แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวน พ.ศ. 2551
อาคารถล่มที่อำเภอเวิ่นชฺวานกำลังถูกรื้อหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว | |
ที่ตั้งจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวน | |
เวลาสากลเชิงพิกัด | 2008-05-12 06:28:01 |
---|---|
รหัสเหตุการณ์ ISC | 13228121 |
USGS-ANSS | ComCat |
วันที่ท้องถิ่น | 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 |
เวลาท้องถิ่น | 14:28:01 CST |
ระยะเวลา | >2 นาที |
ขนาด | 8.0 Ms , 7.9 Mw |
ความลึก | 19 กิโลเมตร (12 ไมล์) |
ศูนย์กลาง | 31°01′16″N 103°22′01″E / 31.021°N 103.367°E |
รอยเลื่อน | Yingxiu-Beichuan fault |
ประเภท | รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ |
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ | มณฑลเสฉวน |
ความเสียหายทั้งหมด | 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2008) |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | XI (สุดขีด) |
แผ่นดินไหวตาม | หลัก ๆ 149 ถึง 284 ครั้ง รวมมากกว่า 42,719 ครั้ง |
ผู้ประสบภัย |
|
อ้างอิง | [1][2][3][4][5] |
เหตุการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวน พ.ศ. 2551 (จีน: 汶川大地震; พินอิน: Wènchuān dà dìzhèn; แปลตรงตัว: "แผ่นดินไหวครั้งใหญ่แห่งเวิ่นชฺวาน") เกิดขึ้นเมื่อเวลา 14.28 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 6.28 น. ตามเวลาสากลเชิงพิกัด ในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอเวิ่นชฺวาน (汶川县; เวิ่นชฺวาน) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของนครเฉิงตู 90 กิโลเมตร ในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน วัดขนาดเบื้องต้นได้แมกนิจูด 7.8 ต่อมา USGS ได้ปรับค่าขนาดเป็นแมกนิจูด 7.9 และประเทศจีนได้ปรับขนาดเป็น 8.0 แมกนิจูด จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวมีระยะห่าง 90 กิโลเมตร จาก นครเฉิงตู เมืองหลวงของมณฑลเสฉวน และมีความลึก 19 กิโลเมตร [6] แผ่นดินไหวสามารถรู้สึกได้จากระยะทางไกล เช่น ที่กรุงปักกิ่ง (ห่างออกไป 1,500 กม.) และ เซี่ยงไฮ้ (ห่างออกไป 1,700 กม.) ที่ที่อาคารสำนักงานได้รับแรงสั่นสะเทือน[7] แผ่นดินไหวก็ยังสามารถรู้สึกได้ในประเทศเพื่อนบ้านของจีน อาทิเช่น ประเทศไทย ประเทศบังกลาเทศ ประเทศอินเดีย ประเทศปากีสถาน เป็นต้น
ตัวเลขอย่างเป็นทางการ (วันที่ 29 พฤษภาคม) ได้ประกาศออกมาแล้วว่า มีผู้เสียชีวิต 68,516 คน บาดเจ็บ 365,399 คน และสูญหาย 19,350 คน [8]
ผลกระทบจากการสั่น
[แก้]สถานที่เรียงตามลำดับจากระยะทางจากจุดสั่น (หรือเวลา) :
- สาธารณรัฐประชาชนจีน : ทุกมณฑลยกเว้น ซินเจียง, จี๋หลิน และ มณฑลเฮย์หลงเจียง ถูกกระทบจากแผ่นดินไหว[9]
- ฮ่องกง : การสั่นสะเทือนรู้สึกได้สามนาทีหลังจากการสั่นจากจุดศูนย์กลาง ต่อเนื่องไปอีกครึ่งนาที[10][11][12]
- มาเก๊า : การสั่นสะเทือนรู้สึกได้สามนาทีหลังจากแผ่นดินไหว[13]
- เวียดนาม: การสั่นสะเทือนรู้สึกได้ห้านาทีหลังจากแผ่นดินไหวในทางเหนือของประเทศ[14][15]
- ไทย: ในบางส่วนของประเทศไทย การสั่นสะเทือนรู้สึกได้หกนาทีหลังจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวสั่น บรรดาตึกและอาคารต่าง ๆ ไหวเป็นเวลานานไปอีกหลายนาที [16]
- ไต้หวัน : การสั่นสะเทือนใช้เวลาแปดนาทีถึงไต้หวัน หลังจากนั้นก็ไหวต่อเนื่องอยู่หนึ่งถึงสองนาที; ไม่มีรายงานความเสียหายหรือผู้บาดเจ็บ[17]
- มองโกเลีย : การสั่นสะเทือนรู้สึกได้แปดนาทีหลังจากแผ่นดินไหวในบางส่วนของประเทศมองโกเลีย [18]
- บังกลาเทศ : การสั่นสะเทือนรู้สึกได้แปดนาทีครึ่งหลังจากแผ่นดินไหวในทุกส่วนของประเทศ [18]
- เนปาล: การสั่นสะเทือนรู้สึกได้ประมาณแปดนาทีครึ่งหลังจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว [18]
- อินเดีย: การสั่นสะเทือนรู้สึกได้ประมาณเก้านาทีหลังจากแผ่นดินไหวในบางส่วนของประเทศอินเดีย [18]
- ปากีสถาน: ในบางส่วนของปากีสถานเหนือ การสั่นสะเทือนรู้สึกได้สิบนาทีหลังจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวสั่น [18]
- ญี่ปุ่น: การสั่นสามารถรู้สึกได้ใน โตเกียว [18]
- รัสเซีย: การสั่นสะเทือนรู้สึกได้ใน ทูวา แต่ไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บ [18]
ความช่วยเหลือจากภายในและนอกประเทศ
[แก้]ความช่วยเหลือภายในประเทศ
[แก้]สภากาชาดของประเทศจีนได้ให้ 557 เต็นท์และผ้าห่ม 2,500 ผืน โดยรวม 788,000 หยวน ($113,000) [19]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความช่วยเหลือจากประเทศอื่น ๆ
[แก้]- แอลจีเรีย : รัฐบาลอัลจีเรียให้ความช่วยเหลือเป็นจำนวน $1 ล้าน[20]
- กัมพูชา : สภากาชาดกัมพูชาบริจาคเงินจำนวน $10,000.[21] สมเด็จฮุนเซน สัญญาว่าจะบริจาคเงิน $100,000 โดยเป็นเงินบริจาคจากรัฐบาลกัมพูชา [22]
- แคนาดา : บริจาคเงิน $1 ล้าน.[23]
- เดนมาร์ก : กระทรวงต่างประเทศเดนมาร์กประกาศว่าจะบริจาคเงินเป็นจำนวน DKK750,000 ($150,000) โดยเป็นความช่วยเหลือฉุกเฉินไปยังสภากาชาดจีน ทั้งนี้ สภากาชาดประเทศเดนมาร์ก ได้บริจาคเงินจำนวน DKK1 ล้าน ($200,000) เพื่อช่วยเหลือด้วย[24]
- ฝรั่งเศส : ประเทศฝรั่งเศสจะส่งเครื่องบินขนสินค้าที่บรรจุ เต็นท์ กระเป๋านอนหลับ ผ้าห่ม และวัสดุอื่น ๆ เป็นเงินทั้งหมด $385,500.[25]
- เยอรมนี : รัฐบาลเยอรมันได้สัญญาว่าจะบริจาคเงิน $770,000 ผ่านสภากาชาดเยอรมันสำหรับความช่วยเหลือเพื่อเหยื่อแผ่นดินไหว[26]
- ฮ่องกง : รัฐบาลได้สัญญาว่าจะบริจาคเงินจำนวน $38.4 ล้าน[27]
- ซาอุดีอาระเบีย : สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอห์ บิน อับดัลอะซิซ อาล สะอูด พระมหากษัตริย์ซาอุดีฯ ซาอุดีอาระเบียได้สัญญาว่าจะบริจาคเงินจำนวน $50.0 ล้าน เพื่อช่วยเหลือภัยพิบัติสำหรับผู้ที่ประสบภัยทั้งแผ่นดินไหวในประเทศจีน
- ไทย : ประเทศไทยได้อุทิศเงินจำนวน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือภัยพิบัติสำหรับผู้ที่ประสบภัยทั้งแผ่นดินไหวในประเทศจีน และ เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551 ในประเทศพม่า[28]
- สหราชอาณาจักร : นาย กอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ประกาศว่าประเทศของเขา (สหราชอาณาจักร) สัญญาจะบริจาคเงินให้ 1 ล้าน ปอนด์สเตอร์ลิง (ประมาณ $2 ล้าน) เพื่อช่วยเหลือประเทศจีน[29]
- สหรัฐ : สหรัฐฯ ได้กำหนดบริจาคเงิน $500,000 [30].
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Watts, Jonathan (August 14, 2008). "Sichuan quake: China's earthquake reconstruction to cost $150bn". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2017. สืบค้นเมื่อ October 8, 2017.
- ↑ Armand Vervaeck and Dr. James Daniell (October 5, 2013). "The May 12, 2008 deadly Sichuan Earthquake – A recap – 3 years later". SOS Earthquakes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2017. สืบค้นเมื่อ March 5, 2017.
- ↑ Dunbar, Paula. "Significant Earthquake". Ngdc.noaa.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2016. สืบค้นเมื่อ February 13, 2014.
- ↑ "Magnitude 7.9 – EASTERN SICHUAN, CHINA". Earthquake.usgs.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 9, 2010. สืบค้นเมื่อ November 7, 2012.
- ↑ Jacobs, Andrew; Wong, Edward; Yuanxi, Huang (May 7, 2009). "China Reports Student Toll for Quake". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2013. สืบค้นเมื่อ May 14, 2009.
Large earthquakes are common in fold and thrust belts; a recent example is the great Wench-uan earthquake that hit Sichuan, China, on May 12, 2008, killing more than 80,000 people.
- ↑ "Magnitude 7.9 - EASTERN SICHUAN, CHINA". USGS. 2008-05-12. สืบค้นเมื่อ 2008-05-12.
- ↑ "'Hundreds buried' by China quake". BBC. 2008-05-12. สืบค้นเมื่อ 2008-05-13.
- ↑ 国新办通报17日抗震救灾最新进展 死亡人数28881人 (จีน)
- ↑ 中国地震局新闻发言人张宏卫:除吉林、黑龙江、新疆无震感报告外,其他省区市均有不同震感 (จีน)
- ↑ "Record distance from epicentre to Hong Kong with tremors felt" (ภาษาจีน). ON.CC News. May 12, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2008. สืบค้นเมื่อ May 12, 2008. See also: "Observatory states that many residents experienced the tremors this afternoon". Sing Tao Daily. May 12, 2008. สืบค้นเมื่อ May 12, 2008.[ลิงก์เสีย](ในภาษาจีน)
- ↑ "6:30 News Report" (ภาษาจีน). TVB. May 12, 2008.
- ↑ "Bulletin issued at 15:15 HKT 12/May/2008". Hong Kong Observatory. May 12, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2008. สืบค้นเมื่อ May 12, 2008.
- ↑ 高楼住户感摇晃脑袋晕 [Residents of highrises experienced dizziness] (ภาษาจีน). Macau Daily News. May 13, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2008. สืบค้นเมื่อ May 20, 2008.
- ↑ "Death toll in China earthquake exceeds 12,000". Yahoo!. May 12, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2008. สืบค้นเมื่อ May 20, 2008.
- ↑ "Massive Quake Rocks China". CBS News. May 12, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 16, 2008. สืบค้นเมื่อ May 20, 2008.
- ↑ "Tremor depth at 29 km below surface". China Daily. May 12, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2008. สืบค้นเมื่อ May 20, 2008.
- ↑ "China quake felt throughout Taiwan, but no injuries or damage reported". China Post. Taiwan (ROC). May 12, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2008. สืบค้นเมื่อ May 13, 2008.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 18.6 "6:30 News Report" (ภาษาจีน). TVB. May 12, 2008.
- ↑ "Appeal for support to Amity's earthquake relief work". Amity Foundation. 2008-05-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-17. สืบค้นเมื่อ 2008-05-12.
- ↑ "国际社会继续就四川地震向我表示慰问和提供捐助". Xinhua News Agency. 2008-05-17. สืบค้นเมื่อ 2008-05-17.
- ↑ "Cambodian Red Cross donates $10,000 to help China's quake relief efforts". Xinhua News Agency. 2008-05-14. สืบค้นเมื่อ 2008-05-14.
- ↑ "国际社会继续就四川地震向我表示慰问和提供捐助". Xinhua News Agency. 2008-05-17. สืบค้นเมื่อ 2008-05-17.
- ↑ "Canada Announces Additional Support for Victims of the Earthquake in China's Sichuan Province". CIDA. 2008-05-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-17. สืบค้นเมื่อ 2008-05-16.
- ↑ "国际社会继续就四川地震向我表示慰问和提供捐助". Xinhua News Agency. 2008-05-17. สืบค้นเมื่อ 2008-05-17.
- ↑ "More world leaders offer sympathy over earthquake in China". cctv.com. 2008-05-14. สืบค้นเมื่อ 2008-05-14.
- ↑ "Germany announces aid to China over earthquake". Xinhua News Agency. 2008-05-14. สืบค้นเมื่อ 2008-05-14.
- ↑ "$300m proposed to help Sichuan quake victims". 2008-05-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-15. สืบค้นเมื่อ 2008-05-15.
- ↑ "Cabinet approves 30 million baht to aid China and Myanmar". Relief Web. 2008-05-13. สืบค้นเมื่อ 2008-05-14.
- ↑ "More countries offer aid to quake-hit China". Xinhua. 2008-05-15. สืบค้นเมื่อ 2008-05-15.
- ↑ "US to give $500,000 to China earthquake relief". รอยเตอร์ส. May 13, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-05-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- MIT Report: Earthquake near Wenchuan, West Sichuan, China
- Web site about the people and the reconstruction since the 2008 Wenchuan earthquake in China
- Lake Formation in the Aftermath of Magnitude 7.9 Earthquake (images included)
- M 7.9 – eastern Sichuan, China – USGS
- Sichuan Earthquake Pictures Archive
- Compilation of BBC Videos Related to the Earthquake
- CNN – Chinese Earthquake Entire Video Archive
- "China Quake" documentary produced by Natural History New Zealand
- China Quake Victims’ Parents Sue – China Digital Times
- The International Seismological Centre has a bibliography and authoritative data for this event.
- ReliefWeb's หน้าหลัก สำหรับเหตุการณ์นี้