ข้ามไปเนื้อหา

นอกรีต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กาลิเลโอกาลิลีตัดสินลงโทษคนนอกรีต
การสังหารหมู่ ณ Mérindol ใน ค.ศ. 1545 เป็นการลงโทษพวกนอกรีตทางศาสนาของฝรั่งเศส

นอกรีต (อังกฤษ: heresy) หมายถึง ไม่ประพฤติตามจารีตประเพณี[1] เป็นคำที่ใช้เรียกทรรศนะของผู้อื่นซึ่งขัดแย้งกับทรรศนะของตน[2] ในโลกตะวันตกคริสตจักรโรมันคาทอลิกเริ่มใช้คำนี้เพื่อหมายถึงแนวความเชื่อใด ๆ ที่ขัดแย้งกับคำสอนต้องเชื่อที่คริสตจักรกำหนด ต่อมาคำนี้ถูกใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น คือเป็นข้อกล่าวหาที่คนกลุ่มหนึ่งใช้เรียกคนอีกฝ่ายหนึ่งที่มีความเชื่อขัดกับผู้กล่าวหา มักใช้ในกรณีที่มีการละเมิดกฎศาสนาหรือแบบแผนประเพณี ในทางการเมืองนักการเมืองหัวรุนแรงก็อาจใช้คำนี้กล่าวหาฝ่ายตรงข้าม คำนี้ยังมีความหมายโดยนัยถึงพฤติกรรมหรือความเชื่อที่อาจบ่อนทำลายศีลธรรมที่สังคมยอมรับกันอยู่ การนอกรีตต่างจากการละทิ้งความเชื่อซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อทางศาสนาหรือการเมืองเดิมของตน[3] และต่างจากความผิดฐานเหยียดหยามศาสนา ซึ่งหมายถึงการแสดงออกว่าไม่เคารพพระเป็นเจ้าหรือศาสนา[4] แต่การนอกรีตนั้นรวมถึงการเชื่อในศาสนาแต่ต่างจากรูปแบบที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ[5]

ศาสนาพุทธ

[แก้]

ในศาสนาพุทธเรียกความเชื่อนอกรีตว่า ติตถายตนะ[6] หรือ มิจฉาทิฐิ (ทิฏฐิ)

ติตถายตนะ 3 ได้แก่

1. ปุพเพกตวาท คือ ความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ล้วนแต่มาจากผลกรรมที่ทำไว้แต่อดีตชาติ
2. อิสสรนิมมาณเหตุวาท คือ ความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ล้วนแต่มาจากเทวลิขิต เรียกอีกอย่างว่าเทวนิยม
3. อเหตุอปัจจยวาท คือ ความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ล้วนแต่ปราศจากเหตุปัจจัย แต่เกิดขึ้นเอง เป็นไปเอง
มิจฉาทิฐิมี 2 หมวด ได้แก่ ทิฏฐิ 2 และทิฏฐิ 3
ทิฏฐิ 2 ได้แก่
1. สัสสตทิฐิ คือ ความเห็นผิดว่าโลกหรืออัตตาเป็นสิ่งเที่ยงแท้ถาวรอยู่ตลอดไป
2. อุจเฉททิฐิ คือ ความเห็นผิดว่าโลกหรืออัตตาจะพินาศขาดสูญไปตลอด ทางปรัชญาเรียกว่าสุญนิยม
ทิฏฐิ 3 หรือนิยตมิจฉาทิฏฐิ ได้แก่
1. อกิริยทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าการกระทำต่าง ๆ ไม่มีผลใด ๆ
2. อเหตุกทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าสิ่งทั้งหลาย เช่น สุข ทุกข์ เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ
3. นัตถิกทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าชาติหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มีบุญคุณ โอปปาติกะไม่มี เป็นต้น


ศาสนาคริสต์

[แก้]

คาทอลิก

[แก้]

ในโบทก์คาทอลิกการกระทำนอกรึตอย่างตั้งใจนั้นคือการที่คนคนใดคนหนึ่งตัดตนเองทางจิตวิญญาญออกจากโบสถ์ก่อนการที่ตนจะโดนตัดขาดออกจาศาสนา

ในหนังสือโคเด็กจัสติเนียสได้บอกไว้ว่า "ผู้ใดผู้ซึ่งมิได้อุทิตตนต่อโบสถ์คาทอลิกและความเชื่อของเราคือพวกนอกรีต"

โบสถ์คาทอลิกได้จัดการกับผู้ที่เป็นพวกนอกรึตอย่างรุนแรงตลอดมา แต่ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 11 กลุ่มคนนอกรึตนั้นส่วนใหญ่จะเป็นแค่นักบวชเพียงคนเดียวหรือในกลุ่มเล็กๆเท่านั้น แต่ภายหลังจากศตวรรษที่ 11 ก็มีกลุ่มคนนอกรึตที่มีการจัดการดีและกล้าแข็งมากขึ้นขึ้นมาหลายกลุ่มในแถบยุโรปตะวันตกอย่างเช่นกลุ่มคาทาร์เป็นต้น

ในฝรั่งเศษกลุ่มคาทาร์นี้ได้เติบใหญ่และเพิ่มพูนกำลังขึ้นมาจนกลายเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมครั้งใหญ่และความเชื่อนอกรึตนี้ก็มีแต่จะแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นของยุโรป สงครามครูเสดคาทาร์ ได้เริ่มขึ้นมาด้วยเหตุนี้โดยโบสถ์คาทอลิกเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของกลุ่มคาทาร์ในส่วนทางตอนใต้ของฝรั่งเศษ การมีอยู่ของกลุ่มนอกรึตตอนหลังได้กลายมาเป็นสาเหตุที่ทางโบสถ์ได้นำการใช้สำหรับการสอบสวนโดยหน่่วยสอบสวนของทางโบสถ์ และการก่อสงครามทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการคริสตจักรปฏิรูปโปรเตสแตนท์

อ้างอิง

[แก้]
  1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เก็บถาวร 2012-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" ราชบัณฑิตยสถาน
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, 2548, หน้า 42
  3. apostasy. . Cambridge Dictionaries Online
  4. blasphemy. Cambridge Dictionaries Online
  5. heresy. Cambridge Dictionaries Online
  6. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์รวมเล่ม 3 ภาคครั้งที่ 16 เป็นอนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพพลเรือโท ชอบสิโรดม, 2551, หน้า 371