การล้อมออร์เลอ็อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การล้อมออร์เลอ็อง
ส่วนหนึ่งของ สงครามร้อยปี
Lenepveu, Jeanne d'Arc au siège d'Orléans.jpg
ฌาน ดาร์กในการล้อมออร์เลอ็อง ภาพที่วาดใน ค.ศ. 1886–1890 โดยJules Eugène Lenepveu
วันที่12 ตุลาคม ค.ศ. 1428 – 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1429 (6 เดือน 3 สัปดาห์ 5 วัน)
สถานที่ออร์เลอ็อง ประเทศฝรั่งเศสตอนกลาง
ผล ฝรั่งเศสชนะ
คู่สงคราม
Royal Arms of England (1470-1471).svg ราชอาณาจักรอังกฤษ
Arms of the Duke of Burgundy (1404-1430).svg รัฐบูร์กอญ[a]
Arms of France (France Moderne).svg ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
Royal Arms of the Kingdom of Scotland.svg ราชอาณาจักรสกอตแลนด์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
Montacute Arms.svg เอิร์ลแห่งซอลส์บรี (DOW)
Arms of De La Pole.svg เอิร์ลแห่งซัฟฟอล์ก
Talbot arms.svg จอห์น แทลบอต
วิลเลียม กลาสเดล  
Armoiries des compagnons de Jeanne d'Arc - Jean d'Orléans (argent).png ฌ็อง เดอ ดูนัว
Armoiries des compagnons de Jeanne d'Arc - Raoul de Gaucourt.png Raoul de Gaucourt
Armoiries des compagnons de Jeanne d'Arc - Nicolas de Giresme.svg Nicolas de Giresme
Armoiries des compagnons de Jeanne d'Arc - Jean Poton de Xaintrailles.svg Poton de Xaintrailles
Armoiries des compagnons de Jeanne d'Arc - Gilles de Rais (augmentées).svg ฌีล เดอ แร
Armoiries des compagnons de Jeanne d'Arc - Jean de Brosse.svg ฌ็อง เดอ บร็อส
Armoiries des compagnons de Jeanne d'Arc - La Hire.svg ลา อีร์
กำลัง
5,300 นาย[1][2]
• ชาวอังกฤษประมาณ 3,263–3,800 คน[3]
• ชาวบูร์กอญ 1,500 คน[3][a]
ทหาร 6,400 นาย
พลเมืองติดอาวุธ 3,000 นาย[1][2]
ความสูญเสีย
มากกว่า 4,000 นาย[1] 2,000 นาย[1]

การล้อมออร์เลอ็อง (อังกฤษ: Siege of Orléans) เป็นยุทธการในสงครามร้อยปี ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1428 ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1429 ที่เมืองออร์เลอ็องในฝรั่งเศส เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชอาณาจักรอังกฤษที่นำโดยจอห์น แทลบอต เอิร์ลแห่งชรูส์บรีที่ 1, ทอมัส มอนทาคิวต์ เอิร์ลแห่งซอลส์บรีที่ 4 และวิลเลียม เดอ ลา โพล ดยุคแห่งซัฟฟอล์กที่ 1 และฝ่ายราชอาณาจักรฝรั่งเศสและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ที่นำโดยฌ็อง เดอ ดูนัว (fr:Jean de Dunois ,en:Jean de Dunois), ฌีล เดอ แร (fr:Gilles de Rais ,en:Gilles de Rais) โจนออฟอาร์ก[4] และฌ็อง เดอ บร็อส (fr:Jean de Brosse , en:Jean de Bross) ผลของการล้อมเมืองครั้งนี้ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ในด้านความเสียหาย ฝ่ายอังกฤษมีผู้เสียชีวิต 4,000 คน ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสมีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 คน

ชัยชนะของฝรั่งเศสในการรักษาเมืองออร์เลอ็องเป็นจุดของความเปลี่ยนแปลงของสงครามร้อยปี และเป็นสงครามใหญ่สงครามแรกที่โจนออฟอาร์ก เข้ามามีบทบาท[5] ชัยชนะทางการทหารครั้งนี้เป็นชัยชนะครั้งใหญ่ครั้งแรกของฝ่ายฝรั่งเศสหลังจากที่พ่ายแพ้ต่ออังกฤษอย่างยับเยินในยุทธการที่อาแฌ็งกูร์ (Battle of Agincourt) ในปี ค.ศ. 1415 เมื่อเริ่มการล้อมเมืองอังกฤษอยู่ในสภาพที่แข็งแกร่งที่สุดของการมีอำนาจในฝรั่งเศส นอกจากนั้นออร์เลอ็องก็ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของทั้งสองฝ่าย จุดประสงค์ของการล้อมเมืองครั้งนี้ถ้าออร์เลอ็องเสียเมืองก็เท่ากับว่าจอห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุคแห่งเบดฟอร์ดที่ 1 (John of Lancaster, 1st Duke of Bedford) ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ สามารถทำได้ทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษในการได้รับชัยชนะต่อฝรั่งเศสทั้งหมด อังกฤษดูเหมือนจะได้รับชัยชนะเมื่อการล้อมเมืองผ่านไปได้ราวหกเดือน แต่ก็มาพ่ายแพ้เพียงเก้าวันหลังจากการเข้าร่วมรบโดย โจนออฟอาร์ก

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 บูร์กอญถอนกำลังในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1429 เนื่องด้วยความไม่ลงรอยกับอังกฤษ ทำให้ภายหลังกองทัพอังกฤษยังคงดำเนินการรบต่อไป

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Charpentier & Cuissard 1896, p. 410.
  2. 2.0 2.1 Davis 2003, p. 76.
  3. 3.0 3.1 Pollard 2005, p. 14.
  4. Her name was written in a variety of ways, particularly prior to the mid-19th century. See Pernoud and Clin, pp. 220–221. She reportedly signed her name as "Jehanne" (see www.stjoan-center.com/Album/, parts 47 and 49; it is also noted in Pernoud and Clin).
  5. She earlier (5th of May 1429) marched to the fortress of Saint Jean le Blanc. Finding it deserted, this became a bloodless victory. The next day, with the aid of only one captain she captured the fortress of Saint Augustins (ความเป็นผู้นำของโจนออฟอาร์ก)

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

  • Beaucourt, G.F. (1882). Histoire de Charles VII, 2: Le Roi de Bourges 1422–1435 (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Société Bibliographique. Archived. {{cite book}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |postscript= (help)CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  • Charpentier, Paul & Cuissard, Charles (1896). Journal du siège d'Orléans, 1428–1429. H. Herluison.
  • Cousinot de Montreuil, G. (1864). M. Vallet de Viriville (บ.ก.). Chronique de la Pucelle ou chronique de Cousinot. Paris: Delays. link
  • Davis, P.K. (2003-06-26). Besieged: 100 great sieges from Jericho to Sarajevo. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-521930-2.
  • DeVries, K. (1999). Joan of Arc: a Military Leader (PDF). Stroud: Sutton Publishing. ISBN 978-0-7509-1805-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-27.
  • Jones, M.K. (2000). "'Gardez mon corps, sauvez ma terre' – Immunity from War and the Lands of a Captive Knight: The Siege of Orléans (1428–29) Revisited". ใน Mary-Jo Arn (บ.ก.). Charles d'Orléans in England (1415–1440). D.S. Brewer. pp. 9–26. ISBN 978-0-85991-580-9.
  • Pernoud, R. & Clin, Marie-Véronique (1998). Joan of Arc: her story. Translated and revised by Jeremy duQuesnay Adams, edited by Bonnie Wheeler. New York: St. Martin's Griffin. ISBN 978-0-312-21442-5.
  • Pollard, A.J. (2005-11-19). John Talbot and the War in France 1427–1453. Pen & Sword Military. ISBN 978-1-84415-247-6.
  • Quicherat, J. (1841). Procès de condamnation et de réhabilitation de Jeanne d'Arc dite La Pucelle. Vol. 1. Paris: Renouard. link
  • Quicherat, J. (1844). Procès de condamnation et de réhabilitation de Jeanne d'Arc dite La Pucelle. Vol. 2. Paris: Renouard. link
  • Quicherat, J. (1845). Procès de condamnation et de réhabilitation de Jeanne d'Arc dite La Pucelle. Vol. 3. Paris: Renouard. link
  • Ramsay, J.H. (1892). Lancaster and York: A century of English history (A.D. 1399–1485). Vol. 1. Oxford: Clarendon. Archived. {{cite book}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |postscript= (help)CS1 maint: postscript (ลิงก์)

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 47°54′09″N 1°54′32″E / 47.9025°N 1.9089°E / 47.9025; 1.9089