เจ้าอริยวงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าอริยวงษ์
เจ้าฟ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน
องค์ที่ 52 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
ราชาภิเษก30 กันยายน พ.ศ. 2297[1]
ครองราชย์30 กันยายน พ.ศ. 2297 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2311
รัชกาล14 ปี 4 วัน
ก่อนหน้าเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์
ถัดไปเจ้านายอ้าย
ประสูติเมืองเชียงใหม่
พิราลัย10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2324[2]
กรุงธนบุรี
พระชายาแม่เจ้าเมืองเชียงใหม่อัครราชเทวี
ชายาแม่เจ้าเมืองรามเทวี[3]
พระราชบุตร9 พระองค์
พระนามเต็ม
เจ้าอริยวงษ์ เจ้าเมืองน่าน
ราชสกุลไชยวงศ์หวั่นท๊อก
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
พระบิดาพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์
พระมารดาแม่เจ้าเมืองเชียงใหม่อัครราชเทวี[4]

เจ้าอริยวงษ์ หรือ เจ้าหลวงอริยวงษ์[5]ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 52 และองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ครองเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2297 - พ.ศ. 2311 และได้สละราชสมบัติเมืองน่านยกมอบให้แก่ เจ้านายอ้าย ผู้เป็นพระภาติยะสืบราชย์สมบัติเมืองต่อไป เมื่อปี พ.ศ. 2311

พระประวัติ[แก้]

เจ้าอริยวงษ์ เป็นพระโอรสในพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ ประสูติแต่แม่เจ้าเมืองเชียงใหม่ ครองราชในปี พ.ศ. 2297 สืบต่อจากพระบิดาเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 2 ในราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ มีอนุชา และขนิษฐา ร่วมแม่เจ้ามารดา 4 พระองค์

และได้สละราชสมบัติ ให้เจ้านายอ้าย ผู้เป็นพระนัดดา (หลาน) ให้ครองเมืองน่านสืบต่อไป ในวันอังคาร ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2311 หรือ (เดือน 10 ลง 8 ค่ำ จ.ศ. 1130)[6]

พระชายา พระโอรส/ธิดา[แก้]

เจ้าอริยวงษ์ มีพระชายา 2 องค์ และพระโอรส 9 พระองค์

ชายาองค์ที่ 1 แม่เจ้าเมืองเชียงใหม่อัครเทวี ประสูติพระโอรส 6 พระองค์ ดังนี้

  1. เจ้าหนานมหาวงษ์[7]
  2. เจ้าจันทปโชต[8] ภายหลังเป็น พระยามงคลวรยศ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 56
  3. เจ้าน้อยวิธูร ภายหลังเป็น พระยาวิธูร เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 55
  4. เจ้าเทพินทร์
  5. เจ้าน้อยตู๊ย
  6. เจ้ามหาวงษ์

ชายาองค์ที่ 2 แม่เจ้าเมืองรามเทวี ประสูติพระโอรส 3 พระองค์ ดังนี้

  1. เจ้าขวา ภายหลังเป็น เจ้าพระยาจางวางขวา เมืองน่าน
  2. เจ้าซ้าย ภายหลังเป็น เจ้าพระยาจางวางซ้าย เมืองน่าน
  3. เจ้าสมณะ ภายหลังเป็น พระเจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 58

กรณียกิจ[แก้]

  • พ.ศ. 2303 พระเจ้ามังลอกกษัตริย์พม่าได้ส่งอภัยคามินีเป็นแม่ทัพยกมาตีเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองอื่น ๆ เจ้าอริยวงศ์ เจ้าเมืองน่านต้องยอมอ่อนน้อมต่อพม่า เมื่อพม่าปราบปรามหัวเมืองล้านนาได้ราบคาบแล้ว จึงได้แต่งตั้งให้อภัยคามินีเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่[9]
  • พ.ศ. 2306 พระเจ้ามังระได้ครองราชย์เมืองอังวะ บรรดาท้าวพญาในหัวเมืองล้านนาได้กำลังสนับสนุน จากเมืองหลวงพระบางพากันแข็งเมือง พระเจ้ามังระให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพนำกำลังร่วมกับกองทัพของอภัยคามินี เจ้าเมืองเชียงใหม่ยกไปปราบปราม
  • พ.ศ. 2310 พม่ายกกองทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา ได้มอบหมายให้อภัยคามินีระดมไพร่พลจาก หัวเมืองล้านนาเข้าร่วมศึกครั้งนี้ด้วย เจ้าอริยวงศ์ได้มอบหมายให้ เจ้านายอ้ายผู้เป็นนัดดา(หลาน)คุมกำลังจากเมืองน่านไปสมทบกับกองทัพพม่าด้วย
  • พ.ศ. 2311 ฮ่อยกกำลัง 90,000 คนไปตีเมืองอังวะ พระเจ้ามังระให้เจ้าอ้ายยกกำลังจากเมืองน่านไปช่วยรบจนฮ่อแตกกลับไป

ราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 153
  2. ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 158
  3. ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 147
  4. ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 147
  5. ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 153
  6. ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 156
  7. ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 147
  8. ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 151
  9. หอมรดกไทย เมืองเก่าของไทย
ก่อนหน้า เจ้าอริยวงษ์ ถัดไป
พระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 52
และองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์

(พ.ศ. 2297 - พ.ศ. 2311)
พระเจ้านายอ้าย