ข้ามไปเนื้อหา

อาสนวิหารลิงคอล์น

พิกัด: 53°14′04″N 0°32′10″W / 53.23444°N 0.53611°W / 53.23444; -0.53611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาสนวิหารลิงคอล์น
The Cathedral Church of the Blessed Virgin Mary of Lincoln
อาสนวิหารลิงคอล์นมองจากปราสาทลิงคอล์น
อาสนวิหารลิงคอล์นตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ
อาสนวิหารลิงคอล์น
อาสนวิหารลิงคอล์น
อาสนวิหารลิงคอล์นตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร
อาสนวิหารลิงคอล์น
อาสนวิหารลิงคอล์น
53°14′04″N 0°32′10″W / 53.23444°N 0.53611°W / 53.23444; -0.53611
ที่ตั้งลิงคอล์น, ลิงคอล์นเชอร์
ประเทศประเทศอังกฤษ
นิกายคริสตจักรแห่งอังกฤษ
นิกายเดิมโรมันคาทอลิก
จารีตAnglo-Catholic
เว็บไซต์lincolncathedral.com
ประวัติ
อุทิศแก่พระนางมารีย์พรหมจารี
เสกเมื่อ11 พฤษภาคม ค.ศ. 1092
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตย์กอทิก
ปีสร้างค.ศ. 1185–1311
งานฐานรากค.ศ. 1072[1]
โครงสร้าง
อาคารยาว147 เมตร (482 ฟุต)
อาคารกว้าง24 เมตร (78 ฟุต)
เนฟสูง24 เมตร (78 ฟุต)
จำนวนหอคอย3
ความสูงหอคอย83 เมตร (272 ฟุต) (crossing)
จำนวนยอดแหลม3 (ปัจจุบันสูญหาย)
ความสูงยอดแหลม160 เมตร (520 ฟุต) (crossing tower)
ระฆังแขวนไว้สั่นระฆัง 13 อัน; รวม 20 อัน (13 ในหอตะวันตกส่วนใต้, 2 ในหอตะวันตกส่วนเหนือ และ 5 ในหอกลาง)
Tenor bell weight23cwt 3qr 23lb (1212kg) in D
การปกครอง
มุขมณฑลลิงคอล์น (ตั้งแต่ ค.ศ. 1072)
แขวงแคนเทอร์เบอร์รี
นักบวช
เจ้าคณะคริสทีน วิลสัน
ผู้นำสวดนิก บราวน์
ผู้แทนพอล โอเวอเรนด์
ฆราวาส
ผู้อำนวยการเพลงเอริก เพรนทีส
นักออร์แกนเจฟฟรีย์ เมกินสัน
Chapter clerkวิลเลียม แฮร์ริสัน
อาสนวิหารลิงคอล์น
แผนที่
สถิติความสูง
เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก
ตั้งแต่ ค.ศ. 1311 ถึง 1548[ไม่แน่ใจ ][I]
ก่อนหน้านี้มหาพีระมิดแห่งกีซา
หลังจากนี้หอโบสถ์นักบุญมารีย์ที่ชทรัลซุนท์

อาสนวิหารลิงคอล์น (อังกฤษ: Lincoln Cathedral) มีชื่อเป็นทางการว่า The Cathedral Church of the Blessed Virgin Mary of Lincoln หรือ อาสนวิหารนักบุญมารีย์ เป็นอาสนวิหารสำคัญตั้งอยู่ที่เมืองลิงคอล์นในมณฑลลิงคอล์นเชอร์ใน สหราชอาณาจักร นักประวัติศาสตร์บางส่วนอ้างว่าอาสนวิหารลิงคอล์นเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกต่อจากมหาพีระมิดแห่งกีซา โดยมียอดแหลมตรงกลางสูงถึง 160 เมตร (520 ฟุต) ที่สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1311 ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้เป็นเวลา 238 ปี ก่อนที่ยอดแหลมพังลงมาใน ค.ศ. 1548[2][3][4] และมิได้สร้างใหม่จึงเสียตำแหน่ง อาสนวิหารมีชื่อว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สมลักษณะสิ่งก่อสร้างที่ดี จอห์น รัสคินนักเขียนสมัยพระราชินีนาถวิคตอเรีย บรรยายว่า “...อาสนวิหารลิงคอล์นเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นที่สำคัญที่สุดในอังกฤษ และมีคุณค่าเท่าสองอาสนวิหารที่เรามี”[5]

ประวัติ

[แก้]
มองจากอาสนวิหารลิงคอล์นไปยังปราสาทลิงคอล์น
อาสนวิหารลิงคอล์น

พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ทรงสั่งให้สร้างอาสนวิหารลิงคอล์นเมื่อปี ค. ศ. 1072 ก่อนหน้านั้นวัดเซ็นต์แมรีแห่งลิงคอล์นเป็นเพียงวัดแม่ (mother church) แต่ไม่ใช่อาสนวิหารและขึ้นอยู่กับเป็นสังฆมณฑลออกซฟอร์ดเชอร์ ซึ่งมีอาสนวิหารอยู่ที่ดอร์เชสเตอร์ออนเทมส์ (Dorchester-on-Thames) แต่ที่ตั้งของเมืองลิงคอล์นเป็นจุดศูนย์กลางของมณฑลมากกว่าที่ดอร์เชสเตอร์ บาทหลวงเรมิเจียส (Bishop Remigius) สร้างอาสนวิหารแรกบนที่ตั้งปัจจุบันและแล้วเสร็จเมื่อปี ค. ศ. 1092 แต่ท่านเสียชีวิตเพียงสองวันก่อนที่อาสนวิหารจะได้รับการสถาปนาเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมในปีเดียวกัน ประมาณ 50 ปีต่อมาอาสนวิหารเกือบทั้งหมดถูกไฟไหม้ บาทหลวงอเล็กซานเดอร์ (Alexander of Lincoln) จึงสร้างและขยายใหม่แต่ก็อยู่ได้เพียง 40 ปีก็มาถูกทำลายโดยแผ่นดินไหว เมื่อปี ค. ศ. 1185

หลังจากแผ่นดินไหวก็มีบาทหลวงใหม่มาปกครอง—บาทหลวงฮิว (Hugh of Lincoln) จากอวาลอน (Avalon) ประเทศฝรั่งเศส ผู้ต่อมาได้เป็นนักบุญ บาทหลวงฮิวก็เริ่มก่อสร้างและขยายอาสนวิหารอย่างใหญ่หลวง การบูรณะเริ่มที่ทางท้ายวัดตรงมุขและคูหาสวดมนต์รอบจรมุข ทางเดินกลางสร้างแบบสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษสมัยต้น อาสนวิหารลิงคอล์นใช้วิธีการก่อสร้างที่ล่าสุดในสมัยนั้นเช่น เพดานโค้งแหลม กำแพงค้ำยันแบบปีก และเพดานโค้งแหลมแบบมีสัน (ribbed vault) สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้กำแพงหลักไม่ต้องรับน้ำหนักจากหลังคาและตัวกำแพงทั้งหมด จึงทำให้สามารถสร้างหน้าต่างที่กว้างกว่าเดิมได้มาก

เมื่อพูดถึงเนื้อที่ใช้สอยภายในอาสนวิหาร อาสนวิหารลิงคอล์นใหญ่เป็นที่ 3 ในสหราชอาณาจักรรองจากอาสนวิหารยอร์ค และ อาสนวิหารเซ็นต์พอล ที่กรุงลอนดอนโดยมีเนื้อที่ 484 ฟุตคูณ 271 ฟุต หอคอยของอาสนวิหารเป็นหอที่สูงที่สุดในยุโรปในยุคกลาง นอกจากนั้นก็ยังมีระฆังใหญ่ที่เรียกกันว่า “Great Tom of Lincoln” ที่ติดตั้งเมื่อต้นศตวรรษที่ 19 และจะตีบอกเวลาทุก 15 นาที

หน้าต่างกุหลาบบนแขนกางเขนทางด้านเหนือ -- Dean's Eye – สร้างเมื่อค. ศ. 1192 บูรณะโดยนักบุญฮิว (St Hugh) มาเสร็จเมื่อเมื่อค. ศ. 1235 ทางด้านใต้ -- Bishop’s Eye—บูรณะเมื่อ ค. ศ. 1330

ราวประมาณปีค.ศ. 1237 หรือ 1239 หอกลางของวัดก็ทลายลงมา เมื่อค. ศ. 1255 ชาวเมืองลิงคอล์นยื่นคำร้องต่อพระเจ้าเฮนรีที่ 3ขอให้รื้อกำแพงเมืองบางส่วนลงเพื่อที่จะได้ขยายอาสนวิหารและสร้างหอและยอดใหม่ ทางด้านหลังวัดก็สร้างคูหาสวดมนต์ใหญ่แทนคูหาสวดมนต์เดิมที่สร้างโดยนักบุญฮิวเพื่อรับนักแสวงบุญที่มาสักการะนักบุญฮิวที่เพิ่มมากขึ้น

ระหว่างปี ค.ศ. 1307 ถึงปี ค.ศ. 1311 หอกลางที่สูง 271 ฟุตก็สร้างเสร็จ หอทางด้านตะวันตกก็มีการบูรณะและต่อเติมจนสูงถึง 525 ฟุตซึ่งทำให้เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกในสมัยนั้นสูงกว่าปิรามิดกีซาที่เป็นครองตำแหน่งสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกเป็นเวลา 4000 ปี แต่ก็มาถูกพายุพัดทลายลงมาเมื่อปี ค.ศ. 1549

ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ก็มีการก่อสร้างฉากหินสลัก เก้าอี้อิง (misericords) และ บริเวณสงฆ์ใหม่ที่เรียกว่า Angel choir สถาปนิกพยายามสร้างซุ้มซ้อนกันสองชั้นเพื่อให้ดูเหมือนมีทางเดินเพิ่มนอกกำแพงอย่างฝรั่งเศส แต่กะสัดส่วนผิดจึงมิได้ผลอย่างที่ตั้งใจ

เมื่อปี ค.ศ. 1290 พระราชินีของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 เอเลเนอร์แห่งคาสตีล (Eleanor of Castile) สิ้นพระชนม์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงทรงจัดให้มีขบวนศพอย่างสมพระเกียรติ หลังจากทำศพซึ่งในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 หมายถึงการควักเครื่องในออก เครื่องในที่ถูกควักออกมานี้ก็เอาฝังไว้ที่อาสนวิหารลิงคอล์นเอง ชุดเทียมเอาไปฝังไว้ที่เวสท์มินสเตอร์แอบบี โลงศพที่อาสนวิหารลิงคอล์นยังมีอยู่แต่อนุสรณ์ของพระนางถูกทำลายเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่มาสร้างแทนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 ด้านนอกของอาสนวิหารมีรูปปั้นเด่นสองรูปปั้นที่เชื่อกันว่าเป็นรูปปั้นของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดและพระราชินีแต่รูปปั้นนี้ถูกซ่อมแซมอย่างไม่ปราณีตเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19

เมื่อปี ค.ศ. 1398 จอห์น กอนท์ (John of Gaunt) และแค็ทเธอริน สวินฟอร์ด (Katherine Swynford) สร้างคูหาสวดมนต์(chantry) เพื่อเอาไว้สวดมนต์แก่วิญญาณของเขา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็มีการสร้างคูหาสวดมนต์เพิ่มขึ้น คูหาสวดมนต์ติดกับบริเวณสงฆ์ Angel Choir เป็นแบบกอธิคสูง (Perpendicular gothic) ซึ่งเน้นเส้นดิ่งหรือความเพรียว ลักษณะนี้จะเห็นได้จากลวดลายหน้าต่างและการตกแต่งผนัง

มหากฎบัตร

[แก้]

บาทหลวงแห่งลิงคอล์นเป็นผู้หนึ่งที่ลงนามใน “แม็กนา คาร์ตา” อาสนวิหารจึงเป็นที่เก็บเอกสารนี้ไว้ฉบับหนึ่งในจำนวนทั้งหมดด้วยกันสี่ฉบับเป็นเวลาหลายร้อยปี แต่ปัจจุบันเอกสารฉบับนี้ย้ายไปเก็บไว้ที่ปราสาทลิงคอล์น อีกสองฉบับอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ และฉบับที่สี่อยู่ที่อาสนวิหารซอลสบรี

อิมพ์แห่งลิงคอล์น

[แก้]
แผนผังอาสนวิหาร

ปนาลีหรือการ์กอล์ย ตัวหนึ่งของอาสนวิหารเรียกว่า “Lincoln Imp” ซึ่งที่มามาจากหลายตำนาน ตำนานหนึ่งจากคริสต์ศตวรรษที่ 14 กล่าวว่า ซาตานส่งสัตว์เจ้าเล่ห์สองตัวที่เรียกว่า “Imps” มากวนโลก หลังจากที่ก่อความวุ่นวายทางภาคเหนือของอังกฤษอิมพ์สองตัวก็เดินทางมาลิงคอล์น พอมาถึงอาสนวิหารก็ทำลายโต๊ะและเก้าอี้และทำให้บาทหลวงสะดุดล้ม อิมพ์ตัวหนึ่งนั่งบนยอดเสาเอาก้อนหินขว้างขณะที่อีกตัวหนึ่งนั่งหลบอยู่ใต้โต๊ะ อิมพ์ตัวที่โยนหินถูกสาปให้เป็นหินที่เรียกว่า Lincoln Imp นั่งอยู่บนเสาหินภายในบริเวณสงฆ์ Angel Choir อยู่ทุกวันนี้

อิมพ์อีกตัวหนีไปกริมสบี (Grimsby) ไปก่อความวุ่นวายต่อ ในที่สุดก็เข้าไปในวัดเซ็นต์เจมส์และไปก่อความยุ่งยากเช่นที่อาสนวิหารลิงคอล์น เทวดาก็เลยมาปรากฏตัวแล้วตีก้นอิมพ์ป้าบใหญ่ก่อนที่จะสาปให้เป็นหินเหมือนตัวแรก กริมสบีจึงมี “Grimsby Imp” ที่มือหนึ่งกุมก้นที่ถูกเทวดาตี

หอสมุดเร็น

[แก้]

หอสมุดเร็น (Wren library) มีหนังสือโบราณต้นฉบับทั้งหมด 277 เล่มรวมทั้งหนังสือ “ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับศาสนาของชนอังกฤษ” ที่เขียนโดยนักบุญบีด ผู้เขียนจดหมายเหตุที่เป็นกลายมาเป็นเอกสารสำคัญที่สุดในการบันทึกประวัติศาตร์อังกฤษเป็นครั้งแรก

ปัจจุบัน

[แก้]
ภายในทางด้านตะวันออกทางบริเวณร้องเพลงสวดเซ็นต์ฮิว

เว็ปไซท์ของอาสนวิหารกล่าวว่าอาสนวิหารใช้งบประมาณกว่า 70 ล้านบาทต่อปีในการบำรุงรักษาวัด โครงการหลังสุดที่ทำคือการบูรณะด้านหน้าเมื่อ ค.ศ. 2000 ประมาณ 10 ปีก่อนหน้านั้นทางอาสนวิหารพบว่ากำแพงค้ำยันทางตะวันออกแยกออกจากตัวอาคารจึงจำเป็นต้องซ่อมก่อนที่อาสนวิหารจะทลายลงมา อีกปัญหาที่พบคือหินที่หน้าต่างกุหลาบทางด้านเหนือเริ่มผุกร่อน และนอกจากนั้นยังพบว่าถ้าหินเลื่อนไปเพียง 5 มิลลิเมตรหน้าต่างก็จะพังลงมา ทางวัดก็เลยรื้อหน้าต่างเดิมออกและสร้างหน้าต่างใหม่แทน

ทุกสี่ปีทางอาสนวิหารจัดละครลึกลับที่เรียกว่า “Lincoln Mystery Plays” ซึ่งมีผู้ชมมาจากทั่วโลก โครงเรื่องนำมาจากบทละครที่เขียนโดยคีธ แรมเซย์ (Keith Ramsay) เมื่อ ค.ศ. 1978 ละครครั้งต่อไปจะเล่นในปี ค.ศ. 2008

เกร็ด

[แก้]
ด้านหน้าแบบโรมาเนสก์
  • อาสนวิหารใช้เป็นฉากในนวนิยายเรื่อง “สายรุ้ง” (The Rainbow) เขียนโดย ดี เอช ลอเรนซ์ (D.H. Lawrence) ที่เกิดขึ้นที่อาสนวิหารลิงคอล์น
  • เค็น ฟอลเล็ท (Ken Follett) กล่าวถึงอาสนวิหารลิงคอล์นในนวนิยายเรื่อง “หลักของโลก”
  • อาสนวิหารใช้เป็นฉากในภาพยนตร์เรื่อง “รหัสลับดาวินชี” ซึ่งส่วนใหญ่ถ่ายภายในบริเวณระเบียงคดและหอประชุมสงฆ์ซึ่งใช้เป็นฉากเวสท์มินเตอร์แอบบี เพื่อที่จะทำให้หอประชุมสงฆ์ของอาสนวิหารลิงคอล์นเหมือนกับหอสงฆ์ประชุมของเวสท์มินเตอร์แอบบี ทางอาสนวิหารต้องทาสีทับบนผนังหอประชุม
  • อาสนวิหารใช้เป็นฉากเวสท์มินเตอร์แอบบีอีกครั้งหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง “พระราชินีนาถวิคตอเรียเมื่อยังทรงพระเยาว์” (Young Victoria) เมื่อปี ค.ศ. 2007 [6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Timeline - Lincoln Cathedral". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2018. สืบค้นเมื่อ 4 October 2018.
  2. Kendrick, A. F. (1902). "2: The Central Tower". The Cathedral Church of Lincoln: A History and Description of its Fabric and a List of the Bishops. London: George Bell & Sons. p. 60. ISBN 978-1-178-03666-4. The tall spire of timber, covered with lead, which originally crowned this tower reached an altitude, it is said, of 525 feet; but this is doubtful. This spire was blown down during a tempest in January 1547-8.
  3. Mary Jane Taber (1905), The cathedrals of England: an account of some of their distinguishing characteristics, p.100.
  4. "Lincoln Cathedral — History". The Dean and Chapter of Lincoln Cathedral. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2012. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018. Between 1307 and 1311 the central tower was raised to its present height. Then around 1370 to 1400 the western towers were heightened. All three towers had spires until 1548 when the central tower's spire blew down.
  5. "Lincoln Cathedral - Guide | Cathedrals Plus". www.cathedralsplus.org.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.
  6. หนังสือพิมพ์การ์เดียน

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]