ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐบาลไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32: บรรทัด 32:


== ฝ่ายตุลาการ ==
== ฝ่ายตุลาการ ==
{{บทความหลัก|ศาลไทย}}
ศาลไทยเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาทุกระดับจำต้องได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ไทย ศาลปฏิบัติการในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ศาลไทยมี 4 ประเภท ได้แก่ [[ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)|ศาลรัฐธรรมนูญ]] [[ศาลยุติธรรม (ประเทศไทย)|ศาลยุติธรรม]] [[ศาลปกครอง (ประเทศไทย)|ศาลปกครอง]] และ[[ศาลทหาร (ประเทศไทย)|ศาลทหาร]]

[[คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย]] (Asian Human Rights Commission) วิจารณ์ว่า ระบบศาลไทย โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้น "เลอะเทอะ" และไม่สามารถสร้างความมั่นใจว่า กระบวนพิจารณาจะดำเนินไปอย่างรวดเร็ดและเป็นธรรม แม้คดีลอบฆ่า[[ประมาณ ชันซื่อ]] ประธานศาลฎีกาเอง ศาลชั้นต้นยังใช้เวลาพิจารณาถึง 15 ปี คือ ตั้งแต่ปี 2536 ถึงปี 2551 ในช่วงดังกล่าว จำเลยต้องขึ้นศาล 461 ครั้ง และถูกผู้พิพากษา 91 คนไต่สวน จำเลยบางคนตายก่อนพิพากษา ส่วนประมาณตายอย่างสงบด้วยโรคปอดติดเชื้อเมื่อปี 2550<ref>M&C, [http://news.monstersandcritics.com/asiapacific/news/article_1282824.php/Human_rights_group_slams_Thailands_judicial_system Human rights group slams Thailand's judicial system], 26 March 2007</ref>
อนึ่ง หลังวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา ศาลทหารได้เพิ่มขยายบทบาทและอำนาจหน้าที่ขึ้นมามาก
== การปกครองส่วนท้องถิ่น ==
== การปกครองส่วนท้องถิ่น ==
{{ดูเพิ่มที่|การแบ่งเขตการปกครองของประเทศไทย}}
{{ดูเพิ่มที่|การแบ่งเขตการปกครองของประเทศไทย}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:35, 25 กันยายน 2560

รัฐบาลไทย เป็นรัฐบาลของราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นรัฐบาลเดี่ยว รัฐบาลไทยมีบทบาทขึ้นอย่างชัดเจนในสมัยรัฐชาติอันสถานปนาขึ้นครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวภายหลังทรงผนวกดินแดนและอาณาจักรภายใต้ปกครองของอาณาจักรสยามขึ้นเป็นสยามประเทศ[1] รัฐบาลไทยผ่านการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตย ปัจจุบันรัฐบาลไทยแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ในอดีตก่อนปี 2557 รัฐบาลพลเรือนของไทยมีรูปแบบตามระบบเวสต์มินสเตอร์ของสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ดี ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การปกครองของคณะทหาร เรียกว่า คสช.

ฝ่ายนิติบัญญัติ

ฝ่ายบริหาร

นายกรัฐมนตรี

ธงประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย ตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522
ธงประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย ตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522

นายกรัฐมนตรี คือผู้นำของรัฐบาล ประธานของคณะรัฐมนตรี และประธานแห่งอำนาจฝ่ายบริหาร ในระบบเดิมเคยมาจากการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากนั้นจึงมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ไทย ปัจจุบัน หัวหน้า คสช. ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน และตามรัฐธรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งถูกล้มล้างไป เคยมีอำนาจเสนอต่อพระมหากษัตริย์ให้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร การกราบบังคมทูลเสนอชื่อหรือปลดรัฐมนตรี และเป็นตัวแทนของประเทศในการเดินทางไปยังต่างประเทศ และเป็นผู้แถลงการณ์หลักของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีสามารถพ้นจากตำแหน่งได้จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยการเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ปัจจุบัน อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557

คณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดิน ว่าการกระทรวงในประเทศไทยทั้ง 20 กระทรวงและสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ตลอดจนร่างและดำเนินการตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่แต่งตั้งโดย คสช. มีสถานที่ทำงานอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล รัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกรัฐสภา

รัฐมนตรีอย่างน้อยหนึ่งคนต้องลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ คณะรัฐมนตรีสามารถนำกฎหมายขึ้นกราบทูลให้ตราเป็นพระราชกำหนดเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติได้ เช่นเดียวกับกรณีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนหรือโดยลับ

ฝ่ายตุลาการ

การปกครองส่วนท้องถิ่น

การปกครองส่วนภูมิภาคของไทยแบ่งออกเป็น 76 จังหวัด (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) 896 อำเภอ

ในการปกครองส่วนท้องถิ่น มีสองประเภท คือ ท้องที่เทศบาลและท้องที่ตำบล

  • ท้องที่เทศบาล มักเป็นท้องถิ่นที่มีความเป็นเมือง คือ มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น อยู่ภายใต้การบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรียกว่า "เทศบาล" โดยมีองค์กรบริหารอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แบ่งออกเป็นเทศบาลนคร เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล
  • ท้องที่ตำบล มักเป็นท้องที่ชนบท ประชากรอาศัยอยู่ไม่มากเมื่อเทียบกับท้องที่เทศบาล แต่อาจจะมีประชากรหนาแน่นกว่าจุดอื่นในพื้นที่เดียวกัน

อ้างอิง

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณงาม เง่าธรรมสาร, 2552, กระบวนการบูรณการรัฐชาติไทยกรณีจังหวัดชายแดนใต้: บทเรียนจากระบบเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ 6, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; สงขลา.

แหล่งข้อมูลอื่น