ตำบลตาลชุม (อำเภอท่าวังผา)
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ตำบลตาลชุม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Tan Chum |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | น่าน |
อำเภอ | อำเภอท่าวังผา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 104.48 ตร.กม. (40.34 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2553) | |
• ทั้งหมด | 6,520 คน[1] คน |
• ความหนาแน่น | 62.40 คน/ตร.กม. (161.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 55140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 550603 |
![]() |
ตาลชุม (คำเมือง: ) เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอบนสองฝั่งแม่น้ำน่าน และลำน้ำสาย
ประวัติ[แก้]
ตำบลตาลชุม เดิมชื่อ “ไชยพรม” หรือ "ศรีพรม" มีพระราชกิจจา เป็นผู้ปกครอง เริ่มมีการก่อตั้งชุมชน ตั้งแต่ พ.ศ. 2310 พื้นที่นี้แต่เดิมในอดีตก่อนจะมีการก่อตั้งเป็นเมืองไชยพรม สันนิษฐานว่ามีชาวกาว ชาวลวัะ อาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยพญาภูคา มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน แล้วถูกม่าน(พม่า)เข้ามายึดครอง ภายหลังได้ถูกทิ้งร้าง เพราะปรากฏซากปลักหักพัง ของวัดวาอาราม มีพระธาตุ โบสถ์ วิหาร กำแพงหลงเหลือให้เห็นในปัจจุบัน ในพื้นที่ บ้านสบสาย บ้านสบหนอง บ้านป่าเมี่ยง บ้านตาลชุม ราษฎรส่วนใหญ่ย้ายถิ่นฐานมาจาก เมืองเชียงแสน และ เมืองเชียงของ(จังหวัดเชียงราย)เมืองไชยพรมมีอาณาเขตกว้างขวาง ทิศเหนือจรดเมืองริม ทิศตะวันออกจรดเมืองยม เมืองอวน เมืองพงษ์ ทิศใต้จรดเมืองน่าน ทิศตะวันตกจรด เมืองควร เมืองปง มีผู้ปกครองมาโดยตลอดโดยได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าผู้ครองนครน่าน พ.ศ. 2440 นครน่านแบ่งเขตเมืองไชยพรมให้อยู่ในการปกครอง ของแขวงนครน่าน มีที่ว่าการแขวงอยู่ที่เมืองน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 ราชการได้แบ่งแยกอาณาเขตเป็นตำบลศรีพรม อำเภอเมืองน่าน โดยเมืองน่านแต่งตั้ง เจ้าหมวกคำ ณ น่าน มาปกครอง ได้เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลตาลชุม อำเภอเมืองน่าน ต่อมาวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2481 ได้โอนย้ายจากอำเภอเมืองน่าน มาขึ้นกับ อำเภอปัว มีขุนวิเชษฐ์ตาลชุม เป็นกำนัน พ.ศ. 2505 ได้แยกตำบลยม ตำบลตาลชุม ตำบลป่าคา ตำบลริม ออกจากอำเภอปัว จัดตั้ง เป็นกิ่งอำเภอท่าวังผา และยกฐานะเป็นอำเภอท่าวังผาในปี พ.ศ. 2508 โดยมีหมู่บ้านส่วนใหญ่อยู่บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำน่าน ในช่วงฤดูฝนจะเกิดอุทกภัย มีการคมนาคมไม่สะดวก ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ราษฎรส่วนใหญ่ได้อพยพ ถิ่นฐานขึ้นมาตั้งบ้านเรือนอยู่บนที่ดอนทางทิศตะวันออกของพื้นที่ตำบลคือ 2 ข้างทาง ถนนสายน่าน – ทุ่งช้าง[2]
หมู่บ้าน[แก้]
ตำบลตาลชุมแต่เดิมมี 26 หมู่บ้าน ปี พ.ศ. 2517 ได้แยกออกเป็นตำบลศรีภูมิ จึงเหลือ 14 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านสบหนอง 1
- หมู่ที่ 2 บ้านป่าเมี่ยง
- หมู่ที่ 3 บ้านตาลชุม 1
- หมู่ที่ 4 บ้านสบสาย
- หมู่ที่ 5 บ้านปง 1
- หมู่ที่ 6 บ้านดอนแก่ง
- หมู่ที่ 7 บ้านน้ำป้าก
- หมู่ที่ 8 บ้านห้วยโป่ง
- หมู่ที่ 9 บ้านห้วยธนู
- หมู่ที่ 10 บ้านห้วยแขม
- หมู่ที่ 11 บ้านปง 2
- หมู่ที่ 12 บ้านสบหนอง 2
- หมู่ที่ 13 บ้านปงพัฒนา
- หมูที่ 14 บ้านตาลชุม 2
ศาสนสถาน[แก้]
มีวัด 7 แห่ง ได้แก่
- วัดสบหนอง
- วัดตาลชุม
- วัดจักรวรรณ(ป่าเมี่ยง)
- วัดดอนชัย (สบสาย)
- วัดสุคันธาราม(ปง)
- วัดดอนแก่ง
- วัดห้วยแขม
สำนักสงฆ์ 3 แห่ง ได้แก่
- สำนักสงฆ์กิตติคุณ(ห้วยโป่ง)
- สำนักสงฆ์ห้วยธนู
- สำนักสงฆ์น้ำป้าก
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มอยู่ทางทิศตะวันตกของตำบล และเป็นที่ราบสูงทางทิศตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมด 63,125 ไร่
- ทิศเหนือ ติดกับ ต.ศรีภูมิ, ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน
- ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ยม, ต.จอมพระ อ.ท่าวังผา จ.น่าน
- ทิศใต้ ติดกับ ต.บ่อ อ.เมืองน่าน จ.น่าน
- ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ศรีภูมิ อ.ท่าวังผา จ.น่าน
ระยะทางห่างจาก อำเภอท่าวังผา ถึง อบต.ตาลชุม 8 กิโลเมตร ระยะทางห่างจาก อำเภอเมืองน่าน ถึง อบต.ตาลชุม 34 กิโลเมตร
เนื้อที่ทางกายภาพ รวมทั้งหมด 104.48 ตารางกิโลเมตร (64,149 ไร่)
ประชากร[แก้]
จำนวนหมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลตาลชุม จำนวน 14 หมู่บ้าน ประชากรทั้งสิ้น 6,422 คน แยกเป็นชาย 3,221 คน หญิง 3,201 คน (ข้อมูลเดือนธันวาคม 2555)
อาชีพ อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ทำไร่ อาชีพเสริม หัตถกรรมในครัวเรือน
แหล่งท่องเที่ยว[แก้]
- พระธาตุฉิมพลี วัดสบหนอง
- หนองหลวง บ้านสบหนอง
- อนุเสาวรีย์เจ้าหลวงพญาแก้ว บ้านสบสาย
- พระพุทธมหาสุวรรณมงคลศรีศากยมุนี (หลวงพ่อทอง) วัดดอนชัย (สบสาย)
- ฝายน้ำสาย บ้านสบสาย
- โครงการปิดทองหลังพระตามแนวพระราชดำริ บ้านน้ำป้าก
- พระเพชรตาลชุม วัดตาลชุม
- อนุเสาวรีย์เจ้าหลวงดงมะแหละ บ้านตาลชุม
ลำน้ำสายสำคัญ[แก้]
- แม่น้ำน่าน
- ลำน้ำสาย
- ลำน้ำยาว
- ลำห้วยธนู
- ลำห้วยป้าก
- ลำห้วยก้าบ
- หนองหลวง
- ลำห้วยแขม
- ลำห้วยโป่ง
- ลำห้วยคี่
- ลำห้วยเยี่ยว
- ลำห้วยม่วง
- ล้ำห้วยกึม
- ลำห้วยเสี้ยว
อ้างอิง[แก้]
- ↑ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2553
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
![]() |
บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |