ยุทธนาวีครั้งสุดท้ายของบิสมาร์ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธนาวีครั้งสุดท้ายของบิสมาร์ค
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง

การต่อสู้ครั้งสุดท้ายของเรือประจัญบานบิสมาร์คเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ.1941
วันที่26-27 พฤษภาคม ค.ศ. 1941
สถานที่
มหาสมุทรแอตแลนติก
ผล อังกฤษได้รับชัยชนะ เรือประจัญบานบิสมาร์คจม
คู่สงคราม
นาซีเยอรมนี เยอรมนี  บริเตนใหญ่
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นาซีเยอรมนี กึนเธอร์ ลึทเจนต์
นาซีเยอรมนี แอ็นสท์ ลินเดมันน์
สหราชอาณาจักร จอห์น โทเวย์
สหราชอาณาจักร เฟรดเดอริค แฮมิตัน
กำลัง
เรือประจัญบาน 1 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ
เรือประจัญบาน 3 ลำ
เรือลาดตระเวน 3 ลำ
เรือพิฆาต 6 ลำ
ความสูญเสีย
เรือประจัญบานถูกจม ลูกเรือเสียชีวิต 2,200 คน ลูกเรือรอดชีวิต 110 คน เรือลาดตระเวนเสียหายเล็กน้อย 1 ลำ

ยุทธนาวีครั้งสุดท้ายของบิสมาร์ค เป็นการรบครั้งสุดท้ายของเรือบิสมาร์ค ซึ่งได้ถูกจมลงในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 โดยเครื่องบินสวอร์คฟิชจากเรือหลวงวิคตอเรียสเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน ถือเป็นจุดจบของเรือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของครีกซมารีเนอ

ภูมิหลัง[แก้]

หลังจากที่เรือประจัญบานบิสมาร์คได้จมเรือหลวงฮูด (51)ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิของอังกฤษในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 หลังจากที่ประชาชนทั่วทั้งอังกฤษรู้ข่าวเกี่ยวกับเรื่องเรือหลวงฮูดถูกจมโดยเรือบิสมาร์คประชาชนต่างรู้สึกโกรธแค้นและตกตะลึง ทำให้ทางกองทัพอังกฤษได้ตอบสนองอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด

การตอบโต้ของกองทัพอังกฤษ[แก้]

นายกรัฐมนตรีอังกฤษวินสตัน เชอร์ชิลได้ปฏิญาณว่า"ไม่ว่าจะเสียเท่าไหร่ เราจะต้องจมเรือบิสมาร์คให้ได้" ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่เรือหลวงฮูดอัปปางลงเรือเกือบทุกลำในกองทัพเรืออังกฤษถูกส่งออกไปภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือเอกจอห์น โทเวย์ โดยส่งเรือบรรทุกเครื่องบินไป 1 ลำ เรือประจัญบาน 3 ลำ เรือลาดตระเวน 3 ลำและเรือพิฆาต 6 ลำ

ลำดับเหตุการณ์[แก้]

วันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เรือรบบิสมาร์คอยู่ห่างจากฝรั่งเศสไป 200 ไมล์ เรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์ (53)ที่เสียหายยับเยินได้ส่งเรือหลวงนอร์ฟอล์คและเรือหลวงซัฟฟอร์คซึ่งเป็นเรือลาดตระเวนไปตามล่าเรือรบบิสมาร์ค พลเรือเอกโทเวย์บัญชาการจากเรือหลวงพระเจ้าจอร์จที่ 5ซึ่งเป็นเรือประจัญบาน กองเรือของเขาอยู่ห่างจากเรือรบบิสมาร์คทางทิศตะวันออกระยะ 300 ไมล์ กองพลเรือย่อย"หน่วยเอช"แล่นเข้าไปจากทิศใต้ พลเรือเอกโทเวย์ซึ่งตามหลังบิสมาร์คอยู่หลายชั่วโมงตั้งใจว่าอาวุธที่ดีที่สุดในการโจมตีอย่างรวดเร็วคือการโจมตีทางอากาศ เวลา 23.30 น. เรือหลวงวิคตอเรียสซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินได้ปล่อยเครื่องบินสวอร์คฟิชเครื่องบินปีก 2 ชั้นทิ้งตอร์ปิโด มันใช้ระบบเรดาห์รุ่นเก่าของมันในการนำวิถีสู่เรือรบบิสมาร์ค พวกมันแยกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่มบินเป็นแถวเรียงเดี่ยวจากนั้นดิ่งชันลงมา 200 ฟุต เอี้ยวตัวสู่เป้าหมายและบินขนานกันเพื่อแยกวิถีของปืนต่อสู้อากาศยาน ขณะที่เครื่องบินสวอร์คฟิชกำลังเข้าใกล้ป้อมปืนของเรือรบบิสมาร์คได้ถูกยิงออกมา พลปืนเยอรมันได้ใช้ยุทธวิธีที่ชาญฉลาดพวกเขาได้ยิงอาวุธหลักของเรือรบบิสมาร์คลงไปในน้ำเพื่อสร้างม่านน้ำขนาดใหญ่ขึ้นมากั้นเครื่องบินสวอร์คฟิช นักบินได้ทิ้งตัวลงไปเหนือคลื่นเพียง 60 ฟุตพวกเขากำลังบินต่ำและช้ามากทำให้เรือบิสมาร์คไม่สามารถเล็งปืนได้ เครื่องบินสวอร์คฟิชได้ทิ้งตอร์ปิโดลงไปแต่เรือรบบิสมาร์คหลบตอร์ปิโดลูกแรกได้ จากนั้นเครื่องบินสวอร์คฟิชอีกลำได้ทิ้งตอร์ปิโดลงไปตอร์ปิโดโดนตรงกลางลำเรือแต่โดนในส่วนแนวเกราะหนาสร้างความเสียหายไม่มากนัก เพราะทิ้งตอร์ปิโดที่มีลำละ 1 ลูกเครื่องบินสวอร์คฟิชจึงรีบกลับเรือบรรทุกเครื่องบินทันที พลเรือเอกลึทเจนส์รู้ว่าเรือรบอังกฤษจะแล่นแบบซิกแซกเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกโจมตีจากเรือดำน้ำเมื่อเรือรบอังกฤษอยู่ห่างไกลที่สุดเรือรบบิสมาร์คหันกราบเรือด้านขวาเต็มที่วกกลับไปตามเส้นทางเดิมของตนเองทำให้เรือรบของอังกฤษจับสัญญาณไม่เจอและแล่นผ่านเรือรบบิสมาร์คไป ไม่กี่ชั่วโมงต่อมาเจ้าหน้าที่พลเรดาห์ของอังกฤษทำงานอย่างเอาเป็นเอาตายเพื่อจับสัญญาณใหม่แต่ก็ไร้ประโยชน์ วันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เวลา 17.00 น.หลังจากการจมเรือฮูด 24 ชั่วโมง เรือลาดตระเวนอังกฤษได้ส่งข้อความแก่พลเรือเอกโทเวย์มาว่า"จับสัญญาณของศัตรูไม่ได้"