อำเภอภูเพียง
อำเภอภูเพียง | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: ภูเพียงแช่แห้ง เรือแข่งล้านนา วังปลา มะไฟจีน ศิลปินพื้นบ้าน | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 18°45′42″N 100°47′17″E / 18.76167°N 100.78806°E | |
อักษรไทย | อำเภอภูเพียง |
อักษรโรมัน | Amphoe Phu Phiang |
จังหวัด | น่าน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 508.236 ตร.กม. (196.231 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2560) | |
• ทั้งหมด | 36,154 |
• ความหนาแน่น | 71.13 คน/ตร.กม. (184.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 55000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5514 |
ที่อยู่ ที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอภูเพียง หมู่ที่ 3 ถนนหนองเต่า-น้ำแก่นกลาง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน 55000 |
![]() |
ภูเพียง (คำเมือง: ) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดน่าน
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอภูเพียงตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองน่านและอำเภอสันติสุข
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่จริม
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเวียงสา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองน่าน
ประวัติ[แก้]
เมื่อ พ.ศ. 1896 พญาการเมือง เจ้าผู้ครองนครน่าน (องค์ที่ 5) ได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุรวม 7 องค์ พร้อมด้วยพระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ จากพระเจ้าไสลือไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เถระชั้นผู้ใหญ่ พิจารณาเห็นว่า ดอยภูเพียงแช่แห้ง เป็นชัยภูมิดี จึงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมด้วยพระพิมพ์ทอง พระพิมพ์เงิน ไปยังดอยภูเพียงแช่แห้ง ประจุลงในเต้าปูน ทองสำริด แล้วพอกด้วยสะตาย(ปูนขาวผสมยางไม้) แล้วขุดหลุมลึก 1 วา อาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ ประจุไว้ในหลุมกลบดินแล้วก่อเจดีย์สูง 1 วา ทับไว้อีกชั้น ในกาลต่อมาจึงย้ายเมืองวรนคร (นครน่าน) จากท้องที่อำเภอปัว (ในปัจจุบัน) มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เชิงดอยภูเพียงแช่แห้ง ทรงขนานนามตามชื่อดอยว่า “เมืองภูเพียงแช่แห้ง” สืบมา
พญาการเมือง ปกครองเมืองใหม่นี้ได้เพียง 5 ปี ก็ถึงแก่พิราลัย พญาผากองผู้เป็นโอรส ได้ขึ้นครองเมืองสืบมาอีก 6 ปี เห็นว่าที่ตัวเมืองภูเพียงแช่แห้งเป็นที่กันดารน้ำในฤดูแล้ง ชัยภูมิริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตรงข้ามคือบริเวณห้วยไคร้ ห่างจากเดิมไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 60 เส้น เป็นที่เหมาะสมกว่า ปี พ.ศ. 1911 พญาผากองจึงอพยพไพร่พล ประชาชน ข้ามลำน้ำน่าน มาตั้งเมือง คือที่ตั้งตัวเมืองน่าน หรือจังหวัดน่านในปัจจุบัน
กิ่งอำเภอภูเพียงจึงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดน่าน โดยแยกออกจากอำเภอเมืองน่านตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2540 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 [1] และได้รับยกฐานะเป็นอำเภอตามพระราชกฤษฎีกา ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124 ตอนที่ 46 ก. ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2550 โดยมีผลบังคับเมื่อพ้นสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งส่งผลมีฐานะเป็นอำเภอตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2550 เป็นต้นไป [2]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
การปกครองของอำเภอภูเพียงมี 7 ตำบล 61หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากร[3] |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | ม่วงตึ๊ด | ![]() |
Muang Tuet | 5 | 1,514 | 4,263 |
2. | นาปัง | ![]() |
Na Pang | 6 | 1,176 | 3,397 |
3. | น้ำแก่น | ![]() |
Nam Kaen | 10 | 1,359 | 4,424 |
4. | น้ำเกี๋ยน | ![]() |
Nam Kian | 5 | 831 | 2,844 |
5. | เมืองจัง | ![]() |
Mueang Chang | 11 | 2,060 | 5,920 |
6. | ท่าน้าว | ![]() |
Tha Nao | 7 | 1,110 | 3,343 |
7. | ฝายแก้ว | ![]() |
Fai Kaeo | 17 | 4,469 | 11,760 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอภูเพียงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงตึ๊ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงตึ๊ดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาปัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาปังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำแก่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำแก่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเกี๋ยน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำเกี๋ยนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองจังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าน้าวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฝายแก้วทั้งตำบล
การคมนาคม[แก้]
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1168 (น่าน-แม่จริม)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1169 (น่าน-สันติสุข)
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- วัดพระธาตุแช่แห้ง ตำบลม่วงตึ๊ด
- พิพิธภัณฑ์วัดนาปัง ตำบลนาปัง
- หอไตรโบราณ วัดนาปัง ตำบลนาปัง
- พระธาตุวัดท่าล้อ ตำบลฝายแก้ว
- พระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดกอก ตำบลท่าน้าว
- พระพุทธรูปทองทิพย์น้อย วัดบุปผาราม ตำบลฝายแก้ว
- ล่องแพบ้านหาดผาขน ตำบลเมืองจัง
- หาดหินสวยน้ำใส หมู่บ้านป่าหัด ตำบลม่วงตึ๊ด
สถานศึกษา[แก้]
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
- วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
- โรงเรียนน่านนคร
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอภูเพียง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 51 ง): 11. 15 มิถุนายน 2540.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550.
- ↑ จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดน่าน ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
|