Conservatives) ประมาณ 40 คน เป็นกลุ่มที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง โดยสนับสนุนในระบบที่เป็นอยู่ (เนื่องจากระบบคอมมอนลอว์ได้เป็นกลไกสำคัญในการปกป้องสิทธิในสมบัติของเหล่าชนชั้นสูง รวมถึงสิทธิในการเก็บภาษี และการมีสิทธิเสนอชื่อแต่งตั้งพระสงฆ์ในเขตปกครองด้วย)

ครอมเวลล์เห็นว่าสภาชุดนี้นั้นเป็นเหมือนสภานิติบัญญัติแบบชั่วคราวซึ่งเขาหวังว่าจะเป็นผู้เริ่มการปฏิรูปและพัฒนารัฐธรรมนูญสำหรับเครือจักรภพฯ อย่างไรก็ตามสมาชิกต่างๆล้วนแบ่งเป็นกลุ่มตามแต่ละหัวข้อหลักๆ ซึ่งสมาชิกสภาจำนวนเพียง 25 คนเท่านั้นที่เคยผ่านงานรัฐสภา บางส่วนนั้นเคยผ่านการอบรมกฎหมายต่างๆ แต่ก็ไม่มีใครเลยที่เป็นทนายความมืออาชีพ ซึ่งดูเหมือนเขาจะหวังว่าสมาชิกรัฐสภาสมัครเล่นชุดนี้จะสร้างการปฏิรูปโดยปราศการการจัดการหรือทิศทางที่แน่ชัดได้ แต่เมื่อกลุ่มในสภาหัวรุนแรงมีเสียงสนับสนุนมากพอที่จะล้มร่างกฎหมายซึ่งจะดำรงสถานะเดิมของศาสนาในขณะนั้นอยู่ เป็นผลให้กลุ่มอนุรักษนิยม รวมถึงกลุ่มเป็นกลางนั้นได้รวมตัวกันยอมจำนนมอบอำนาจแก่ครอมเวลล์ในการส่งทหารเข้าควบคุมสถานการณ์ในสภาทั้งหมด ถือเป็นจุดสิ้นสุดของสภาแบร์โบนส์

รัฐในอารักขาครั้งที่ 1 และ 2

[แก้]

ในช่วงที่อังกฤษปกครองในระบบเครือจักรภพฯนั้นปกครองโดยสภาแห่งรัฐและรัฐสภา ซึ่งถูกคั่นสองสมัยด้วยการปกครองโดยตรงจาก "เจ้าผู้พิทักษ์" หรือเรียกว่า "รัฐในอารักขา" ซึ่งปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญที่ระบุให้อำนาจเขาเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกรัฐสภาซึ่งมีอายุทุก ๆ สามปี

ในปีค.ศ. 1653 โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ได้รับการสาบานตนเป็น "เจ้าผู้พิทักษ์" ของอังกฤษและต่อมาเป็นบริเตนใหญ่ เป็นคนแรกของรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรก ฉบับที่สอง และฉบับสุดท้ายที่รู้จักกันในชื่อของ "ฏีกาและคำแนะนำอันนอบน้อม" (Humble Petition and Advice)

หลังจากการถึงแก่กรรมของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ในปี ค.ศ. 1658 บุตรชายของเขา ริชาร์ด ครอมเวลล์ เป็นผู้สืบตำแหน่งเป็นเจ้าผู้พิทักษ์คนที่สอง แต่สถานการณ์การแบ่งแยกภายในพรรครีพับลิกันได้นำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งของเขา ถือเป็นการปิดฉากลงของการปกครองโดยเจ้าผู้พิทักษ์ ทำให้เครือจักรภพนั้นกลับไปสู่การปกครองร่วมโดยสภาแห่งรัฐและรัฐสภาอีกครั้งหนึ่ง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]