พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 39
(ภายใต้การปกครองของพม่า)
ราชาภิเษกพ.ศ. 2103
ครองราชย์พ.ศ. 2103 - พ.ศ. 2134
รัชกาล31 ปี
ก่อนหน้าพระยาพลเทพฦๅไชย
ถัดไปเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์
ประสูติเมืองเชียงใหม่
พิราลัย25 มิถุนายน พ.ศ. 2134
เมืองน่าน
พระมเหสีพระนางแสดพลัวเทวี
พระราชบุตร4 พระองค์

พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 39 ทรงขึ้นครองน่านในปี พ.ศ. 2103 ต่อจากพระยาพลเทพฦๅไชย เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 38 ที่หนีกองพม่าไปเมืองล้านช้าง

พระประวัติ[แก้]

พ.ศ. 2103 เจ้าฟ้าหงษามังตรายกทัพมาตีเมืองน่านได้ พระยาพลเทพฤๅไชยต้องหนีไปหลวงพระบาง เมืองน่านว่างผู้ปกครองเมือง เจ้าฟ้ามังตราจึงส่งพระญาหน่อคำไชยเสถียรสงครามมาครองเมืองน่านต่อ[1] ภายใต้อำนาจของพม่าผ่านทางเมืองเชียงใหม่

พระกรณียกิจ[แก้]

1. จัดระบบข้าพระธาตุแช่แห้งใหม่

  • ในปี พ.ศ. 2107 - พ.ศ. 2119 พระยาหน่อคําเสถียรไชยสงคราม เจ้าเมืองน่าน ทรงจัดระบบข้าพระธาตุ เช่น ติดตามหาข้าพระธาตุที่หลบหนี จัดซื้อข้าพระธาตุเพิ่มเติม และบัญญัติกฎกติกา ของข้าพระธาตุ และทรงจัดระบบศาสนสมบัติ ที่มีผู้นํามาบูชาพระธาตุแช่แห้ง

2. สร้างศาสนสถานในนครน่าน

  • ในปี พ.ศ. 2114 พระยาหน่อคําเสถียรไชยสงคราม เจ้าเมืองน่าน ทรงโปรดให้สร้างพระวิหารคลุมเจดีย์ทิพย์ สร้างวิหารวัดช้างกองสนุก สร้างวิหารมหาโพธิ สร้างวิหารมหาพรหม สร้างกุฏิวัดพระแก้ว วัดพญาวัด วัดภูมินทร์ วัดอุทยานน้อย และสร้าง เจดีย์ข่มหงส์ วัดหัวข่วง[2]

3. กําหนดให้บูชาพระธาตุแช่แห้ง ในวันเพ็ญ เดือน ๖ เหนือ (สืบมาจนถึงปัจุบัน)

  • ในปี พ.ศ. 2119 พระยาหน่อคําเสถียรไชยสงคราม เจ้าเมืองน่าน ได้ทรงกําหนดให้มีการบูชา พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ในวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ เป็นประจําทุกปี

4. สร้างศาสนสถานในวัดพระธาตุแช่แห้ง

  • ในปี พ.ศ. 2122 พระยาหน่อคําเสถียรไชยสงคราม เจ้าเมืองน่าน ทรงโปรดให้สร้างพระอุโบสถ บ่อน้ํา วิหาร และให้สร้างทางเดินสู่วัดพระธาตุแช่แห้ง ยาว 1,300 วา กว้าง 60 วา และสร้างศาลาเข้าพระธาตุ วิหารน้อย และอุโบสถจนแล้วเสร็จรวมระยะทางทั้งสิ้น 1,600 วา

พระราชบุตร[แก้]

พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงครามทรงมีพระชายา 1 องค์ คือ พระนางแสดพลัวเทวี ประสูติพระโอรส 4 พระองค์ ดังนี้[3]

  1. เจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ ภายหลังเป็น พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 40
  2. เจ้าน้ำบ่อ
  3. เจ้าศรีสองเมือง ภายหลังเป็น พระยาพลศึกซ้ายไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 42 ต่อมารับการโปรดเกล้าฯ จากพระมหากษัตริย์พม่าให้เป็นพระเจ้าเชียงใหม่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2158 - พ.ศ. 2174 เป็นเวลา 17 ปี
  4. เจ้าอุ่นเมือง ภายหลังเป็น พระเจ้าอุ่นเมือง เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 43

พิราลัย[แก้]

พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2134 รวมระยะเวลาที่ทรงปกครองเมืองน่าน 31 ปี เจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ ผู้เป็นพระโอรสองค์ใหญ่จึงขึ้นครองเมืองน่านสืบต่อมา

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ถัดไป
พระยาพลเทพฦๅไชย พระยาหลวงน่าน
(พ.ศ. 2103 - 2134)
เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์