ราชยสภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชยสภา
ตราแผ่นดินอินเดีย
ประเภท
ประเภท
เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาอินเดีย
จำกัดวาระ
6 ปี
ผู้บริหาร
Harivansh Narayan Singh, , JDU
ตั้งแต่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2018
เลขาธิการ
Desh Deepak Verma, thāvarcand gahlot
ตั้งแต่ 1 กันยายน ค.ศ. 2017
Thawar Chand Gehlot, , BJP
ตั้งแต่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2019
รองผู้นำฝ่ายรัฐบาล
Piyush Goyal, , BJP
ตั้งแต่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2019
Ghulam Nabi Azad, , INC
ตั้งแต่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2014
โครงสร้าง
สมาชิก245
ราชยสภา
กลุ่มการเมือง
ฝ่ายรัฐบาล

NDA (115)

  •   BJP (85)
  •   AIADMK (9)
  •   JD (U) (5)
  •   SAD (3)
  •   AGP (1)
  •   BPF (1)
  •   LJP (1)
  •   NPP (1)
  •   PMK (1)
  •   RPI (A) (1)
  •   TMC (M) (1)
  •   MNF (1)
  •   IND (1)
  •   NOM (4)

ฝ่ายค้าน (126)
UPA (60)

อื่น ๆ (66)

ว่าง (4)

  •   ว่าง (4)
การเลือกตั้ง
สมาชิก 233 คนมาจากคะแนนเสียงเดียวโอนได้ (single transferable vote) ของสภานิติบัญญัติระดับรัฐ, สมาชิก 12 คนมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
19 มิถุนายน ค.ศ. 2020
การเลือกตั้งครั้งหน้า
พฤศจิกายน ค.ศ. 2020
ที่ประชุม
ห้องประชุมราชยสภา, อาคารรัฐสภาอินเดีย, นิวเดลี, อินเดีย, 110 001
เว็บไซต์
rajyasabha.nic.in
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญอินเดีย
หมายเหตุ
^† รวม 8 คนที่มาจากการเสนอชื่อและเข้าร่วมวิปรัฐบาล

ราชยสภา (อักษรโรมัน: Rajya Sabha; ฮินดี: राज्यसभा Rājyasabhā) เป็นสภาสูงของรัฐสภาอินเดีย ประกอบด้วยสมาชิก 250 คน 12 คนในจำนวนนี้นเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปศาสตร์ อักษรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมสงเคราะหศาสตร์ ซึ่งได้รับการคัดสรรโดยประธานาธิบดีอินเดียและได้รับสมญาว่า "สมาชิกคัดสรร" ส่วนสมาชิกที่เหลือจากการเลือกตั้งโดยสภานิติบัญญัติประจำรัฐและดินแดนต่าง ๆ ของประเทศอินเดีย สมาชิกทุกคนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี โดยจะมีการเลือกตั้งสมาชิกครึ่งหนึ่งทุก ๆ 2 ปี

ราชยสภาดำเนินสมัยประชุมอย่างไม่ขาดสาย และต่างจาก "โลกสภา" หรือสภาล่างของรัฐสภาอินเดีย ที่โลกสภาสามารถถูกยุบได้ แต่จะไม่มีการยุบราชยสภา อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีอินเดียมีอำนาจสั่งระงับสมัยประชุมของราชยสภาและโลกสภาได้ทั้งคู่

ราชยสภาและโลกสภาบริหารอำนาจนิติบัญญัติร่วมกัน โดยมีอำนาจหน้าที่เท่าเทียมกันในการตรากฎหมายและพิจารณาร่างกฎหมาย (ยกเว้นประเด็นที่เกี่ยวกับงบประมาณ เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของโลกสภามิใช่ราชยสภา) ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านนิติบัญญัติ ปัญหาดังกล่าวนี้จะได้รับการตัดสินโดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาอินเดีย แต่โดยที่ราชยสภามีสมาชิกน้อยกว่าโลกสภาถึงสองเท่า จึงนับว่าโลกสภามีอำนาจมากกว่าในการประชุมร่วมกันดังกล่าว อย่างไรก็ดี การประชุมร่วมกันของสภาทั้งสองที่ประกอบขึ้นมาเป็นรัฐสภาอินเดียมีน้อยครั้งมาก ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐอินเดียจนถึงปัจจุบัน มีการประชุมร่วมเช่นว่านั้นเพียงสามครั้งเท่านั้น

รองประธานาธิบดีอินเดียเป็นประธานราชยสภาโดยตำแหน่ง ส่วนรองประธานราชยสภานั้นเป็นสมาชิกราชยสภาคนหนึ่งที่ได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกด้วยกันเอง และจะทำหน้าที่กำกับการบริหารและการทำงานตามปกติของราชยสภา รวมทั้งทำหน้าที่ประธานการประชุมในวาระเมื่อรองประธานาธิบดี (นายกราชยสภา) ไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่ ราชยสภานี้เปิดประชุมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ตรงกับสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ของไทย

ราชยสภายังทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่รัฐด้วย

อ้างอิง[แก้]