นีกีตา ครุชชอฟ
นีกีตา ครุชชอฟ Никита Хрущёв | |||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||||||||||||||||||||||||||
ครุชชอฟ ณ กรุงเวียนนา ในปี 1961 | |||||||||||||||||||||||||||||
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งสหภาพโซเวียต | |||||||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 14 กันยายน 1953 – 14 ตุลาคม 1964 | |||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เกออร์กี มาเลนคอฟ (โดยพฤตินัย) | ||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | เลโอนิด เบรจเนฟ | ||||||||||||||||||||||||||||
ประธานสภารัฐมนตรีสหภาพโซเวียต | |||||||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 27 มีนาคม 1958 – 14 ตุลาคม 1964 | |||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | นีโคไล บุลกานิน | ||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | อะเลคเซย์ โคซีกิน | ||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||||||||||||||
เกิด | Nikita Sergeyevich Khrushchev 15 เมษายน ค.ศ. 1894 Kalinovka, Kursk Governorate, จักรวรรดิรัสเซีย (now คาลินอฟกา, แคว้นคูสค์, ประเทศรัสเซีย) | ||||||||||||||||||||||||||||
เสียชีวิต | 11 กันยายน ค.ศ. 1971 (77 ปี) มอสโก, สาธารณรัฐรัสเซีย, สหภาพโซเวียต | ||||||||||||||||||||||||||||
เชื้อชาติ | โซเวียต | ||||||||||||||||||||||||||||
พรรค | พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต | ||||||||||||||||||||||||||||
คู่สมรส |
| ||||||||||||||||||||||||||||
บุตร | |||||||||||||||||||||||||||||
ศิษย์เก่า | Industrial Academy | ||||||||||||||||||||||||||||
ลายมือชื่อ | ![]() | ||||||||||||||||||||||||||||
การเข้าเป็นทหาร | |||||||||||||||||||||||||||||
รับใช้ | สหภาพโซเวียต | ||||||||||||||||||||||||||||
สังกัด | กองทัพแดง | ||||||||||||||||||||||||||||
ประจำการ | 1941–45 | ||||||||||||||||||||||||||||
ยศ | พลโท | ||||||||||||||||||||||||||||
บังคับบัญชา | กองทัพสหภาพโซเวียต | ||||||||||||||||||||||||||||
การยุทธ์ | สงครามโลกครั้งที่สอง | ||||||||||||||||||||||||||||
บำเหน็จ |
| ||||||||||||||||||||||||||||
Central institution membership Other offices held
|
นีกีตา เซียร์เกเยวิช ครุชชอฟ[1][a] (15 เมษายน [ตามปฎิทินเก่า: 3 เมษายน] ค.ศ. 1894 – 11 กันยายน ค.ศ. 1971) เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต สืบทอดตำแหน่งต่อจากโจเซฟ สตาลิน ซึ่งได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี 1953 ประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต สืบทอดตำแหน่งต่อจากนิโคไล บัลกานิน
ประวัติ[แก้]
นิกิต้า เซเกรเยวิช ครุชชอฟ เกิดเมื่อ 15 เมษายน ค.ศ. 1894 ในครอบครัวของแรงงานขุดเหมืองแร่ ในหมู่บ้าน คาลินอฟกา ในยุคจักรวรรดิรัสเซียใกล้กับพรมแดนยูเครนปัจจุบัน พ่อของเขาชื่อ เซอร์เกย์ ครุชชอฟ นิโกโนโรวิช และแม่ชื่อ เคสิเนีย อิวาโนว่า ครุชชอฟได้เรียนหนังสือแค่สี่ปี และต้องทำงานตั้งแต่อายุ 12 ปี เริ่มจากการทำงานเป็นคนเก็บผลไม้
ค.ศ. 1908 ตอนอายุได้ 14 ปี ครอบครัวย้ายไปทำเหมืองใกล้ ๆ กับเมืองยุซอฟก้า (Yuzovka) มันเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เจริญแห่งหนึ่งของประเทศ ครุเซฟทำงานหลายแห่ง ก่อนที่จะได้ทำงานในโรงงานเหล็ก แต่ไม่นานก็ถูกไล่ออก และได้งานใหม่ที่เหมืองถ่านหินใกล้กับเมืองรุตเชนโกโว่
ค.ศ. 1914 ตอนเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาได้รับการยกเว้นไม่ต้องโดนเกณฑ์ทหาร เนื่องจากเป็นแรงงานที่เชี่ยวชาญเรื่องเหล็ก ทำให้มีโรงงานจ้างเขาเอาไว้ ซึ่งโรงงานดังกล่าวต้องทำงานส่งให้เหมืองหลายสิบแห่ง
ค.ศ. 1918 เข้าเป็นสมาชิกของพรรคบอลเชวิค แต่ก็ยังคงทำงานในเหมืองถ่านหินต่อไป และก็เข้าเรียนหนังสือที่นิคมอุตสาหกรรมโดเนตส์ เขาทำงานให้กับพรรคในพื้นที่ของเมืองเคียฟและดอนบาส์ส
ค.ศ. 1920 ครุชชอฟรู้จักกับหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ในยูเครนคือ ลาซาร์ คากาโนวิช นิสัยของครุชชอฟสร้างความประทับใจให้กับคากาโนวิชมาก ต่อมาเขาจึงเป็นผู้สนับสนุนให้ครุชชอฟมาเรียนหนังสือต่อในมอสโคว ครุชชอฟอยู่ในกองทัพแดงในแถบเมืองรุตเชนโกโว่ จนได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการฝ่ายการเมืองของหน่วย 1974 ไรเฟิลที่ 9
ค.ศ. 1931 ครุชชอฟได้เข้าเป็นสมาชิกและทำงานกับพรรคคอมมิวนิสต์ในมอสโก จนกระทั่งปี 1938 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการที่หนึ่งแห่งพรรคคอมมิวนิสต์ยูเครน
ค.ศ. 1943 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขามีบทบาทอย่างมากในฐานะนายทหารระดับสูง จนเมื่อสงครามโลกยุติ ก็มีบทบาทสำคัญในรัฐบาลยูเครน จนธันวาคม 1949 ก็ได้ย้ายจากยูเครนกลับมายังมอสโก
หลังการอสัญกรรมของสตาลิน[แก้]
ปี ค.ศ. 1953 หลังการถึงแก่อสัญกรรมของสตาลินในวันที่ 5 พฤษภาคม 1953 ลัฟเรนตีย์ เบรียา (Lavrenti Beria) หัวหน้าหน่วยตำรวจลับของสตาลิน ได้ขึ้นป็นรองประธานสภารัฐมนตรีดำดับที่หนึ่ง และรัฐมนตรีกิจการภายในในทันที ถือเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโซเวียต หลังจากนั้นหนึ่งวัน พันธมิตรของครุสซอฟ กอร์กี มาเลนคอฟ ได้กลายเป็นประธานสภารัฐมนตรีหุ่นเชิด และเบเรียครองอำนาจทุกอย่าง เบเรียมีนโยบายที่จะออกจากเยอรมันตะวันออกและหันไปญาติดีกับสหรัฐ ทำให้คณะกรรมการพรรคหลายคนไม่พอใจ และไม่ไว้ใจในตัวเบเรีย โดยเฉพาะครุชชอฟ เป็นคนที่ต่อต้านเบเรียอย่างเปิดเผย แต่ว่าไม่สามารถทำอะไรเบเรียได้ จนกระทั่งเมื่อเกิดการลุกฮือของประชาชนในเยอรมันตะวันออกในเดือนมิถุนายน สมาชิกพรรคหลายคนกังวลว่านั้นเป็นนโยบายที่ผิดพลาดและจะทำลายโซเวียต นั้นทำให้มาเลนคอฟหันไปช่วยเหลือครุชชอฟ ครุชชอฟทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากเบเรียทำให้เบเรียถูกจับตัวได้วันที่ 26 มิถุนายน 1953 หลังจากนั้น ในเดือนกันยายน 1953 ครุสซอฟจึงได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งโซเวียต และในปี 1958 ก็ได้ควบตำแหน่งประธานสภารัฐมนตรี
ต่อมาครุฟชอฟก็ได้ทำให้โลกต้องตกตะลึงด้วยการผ่อนคลายความเข้มงวดในระบบสตาลินลง พร้อมทั้งประณามขุดคุ้ยความโหดร้ายของสตาลิน ผู้ซึ่งเป็นเจ้านายคนเก่าของเขา จนในที่สุดทุก ๆ ที่ที่มีรูปปั้นสตาลินจะถูกทุบทิ้งจนหมด เพลงชาติที่มีชื่อสตาลินก็ถูกลบออก ศพของสตาลินก็ย้ายจากข้าง ๆ วลาดิมีร์ เลนิน ไปฝังอยู่ในกำแพงเครมลิน แต่ว่าการประณามสตาลินในครั้งนั้นทำให้ประธานเหมา เจ๋อตงผู้นำของประเทศจีนเกิดไม่พอใจเป็นอย่างมาก เพราะเขาได้ยึดถือลัทธิการเชิดชูวีรบุรุษก็คือประธานเหมาได้เอาสตาลินมาเทียบเท่ากับตน ทำให้การประณามของครุฟชอฟนั้นมากระทบถึงประธานเหมาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตตกต่ำลงจนทำให้เกิดความขัดแย้งกันของทั้งสองประเทศในเวลาต่อมา จนกระทั่งทำให้เกิดการแบ่งแยกอุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้นออกมาสองแบบคือ อุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบผสมรวมกับระบบทุนนิยมของรัสเซียและอุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบดั้งเดิม (คือรักษาระบบนารวมเอาไว้) ของจีน การแตกแยกครั้งนี้ส่งผลให้ แอลบาเนีย กัมพูชา และโซมาเลีย เลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับจีนแทนโซเวียต
แม้ครุชชอฟจะดำเนินนโยบายเน้นสันติภาพ และพยายามผ่อนคลายสงครามเย็น แต่เขาก็ดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาดหลายครั้ง เช่น วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ในปี ค.ศ. 1962 ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้เขายังส่งทหารเข้าไปยังโปแลนด์และในฮังการีเพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ในที่สุดเขาก็ถูกยึดอำนาจโดยคณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ (Committee for State Security หรือ KGB) นำโดย เลโอนิด เบรจเนฟ และ อะเลคเซย์ โคซีกิน ในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1964 หลังจากนั้นครุชอฟได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบสุขในกรุงมอสโกด้วยเงินบำนาญและเสียชีวิตในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1971 รวมอายุได้ทั้งหมด 77 ปี
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ รัสเซีย: Никита Сергеевич Хрущёв, อักษรโรมัน: Nikita Sergeyevich Krushchev, สัทอักษรสากล: [nʲɪˈkʲitə sʲɪrˈɡʲejɪvʲɪtɕ xrʊˈɕːɵf] (
ฟังเสียง)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติศาสตร์ยุโรป หน้า 58 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: นีกีตา ครุชชอฟ |
![]() |
วิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ นีกีตา ครุชชอฟ |
![]() |
วิกิซอร์ซมีงานต้นฉบ้บซึ่งเป็นผลงานของหรือเกี่ยวข้องกับ: นิกิตา ครุสชอฟ |
- Nikita Khrushchev Archive at marxists.org
- Nikita Khrushchev archival footage – Net-Film Newsreels and Documentary Films Archive
- The CWIHP at the Wilson Center for Scholars: The Nikita Khrushchev Papers
- Obituary, The New York Times, 12 September 1971, "Khrushchev's Human Dimensions Brought Him to Power and to His Downfall"
- The Case of Khrushchev's Shoe, by Nina Khrushcheva (Nikita's great-granddaughter), New Statesman, 2 October 2000
- Modern History Sourcebook: Nikita S. Khrushchev: The Secret Speech — On the Cult of Personality, 1956
- "Tumultuous, prolonged applause ending in ovation. All rise." Khrushchev's "Secret Report" & Poland
- Thaw in the Cold War: Eisenhower and Khrushchev at Gettysburg, a National Park Service Teaching with Historic Places (TwHP) lesson plan – archived at Wayback Machine
- Khrushchev photo collection
- Nikita Khrushchev on Face the Nation in 1957
ก่อนหน้า | นีกีตา ครุชชอฟ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นีโคไล บุลกานิน | ![]() |
ประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต (27 มีนาคม 1958 – 14 ตุลาคม 1964) |
![]() |
อะเลคเซย์ โคซีกิน |
โจเซฟ สตาลิน | ![]() |
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (14 กันยายน 1953 – 14 ตุลาคม 1964) |
![]() |
เลโอนิด เบรจเนฟ |
นักต่อสู้เพื่อเอกราชของฮังการี | ![]() |
บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ (ค.ศ. 1957) |
![]() |
ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ |
- แม่แบบวิกิซอร์ซที่ขาดไอดี
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2437
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2514
- นีกีตา ครุชชอฟ
- นายกรัฐมนตรีสหภาพโซเวียต
- นักการเมืองโซเวียต
- ผู้นำในสงครามเย็น
- บุคคลจากแคว้นคูสค์
- เสียชีวิตจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- ชาวยูเครนเชื้อสายรัสเซีย
- วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต
- เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต
- ทหารชาวโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง
- นักลัทธิคอมมิวนิสต์