รัฐชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทำสัตยาบันในสนธิสัญญามึนสเตอร์ นำไปสู่สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมโนทัศน์ "รัฐชาติ"

รัฐชาติ (อังกฤษ: nation state) หรือเดิมเรียก รัฐประชาชาติ (อังกฤษ: national state) เป็นหน่วยทางการเมืองที่รัฐและชาติได้สอดคล้องกัน[1][2][3][4] มันเป็นแนวคิดที่แน่นอนกว่า "ประเทศ" เนื่องจากประเทศนั้นไม่จำเป็นต้องมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอำนาจเหนือกว่า

ชาติ ในความหมายของเชื้อชาติเดียวกัน อาจรวมถึงการพลัดถิ่นหรือผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ภายนอกรัฐชาติ บางประเทศในความหมายนี้ไม่มีสถานะที่ชาติพันธุ์มีอำนาจเหนือกว่า ในความหมายทั่วไปส่วนใหญ่ รัฐชาติเป็นเพียงประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยหรือเขตปกครองขนาดใหญ่ รัฐชาติอาจถูกเปรียบเทียบกับ:

  • นครรัฐ(City-state) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า "ชาติ" ในความหมายของ "ประเทศอธิปไตยใหญ่" และอาจจะหรือไม่ก็ถูกครอบงำโดยทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งของ"ชาติ" เดียว ในความหมายของเชื้อชาติเดียวกัน[5][6][7]
  • จักรวรรดิ(empire) ซึ่งประกอบไปด้วยหลายประเทศ (อาจจะไม่ใช่รัฐอธิปไตย) และชาติที่อยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์พระองค์เดียวหรือรัฐบาลที่ปกครองอยู่
  • สมาพันธรัฐ(confederation) สหพันธ์ของรัฐอธิปไตย ซึ่งอาจจะรวมหรือไม่รวมถึงรัฐชาติก็ได้
  • สหพันธรัฐ(federated state) ซึ่งอาจจะเป็นหรือไม่ใช่รัฐชาติก็ได้ และปกครองตนเองได้แค่เพียงบางส่วนภายในสหพันธ์ที่ใหญ่กว่า (ตัวอย่างเช่น รัฐชายแดนของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาได้ถูกวาดเส้นตามเส้นแบ่งแยกทางชาติพันธ์ุ แต่ในสหรัฐกลับไม่ใช่)

บทความนี้ได้กล่าวถึงคำจำกัดความที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นของรัฐชาติ ในฐานะประเทศอธิปไตยทั่วไปซึ่งถูกครอบงำโดยชาติพันธุ์โดยเฉพาะ

อ้างอิง[แก้]

  1. Cederman, Lars-Erik (1997). Emergent Actors in World Politics: How States and Nations Develop and Dissolve. Vol. 39. Princeton University Press. p. 19. ISBN 978-0-691-02148-5. JSTOR j.ctv1416488. When the state and the nation coincide territorially and demographically, the resulting unit is a nation-state.
  2. Brubaker, Rogers (1992). Citizenship and Nationhood in France and Germany (ภาษาอังกฤษ). Harvard University Press. p. 28. ISBN 978-0-674-25299-8. A state is a nation-state in this minimal sense insofar as it claims (and is understood) to be a nation's state: the state 'of' and 'for' a particular, distinctive, bounded nation.
  3. Hechter, Michael (2000). Containing Nationalism (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-829742-0.
  4. Gellner, Ernest (2008). Nations and Nationalism (ภาษาอังกฤษ). Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-7500-9.
  5. Peter Radan (2002). The break-up of Yugoslavia and international law. Psychology Press. p. 14. ISBN 978-0-415-25352-9. สืบค้นเมื่อ 25 November 2010.
  6. Alfred Michael Boll (2007). Multiple nationality and international law. Martinus Nijhoff Publishers. p. 67. ISBN 978-90-04-14838-3. สืบค้นเมื่อ 25 November 2010.
  7. Daniel Judah Elazar (1998). Covenant and civil society: the constitutional matrix of modern democracy. Transaction Publishers. p. 129. ISBN 978-1-56000-311-3. สืบค้นเมื่อ 25 November 2010.