เจ้ามหาพรหมสุรธาดา
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้านครน่าน | |||||
![]() | |||||
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ | |||||
ราชาภิเษก | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 | ||||
ครองราชย์ | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 - 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 | ||||
รัชกาล | 11 ปี 279 วัน | ||||
พระอิสริยยศ | เจ้าประเทศราช | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช | ||||
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง | ||||
พระชายา | เจ้านางศรีโสภา (ชายาเอก) เจ้านางบัวทิพย์ เจ้านางศรีคำ | ||||
พระราชบุตร | 9 คน | ||||
| |||||
ราชสกุล | ณ น่าน สายที่ 3 | ||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ | ||||
พระบิดา | เจ้าอนันตวรฤทธิเดช | ||||
พระมารดา | แม่เจ้าขอดแก้วเทวี | ||||
ประสูติ | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2389 เจ้ามหาพรหม | ||||
พิราลัย | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 (84 ปี) |
มหาอำมาตย์โท นายพลตรี เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 และองค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ (17 ตุลาคม พ.ศ. 2389 - 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474) และทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายแห่งเมืองนครน่าน ทรงป็นพระโอรสในเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 และเป็นพระอนุชาต่างเจ้ามารดากับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63
พระประวัติ[แก้]
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา มีพระนามเดิมว่า เจ้าน้อยมหาพรหม ประสูติ ณ บ้านช้างเผือก ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองน่าน เมื่อวันเสาร์ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2389 (แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเมีย จ.ศ. ๑๒๐๘) ทรงเป็นพระโอรสองค์โตในเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 ประสูติแต่แม่เจ้าขอดแก้วราชเทวี (ชายาองค์ที่ 2) และทรงมีพระโสทรขนิษฐา 1 องค์ คือ เจ้านางยอดมโนลา[1] ครั้นเมื่อมีชนมายุได้ 17 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรจำพรรษา ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร โดยมี พระสังฆราชนันทชัย เป็นเจ้าอาวาส จนถึงปี พ.ศ. 2407 ได้ลาสิกขาออกเป็นคฤหัสถ์ ช่วยงานราชการของพระบิดาตลอดมา ครั้นมีชนมายุได้ 20 ปี ได้วิวาหมงคลเสกสมรสกับเจ้านางศรีโสภา พระธิดาในพระยาวังขวา (เจ้าคำเครื่อง ณ น่าน) กับแม่เจ้าอุสา ผู้เป็นมารดา เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ทรงมีพระโอรสพระธิดากับเจ้านางศรีโสภา รวมทั้งสิ้น 8 พระองค์ ทรงพระโอรส 6 พระองค์ และพระธิดา 2 พระองค์
พระอิสริยยศและบรรดาศักดิ์[แก้]
เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน ทรงได้รับพระราชทานพระอิสริยยศ , บรรดาศักดิ์ และพระยศทางทหาร ดังนี้
พระอิสริยยศและบรรดาศักดิ์[แก้]
- เมื่อปี พ.ศ. 2433 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเจ้าน้อยมหาพรหม ขึ้นเป็น เจ้าราชบุตร นครเมืองน่าน
- เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 [2]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ เจ้าราชบุตร (น้อยมหาพรหม) เจ้าราชบุตร นครเมืองน่าน ขึ้นเป็น เจ้าราชวงศ์ นครเมืองน่าน
- เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2443 [3]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ เจ้าราชวงศ์ (น้อยมหาพรหม) เจ้าราชวงศ์ นครเมืองน่าน ขึ้นเป็น เจ้าอุปราช นครเมืองน่าน และทรงดำรงตำแหน่งเสนามหาดไทยจังหวัดน่าน
- เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2461 [4] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลตรี เจ้าอุปราช (น้อยมหาพรหม) เจ้าอุปราชนครเมืองน่าน รั้งตำแหน่ง เจ้าผู้ครองนครน่าน
- เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 [5]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศและบรรดาศักดิ์ เจ้าอุปราช (น้อยมหาพรหม) เจ้าอุปราชนครเมืองน่าน ขึ้นเป็น เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้รับการเฉลิมพระนามว่า เจ้ามหาพรหมสุรธาดา นันทบุราธิวาศวงศ์ บรมราชประสงค์สฤษดิรักษ์ นิตยสวามิภักดิ์อาชวาศัย ประสาสนนัยวิจิตร กิติคุณาดิเรก เอกโยนกมหานคราธิบดี เจ้านครน่าน
พระยศ[แก้]
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | มหาอำมาตย์โท![]() ![]() |
พระยศพลเรือน[แก้]
- วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 ได้รับพระราชทานยศเป็น "อำมาตย์เอก" [6]
- เมื่อปี พ.ศ. 2460 ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น "มหาอำมาตย์ตรี"
- เมื่อปี พ.ศ. 2463 ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น "มหาอำมาตย์โท"
พระยศทหาร[แก้]
- วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2448 [7]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหารเป็น นายพันโทพิเศษ ในกรมทหารราบที่ 18
- ปี พ.ศ. 2454 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนยศขึ้นเป็น นายพันเอกพิเศษ ในกรมทหารราบที่ 18
- ปี พ.ศ. 2461 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนยศขึ้นเป็น นายพลตรีพิเศษ ในกรมทหารราบที่ 18
พระยศเสือป่า[แก้]
- 26 พฤศจิกายน 2467 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเสือป่าเป็น นายกองเอกเสือป่า ในกองเสือป่าจังหวัดน่าน[8]
ราชองครักษ์พิเศษ[แก้]
- วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง นายพลตรี เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน เป็น "ราชองครักษ์พิเศษ"[9]
พิราลัย[แก้]
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 (เวลา 16:00 น.) ณ คุ้มหลวงเมืองนครน่าน ด้วยพระโรคชรา สิริพระชนมายุได้ 85 ปี[10] ทรงปกครองเมืองนครน่านรวมระยะเวลา 11 ปี 279 วัน
การพระราชทานเพลิงศพ[แก้]
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มหาอำมาตย์โท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ เสด็จแทนพระองค์ พร้อมด้วยเจ้าพนักงานภูษามาลา กรมสนมพลเรือน ในการพระราชทานเพลิงศพ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา โดยพระราชทานโกศโถประกอบศพ มีฐานตั้งรองโกศ 1 ชั้น พร้อมด้วยเครื่องอิสริยยศ ฉัตรเบญจาตั้ง 4 คัน มีประโคมกลองชะนะ 10 จ่าปี 1 ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 (นับตามสากลเป็น พ.ศ. 2475) ครั้นถึงวันที่ 3 มีนาคม เวลาบ่าย จึงได้พระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานหลวงดอนชัย ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน[11]
พระโอรส พระธิดา[แก้]
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ทรงมีพระชายา 3 องค์ และพระโอรสพระธิดา รวมทั้งสิ้น 9 องค์ (อยู่ในราชสกุล ณ น่าน สายที่ 3) มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
- พระชายาที่ 1 แม่เจ้าศรีโสภา อัครชายา(จ.จ.)[12] ประสูติพระโอรส พระธิดา 4 องค์ ได้แก่
- เจ้าสุริยวงศ์ (น้อยอินทนนท์ ณ น่าน) เจ้าสุริยวงศ์นครเมืองน่าน เสกสมรสกับเจ้านางเกี๋ยง ณ น่าน มีโอรสธิดา 6 ท่าน ได้แก่
- ร้อยโท เจ้าวรญาติ (น้อยมหายศ ณ น่าน) เจ้าวรญาติ เมืองนครน่าน
- เจ้านางบัวคำ ณ น่าน
- เจ้าน้อยสาร ณ น่าน
- เจ้าชื่น ณ น่าน
- เจ้าหนานบุญผาย ณ น่าน
- เจ้าน้อยข่ายแก้ว ณ น่าน
- เจ้านางบัวเขียว ณ น่าน เสกสมรสกับ เจ้าราชวงศ์ (สุทธิสาร ณ น่าน)[13] เจ้าราชวงศ์ นครเมืองน่าน มีธิดา 3 ท่าน ได้แก่
- เจ้าดาวเรือง ณ น่าน
- เจ้าเมฆวดี ณ น่าน
- เจ้าบุญตุ้ม ณ น่าน
- เจ้าบุรีรัตน์ (น้อยขัติยศ ณ น่าน) เจ้าบุรีรัตน์ นครเมืองน่าน เสกสมรสกับเจ้านางจันทรประภา ณ น่าน มีโอรสธิดา 3 ท่าน ได้แก่
- เจ้าประทุม ณ น่าน
- เจ้าประยูร ณ น่าน
- เจ้าประคอง ณ น่าน
- เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) เจ้าราชบุตร นครเมืองน่าน เสกสมรสกับเจ้านางบุญโสม ณ น่าน มีธิดา 3 ท่าน ได้แก่
- เจ้าจุมปี ณ น่าน
- เจ้าบัวมัน ณ น่าน
- เจ้าโคมทอง ณ น่าน
- เจ้าสุริยวงศ์ (น้อยอินทนนท์ ณ น่าน) เจ้าสุริยวงศ์นครเมืองน่าน เสกสมรสกับเจ้านางเกี๋ยง ณ น่าน มีโอรสธิดา 6 ท่าน ได้แก่
- ชายาที่ 2 แม่เจ้าบัวทิพย์ ชายา ประสูติพระโอรส 3 องค์ ได้แก่
- เจ้าธาดา (นามเดิม : เจ้าแก้วพรหมา ณ น่าน)
- เจ้าเมืองพรหม (นามเดิม : เจ้าขี้หมู ณ น่าน)
- เจ้าสุรพงษ์ (นามเดิม : เจ้าจันต๊ะคาด ณ น่าน)
- ชายาที่ 3 แม่เจ้าศรีคำ ชายา ประสูติพระโอรสพระธิดา 2 องค์ ได้แก่
- เจ้าสนิท หรือ เจ้านิด ณ น่าน
- เจ้าลัดดา ณ น่าน (นามเดิม : เจ้านางหมัดคำ ณ น่าน)
พระกรณียกิจที่สำคัญ[แก้]
ด้านสาธารณสุข[แก้]
- เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2461 เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์แห่งสภากาชาดสยาม หรือ สภากาชาดไทยในปัจจุบัน โดยได้บริจาคเงินจำนวน 3,000 บาท ให้แก่สภากาชาดสยาม
- เมื่อปี พ.ศ. 2468 เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 พร้อมด้วย เจ้าราชวงศ์ (เจ้าสุทธิสาร ณ น่าน) เจ้าราชวงศ์เมืองนครน่าน และเหล่าเจ้านายบุตรหลานได้ร่วมกันสร้างโอสถสภาขึ้นที่จังหวัดนครน่าน เพื่ออุทิศถวายเป็นพระกุศลแด่ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 (ผู้เป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา) กระทรวงมหาดไทยได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าลอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงอนุโมทนาในส่วนกุศลสาธารณประโยชน์ในคร้งนี้ด้วย
ถวายช้างเผือก[แก้]
- เมื่อปี พ.ศ. 2468 ได้พบช้างสีประหลาดที่เขตเมืองนครน่าน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานกรมช้างต้นและกรมศิลปากรขึ้มาตรวจลักษณะพบว่าเป็นช้างในลักษณะจำพวกอัฐคช 8 ชื่อว่า "ดามหัศดินทร"[14]
ด้านบ้านเมือง[แก้]
สาธารณประโยชน์[แก้]
แจ้งความมา ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๓๑
ด้วยได้รับใบบอกพระเจ้าผู้ครองนคร แลเค้าสนามหลวงนครน่าน ที่ ๖/๑๒๕๓ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๓๑ ว่าสพานลำน้ำบั้วซึ่งได้สร้างขึ้นครั้งก่อนนั้นเปนอันสำเร็จไปตอนหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่รียบร้อย ด้วยเหตุที่ลำน้ำบั้วกว้างขวางมาก ปลายสพานด้านใต้ยังตกอยู่ใน ลำห้วยต่ำกว่าระดับถนน ครั้นถึงฤดูน้ำๆ ยังท่วมอยู่ มหาชนสัญจรไป มาไม่สดวก สพานนี้ก็เปนสพานสำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งเปนทางร่วมมาบรรจบกัน หลายทาง เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๓๑ อำมาตย์เอก เจ้าอุปราช (น้อยมหาพรหม) เจ้าอุปราช นครเมืองน่าน และเสนามหาดไทย นครเมืองน่าน ได้ว่าเหมาช่างลงมือทำสพานต่อตามรูปเดิม กว้าง ๒ วา ยาว ๑ เส้น ๓ วา สูงจากพื้น ๔ วา ๑ คืบ ใช้ไม้จริง รวมทั้งสพานเดิมยาว ๒ เส้น ๙ วา ๒ ศอกสูงเท่ากัน แล้วเสร็จเปนเงิน ๑,๕๔๓ บาท รวมทั้งเงินที่ ได้ออกทรัพย์สร้างครั้งก่อนเปนเงิน ๙,๙๔๓ บาทถ้วน แลได้เปิดให้มหาชนสัญจรไปมาเปนสาธารณประโยชน์ แต่วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๓๑ แล้ว อำมาตย์เอก เจ้าอุปราช มีความยินดีขอพระราชทานอุทิศถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กระทรวงมหาดไทยได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าลอองธุลีพระบาทแล้ว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ว่าการที่ อำมาตย์เอก เจ้าอุปราช เสนามหาดไทยนครน่าน มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์จัดการต่อสพานข้ามลำน้ำบั้วให้สำเร็จเรียบร้อย ให้มหาชนสัญจรไปมาเปนสาธารณประโยชน์นั้น นับว่าเปนการกุศล ต้องด้วยพระราชนิยม ทรงอนุโมทนาในส่วนกุศลนี้
— ศาลาว่าการมหาดไทย
แจ้งความมาณวันที่ ๒๗ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๓๑
ราชปลัดทูลฉลอง เซ็นแทน
( ลงนาม ) พระยามหาอำมาตย์
การสร้างท่าอากาศยานน่าน[แก้]
- ในปี พ.ศ. 2458 เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อซื้อเครื่องบินให้แก่กองทัพอากาศ[15] จำนวน 1 ลำ ซึ่งต่อมาพระองค์มีพระประสงค์จะชมเครื่องบินลำที่พระองค์ซื้อให้แก่กองทัพอากาศ จึงได้นำความปรึกษากับอำมาตย์เอกพระวรไชยวุฒิกรณ์ ปลัดมณฑลพายัพ เพื่อจัดสร้างสนามบินขึ้น เมื่อพระวรไชยวุฒิกรณ์เห็นชอบแล้ว จึงได้เกณฑ์แรงงานราษฎรทำการถากถางโค่นต้นไม้บริเวณตำบลหัวเวียงเหนือเพื่อสร้างสนามบินขึ้น โดยใช้เวลาในการสร้างประมาณ 3 ปีเศษ จึงแล้วเสร็จ และทางกองทัพอากาศจึงได้นำเครื่องบินแบบ “เบเก้” จำนวน 3 ลำ รวมทั้งลำที่เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ได้ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อให้ บินจากกองทัพอากาศดอนเมืองถึงสนามบินน่านสำเร็จและลงอย่างปลอดภัย ครั้นเมื่อเครื่องบินได้กลับไปแล้วก็มิได้ใช้สนามบินนี้อีก คงปล่อยทิ้งไว้และได้รับการบำรุงรักษาตามสมควร
รับเสด็จรัชกาลที่ 7 คราวประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ[แก้]
- เมื่อปี พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 7 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จประพาสมณฑลพายัพ (หัวเมืองฝ่ายเหนือ) ในครั้งนั้นได้จัดพิธีถวายการต้อนรับอย่างมโหฬารสมพระเกียรติ ได้รับขบวนรับเสด็จตั้งแต่สถานีรถไฟเชียงใหม่จนถึงที่ประทับ[16]
- เมื่อวันที่ 23 มกราคม พุทธศักราช 2469 ทางการได้จัดพิธีทูลพระขวัญขึ้น โดยปลูกพลับพลาทองบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าและฝ่ายในพร้อมด้วยพระราชชายา เจ้าดารารัศมี เจ้านายในมณฑลพายัพตลอดจนอาณาประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระราชนกูล สมุหเทศาภิบาล กราบบังคมทูลเบิกกระบวนแห่พิธีทูลพระขวัญแล้ว จึงถึงกระบวนเครื่องพระขวัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีเจ้านายฝ่ายเหนือฟ้อนนำขบวน ประกอบด้วย เจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 เป็นผู้นำพานทองพระขวัญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าจามรี ภริยาเจ้าแก้วนวรัฐ นำพานทองพระขวัญทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเด็จพระบรมราชินี บายศรีและโต๊ะเงินเครื่องเสวย เจ้านาย ณ เชียงใหม่ยกขึ้นไปตั้งหน้าพระเก้าอี้ที่ประทับทั้ง 2 พระองค์ เจ้าดารารัศมี พระราชชายา, เจ้าจามรี, เจ้ามหาพรหมสุรธาดา, เจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้ทำพิธีทูลพระขวัญขึ้นบนพลับพลานั่งหน้าพระที่นั่งตามลำดับแล้ว เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ซึ่งมีพระชนมายุอาวุโสที่สุดเป็นผู้อ่านคำกราบบังคมทูบเชิญพระขวัญ
ในขบวนฟ้อนแห่เครื่องทูลเชิญพระขวัญมีเจ้าผู้ครองนครและเจ้านายฝ่ายเหนือนำหน้าขบวนเครื่องทูลเชิญพระขวัญ มีรายพระนามและรายนาม ดังนี้
- คู่ที่ 1 เจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 คู่กับ เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64
- คู่ที่ 2 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ฯ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9 คู่กับ เจ้าราชวงษ์ เมืองนครลำปาง
- คู่ที่ 3 เจ้าบุรีรัตน์ เมืองนครเชียงใหม่ คู่กับ เจ้าไชยสงคราม เมืองนครเชียงใหม่
- คู่ที่ 4 เจ้าราชภาคินัย เมืองนครเชียงใหม่ คู่กับ เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์ เมืองนครลำพูน
- คู่ที่ 5 เจ้าไชยวรเชษฐ เมืองนครเชียงใหม่ คู่กับ เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์ เมืองนครเชียงใหม่
- คู่ที่ 6 เจ้าประพันธ์พงศ์ เมืองนครเชียงใหม่ คู่กับ เจ้าไชยสงคราม เมืองนครลำปาง
- คู่ที่ 7 เจ้ากาวิลวงศ์ ณ เชียงใหม่ กับ เจ้าวงศ์เกษม ณ ลำปาง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จลงจากช้างพระที่นั่งแล้ว หมอช้างพระที่นั่งกราบบังคม 3 ครั้ง เสด็จพระราชดำเนินจากเกยขึ้นสู่พลับพลาทอง มีเจ้านายผู้หญิงโปรยข้าวตอกดอกไม้นำเสด็จเพื่อความเป็นสิริมงคล คือ หม่อมเจ้าหญิงฉัตรสุดา ในพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน กับเจ้าบุษบง ณ ลำปาง บุตรีในเจ้าบุญวาทวงศ์มานิตฯ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 9 โปรยนำเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนเจ้าวงศ์จันทร์ ณ เชียงใหม่ บุตรีเจ้าราชบุตรกับเจ้าแววดาว บุตรีเจ้าราชวงศ์ โปรยนำเสด็จสมเด็จพระบรมราชินี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ประทับพระที่นั่งบนพลับพลาทอง ทอดพระเนตรกระบวนแห่ช้างหลวงเดินผ่านถวายตัว เมื่อเดินผ่านหน้าพลับพลาแล้วเลี้ยวไปเข้าเกยศาลารัฐบาลทางด้านเหนือ ฝ่ายพวกฟ้อนสำหรับต้อนรับของหลวงซึ่งจัดไว้ 4 คน ก็ออกฟ้อนรับที่หน้าพลับพลา ได้แก่ หม่อมเจ้าฉัตรสุดา ในพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน,เด็กหญิงอรอวบ บุตรีพระยาเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์,เจ้าแววดาว บุตรีเจ้าราชบุตรและเจ้าอุบลวรรณา บุตรีเจ้าบุรีรัตน์ เจ้านายชายหญิง เมื่อฟ้อนมาถึงหน้าพลับพลาแล้วจึงนั่งลงถวายบังคม เจ้านายผู้ชายเดินขึ้นนั่งบนพลับพลาที่พื้นลดทางขวาที่ประทับ เจ้านายผู้หญิงเดินขึ้นไปนั่งบนพลับพลาที่พื้นลดทางซ้ายที่ประทับ จากนั้นเจ้าแก้วนวรัฐนำพานทองพระขวัญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าจามรีภริยา เจ้าแก้วนวรัฐ นำพานทองพระขวัญทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายสมเด็จพระบรมราชินี แล้วเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน จึงเป็นผู้อ่านคำกราบบังคมทูลเชิญพระขวัญ ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จประพาสเมืองเชียงใหม่นั้น ทางราชการได้จัดเตรียมการรับเสด็จที่วัดพระสิงห์ ซึ่งสร้างปะรำพิธีขนาดใหญ่บริเวณด้านเหนือของวิหาร ส่วนด้านหน้าของพระวิหารจะปลูกปะรำไว้สำหรับข้าราชการนั่งเฝ้า ภายในวิหารหลวงยกอาสน์สำหรับให้พระสงฆ์นั่ง 200 รูป ส่วนวัดต่าง ๆ ที่จะเสด็จประพาสรวมถึงกำแพงเมืองซึ่งมีหญ้ารกรุงรังอยู่นั้น ก็ให้มีการแผ้วถางโดยมีหลวงพิศาลอักษรกิจ นายอำเภอช่างเคิ่ง (แม่แจ่ม) เป็นเจ้าหน้าที่ ส่วนการทำถนนไปวัดเจ็ดยอด และวัดกู่เต้านั้น ก็ให้มีการแผ้วถางบริเวณข่วงสิงห์ ข่วงช้างเผือกตลอดจนปรับปรุงถนนห้วยแก้ว โดยมีเจ้าราชสัมพันธ์ นายอำเภอบ้านแม (สันป่าตอง) กับนายสนิท เจตนานนท์เป็นเจ้าหน้าที่ ในการทำถนนแยกจากถนนลำพูนไปยังโรงพยาบาลโรคเรื้อนแมคเคน มีนายอั๋น เขียนอาภรณ์ ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอสารภีเป็นเจ้าหน้าที่ ส่วนการแต่งพื้นที่บริเวณศาลารัฐบาล บริเวณโรงช้าง และโรงเรียนตัวอย่าง (โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย) มีนายแดง ลิลิต นายอำเภอสะเมิง เป็นเจ้าหน้าที่
ที่มา : จดหมายเหตุเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและเจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือ พุทธศักราช ๒๔๖๙
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2435 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
- พ.ศ. 2436 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
- พ.ศ. 2443 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[17]
- พ.ศ. 2449 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[18]
- พ.ศ. 2451 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[19]
- พ.ศ. 2454 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[20]
- พ.ศ. 2460 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2461 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2467 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[21]
- พ.ศ. 2469 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[22]
เหรียญราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน ทรงได้รับพระราชทานเหรียญราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ ดังนี้
พ.ศ. 2436 เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)
สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม[แก้]
พงศาวลี[แก้]
พงศาวลีของเจ้ามหาพรหมสุรธาดา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑๐ เรื่อง ราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครน่าน ให้แต่งไว้สำหรับบ้านเมือง
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, เสด็จออกแขกเมืองประเทศราช เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๓
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองจังหวัดน่านแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรเจ้าผู้ครองนคร เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานยศแก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๘
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า (กองเสนาน้อยรักษาดินแดนมหาราษฎร์)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกรมราชองครักษ์ เรื่อง .. ตั้งราชองครักษ์พิเศษ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจานุเบกษา,ข่าวถึงพิราลัย เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ตอนที่ 35 เล่ม 23, 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 125, หน้า 893
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ "ดามหัศดินทร" อาภรณ์สำหรับช้างต้นคู่พระบารมี[ลิงก์เสีย]
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เจ้าอุปราชให้เงิน ๙,๐๐๐ บาทสำหรับซื้อเครื่องบิน
- ↑ พิธีทูลพระขวัญ รับเสด็จ ร.7 ประพาสเมืองเชียงใหม่
- ↑ ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (ฝ่ายหน้า) เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔ เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญฝ่ายหน้า เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙
ก่อนหน้า | เจ้ามหาพรหมสุรธาดา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช | ![]() |
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 และองค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ (พ.ศ. 2462 - พ.ศ. 2474) |
![]() |
ยกเลิกตำแหน่ง ผู้สืบตระกูล: เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2389
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2474
- เจ้าผู้ครองนครน่าน
- ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
- ราชโอรสในเจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือ
- เจ้าอุปราช
- เจ้าราชวงศ์
- เจ้าราชบุตร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.3
- ราชองครักษ์พิเศษ
- สมาชิกกองเสือป่า
- สกุล ณ น่าน
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์