ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บรรยิน ตั้งภากรณ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 51: บรรทัด 51:


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
*
* {{ม.ว.ม.|2551}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/B/017-1/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย]</ref>
*
* {{ป.ช.}}


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:14, 29 เมษายน 2563

พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
ไฟล์:Banyin t.jpg
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 24 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าอรนุช โอสถานนท์
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ถัดไปอลงกรณ์ พลบุตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 (60 ปี)
จังหวัดนครสวรรค์
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2543 - 2549)
ประชาราช (2549 - 2550)
มัชฌิมาธิปไตย (2550 - 2551)
เพื่อไทย (2556 - ปัจจุบัน)
คู่สมรสวราภรณ์ ตั้งภากรณ์

พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ (26 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 - ) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 2 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน 1 สมัย

ประวัติ

พันตำรวจโทบรรยิน ตั้งภากรณ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตร์ จาก โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางวราภรณ์ ตั้งภากรณ์ มีบุตรชาย 1 คน บุตรสาว 1 คน

การทำงาน

พันตำรวจโทบรรยิน ตั้งภากรณ์ เคยรับราชการตำรวจ และลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2543 ขณะดำรงตำแหน่ง สวป.สภ.เมืองกำแพงเพชร เพื่อลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ ในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย ในกลุ่มวังน้ำยมของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน จนเมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบไป จึงย้ายมาสังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย

ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ลงสมัคร ส.ส.แบบสัดส่วน กลุ่มที่ 2 (จังหวัดอุตรดิตถ์ , จังหวัดพิษณุโลก , จังหวัดพิจิตร , จังหวัดนครสวรรค์ , จังหวัดอุทัยธานี , จังหวัดลพบุรี , จังหวัดเพชรบูรณ์ , จังหวัดชัยภูมิ , จังหวัดขอนแก่น) ในสังกัด พรรคมัชฌิมาธิปไตย และได้รับเลือกตั้ง

พันตำรวจโทบรรยิน เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาลของนายสมัครสุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[1] ต่อมาพันตำรวจโทบรรยิน ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี เนื่องจากการยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งขณะนั้นพันตำรวจโทบรรยินดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[2]

พันตำรวจโทบรรยิน ตั้งภากรณ์ เคยเข้าร่วมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553[3]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 32[4]

ประสบการณ์ทำงาน

คดีความ

พันตำรวจโทบรรยิน ถูกออกหมายจับใน 4 ข้อหา ประกอบด้วย ร่วมกันลักทรัพย์ รับของโจร ปลอมแปลงและใช้เอกสารปลอม เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 และต่อมาในเดือนมิถุนายน 2559 เขาถูกจับกุมตัวในฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และไตร่ตรองไว้ก่อน เพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์ อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ จากกรณีการเสียชีวิตของนายชูวงษ์ แซ่ตั๊ง[5][6]ในวันที่ 17สิงหาคม พ.ศ. 2559 คณะกรรมการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีคำสั่งอายัดทรัพย์ นายบรรยิน[7] เป็นเวลา 90 วัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง