การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล
การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามไบแซนไทน์-ออตโตมันและสงครามออตโตมันในยุโรป | |||||||||
การล้อมคอนสแตนติโนเปิลครั้งสุดท้าย (1453), จุลจิตรกรรมฝรั่งเศสโดย Jean Le Tavernier หลัง ค.ศ. 1455 | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
| |||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
| |||||||||
กำลัง | |||||||||
ออตโตมัน กองทัพบก:
พลธนู 40,000 นาย ทหารราบ 40,000 นาย
กองทัพเรือ:
|
ไบแซนไทน์
กองทัพบก: กองทัพเรือ: เรือ 26 ลำ
| ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด แต่คาดว่าเสียหายหนัก |
ถูกฆ่า 4,000 นาย[5] ถูกจับเป็นทาส 30,000 นาย[6][7] |
การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล (กรีกโบราณ: Ἅλωσις τῆς Κωνσταντινουπόλεως, อักษรโรมัน: Hálōsis tē̂s Kōnstantīnoupóleōs; ตุรกี: İstanbul'un Fethi, แปลตรงตัว 'การพิชิตอิสตันบูล') เป็นการยึดครองเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์โดยจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งเริ่มต้นในวันที่ 6 เมษายน แล้วตัวเมืองถูกยึดครองในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453[8][9] รวมเวลาล้อมเมือง 53 วัน
สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 (ภายหลังเรียกเป็น "เมห์เหม็ดผู้พิชิต") ในพระชนมายุ 21 พรรษา เป็นผู้บัญชาการกองทัพออตโตมัน ส่วนจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 เป็นผู้บัญชาการกองทัพไบแซนไทน์ หลังพิชิตเมืองนี้ เมห์เหม็ดที่ 2 ทรงตั้งเมืองนี้เป็นเมืองหลวงใหม่ของออตโตมันแทนเอดีร์แน
การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์ และทำให้จักรวรรดิโรมัน ซึ่งเริ่มต้นใน 27 ปีก่อนคิรสต์ศักราช สิ้นสุดลง โดยอยู่ได้นานเกือบ 1,500 ปี[10] การยึดครองคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งเป็นเมืองที่เป็นจุดแบ่งระหว่างยุโรปกับเอเชียน้อย ทำให้ออตโตมันสามารถโจมตียุโรปภาคพื้นดินได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ในภายหลัง ออตโตมันสามารถควบคุมคาบสมุทรบอลข่านส่วนใหญ่ได้
การพิชิตคอนสแตนติโนเปิลและการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์[11] เป็นเหตุการณ์สำคัญในสมัยกลางตอนปลาย และถือเป็นจุดสิ้นสุดของสมัยกลาง[12] ในสมัยโบราณ มีการป้องกันเมืองและปราสาทด้วยป้อมปราการและกำแพงเพื่อต้านทานผู้บุกรุก ตัวป้องกันคอนสแตนติโนเปิล โดยเฉพาะกำแพงเทโอโดเซีย (Theodosian Walls) เป็นหนึ่งในระบบป้องกันที่ทันสมัยที่สุดในยุโรปและโลก อย่างไรก็ตาม ปราการสำคัญเหล่านี้ถูกพิชิตด้วยการใช้ดินปืน โดยเฉพาะในรูปของปืนใหญ่และระเบิด ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในสงครามปิดล้อมที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง[13]
ประวัติย่อ
[แก้]หลังจากการขึ้นครองราชย์ของสุลต่านเมห์เมดแล้ว พระองค์ก็ทรงเพิ่มความกดดันต่อคอนสแตนติโนเปิลโดยการทรงสร้างเสริมป้อมปราการตามชายฝั่งช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (Dardanelles) เมื่อวันที่ 2 เมษายน พระองค์ก็ทรงเข้าล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลพร้อมด้วยกองทัพราวระหว่าง 80,000 ถึง 200,000 คน ตัวเมืองมีทหารรักษาราว 7,000 คนในจำนวนนั้น 2,000 เป็นชาวต่างประเทศ การล้อมเริ่มต้นด้วยการโจมตีด้วยการยิงกำแพงเมืองอย่างรุนแรงจากฝ่ายออตโตมันขณะที่กองทหารอีกจำนวนหนึ่งไปยึดที่ตั้งมั่นของฝ่ายไบแซนไทน์ในบริเวณนั้น แต่ความพยายามที่ปิดเมืองในระยะแรกโดยฝ่ายออตโตมันไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เรือกองหนุนของฝ่ายคริสเตียนสี่ลำเดินทางเข้าไปยังคอนสแตนติโนเปิลได้ สุลต่านเมห์เมดจึงมีพระราชโองการให้นำเรือของพระองค์เข้าไปยังแหลมทอง (Golden Horn) โดยการลากขึ้นไปบนขอนไม้ที่ทำให้ลื่น ความพยายามของฝ่ายไบแซนไทน์ที่จะเผาเรือจึงไม่สำเร็จและสามารถทำให้ฝ่ายออตโตมันในที่สุดก็ปิดเมืองได้
การโจมตีกำแพงเมืองของฝ่ายตุรกีได้รับการโต้ตอบอย่างเหนียวแน่นจากฝ่ายไบแซนไทน์ที่ทำให้ต้องเสียกองกำลังไปเป็นจำนวนมาก และความพยายามที่จะระเบิดกำแพงเมืองลงก็ได้รับการตอบโต้เช่นกันจนในที่สุดก็ต้องเลิก สุลต่านเมห์เมดทรงเสนอว่าจะยุติการล้อมเมืองถ้าคอนสแตนติโนเปิลยอมให้พระองค์เข้าเมืองแต่ก็ไม่เป็นผล เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ก็เกิดจันทรุปราคาที่เป็นลางถึงการเสียเมือง สองสามวันต่อมาจักรพรรดิคอนสแตนตินก็ทรงได้รับข่าวว่าจะไม่มีกองหนุนจากสาธารณรัฐเวนิสมาช่วย หลังเที่ยงคืนของวันที่ 29 พฤษภาคมกองทัพออตโตมันก็เข้าโจมตีกำแพงเมือง ระลอกแรกไม่ประสบความสำเร็จ ระลอกสองสามารถเจาะกำแพงทางตอนเหนือได้ แต่ฝ่ายไบแซนไทน์ก็สามารถตีฝ่ายออตโตมันกลับไปได้และสามารถยืนหยัดต่อต้านจานิสซารี กองทหารชั้นเอกของออตโตมันได้ ระหว่างการต่อสู้จิโอวานนิ จุสติเนียนินายทัพจากเจนัวก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนต้องถอยกลับไปยังเรือกับกองทหารและเสียชีวิตในที่สุด ทางด้านจักรพรรดิคอนสแตนตินพระองค์และกองทหารก็ดำเนินการต่อต้านต่อไปจนกระทั่งฝ่ายตุรกีเปิดประตูเมืองและบุกเข้าไปในเมืองพร้อมกับกองทหารเป็นจำนวนมากได้ กล่าวกันว่าจักรพรรดิคอนสแตนตินทรงถูกสังหารระหว่างการต่อสู้แต่ก็มิได้พบพระวรกายของพระองค์ จากนั้นฝ่ายตุรกีก็ปล้นเมือง
การเสียเมืองครั้งนี้เป็นการสิ้นสุดอำนาจการปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์โดยสิ้นเชิงหลังจากที่รุ่งเรืองมากว่า 1,100 ปี และเป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของคริสต์ศาสนจักร สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ทรงมีโองการให้โจมตีโต้ตอบทันทีแต่พระองค์ก็มาสิ้นพระชนม์ไม่นานหลังจากที่ทรงวางแผน สุลต่านเมห์เมดทรงประกาศให้คอนสแตนตินโนเปิลเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิของพระองค์ และทรงดำเนินการโจมตีและพิชิตอาณาจักรของไบแซนไทน์อีกสองอาณาจักรได้--อาณาจักรเดสโพเททแห่งโมเรียและจักรวรรดิเทรบิซอนด์
ชาวกรีกที่ยังเหลืออยู่ในคอนสแตนตินโนเปิลก็หนีไปยังส่วนต่างๆ ของยุโรปโดยเฉพาะอิตาลี การเคลื่อนย้ายของประชากรครั้งนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นเชื้อเพลิงที่ในที่สุดก็นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา นักวิชาการบางคนมีความเห็นว่าการเสียเมืองคอนสแตนตินโนเปิลเป็นเหตุการณ์หลักที่นำไปสู่การสิ้นสุดของยุคกลาง และบางท่านก็ใช้เหตุการณ์นี้เป็นเครื่องหมายของการสิ้นสุด[14]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ใน ค.ศ. 1447–48 เผด็จการเซอร์เบีย Đurađ Branković ให้ทุนแก่ไบแซนไทน์เพื่อปรับปรุงกำแพงเมืองคอนสแตนติโนเปิล แต่เนื่องจากเป็นรัฐบริวารของออตโตมัน พระองค์จึงต้องส่งทหารหนึ่งพันนายเพื่อช่วยเหลือสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 พิชิตคอนสแตนติโนเปิลในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1453[1]
- ↑ ข้อมูลตะวันตก"ทำให้เกินจริง"ที่ระหว่าง 160,000 ถึง 300,000
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cirkovic, Sima (2008). The Serbs (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. pp. 101–102. ISBN 978-1-4051-4291-5.
- ↑ Buc, Philippe (14 March 2020). "One among many renegades: the Serb janissary Konstantin Mihailović and the Ottoman conquest of the Balkans". Journal of Medieval History. 46 (2): 217–230. doi:10.1080/03044181.2020.1719188. ISSN 0304-4181. S2CID 214527543.
- ↑ "İstanbul'un fethinde 600 Türk askeri, Fatih'e karşı savaştı" [In the Conquest of Istanbul 600 Turkish Military Fought Against the Conqueror]. Osmanlı Arauştırmalarlı (ภาษาตุรกี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2015. สืบค้นเมื่อ 29 April 2015.
- ↑ Nicol, Donald M. (2002). The Immortal Emperor: The Life and Legend of Constantine Palaiologos, Last Emperor of the Romans (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 57. ISBN 978-0-521-89409-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2019. สืบค้นเมื่อ 9 January 2018.
- ↑ Nicolle 2000, p. 41.
- ↑ Mansel, Philip. "Constantinople: City of the World's Desire 1453–1924". Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2019. สืบค้นเมื่อ 7 August 2020.
- ↑ M.J Akbar (3 May 2002). The Shade of Swords: Jihad and the Conflict Between Islam and Christianity. Routledge. p. 86. ISBN 978-1-134-45259-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2020. สืบค้นเมื่อ 6 August 2020.
Some 30,000 Christians were either enslaved or sold.
- ↑ "Σαν σήμερα "έπεσε" η Κωσταντινούπολη". NewsIT. 29 May 2011.
- ↑ Durant, Will (1300). The story of civilisation: Volume VI: The Reformation. p. 227. CiteSeerX 10.1.1.457.975.
- ↑ Momigliano & Schiavone (1997), Introduction ("La Storia di Roma"), p. XXI
- ↑ Frantzes, Georgios; Melisseidis (Melisseides), Ioannis (Ioannes) A.; Zavolea-Melissidi, Pulcheria (2004). Εάλω η ΠόλιςΤ•ο χρονικό της άλωσης της Κωνσταντινούπολης: Συνοπτική ιστορία των γεγονότων στην Κωνσταντινούπολη κατά την περίοδο 1440 – 1453 [The City has Fallen: Chronicle of the Fall of Constantinople: Concise History of Events in Constantinople in the Period 1440–1453] (ภาษากรีก) (5 ed.). Athens: Vergina Asimakopouli Bros. ISBN 9607171918.
- ↑ Foster, Charles (22 September 2006). "The Conquest of Constantinople and the end of empire". Contemporary Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2009.
It is the end of the Middle Ages
) - ↑ "The fall of Constantinople". The Economist. 23 December 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2017. สืบค้นเมื่อ 7 June 2017.
- ↑ Roger Crowley, Constantinople: The Last Great Siege, 1453. Faber, 2006. ISBN 0-571-22185-8 (reviewed by Charles Foster, "The fall of Constantinople and the end of empire". Contemporary Review, September 22, 2006 ("Some say the Middle Ages ended then").
บรรณานุกรม
[แก้]- Crowley, Roger (2005). 1453: The Holy War for Constantinople and the Clash of Islam and the West. Hyperion. ISBN 978-1-4013-0558-1.
- Crowley, Roger (2013). Constantinople (ภาษาอังกฤษ). Faber & Faber. ISBN 978-0-571-29820-4. สืบค้นเมื่อ 2 March 2021.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Babinger, Franz (1992): Mehmed the Conqueror and His Time. Princeton University Press. ISBN 0-691-01078-1.
- Fletcher, Richard A.: The Cross and the Crescent (2005) Penguin Group ISBN 0-14-303481-2.
- Harris, Jonathan (2007): Constantinople: Capital of Byzantium. Hambledon/Continuum. ISBN 978-1-84725-179-4.
- Harris, Jonathan (2010): The End of Byzantium. Yale University Press. ISBN 978-0-300-11786-8.
- Melville-Jones, John R. (1972). The Siege of Constantinople 1453: Seven Contemporary Accounts. Amsterdam: Adolf M. Hakkert. ISBN 90-256-0626-1.
- Momigliano, Arnaldo; Schiavone, Aldo (1997). Storia di Roma, 1 (ภาษาอิตาลี). Turin: Einaudi. ISBN 88-06-11396-8.
- Murr Nehme, Lina (2003). 1453: The Conquest of Constantinople. Aleph Et Taw. ISBN 2-86839-816-2.
- Pertusi, Agostino, บ.ก. (1976). La Caduta di Costantinopoli, II: L'eco nel mondo [The Fall of Constantinople, II: The Echo in the World] (ภาษาอิตาลี). Vol. II. Verona: Fondazione Lorenzo Valla.
- Philippides, Marios and Walter K. Hanak, The Siege and the Fall of Constantinople in 1453, Ashgate, Farnham and Burlington 2011.
- Smith, Michael Llewellyn, "The Fall of Constantinople", in History Makers magazine No. 5 (London, Marshall Cavendish, Sidgwick & Jackson, 1969) p. 192.
- Wheatcroft, Andrew (2003): The Infidels: The Conflict Between Christendom and Islam, 638–2002. Viking Publishing ISBN 0-670-86942-2.
- Wintle, Justin (2003): The Rough Guide History of Islam. Rough Guides. ISBN 1-84353-018-X.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Siege of Constantinople As The Islamic World Sees it เก็บถาวร 2021-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- World History Encyclopedia – 1453: The Fall of Constantinople
- Constantinople Siege & Fall, BBC Radio 4 discussion with Roger Crowley, Judith Herrin & Colin Imber (In Our Time, 28 Dec. 2006)