ข้ามไปเนื้อหา

โน มู-ฮย็อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โน มู-ฮย็อน
노무현
ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการ, ค.ศ. 2003
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนที่ 9
ดำรงตำแหน่ง
25 กุมภาพันธ์ 2003 – 24 กุมภาพันธ์ 2008[a]
นายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้าคิม แด-จุง
ถัดไปอี มย็อง-บัก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาสมุทรและประมง
ดำรงตำแหน่ง
7 สิงหาคม 2000 – 25 มีนาคม 2001
ประธานาธิบดีคิม แด-จุง
นายกรัฐมนตรีอี ฮัน-ดง
ก่อนหน้าLee Hang-kyu
ถัดไปChung Woo-taik
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
22 กรกฎาคม 1998 – 29 พฤษภาคม 2000
ก่อนหน้าอี มย็อง-บัก
ถัดไปChung In-bong
เขตเลือกตั้งชงโน
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤษภาคม 1988 – 29 พฤษภาคม 1992
ก่อนหน้า
  • Park Chan-jong
  • Kim Jung-kil
ถัดไปHur Sam-soo
เขตเลือกตั้งทง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 กันยายน ค.ศ. 1946(1946-09-01)
พงฮา เกาหลีตอนใต้
เสียชีวิต23 พฤษภาคม ค.ศ. 2009(2009-05-23) (62 ปี)
หมู่บ้านพงฮา ประเทศเกาหลีใต้
สาเหตุการเสียชีวิตฆ่าตัวตาย (กระโดดจากที่สูง)
พรรคการเมืองอิสระ (2007–2009)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คู่สมรสคว็อน ยัง-ซุก (สมรส 1972)
บุตร2
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี
ประจำการ1968–1971
ยศสิบโท
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
노무현
ฮันจา
盧武鉉
อาร์อาร์No Muhyeon
เอ็มอาร์No Muhyŏn

โน มู-ฮย็อน (เกาหลี노무현, อักษรโรมัน: Roh Moo-hyun, ออกเสียง: [no muçʌn]; 1 กันยายน ค.ศ. 1946 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2009) เป็นนักการเมืองและทนายความชาวเกาหลีใต้ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนที่ 9 ระหว่าง ค.ศ. 2003–2008

อาชีพการเมืองก่อนดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของโรมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนสิทธิมนุษยชนสำหรับการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในเกาหลีใต้ อาชีพการเลือกตั้งของเขาภายหลังขยายเพื่อเน้นที่การเอาชนะความเป็นภูมิภาคนิยมในแวดวงการเมืองเกาหลีใต้ ส่งผลให้เขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในที่สุด เขามีผู้ติดตามอินเทอร์เน็ตจำนวนมากในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรุ่นเยาว์ ซึ่งช่วยให้เขาประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งประธานาธิบดี[1][2] การเลือกตั้งของโนถือเป็นการก้าวขึ้นสู่อำนาจของนักการเมืองเกาหลีรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นรุ่นที่มีชื่อว่า ชั่วรุ่น 386 (บุคคลที่มีช่วงอายุ 30 ปี ตอนที่มีการประดิษฐ์คำนี้ เป็นคนที่เข้ามหาวิทยาลัยในคริสต์ทศวรรษ 1980 และเกิดในคริสต์ทศวรรษ 1960)[3][4] คนรุ่นนี้เป็นผู้มีประสบการณ์ในการประท้วงต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการของนักศึกษาและสนับสนุนแนวทางการปรองดองกับเกาหลีเหนือ แม้ว่าจะต้องแลกมาด้วยความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกาก็ตาม[5] โนเป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนแรกที่เกิดหลังการปกครองของญี่ปุ่น

เกาหลีใต้ในสมัยของเขาได้คะแนนสูงสุดในดัชนีเสรีภาพสื่อโลกของนักข่าวไร้พรมแดน ค่าเงินวอนเกาหลีใต้ต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าที่สุดตั้งแต่ ค.ศ. 1997[6] เนื่องจากค่าเงินที่แข็งค่า ทำให้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลก และมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวเกิน 20,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี อย่างไรก็ตาม แม้มีความคาดหวังสูงในช่วงเริ่มต้นการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี[7] โนเผชิญกับการต่อต้านอย่างหนักทั้งจาก Grand National Party พรรคอนุรักษ์นิยมฝ่ายค้าน และสื่อ และเขาถูกกล่าวหาว่าไร้ความสามารถอยู่บ่อยครั้ง[8] ทำให้นโยบายหลายนโยบาย อย่างแผนย้ายเมืองหลวงเกาหลีใต้และแผนการจัดตั้งรัฐบาลผสมกับฝ่ายค้าน มีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อย เนื่องจากผลงานด้านเศรษฐกิจและการทูตที่ไม่ดี โนจึงไม่ใช่ประธานาธิบดีที่ได้รับความนิยม โดยมีคะแนนนิยมเฉลี่ยต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองเกาหลีใต้[9][10][11]

หลังออกจากตำแหน่ง โนกลับบ้านเกิดที่หมู่บ้านพงฮา เขาทำฟาร์มเป็ดและใช้ชีวิตแบบธรรมดา โดยแบ่งปันเรื่องราวผ่านบล็อกของเขา นอกจากนี้ เขายังดำเนินเว็บไซต์ชื่อว่า "Democracy 2.0" เพื่อส่งเสริมการสนทนาออนไลน์ที่มีประโยชน์[12] สิบสี่เดือนต่อมา โนถูกอัยการสงสัยว่ารับสินบน และการสืบสวนที่ตามมาได้รับความสนใจจากสาธารณชน[13] โนฆ่าตัวตายในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 โดยเขาโดดลงมาจากหน้าผาหลังบ้าน หลังกล่าวว่า "มีคนต้องทนทุกข์เพราะผมมากเกินไป" ในจดหมายฆ่าตัวตายบนคอมพิวเตอร์ของเขา[14] มีผู้คนไปเยี่ยมบ้านเกิดของโนที่หมู่บ้านพงฮาในสัปดาห์หลังจากที่เขาเสียชีวิตประมาณ 4 ล้านคน การฆ่าตัวตายของเขาได้รับการยืนยันจากตำรวจ[15] อัยการสูงสุด Lim Chae-jin ลาออกเนื่องจากเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชนที่เพิ่มขึ้นหลังการเสียชีวิตของโน[16] ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อโนดีขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่เขาเสียชีวิต ซึ่งได้คำนึงถึงภูมิหลังด้านสิทธิมนุษยชนและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในการสำรวจความคิดเห็นของ Gallup Korea ใน ค.ศ. 2019 โนได้รับการยกย่องให้เป็นประธานาธิบดีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลีใต้ในหมู่ประชาชนทั่วไป[17]

ภูมิหลังส่วนตัว

[แก้]

โนเกิดในครอบครัวเกษตรกรยากจนเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1946 ที่พงฮาใกล้คิมแฮกับปูซาน ในบริเวณที่ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดคย็องซังเหนือ พ่อแม่ของเขามีลูกชาย 3 คน ลูกสาว 2 คน และโนเป็นบุตรคนสุดท้อง ใน ค.ศ. 1953 เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนประถม Dae Chang เขาได้รับเกรดที่ดีแต่มักขาดเรียนบ่อยครั้งเพื่อช่วยพ่อแม่[18] ขณะที่อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขาก็ได้รับตำแหน่งประธานโรงเรียนด้วยการสนับสนุนจากครูประจำชั้น เมื่อเขาเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยม Jin-yeong ก็มีการจัดประกวดการเขียนเพื่อรำลึกวันเกิดของอี ซึง-มัน โนพยายามปลุกระดมนักศึกษาให้ต่อต้าน แต่ถูกจับได้และถูกพักการเรียน[19]

โนได้รับบัพติศมาเป็นคาทอลิก (ชื่อบัพติศมา: จัสติน) ใน ค.ศ. 1986 แต่ภายหลังออกจากนิกายแต่ยังคงระบุตนเองเป็นคาทอลิก[20] แม้ว่าในช่วงหลังเขาไม่นับถือศาสนาแต่ยังคงความเชื่อแบบพุทธนิกายมหายาน[21][22]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. โค ก็อนดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดีในช่วงที่โนถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 2004 ถึง 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2004

อ้างอิง

[แก้]
  1. Watts, Jonathan (24 February 2003). "World's first internet President logs on". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 26 January 2008.
  2. "The Web Site That Elected a President". Bloomberg BusinessWeek. 24 February 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2003. สืบค้นเมื่อ 12 January 2012.
  3. "Out with the old". Newsweek. 4 August 2003. สืบค้นเมื่อ 23 May 2009.
  4. "Korea's Young Lions". Bloomberg BusinessWeek. 24 February 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2003. สืบค้นเมื่อ 12 January 2012.
  5. "South Korea: Too Much Activism?". Newsweek. 27 November 2006. สืบค้นเมื่อ 23 May 2009.
  6. "The Fed – Foreign Exchange Rates – Country Data – H.10".
  7. Jung, Ha-yun (25 February 2003). "Democracy takes office in South Korea". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 May 2009.
  8. 디지털뉴스팀 (23 May 2011). 김동길 "노무현이 잘한 일이 뭔가"...독설 쏟아내 – 경향신문. Kyunghyang Shinmun. สืบค้นเมื่อ 12 January 2012.
  9. Mizuno, Kosuke (2009). Populism in Asia. Singapore: Nus Press. p. 167. ISBN 978-9971694838.
  10. "South Korea's President Sags in Opinion Polls". The New York Times. 27 November 2006.
  11. "Daily Opinion No. 237 (November 2016)". Gallup Korea. 24 November 2016. สืบค้นเมื่อ 26 November 2016.
  12. 노무현.
  13. 노 전 대통령, 재직중 알았다면 '포괄적 뇌물죄' 가능성. The Hankyoreh (ภาษาเกาหลี). 7 April 2009. สืบค้นเมื่อ 18 May 2019.
  14. Kim, Kwang-Tae (23 May 2009). "SKorean ex-president Roh dies in apparent suicide". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2009. สืบค้นเมื่อ 23 May 2009.
  15. "Ex-President Roh Jumps to His Death". The Korea Times. 23 May 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2009. สืบค้นเมื่อ 23 May 2009.
  16. "President Accepts Top Prosecutor's Resignation". The Korea Times. 4 June 2009. สืบค้นเมื่อ 12 January 2012.
  17. 한국인이 좋아하는 40가지 [사람편] – 스포츠선수/가수/탤런트/영화배우/예능방송인·코미디언/소설가/역대대통령/기업인/존경하는인물 (2004–2019). gallup.co.kr (ภาษาเกาหลี). 25 May 2019. สืบค้นเมื่อ 12 January 2022.
  18. [민주당 대선후보] 노무현 누구인가 – 1등 인터넷뉴스 조선닷컴. The Chosun Ilbo. 28 April 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2007. สืบค้นเมื่อ 12 January 2012.
  19. 노무현 – Daum 백과사전 (ภาษาเกาหลี). Enc.daum.net. สืบค้นเมื่อ 12 January 2012.
  20. Mee-yoo, Kwon (27 May 2009). "Roh's Funeral to Be Imbued With Buddhism". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 26 May 2009.
  21. 노무현후보 김추기경의 방문 (ภาษาเกาหลี). Naver News Dong-a Ilbo. 20 June 2002. สืบค้นเมื่อ 13 September 2008.
  22. (ในภาษาเกาหลี)Hani News The Hankyoreh (3 September 2008). Retrieved 13 September 2008

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]