ข้ามไปเนื้อหา

โรคมินามาตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรตมินามาตะ
สาขาวิชาพิษวิทยา, ประสาทวิทยา, จิตเวชศาสตร์
อาการกล้ามเนื้อเสียสหการ, อาการชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ภาวะแทรกซ้อนการสูญเสียการเห็นรอบนอก, การสูญเสียต่อการได้ยิน และการออกเสียง; ในกรณีร้ายแรง: ความวิกลจริต, อัมพาต, โคม่า หรืออาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์; สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมดูพิษจากสารปรอท
การตั้งต้นภายหลังการบริโภคอาหารทะเลที่ได้รับพิษ
ระยะดำเนินโรคเรื้อรัง
สาเหตุพิษจากสารปรอทอย่างรุนแรง
ปัจจัยเสี่ยงได้รับพิษจากผู้ที่บริโภคปลาและหอยจากอ่าวมินามาตะ
วิธีวินิจฉัยดูพิษจากสารปรอท
โรคอื่นที่คล้ายกันดูพิษจากสารปรอท
การป้องกันการจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมที่เหมาะสม
การรักษาดูพิษจากสารปรอท
ยาดูพิษจากสารปรอท
พยากรณ์โรค35% อัตราตายของผู้ป่วยรายโรค; สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมดูพิษจากสารปรอท

โรคมินามาตะ (ญี่ปุ่น: 水俣病โรมาจิMinamata-byō) เป็นชื่อโรคที่เกิดจากพิษจากสารปรอท โดยมีอาการของเด็กขาดสารอาหาร มีอาการวิกลจริตอย่างอ่อน ๆ กรีดร้อง นัยน์ตาดำขยายกว้างเล็กน้อย ลิ้นแห้ง แต่ไม่พบสาเหตุของการผิดปกติ แขนขาเคลื่อนไหวลำบาก มีการกระตุกตัวแข็ง แขนขาบิดงออย่างรุนแรง เพราะโรคนี้แสดงผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โรคนี้ค้นพบครั้งแรกที่เมืองมินามาตะ จังหวัดคูมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 โดยเกิดจากการทิ้งน้ำเสียที่มีสารปรอทเจือปนออกมา กว่าที่โรคนี้จะเป็นที่ยอมรับทั้งสาเหตุและโรคนี้ ก็มีการต่อสู้ทางศาลระหว่างกลุ่มธุรกิจกับผู้ป่วยมาเป็นเวลานาน

ประวัติ

[แก้]

บริษัทชิซโซะเปิดโรงงานเคมีในมินามาตะเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1908 ในระยะแรกเป็นโรงงานผลิตปุ๋ย ต่อมาจึงขยายกิจการตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีของประเทศญี่ปุ่นโดยเริ่มผลิตอะเซทิลีน อะซิทัลดีไฮด์ กรดอะซิติก ไวนิลคลอไรด์ ออกทานอล และสารเคมีอื่น ๆ ต่อมาจึงพัฒนาจนเป็นโรงงานที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด ทั้งก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ของเสียจากโรงงานถูกปล่อยลงอ่าวมินามาตะผ่านระบบกำจัดน้ำเสียของโรงงาน มลภาวะเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การประมงได้รับผลกระทบทำให้จับปลาได้น้อยลง บริษัทฯ จึงได้เสนอข้อตกลงเพื่อการชดเชยกับสมาคมชาวประมงในปี 1926 และ 1943[1]

การขยายตัวอย่างรวดเร็วของโรงงานเริ่มแผ่ขยายไปยังเศรษฐกิจท้องถิ่นทำให้ทั้งบริษัทฯ และเมืองมินามาตะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เมื่อประกอบกับการที่ไม่มีอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในท้องถิ่น ทำให้บริษัทฯ มีอิทธิพลในมินามาตะอย่างมาก ถึงขั้นที่มีช่วงหนึ่งซึ่งครึ่งหนึ่งของภาษีที่เก็บได้ในเขตเมืองมินามาตะมาจากบริษัทชิซโซะและพนักงาน[2] บริษัทฯ และหน่วยงานย่อยเป็นหน่วยงานที่ทำให้เกิดการจ้างงานถึงหนึ่งในสี่ของพื้นที่ ถึงกับมีการกล่าวว่าบริษัทฯ เป็นวังของพื้นที่ เหมือนอย่างวังขุนนางในยุคเอโดะ[3]

โรงงานเริ่มผลิตอะซิทัลดีไฮด์ในปี 1932 โดยในปีนั้นมีผลผลิต 210 ตัน เมื่อถึงปี 1951 ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ตันต่อปี และสูงสุดที่ 45,245 ตันในปี 1960[4] รวมทั้งหมดแล้วโรงงานของชิซโซะมีผลผลิตอะซิทัลดีไฮด์อยู่ระหว่างหนึ่งในสี่ถึงหนึ่งในสามของผลผลิตทั้งประเทศญี่ปุ่น ปฏิกิริยาที่ใช้ในการผลิตอะซิทัลดีไฮด์นั้นมีการใช้เมอร์คิวรี (II) ซัลเฟตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ปฏิกิริยาข้างเคียงของกระบวนการเร่งปฏิกิริยานั้นได้ผลผลิตเป็นสารปรอทชีวภาพจำนวนเล็กน้อย ชื่อว่าเมทิลเมอร์คิวรี[5] เป็นสารที่มีพิษอย่างมาก และถูกปล่อยลงอ่าวมินามาตะตั้งแต่เริ่มผลิตในปี 1932 ถึง 1968 เมื่อวิธีผลิตนี้ถูกยกเลิก

อ้างอิง

[แก้]
  1. Harada, p15
  2. George, pp35-36
  3. George, p26
  4. Report of the Social Scientific Study Group on Minamata Disease, In the Hope of Avoiding Repetition of a Tragedy of Minamata Disease เก็บถาวร 2017-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, National Institute for Minamata Disease, p. 13.
  5. For further information on the chemistry of the reaction that lead to the production of methylmercury see "Information on Mercury" เก็บถาวร 2011-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Mercury Technology Services, retrieved around the 24 October 2006