รายการธงในสหราชอาณาจักร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความหน้านี้คือรายการเกี่ยวกับธงต่าง ๆ ที่เคยใช้และยังใช้อยู่ในสหราชอาณาจักร และในดินแดนภายใต้อาณัติ สำหรับการใช้ศักราชในบทความนี้ใช้ปีคริสต์ศักราช เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงถึงประวัติศาสตร์สากลเป็นหลัก

ธงชาติในปัจจุบัน[แก้]

ธงชาติและต่ำกว่าชาติในสหราชอาณาจักร[1]

สหราชอาณาจักร[แก้]

ภาพ ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย สถานภาพ
ค.ศ. 1801 - ปัจจุบัน (ไอร์แลนด์เหนืออย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ ค.ศ. 1972 - ปัจจุบัน) ธงชาติสหราชอาณาจักร ชื่อทางการ: ธงสหภาพ (Union Flag) เรียกกันทั่วไปว่า ธงยูเนี่ยนแจ็ค ธงรูปแบบผสมกัน ระหว่างธงกางเขนแห่งนักบุญจอร์จ (หมายถึง อังกฤษ) ธงกางเขนแห่งนักบุญแอนดรูว์ (หมายถึง สกอตแลนด์) และธงกางเขนแห่งนักบุญแพทริก (หมายถึง ไอร์แลนด์) ธงชาติในทางราชการ

ประเทศของสหราชอาณาจักร[แก้]

ภาพ ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย สถานภาพ
ประมาณ ค.ศ. 900 - ธงชาติอังกฤษ หรือ ธงกางเขนแห่งนักบุญจอร์จ ธงกางเขนสีแดงบนพื้นสีขาว ธงชาติโดยพฤตินัย ใช้กันทั่วไปในคริสตจักรแห่งอังกฤษ
ประมาณ ค.ศ. 1286 - ธงชาติสกอตแลนด์ เรียกกันทั่วไปว่า ธงกางเขนแห่งนักบุญแอนดรูว์ หรือธงกากบาททแยง ("Saltire") ธงพื้นสีน้ำเงิน มีรูปกากบาทแนวทแยงมุมสีขาว ธงชาติสำหรับหน่วยงานราชการและรัฐสภาของสกอตแลนด์
ตั้งแต่ ค.ศ. 1972

โดยใช้ธงชาติสหราชอาณาจักร

ไอร์แลนด์เหนือไม่มีธงซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการหรือทั่วกัน ธงรูปแบบผสมกัน ระหว่างธงกางเขนแห่งนักบุญจอร์จ (หมายถึง อังกฤษ) ธงกางเขนแห่งนักบุญแอนดรูว์ (หมายถึง สกอตแลนด์) และธงกางเขนแห่งนักบุญแพทริก (หมายถึง ไอร์แลนด์) ในปัจจุบันองค์กรกีฬานานาชาติหลายแห่ง ยังคงถือว่า

ธงอูลส์เตอร์เป็นธงชาติไอร์แลนด์เหนือ เช่น ฟีฟ่า,[2] ยูฟ่า [3]และสหพันธ์กีฬาเครือจักรภพ [4] เป็นต้น

ค.ศ. 1959 - ธงชาติเวลส์ เรียกกันทั่วไปว่า ธงมังกรแดง (Y Ddraig Goch) ธงรูปมังกรสีแดงบนพื้นสีขาวและสีเขียว ธงชาติโดยพฤตินัย ใช้ในหน่วยงานราชการและรัฐสภาของเวลส์

ธงแสดงสัญชาติ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ค.ศ. 1801 - ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงินใช้ในหน่วยงานของรัฐบางแห่ง หรือในดินแดนภายใต้อาณัติของสหราชอาณาจักร ธงพื้นสีน้ำเงิน ที่มุมธงด้านคันธงมีธงสหภาพ
ตั้งแต่ ค.ศ. 1864 ธงแสดงสัญชาติราชการ (เดิมชื่อ ธงแสดงสัญชาติขนส่งหรือกระทรวงกองทัพเรือ) ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงินมีสมอเรือสีเหลืองในแนวราบ
ค.ศ. 1801 - ธงแสดงสัญชาติสีแดง ใช้ในพาณิชย์นาวี ธงพื้นสีแดง ที่มุมธงด้านคันธงมีธงสหภาพ
ค.ศ. 1801 ธงแสดงสัญชาติสีขาว (ธงราชนาวี : "White Ensign") ใช้สำหรับหน่วยงานของราชนาวี (Royal Navy) และ เรือหลวง (เรือที่มีชื่อขึ้นต้นว่า HMS)
ธงนำร่อง (ซีวิลแจ็ก) ธงสหภาพมีขอบสีขาว
ตั้งแต่ ค.ศ. 1931 ธงแสดงสัญชาติการบินพลเรือน ใช้โดยอากาศยานพลเรือนและที่ท่าอากาศยานพลเรือน กากบาทสีน้ำเงินขาวบนพื้นสีฟ้า และมีธงยูเนียนแจ็ก
ค.ศ. 1921 - ธงเหล่าป้องกันพลเรือน ธงสีน้ำเงินและเหลือง ด้านปลายธงมีรูปมงกุฎราชินีอยู่ใต้ตัวอักษรย่อสีเหลืองว่า CD.
ค.ศ. 1921 - ธงสมาคมทหารผ่านศึกอังกฤษ (Royal British Legion) ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน มีแถบสีเหลืองพาดตามยาวที่กลางธงและชื่อของเหล่าทัพ

ธงราชการทหาร[แก้]

กระทรวงกลาโหม[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ค.ศ. 1801 - ธงชาติสหราชอาณาจักร ใช้ในกองทัพสหราชอาณาจักร ลักษณะอย่างเดียวกับธงข้างด้น แต่ธงนี้ในสัดส่วนกว้างยาวที่ 3:5[ต้องการอ้างอิง]
ค.ศ. 1801 - ธงชัยเฉลิมพลสหราชอาณาจักร ใช้ในกองทัพสหราชอาณาจักร ลักษณะอย่างเดียวกับธงข้างด้น แต่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส สัดส่วนกว้างยาวที่ 1:1 มีชายครุยสีทองคริบทั้ง3ด้าน ยกเว้นด้านคันธง
ค.ศ. 1957 - ธงประจำกระทรวงกลาโหม (Ministry of Defence) ธงแถบแนวตั้งสามสี พื้นสีน้ำเงิน-ฟ้า-แดง กลางธงมีตรากรมเสนาธิการทหาร
ค.ศ. 1956 - ธงกองทัพ (Joint Service) ธงแถบแนวตั้งสามสี พื้นสีน้ำเงิน-ฟ้า-แดง กลางธงมีตรากรมเสนาธิการทหารแบบสีดำ
ธงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ธงแถบตามยาวสามสี พื้นสีน้ำเงิน-ฟ้า-แดง กลางธงมีตราสิงโตเหยียบมงกุฎ
ค.ศ. 1965 - ธงเสนาธิการกลาโหม ธงแถบตามยาวสามสี พื้นสีน้ำเงิน-ฟ้า-แดง มุมบนคันธงมีธงสหภาพ ที่ปลายธงมีตราเสนาธิการกลาโหม.

กองทัพเรือ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ค.ศ. 1801 ธงแสดงสัญชาติสีขาว มักใช้กับเรือที่มีชื่อว่า "เรือหลวง" (HMS) และ กองเรือยอตช์
ธงแสดงสัญชาติกองเรือช่วยรบ (Royal Fleet Auxiliary) ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน มีรูปสมอสีเหลืองในแนวตั้งที่ด้านปลายธง
ค.ศ. 1974 – 2008 ธงราชการช่วยรบทางทะเล (Royal Maritime Auxiliary Service) ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน มีรูปสมอสีเหลืองในแนวนอนบนเส้นโค้งสีเหลือง2แถบที่ด้านปลายธง
ธงแสดงสัญชาติโรงเรียนนายเรือ พื้นธงลักษณะอย่างธงเรือรัฐบาล ตรงด้านปลายธงมีตราของโรงเรียนนายเรือสหราชอาณาจักร (Sea Cadet Corps)
ธงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกองทัพเรือ (Lord High Admiral of the United Kingdom) ธงพื้นสีแดงเข้ม กลางมีรูปสมอสีเหลืองวางในแนวนอน
ธงประจำเหล่านาวิกโยธิน ธงพื้นสีนำเงิน มีแถบขนาดเล็ก3แถบ เหลือง-เขียว-แดงพาดตามยาว กลางธงมีตราราชการนาวิกโยธินสหราชอาณาจักร.
ธงผู้บัญชาการนาวิกโยธินสหราชอาณาจักร ธงพื้นสีนำเงิน กลางธงมีตราสิงโตเหยียบมงกุฎเหนือสมอเรือสีทอง.

กองทัพบก[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ธงประจำกองทัพบกสหราชอาณาจักร (Royal Army) ในพิธีที่ไม่เป็นทางการ ธงพื้นสีแดง มีตราราชการกองทัพบกสหราชอาณาจักร
ค.ศ. 1838 ธงแสดงสัญชาติทหารช่าง ธงแสดงสัญชาติรัฐบาลสีน้ำเงิน ที่ฝั่งปลายธงมีรูปตราเครื่องหมายของเหล่าทหารช่าง
ธงแสดงสัญชาติเหล่าส่งกำลังบำรุง สำหรับใช้บนเรือที่มีนายทหารสัญญาบัตรบังคับบัญชา ธงแสดงสัญชาติรัฐบาลสีน้ำเงิน มีตรากองทัพบกอังกฤษรูปมงกุฎและสิงโตอยู่หน้าดาบไขว้
ธงแสดงสัญชาติเหล่าส่งกำลังบำรุง สำหรับใช้บนเรือที่มีนายทหารประทวนบังคับบัญชา ธงแสดงสัญชาติรัฐบาลสีน้ำเงิน มีดาบไขว้กองทัพบกอังกฤษ

กองทัพอากาศ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ค.ศ. 1921 ธงแสดงสัญชาติกองทัพอากาศ ธงพื้นสีฟ้าอ่อน มีธงสหภาพที่มุมบนด้านคันธง ตรงด้านปลายธงมีตราวงกลมสีธงชาติ (roundel) ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
ค.ศ. 1965 ธงแสดงสัญชาติโรงเรียนนายเรืออากาศ (Royal Air Training Corps) ธงพื้นสีฟ้าอ่อน มีธงสหภาพที่มุมบนด้านคันธง ตรงด้านปลายธงมีตราของโรงเรียนนายเรืออากาศสหราชอาณาจักร
ค.ศ. 1941 - 1996 ธงแสดงสัญชาติทหารตรวจการณ์ (Royal Observer Corps) ธงพื้นสีฟ้าอ่อน มีธงสหภาพที่มุมบนด้านคันธง ตรงด้านปลายธงมีตราของกองกำลังป้องกันทางอากาศ.

ธงราชการ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ธงแสดงสัญชาติกรมสรรพากร ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน ที่ด้านปลายธงมีตราประจำกรม
ค.ศ. 2008 ธงแสดงสัญชาติหน่วยพิทักษ์ชายแดน (UK Border Agency) ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน ที่ด้านปลายธงมีตราประจำหน่วยงาน
ธงหน่วยยามฝั่ง (Her Majesty's Coastguard) ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน ที่ด้านปลายธงมีตราประจำหน่วยรักษาฝั่ง
ธงองค์การคุ้มครองการประมงสก็อต (Scottish Fisheries Protection Agency) ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน ที่ด้านปลายธงมีตราประจำหน่วยงาน
ธงคณะผู้รักษาประภาคารเขตเหนือ (Commissioners of the Northern Lights) ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน มีรูปประภาคารสีขาวที่ด้านปลายธง
ธงประธานคณะผู้รักษาประภาคารเขตเหนือ (Northern Lighthouse Board Commissioners Flag) ธงพื้นสีขาว ที่ด้านคันธงมีธงชาติสหราชอาณาจักร ก่อน พ.ศ. 2344 ส่วนปลายธงนั้นมีรูปประภาคารสีน้ำเงิน ธงนี้เป็นธงเดียวมีมีธงชาติยุคก่อน พ.ศ. 2344 ประกอบอยู่ในธง[5]
ธงทรินิตีเฮาส์ ธงแสดงสัญชาติสีแดง ที่ด้านปลายธงนั้นมีธงฉานอย่างย่อของสมาคมสมาคมสโมสรแห่งชาติ
ธงตำรวจนครบาล ธงพื้นสีน้ำเงินขอบสีขาว กลางธงมีตรากองบัญชาการตำรวจนครบาล

ธงพระอิสริยยศ[แก้]

ธงประจำพระองค์สำหรับสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3[แก้]

ภาพธง การใช้ คำอธิบาย
ค.ศ. 1837 – ปัจจุบัน ธงประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 สำหรับใช้ในอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ (ธงนี้เป็นธงพระอิสริยยศสำหรับพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล)
ค.ศ. 1837 – ปัจจุบัน ธงประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 สำหรับใช้ในสกอตแลนด์ (ธงนี้เป็นธงพระอิสริยยศสำหรับพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล)

ธงประจำพระองค์สำหรับเจ้าชายแห่งเวลส์[แก้]

ภาพธง การใช้ ระยะเวลา คำอธิบาย
ธงประจำพระองค์เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ ค.ศ.1917 – ปัจจุบัน ธงประจำพระองค์เจ้าชายแห่งเวลส์ มีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ตรงกลางเป็นตราอาร์มประจำพระเจ้าละเวลินมหาราชทั้งสี่ด้าน ที่หนึ่งและสี่มีสิงโตแดงบนผืนทองคำ และที่สองและสามมีสิงโตทองบนผืนสีแดง สวมพระจุลมงกุฎเจ้าชายแห่งเวลส์
ธงประจำพระองค์เจ้าชายแห่งเวลส์ ในฐานะดยุกแห่งคอร์นวอลล์
ธงประจำพระองค์เจ้าชายแห่งเวลส์ ในฐานะดยุกแห่งรอธซี
ค.ศ. 1974 – ปัจจุบัน ธงประจำพระองค์เจ้าชายแห่งเวลส์ ในฐานะเจ้าชายและจอมทัพแห่งสกอตแลนด์ และลอร์ดแห่งหมู่เกาะไอเอิลส์
ค.ศ. 1962 – ปัจจุบัน ธงประจำพระองค์เจ้าชายแห่งเวลส์ สำหรับใช้ในเวลส์

ธงประจำพระองค์เจ้าชายแห่งเวลส์ในอดีต[แก้]

ภาพธง การใช้ ระยะเวลา คำอธิบาย
ธงประจำพระองค์เจ้าชายอัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ ค.ศ. 1859 – ค.ศ. 1917 ธงประจำพระองค์เจ้าชายแห่งเวลส์ มีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ตรงกลางเป็นตราอาร์มประจำราชวงศ์แซกโซนี ธงประจำพระองค์เจ้าชายแห่งเวลส์ใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1859 จนถึง ค.ศ. 1917 ซึ่งขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงเปลี่ยนชื่อราชวงศ์จากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาเป็นราชวงศ์วินด์เซอร์ และทรงสละตำแหน่งของเยอรมันและการอ้างสิทธิ์ในการแสดงความรักชาติของอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่กำลังดำเนินอยู่
ธงประจำพระองค์เจ้าชายจอร์จ เจ้าชายแห่งเวลส์
ธงประจำพระองค์เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์

ธงประจำองค์พระบรมวงศานุวงศ์[แก้]

ภาพธง การใช้ คำอธิบาย
ธงประจำพระองค์เจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ชายตอนนอกสุดและชายตอนกลางมีรูปฝาหอยเชลล์สีแดง เป็นสัญลักษณ์หมายถึงไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ผู้เป็นพระราชมารดา
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ชายห้อยตอนกลางเป็นรูปสมอสีน้ำเงิน
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าหญิงเบียทริซ นางเอโดอาร์โด มาเปลลี มอซซี ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 5 ชาย ชายตอนนอกสุดและตอนกลางมีรูปผึ้งสีเหลือง
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าหญิงยูเชนี นางแจ็ก บรุกส์แบงก์ ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 5 ชาย ชายตอนนอกสุดและตอนกลางมีรูปดอกสก็อตทิสเซิล
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเอดินบะระ ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ชายห้อยตรงกลางมีรูปดอกกุหลาบแห่งทิวดอร์
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ชายห้อยตอนนอกทั้งสองเป็นรูปกางเขนสีแดง ตอนกลางเป็นรูปหัวใจสีแดง
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าชายริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 5 ชาย ภายในแต่ละชายมีรูปกางเขนสีแดง 3 รูป และสิงโตสีแดง 2 รูปเรียงสลับกัน
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์ ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 5 ชาย ภายในแต่ละชายมีรูปสมอสีน้ำเงิน 3 รูป และสมอสีแดง 2 รูปเรียงสลับกัน
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าชายไมเคิลแห่งเคนต์ ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 5 ชาย ภายในแต่ละชายมีรูปกางเขนสีแดง 3 รูป และสมอสีน้ำเงิน 2 รูปเรียงสลับกัน
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าหญิงอเล็กซานดรา เลดีโอกิลวี ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 5 ชาย ชายนอกสุดทั้งสองมีรูปหัวใจสีแดง ชายที่ 2 และ 4 มีรูปสมอสีน้ำเงิน ชายห้อยตอนกลางเป็นรูปกางเขนสีแดง
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์สมาชิกพระราชวงศ์พระองค์อื่น ใช้กับสมาชิกพระราชวงศ์ที่ไม่มีธงประจำพระองค์เป็นของพระองค์เอง
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์

ธงประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีและเจ้าชายพระราชสวามี[แก้]

ภาพธง การใช้ คำอธิบาย
ธงประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีคามิลลา ธงลายตราประจำพระองค์ประกอบด้วยตราอาร์มของพระบิดา พันตรีบรูซ แชนด์
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ ธงลายตราประจำพระองค์ ช่องซ้ายบนหมายถึงประเทศเดนมาร์ก ช่องขวาบนหมายถึงราชวงศ์กรีซ ช่องซ้ายล่างหมายถึงตระกูลเมานต์แบ็ตเทน ช่องขวาล่างคือตราประจำกรุงเอดินบะระ เมืองหลวงประจำแคว้นสกอตแลนด์
ธงลายตราประจำพระองค์ประกอบด้วยตราประจำพระองค์เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งเอดินบะระ
ธงประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ ธงลายตราประจำพระองค์ประกอบด้วยตราอาร์มของพระบิดา โคลด โบวส์-ลีออน เอิร์ลที่ 14 แห่งสแตรธมอร์และคิงฮอร์น
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีแมรี ธงลายตราประจำพระองค์ประกอบด้วยตราอาร์มของพระบิดา เจ้าชายฟรานซิส ดยุกแห่งเท็ก แบ่งเป็นสี่ส่วนประกอบด้วยตราอาร์มประจำราชวงศ์ฮันโนเวอร์ตามที่พระอัยกาของสมเด็จพระราชินี เจ้าชายอดอลฟัส ดยุกแห่งเคมบริดจ์ทรงเคยใช้
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา ธงลายตราประจำพระองค์ประกอบด้วยตราอาร์มประจำพระราชวงศ์เดนมาร์ก
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี ธงลายตราประจำพระองค์มีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย (ชายห้อยตรงกลางมีรูปธงนักบุญเซนต์จอร์จ) แบ่งเป็นสี่ส่วนประกอบด้วยตราอาร์มแห่งรัฐซัคเซิน
ธงประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีแอดิเลด ธงลายตราประจำพระองค์ที่ใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1816 จนถึง ค.ศ. 1837 ประกอบด้วยตราอาร์มของพระบิดา ดยุกเกออร์กที่ 1 แห่งซัคเซิน-ไมนิงเงิน
ธงประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีแคโรไลน์ ธงลายตราประจำพระองค์ที่ใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1816 จนถึง ค.ศ. 1837 ประกอบด้วยตราอาร์มของพระบิดา เจ้าชายชาร์ล วิลเลียม เฟอร์ดินานด์ ดยุกแห่งบรันสวิก
ธงประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีชาร์ลอตต์ ธงลายตราประจำพระองค์ที่ใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1816 จนถึง ค.ศ. 1837 ประกอบด้วยตราอาร์มของพระบิดา ดยุกชาร์ล หลุยส์ เฟรเดอริกแห่งเมคเลนบูร์ก-สเตรลิทซ์
ธงลายตราประจำพระองค์ที่ใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1801 จนถึง ค.ศ. 1816 ประกอบด้วยตราอาร์มของพระบิดา ดยุกชาร์ล หลุยส์ เฟรเดอริกแห่งเมคเลนบูร์ก-สเตรลิทซ์
ธงลายตราประจำพระองค์ที่ใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1714 จนถึง ค.ศ. 1801 ประกอบด้วยตราอาร์มของพระบิดา ดยุกชาร์ล หลุยส์ เฟรเดอริกแห่งเมคเลนบูร์ก-สเตรลิทซ์
ธงประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีแคโรไลน์ ธงลายตราประจำพระองค์ที่ใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1714 จนถึง ค.ศ. 1801 ประกอบด้วยตราอาร์มของพระบิดา เจ้าชายจอห์น เฟรเดอริก มาร์กราฟแห่งบรันเดินบวร์ค-อันส์บัค

ธงประจำพระองค์พระบรมวงศานุวงศ์ในอดีต[แก้]

ภาพธง การใช้ คำอธิบาย
ธงประจำพระองค์เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์ ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ชายตอนกลางมีรูปฝาหอยเชลล์สีแดง เป็นสัญลักษณ์หมายถึงไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ผู้เป็นพระราชมารดา
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งเอดินบะระ ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ชายตอนนอกสุดมีรูปธงนักบุญเซนต์จอร์จและตอนกลางมีรูปดอกกุหลาบทิวดอร์
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ชายตอนนอกสุดมีรูปดอกกุหลาบทิวดอร์และตอนกลางมีรูปดอกสก็อตทิสเซิล
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าชายอัลเบิร์ต ดยุกแห่งยอร์ก ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ชายห้อยตอนกลางเป็นรูปสมอสีน้ำเงิน
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารี ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ชายตอนนอกและชายตอนกลางเป็นรูปธงนักบุญเซนต์จอร์จ
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งกลอสเตอร์ ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ภายในแต่ละชายมีรูปกางเขนสีแดง 2 รูป และสิงโตสีแดง 1 รูป
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์ ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ชายตอนนอกและชายตอนกลางเป็นรูปสมอสีน้ำเงิน
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าหญิงอลิซ เคาน์เตสแห่งแอธโลน ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 5 ชาย ภายในแต่ละชาย ชายที่ 1,2,4 และ 5 มีรูปหัวใจ และชายตอนกลางเป็นรูปธงนักบุญเซนต์จอร์จ
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งวินด์เซอร์ ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ชายตอนกลางมีรูปพระมหามงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด
ธงประจำพระองค์เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อตและสแตรธเอิร์น ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ชายตอนนอกสุดมีรูปตราสัญลักษณ์ดอกลิลลีและตอนกลางมีรูปธงนักบุญเซนต์จอร์จ ตรงกลางเป็นตราอาร์มประจำราชวงศ์แซกโซนี
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 3 ชาย ชายตอนนอกสุดมีรูปตราสัญลักษณ์ดอกลิลลีและตอนกลางมีรูปธงนักบุญเซนต์จอร์จ
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงประจำพระองค์เจ้าชายอาร์เธอร์แห่งคอนน็อต ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 5 ชาย ภายในแต่ละชายมีรูปธงนักบุญเซนต์จอร์จ 3 รูป และรูปตราสัญลักษณ์ดอกลิลลี 2 รูปเรียงสลับกัน ตรงกลางเป็นตราอาร์มประจำราชวงศ์แซกโซนี
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์
ธงลายตราประจำพระองค์ ลักษณะพื้นเป็นธงลายตราอาร์มแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตอนบนของธงมีแถบยาวสีขาวมีชายห้อย 5 ชาย ภายในแต่ละชายมีรูปธงนักบุญเซนต์จอร์จ 3 รูป และรูปตราสัญลักษณ์ดอกลิลลี 2 รูปเรียงสลับกัน
ใช้ในประเทศสกอตแลนด์

ธงประจำพระอิสริยยศในอดีต[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ค.ศ. 1198 – ค.ศ. 1340 ธงประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ สิงโตทองสามตัวที่มีลิ้นและกรงเล็บสีน้ำเงิน เดินและหันหน้าเข้าหาผู้สังเกตการณ์ เรียงเป็นแถวบนพื้นหลังสีแดง อยู่ในส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สี่ของธงประจำพระอิสริยยศแห่งสหราชอาณาจักร
ค.ศ. 1340 – ค.ศ. 1395
ค.ศ. 1399 – ค.ศ. 1406
ธงประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ ตราประจำแผ่นดินของประเทศอังกฤษประกบกับธงประจำพระอิสริยยศแห่งฝรั่งเศส สัญลักษณ์ดอกลิลลีเป็นตัวแทนของประเทศอังกฤษที่อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส
ค.ศ. 1395 – ค.ศ. 1399 ธงประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ ตราประจำแผ่นดินของประเทศอังกฤษประกบด้วยตราอาร์มประจำพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี
ค.ศ. 1406 – ค.ศ. 1422
ค.ศ. 1461 – ค.ศ. 1470
ค.ศ. 1471 – ค.ศ. 1554
ค.ศ. 1558 – ค.ศ. 1603
ธงประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษ ธงประจำพระอิสริยยศแห่งฝรั่งเศสมีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ตราสัญลักษณ์ดอกลิลลี 3 ดอก
ค.ศ. 1422 – ค.ศ. 1461
ค.ศ. 1470 – ค.ศ. 1471
ธงประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ ตราประจำแผ่นดินฝรั่งเศสประกบด้วยตราประจำแผ่นดินอังกฤษ
ค.ศ. 1554 – ค.ศ. 1558 ธงประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ตราประจำแผ่นดินฮับส์บวร์กแห่งสเปนประกบกับตราประจำแผ่นดินอังกฤษ
ค.ศ. 1603 – ค.ศ. 1689
ค.ศ. 1702 – ค.ศ. 1707
ธงประจำพระราชวงศ์สทิวเวิร์ด ใช้ครั้งแรกในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ธงประจำพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สี่เป็นตัวแทนของประเทศอังกฤษและประเทศอังกฤษอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ส่วนที่สองเป็นตัวแทนของราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ส่วนที่สามเป็นตัวแทนของราชอาณาจักรไอร์แลนด์
ค.ศ. 1689 – ค.ศ. 1694 ธงประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 และสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ธงประจำพระองค์ร่วมของสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 และสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยตราประจำแผ่นดินของอังกฤษซึ่งตรงกลางมีตราประจำราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา (แทนสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3) ประกบด้วยตราประจำแผ่นดินของอังกฤษซึ่งไม่มีตราประจำราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซาอยู่กึ่งกลาง (แทนสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2)
ค.ศ. 1694 – ค.ศ. 1702 ธงประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ธงประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สี่เป็นตัวแทนของประเทศอังกฤษและประเทศอังกฤษอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ส่วนที่สองเป็นตัวแทนของราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ส่วนที่สามเป็นตัวแทนของราชอาณาจักรไอร์แลนด์ พร้อมด้วยตราประจำราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา
ค.ศ. 1707 – ค.ศ. 1714 ธงประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ธงประจำสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สี่แสดงถึงแคว้นอังกฤษและแคว้นสกอตแลนด์ (ที่เพิ่งรวมเป็นหนึ่งเดียว) ส่วนที่สองแสดงถึงการอ้างสิทธิ์ของอังกฤษในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ส่วนที่สามเป็นตัวแทนของราชอาณาจักรไอร์แลนด์
ค.ศ. 1714 – ค.ศ. 1801 ธงประจำพระราชวงศ์ฮันโนเวอร์ ใช้ครั้งแรกในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ ธงประจำพระอิสริยยศแห่งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ส่วนที่หนึ่งเป็นตัวแทนของแคว้นอังกฤษและแคว้นสกอตแลนด์ ส่วนที่สองแสดงถึงการอ้างสิทธิ์ของอังกฤษในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ส่วนที่สามแสดงถึงราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ส่วนที่สี่แสดงถึงราชรัฐผู้คัดเลือกฮันโนเฟอร์
ค.ศ. 1801 – ค.ศ. 1816 ธงประจำพระราชวงศ์ฮันโนเวอร์ ใช้ครั้งแรกในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ธงประจำพระพระองค์ใช้ครั้งแรกในการรวมสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1801 ส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สี่แทนแคว้นอังกฤษและแคว้นเวลส์ ส่วนที่สองแทนแคว้นสกอตแลนด์ ส่วนที่สามแทนแคว้นไอร์แลนด์, โดยมีตราประจำราชรัฐผู้คัดเลือกฮันโนเฟอร์อยู่ตรงกึ่งกลาง
ค.ศ. 1816 – ค.ศ. 1837 ธงประจำพระราชวงศ์ฮันโนเวอร์ ใช้ครั้งแรกในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ธงประจำพระอิสริยยศอย่างเป็นทางการภายหลังราชรัฐผู้คัดเลือกฮันโนเฟอร์กลายเป็นราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์

ธงศาสนจักร[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ธงมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ธงรูปตราอาร์มประจำราชวงศ์ทิวดอร์ อยู่ระหว่างเครื่องหมายกุหลาบแห่งทิวดอร์ (Tudor Rose) รูปเหล่านี้ อยู่เหนือตราประจำพระองค์พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 (Edward the Confessor)
ธงศาสนจักรแห่งสกอตแลนด์
ธงศาสนจักร​ใน​เวลส์ ธงพื้นสีขาวกางเขนสีน้ำเงิน กลางธงมีตรากางเขนเซลติก

ธงราชการทางการทูต[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ธงราชทูตแห่งสหราชอาณาจักร ธงยูเนี่ยนแจ็ค กลางธงมีเครื่องหมายตราแผ่นดินแห่งสหราชอาณาจักร
- ธงกงสุลแห่งสหราชอาณาจักร ธงยูเนี่ยนแจ็ค กลางธงมีเครื่องหมายรูปมงกุฎแห่งเอ็ดเวิร์ด
ธงใช้โดยข้าราชการกงสุลอังกฤษเมื่อลงเรือเล็ก; ธงแสดงที่หัวเรือ ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน ที่ปลายธงมีเครื่องหมายตราแผ่นดิน

ธงอาณานิคม[แก้]

หมู่เกาะเกิร์นซีย์[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ค.ศ. 1985 - ธงชาติเกิร์นซีย์ ธงพื้นสีขาว มีกางเขนสีทองซ้อนทับบนกางเขนสีแดงที่กลางธง
ค.ศ. 1985 - ธงแสดงสัญชาติพลเรือนเกิร์นซีย์ ธงแสดงสัญชาติสีแดงสหราชอาณาจักร มีกางเขนสีทอง ที่ด้านปลายธง
ค.ศ. 1985 - ธงแสดงสัญชาติรัฐเกิร์นซีย์ ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงินสหราชอาณาจักร มีกางเขนสีทอง ที่ด้านปลายธง

หมู่เกาะแชนแนล[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ค.ศ. 1993 - ธงชาติอัลเดิร์นนีย์ ธงกางเขนแห่งนักบุญจอร์จ กลางธงมีตราแผ่นดินของอัลเดิร์นนีย์
ธงชาติเฮิร์ม ธงกางเขนแห่งนักบุญจอร์จ ที่มุมธงเป็นช่องสี่เหลี่ยมพื้นสีน้ำเงินลายตราแผ่นดินของเฮิร์ม
ธงชาติซาร์ก ธงกางเขนแห่งนักบุญจอร์จ ที่มุมธงเป็นช่องสี่เหลี่ยมพื้นสีแดง มีรูปสิงโตสีทอง 2 ตัว

เจอร์ซีย์[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ค.ศ. 1981 - ธงชาติเจอร์ซีย์ ธงกากบาทแนวทแยงมุมสีแดงบนพื้นสีขาว เหนือกากบาทมีรูปตราแผ่นดินของเจอร์ซีย์
ค.ศ. 1985 - ธงแสดงสัญชาติพลเรือนเกิร์นซีย์ ธงแสดงสัญชาติสีแดงสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของเจอร์ซีย์ ที่ด้านปลายธง
ค.ศ. 1985 - ธงแสดงสัญชาติรัฐบาลเกิร์นซีย์ ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงินสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของเจอร์ซีย์ ที่ด้านปลายธง


เกาะแมน[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ค.ศ. 1226 - ธงชาติเกาะแมน ธงพื้นแดงมีตราเกราะขา 3 ขา (ตราแผ่นดินของเกาะแมน)
ธงแสดงสัญชาติพลเรือนเกาะแมน ธงแสดงสัญชาติสีแดงสหราชอาณาจักร มีตราเกราะขา 3 ขา ที่ด้านปลายธง

ธงอาณานิคมโพ้นทะเล[แก้]

ในปี พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลางโหมของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผู้ดูแลกิจการดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ได้มีคำสั่งให้ปรับปรุงแบบธงสำหรับใช้ในทะเล สำหรับดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลเสียใหม่ โดยการยกรูปวงกลมสีขาวบรรจุภาพตราแผ่นดินสำหรับอาณานิคมออก ให้เหลือเพียงรูปตราแผ่นดินที่ส่วนดังกล่าวเท่านั้น พร้อมทั้งปรับขนาดของตราให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม รัฐบางอาณานิคมท้องถิ่นยังคงมีอิสระที่จะเลือกใช้ธงชาติสำหรับอาณานิคมแบบเดิมได้เช่นกัน

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ธงชาติสหราชอาณาจักร สำหรับใช้ในอะโครติรีและเดเคเลีย และเกาะแอสเซนชัน ธงชาติสหราชอาณาจักร ใช้ในดินแดนภายใต้อาณัติของสหราชอาณาจักรที่ไม่มีธงชาติของตนเอง
ค.ศ. 1990 - ธงชาติแองกวิลา ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของแองกวิลา
ค.ศ. 1910 - ธงชาติเบอร์มิวดา ธงเรือเอกชนสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของเบอร์มิวดา
ค.ศ. 1963 - ธงชาติบริติชแอนตาร์กติกเทอร์ริทอรี ธงพื้นสีขาว มีธงสหภาพอยู่ที่มุมธงด้านคันธง ที่ปลายธงมีภาพตราแผ่นดินของบริติชแอนตาร์กติกเทอร์ริทอรี
ค.ศ. 1990- ธงชาติบริติชอินเดียนโอเชียนเทอร์ริทอรี ธงพื้นลายคลื่นสีน้ำเงินสลับขาว มีธงสหภาพอยู่ที่มุมธงด้านคันธง ที่ปลายธงมีภาพตราแผ่นดินของบริติชอินเดียนโอเชียนเทอร์ริทอรี
ค.ศ. 1960 - ธงชาติหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน
ค.ศ. 1999 - ธงชาติหมู่เกาะเคย์แมน ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของหมู่เกาะเคย์แมน
ค.ศ. 1999 - ธงชาติหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์
ค.ศ. 1982 - ธงชาติยิบรอลตาร์ ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบ่งเป็น 2 แถบตามแนวนอน โดยแถบบนเป็นสีขาว กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทสามยอดสีแดง แถบล่างมีสีแดง กว้าง 1 ส่วน มีรูปกุญแจสีทอง
ค.ศ. 1999 - ธงชาติมอนต์เซอร์รัต ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของมอนต์เซอร์รัต
ค.ศ. 1984 - ธงชาติหมู่เกาะพิตแคร์น ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของหมู่เกาะพิตแคร์น
ค.ศ. 1984 - ธงชาติเซนต์เฮเลนา ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของเซนต์เฮเลนา
ค.ศ. 1985 - ธงชาติจอร์เจียใต้และหมู่เกาะแซนด์วิชใต้ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของจอร์เจียใต้และหมู่เกาะแซนด์วิชใต้
ค.ศ. 2001 - ธงชาติทริสตันดาคูนา ดินแดนในอาณัติของเซนต์เฮเลนา ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของทริสตันดาคูนา
ค.ศ. 1968 - ธงชาติหมู่เกาะเติร์กและเคคอส ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของหมู่เกาะเติร์กและเคคอส

ธงผู้ว่าราชการอาณานิคม[แก้]

ลักษณะโดยรวมของธงประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร (ยกเว้นบริติชอินเดียนโอเชียนเทอร์ริทอรี) เป็นรูปธงชาติ (ธงสหภาพ) ที่ใจกลางธงมีเครื่องหมายตราแผ่นดินของที่แดนที่ผู้นั้นปกครองอยู่ ซึ่งก่อนหน้าปี ค.ศ. 1999 ตราแผ่นดินของอาณานิคมที่ใจกลางธงนี้มีขนาดเล็กกว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ค.ศ. 1990 - ธงประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการแองกวิลา
ธงประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการเบอร์มิวดา
ค.ศ. 1962 - ธงประจำตำแหน่งผู้ตรวจการแห่งบริติชแอนตาร์กติกเทอร์ริทอรี
ค.ศ. 1990 - ธงประจำตำแหน่งผู้ตรวจการแห่งบริติชโอเชียนเทอร์ริทอรี ใช้ธงลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติประจำดินแดนอาณานิคมแห่งนี้
ค.ศ. 1971 - ธงประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน
ค.ศ. 1971 - ธงประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการหมู่เกาะเคย์แมน
ค.ศ. 1948 - ธงประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการหมู่เกาะฟอล์กแลนด์
ธงประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการยิบรอลตาร์
ธงประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการมอนเซอร์รัต
ธงประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการหมู่เกาะพิตแคร์น
ธงประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการเซนต์เฮเลนา
ค.ศ. 1999 ธงประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการจอร์เจียใต้และหมู่เกาะแซนด์วิชใต้
ค.ศ. 2002 - ธงประจำตำแหน่งผู้บริหารดินแดนทริสตันดาคูนา
ธงประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการหมู่เกาะเติร์กและเคเคอส

ธงประจำเทศมณฑลและเมืองต่าง ๆ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
1951 ธงเทศมณฑลเบดฟอร์ดเชอร์ Red and gold quarters split horizontally by blue and white waves and vertically with a black band containing three white shells.

The red and gold quarters are from the arms of the Beauchamps, the leading family in the county after the Norman Conquest. The waves signify the River Ouse, and the shells are from the arms of the Russell Family, commemorating their services to the state and to the county.

ธงเทศมณฑลบักกิงแฮมเชอร์ ธงแถบแนวตั้งสีแดง-ดำ กลางธงมีตราห่านสีขาว
ศตวรรษที่ 12 ธงกางเขนแห่งไพแรน (ธงแห่งคอร์นวอลล์) ธงพื้นสีดำ กลางธงมีกางเขนสีขาว
2006- Flag of Derbyshire (unofficial) A green cross with a white border on a sky blue field, with a gold Tudor rose in the centre.
2003 Flag of Devon , St Petrock's flag A white cross with a black border on a green field.
Flag of the city of Durham. A red cross cross outlined in white on a black field.
ธงเทศมณฑลเอสเซ็กซ์
ธงเทศมณฑลHampshire
Flag of Kent A red field with a white horse in the centre.
2005- Flag of Lincolnshire (unofficial) A red cross with yellow trimming on a blue and green field, and a yellow fleur de lys in the middle of the cross.
ธงนครลอนดอน ธงกางเขนเซนต์จอร์จ มุมบนคันธงมีรูปดาบสีแดง
Flag of Mercia A gold saltire on a blue field (Cross of St Alban) ; the traditional flag of the Kingdom of Mercia, still flown on Tamworth Castle.
7th century (modern form 1951 Flag of Northumbria Eight yellow rectangles on a red field, note that the canton (top corner nearest the flagpole) should be gold.
2007- Flag of Orkney A blue Nordic cross outlined in yellow on a red field
1969- Flag of Shetland A white Nordic cross on a light blue field
ธงเทศมณฑลเวสเซกซ์ A gold wyvern on a red field.
1938 Flag of the Isle of Wight detail taken from the shield in island's Arms
ธงเทศมณฑลยอร์กเชอร์ ธงพื้นสีน้ำเงิน กลางธงมีรูปดอกกุหลาบ.

ธงอื่นๆ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ธงเรือคอร์นวอลล์ (Cornish Ensign) (ไม่เป็นทางการ) ธงพื้นสีดำ กลางธงมีกางเขนสีขาว ที่มุมธงด้านคันธงมีธงสหภาพ
ธงสถาบันเรือกู้ชีพแห่งชาติ (RNLI) ธงสีเหลี่ยมพื้นสีขาวมีกางเขนสีแดงขอบน้ำเงิน ในช่องสีขาวที่ถูกแบ่งออกแต่ละส่วนนั้มีอักษรย่อของหน่วยงาน ตรงกลางรูปกางเขนนั้นมีรูปสมอภายใต้มงกุฎ
ค.ศ. 2002 - ธงสหพันธ์กีฬาเครือจักรภพ (Commonwealth Games Federation)
ธงหน่วยพยาบาลเซนต์จอห์น (St John Ambulance Brigade)
ค.ศ. 1921 ธงนักบุญเดวิด (Flag of Saint David) ธงพื้นสีดำกางเขนสีทอง

ธงในอดีต[แก้]

ธงชาติ[แก้]

คำว่า "ธงเรือแดง" "ธงเรือขาว" และ "ธงเรือน้ำเงิน" ในที่นี้เป็นการแปลจากชื่อเดิมในภาษาอังกฤษ (Red Ensign, White Ensign, Blue Ensign) โดยตรง สำหรับหน้าที่การใช้ในปัจจุบันนั้น ธงเรือแดงใช้เป็นธงสำหรับเรือพลเรือนหรือกองเรือพาณิชยนาวี ธงเรือขาวใช้เป็นธงราชนาวี และธงเรือน้ำเงิน ใช้เป็นธงของหน่วยงานและเรือในราชการต่างๆ ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการออกแบบธงในประเทศต่างๆ ที่เคยเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรหลังได้รับเอกราช

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ค.ศ. 1606 - 1801 ธงชาติราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1707) ธงนี้คือธงสหภาพแบบแรกสุด เริ่มใช้ในราชอาณาจักรอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1606 และในราชอาณาจักรสกอตแลนด์เมื่อ ค.ศ. 1707 ลักษณะการผสมกันระหว่างธงชาติอังกฤษกับธงชาติสกอตแลนด์ โดยเอากากบาทจากธงชาติอังกฤษ มาซ้อนทับบนธงชาติสกอตแลนด์
ค.ศ. 1606 - 1707 ธงสหภาพแบบแรกสุด สำหรับใช้ในสกอตแลนด์ ธงสหภาพ ซึ่งใช้ในสกอตแลนด์ก่อน ค.ศ. 1707 นี้[ต้องการอ้างอิง] เป็นการเอารูปกากบาทของธงชาติสกอตแลนด์ มาซ้อนทับบนรูปกางเขนของธงชาติอังกฤษ
ค.ศ. 1783 - 1922 ธงกางเขนแห่งนักบุญแพทริก ธงพื้นขาวมีรูปกากบาทแนวทแยงสีแดง ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนประเทศไอร์แลนด์ในธงสหภาพ และเป็นสัญลักษณ์อย่างไม่เป็นทางการของไอร์แลนด์ นับตั้งแต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800 (Act of Union 1800) จนถึงการทำสนธิสัญญาอังกฤษ-ไอร์แลนด์ (Anglo-Irish Treaty) ใน ค.ศ. 1922
ค.ศ. 1620 - 1707 ธงเรือแดง (Red Ensign) ของอังกฤษ
ค.ศ. 1620 - 1707 ธงเรือขาว (White Ensign) หรือธงราชนาวีอังกฤษ
ค.ศ. 1620 - 1707 ธงเรือน้ำเงิน (Blue Ensign) ของอังกฤษ
- ค.ศ. 1707 ธงเรือแดงสกอตแลนด์ ใช้ในราชนาวีสกอตแลนด์ ธงพื้นแดง มีรูปธงชาติสกอตแลนด์ที่มุมธงบนด้านคันธง
ค.ศ. 1707 - 1801 ธงเรือแดงบริเตนใหญ่ (พาณิชยนาวี) ธงพื้นแดง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีภาพธงสหภาพยุคแรกสุด
ค.ศ. 1707 - 1801 ธงราชนาวีบริเตนใหญ่ (กองทัพเรือบริเตนใหญ่) ธงพื้นขาว ที่มุมธงบนด้านคันธงมีภาพธงสหภาพยุคแรกสุด
ค.ศ. 1707 - 1801 ธงเรือน้ำเงินบริเตนใหญ่ (เรือราชการของรัฐ) ธงพื้นน้ำเงิน ที่มุมธงบนด้านคันธงมีภาพธงสหภาพยุคแรกสุด
ค.ศ. 1649 - 1651 ธงเครือจักรภพแห่งอังกฤษ (Commonwealth of England) ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ครึ่งธงด้านคันธง เป็นรูปกางเขนแห่งนักบุญจอร์จของอังกฤษ ด้านปลายธงเป็นรูปพิณทองบนพื้นสีน้ำเงินของไอร์แลนด์
ค.ศ. 1651 - 1658 ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งสี่ส่วน ที่มุมธงบนด้านคันธงและมุมธงล่างด้านปลายธง เป็นรูปธงชาติอังกฤษ ส่วนที่เหลือแสดงภาพธงชาติสกอตแลนด์
ค.ศ. 1658 - 1660 ธงสหภาพในยุคของรัฐผู้พิทักษ์ (The Protetctorate) ธงสหภาพยุค ค.ศ. 1606 กลางธงมีโล่พื้นน้ำเงิน ภายในมีรูปพิณแห่งไอร์แลนด์สีทอง

ธงประจำดินแดนอาณานิคม[แก้]

Flag Date Use Description
ค.ศ. 1838–1967 ธงอาณานิคมเอเดน ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของอาณานิคมเอเดน
- ค.ศ. 1801 (แคนาดา)
- ค.ศ. 1776 (สหรัฐ - พฤตินัย)
- ค.ศ. 1783 (สหรัฐ - นิตินัย)
ธงเรือแดงบริเตนใหญ่
ธงอาณานิคมบริติชอเมริกา, ปัจจุบันนี้คือแคนาดา และ สหรัฐอเมริกา
ธงพื้นแดง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีภาพธงสหภาพยุคแรกสุด
ค.ศ. 1956-1962 ธงอาณานิคมแอนติกาและบาร์บูดา ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของแอนติกาและบาร์บูดา
ค.ศ. 1962-1967
ค.ศ. 1869-1904 ธงอาณานิคมบาฮามาส ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีรูปตราอาณานิคมภายในวงกลมสีขาว
ค.ศ. 1904-1923
ค.ศ. 1923–1953
ค.ศ. 1953-1964
ค.ศ. 1893-1907 ธงรัฐในอารักขาแอฟริกากลาง ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีรูปต้นกาแฟภายในวงกลมสีเหลือง-ขาว-ดำ
ค.ศ. 1885-1958 ธงอาณานิคมบาร์เบโดส ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของบาร์เบโดส
ค.ศ. 1958-1966
ค.ศ. 1951-1966 Flag of the Colony of Basutoland ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีBlue Ensign with an emblem of Basutoland
ค.ศ.1937–1948 ธงอาณานิคมพม่า ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีรูปนกยูง (กิงกะหล่า)
ค.ศ. 1922–1961 ธงอาณานิคมแคเมอรูน ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีรูปผลกล้วย โอบล้อมด้วยนามอาณานิคม ภายในวงกลมสีขาว
ค.ศ. 1903–1958 ธงชาติหมู่เกาะบริติชลีเวิร์ด ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร ที่ด้านปลายธงมีตราสหพันธรัฐ ภายในวงกลมสีขาว
ค.ศ. 1903–1958 ธงชาติหมู่เกาะบริติชวินเวิร์ด ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร ที่ด้านปลายธงมีตราสหพันธรัฐ ภายในวงกลมสีขาว




ค.ศ. 1868-1965 ธงเรือแดงอาณานิคมแคนาดา ธงเรือพลเรือนสหราชอาณาจักร มีภาพตราประจำอาณานิคม




ค.ศ. 1921-1965 ธงเรือน้ำเงินอาณานิคมแคนาดา ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราอาณานิคมแคนาดาใต้อยู่ที่ด้านปลายธง ใช้เป็นธงเรือราชการ และ ธงฉาน
ค.ศ. 1815-1948 ธงอาณานิคมซีลอน ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของอาณานิคมซีลอน
ค.ศ. 1981-1922 ธงอาณานิคมไซปรัส ธงเรือราชการสหราชอาณาจักร มีอักษรย่อ "CHC" อยู่ภายในวงกลมสีขาว
ค.ศ. 1922-1960 ธงเรือราชการสหราชอาณาจักร มีภาพสิงโตสีแดง2ตัว
ค.ศ.1955-1965 ธงอาณานิคมดอมินีกา ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของดอมินีกา
ค.ศ.1965-1978
ค.ศ. 1876-1925 ธงชาติหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ซ้อนบนวงกลมสีขาว
ค.ศ. 1925-1948
ค.ศ. 1948-1999
ค.ศ. 1877-1883 ธงชาติฟิจิ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีรูปตราแผ่นดินของฟิจิที่ด้านปลายธง (ธงเรือพลเรือน เริ่มบังคับใช้ ค.ศ. 1908)
ค.ศ. 1883-1908
ค.ศ. 1908-1924
ค.ศ. 1924-1970
ค.ศ. 1875-1921 ธงเรือราชการยิบรอลตาร์ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของยิบรอลตาร์ซ้อนบนวงกลมสีขาว
ค.ศ. 1967-1974 ธงชาติเกรเนดา ธงแถบแนวนอนสีฟ้า-เหลือง-เขียว กลางธงมีรูปลูกจันทน์เทศซ้อนบนวงรีสีขาวขอบทอง
ค.ศ. 1932-1976 ธงอาณานิคมหมู่เกาะกิลเบิรต์และเอลลิส ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของคิริบาส
ค.ศ. 1821-1957 ธงอาณานิคมโกลด์โคส ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินโกลด์โคสต์ เป็นรูปช้างแอฟริกัน เบื้องหลังเป็นรูปต้นไม้และภูเขา ใต้ตัวช้างมีอักษรย่อ "G.C."
ค.ศ. 1919-1954 ธงอาณานิคมกายอานา ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของกายอานา
ค.ศ. 1807-1890 ธงอาณานิคมเฮลิโกแลนด์ ธงชาติเฮลิโกแลนด์ มุมบนคันธงมีธงสหภาพ
ค.ศ. 1919-1981 ธงอาณานิคมบริติชฮอนดูรัส ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของเบลีซ
ค.ศ. 1870-1873 ธงอาณานิคมฮ่องกงของอังกฤษ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีอักษรย่อ "HK" ภายใต้มงกุฎ


ค.ศ. 1876-1941
1945 – 1959
ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของอาณานิคมฮ่องกง (ธงเรือพลเรือน เริ่มบังคับใช้ ค.ศ. 1910)


ค.ศ. 1959-1997


ค.ศ. 1858-1947 ธงบริติชราช ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร และ ธงเรือเอกชนสหราชอาณาจักร มีรูปดาราแห่งภารตะที่ด้านปลายธง
ค.ศ. 1815–1864 ธงหมู่เกาะไอโอเนียน ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักรขอบแดง มีรูปสิงโตมาร์กแห่งเวนิส (สัญลักษณ์ของสาธารณรัฐเวนีส)
ค.ศ. 1875–1906 ธงอาณานิคมจาเมกา ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีรูปตราอาณานิคมภายในวงกลมสีขาว
ค.ศ. 1906–1957
ค.ศ. 1957–1962
ค.ศ. 1962


ค.ศ. 1920-1963 ธงอาณานิคมเคนยา ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร ที่ด้านปลายธงมีรูปสิงโตสีแดงหันหน้าเข้าเสา ซึ่งใช้เป็นตราแผ่นดินของอาณานิคมเคนยา ส่วนธงเรือราชการนั้น ตราอาณานิคมภายในวงกลมสีขาว
ค.ศ. 1912-1946 ธงมกุฎราชอาณานิคมลาบวน. ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีรูปเรือเดินสมุทรที่ด้านปลายธง.
ค.ศ. 1946-1948 ธงของรัฐในสหพันธ์มลายู ธงแถบแนวนอนสีขาว-แดง-เหลือง-ดำ กลางธงมีรูปเสือเผ่นในวงรีสีขาว รัฐในสหพันธ์มลายู (Federated Malay States) ในที่นี้หมายถึงรัฐสุลต่านที่เข้าร่วมเป็นสหพันธ์เดียวกันภายใต้การอารักขาของสหราชอาณาจักร
ค.ศ. 1814-1875 ธงอาณานิคมมอลตา ธงเรือพาณิชย์สหราชอาณาจักรประกอบกางเขนสีขาวพาดซ้อนบนธง
ค.ศ. 1875-1898 ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร ที่ด้านปลายธงมีตราแผ่นดินของมอลตาในวงกลมสีขาว
ค.ศ. 1898-1923
ค.ศ. 1923-1943
ค.ศ. 1943-1964
ค.ศ. 1869-1906 ธงบริติชมอริเชียส ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร ที่ด้านปลายธงมีตราแผ่นดินของมอริเชียส (ธงเรือพลเรือน เริ่มบังคับใช้ ค.ศ. 1906)


ค.ศ. 1923-1968
ค.ศ. 1924-1959 ธงราชอาณาจักรเมโสโปเตเมียในอาณัติ ธงชาติราชอาณาจักรอิรัก
ค.ศ. 1824-1860 ธงมัสคีโทโคสท์ ธงแถบแนวนอนสีน้ำเงิน-ขาว อย่างละ 6 แถบ ธงแถบสีนมุมบนคันธงมีธงสหภาพ.
ค.ศ. 1870-1904 ธงอาณานิคมนิวฟันด์แลนด์ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีคำว่า" "Terra Nova" ภายใต้มงกุฎราชินีอยู่ภายในวงกลมสีขาว


ค.ศ. 1870-1931 (ธงเรือพลเรือน ใช้จนถึง ค.ศ. 1965) ธงอาณานิคมนิวฟันด์แลนด์ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร และ ธงเรือพลเรือนสหราชอาณาจักร มีรูปตราประจำอาณานิคมนิวฟันด์แลนด์
ค.ศ. 1906-1953 ธงชาตินิวเฮอร์ไบรดส์ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีคำว่า"New Hebrides" โอบรอบมงกุฎราชินีอยู่ภายในวงกลมสีขาว
ค.ศ. 1953-1980
ค.ศ. 1885- 1900 ธงชายฝั่งไนเจอร์ในอารักขา ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราอาณานิคมอยู่ภายในวงกลมสีขาว.
ค.ศ. 1900 - 1914 ธงไนจีเรียเหนือในอารักขา ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราอาณานิคมอยู่ภายในวงกลมสีแดง.
ค.ศ. 1900 - 1914 ธงไนจีเรียใต้ในอารักขา ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราอาณานิคมอยู่ภายในวงกลมสีเขียว.
ค.ศ. 1914–1960 ธงอาณานิคมไนจีเรีย ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินรูปดาวหกแฉกสีเขียวบนพื้นวงกลมสีแดง กลางรูปดาวนั้นมีมงกุฎราชินีทิวดอร์ ใต้มงกุฎดังกล่าวมีข้อความ "Nigeria"


ค.ศ. 1882-1948 ธงบอร์เนียวเหนือ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร และ ธงเรือพลเรือนสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินรูปสิงโตเผ่นสีแดงในวงกลมสีเหลือง
1948-1963 ธงมกุฎราชอาณานิคมบอร์เนียวเหนือ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของบอร์เนียวเหนือ
ค.ศ. 1939-1953, 1963-1964 ธงชาติโรดิเซียเหนือ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของโรดิเซียเหนือ
ค.ศ. 1907-1953, 1963-1964 ธงชาติไนยาซาแลนด์ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของไนยาซาแลนด์
ค.ศ. 1927-1948 ธงปาเลสไตน์ในอาณัติ ธงเรือเอกชนสหราชอาณาจักร มีคำว่า"Palestine" อยู่ภายในวงกลมสีขาว ธงที่แสดงอยู่นี้ใช้ในกิจกรรมบนเวทีนานาชาติ ส่วนเรือราชการมีลักษณะอย่างเดียวกัน แต่ใช้ธงเรือราชการสหราชอาณาจักร พื้นนำเงิน.
ค.ศ. 1906-1949 ธงอาณานิคมปาปัว ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีคำว่า"Papua"ภายใต้มงกุฎแห่งทิวดอร์ ทั้งหมดอยฦู่ภายในวงกลมสีขาว
ค.ศ. 1958-1967 ธงชาติเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา
ค.ศ. 1967-1983 ธงแถบสีเขียว-เหลือง-ฟ้า แบ่งตามแนวตั้ง มีภาพต้นปาล์มสีดำที่กลางแถบสีเหลือง
ค.ศ. 1875–1939 ธงอาณานิคมเซนต์ลูเชีย ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของเซนต์ลูเชีย
ค.ศ. 1939–1967
– 1979 ธงอาณานิคมเซนต์วินเซนต์ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์

ค.ศ. 1922 - 1962 ธงชาติซามัว ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร และ ธงเรือพลเรือนสหราชอาณาจักร มีรูปต้นปาล์ม 3 ต้นอยู่ในวงกลม
ค.ศ. 1899–1914 ธงชาติเซียร์ราลีโอน ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของเซียร์ราลีโอน
ค.ศ. 1916–1961
ค.ศ. 1903–1950 ธงอาณานิคมบริติชโซมาลิแลนด์ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของโซมาลิแลนด์
ค.ศ. 1950-1960
1795-1910 ธงชาติเคปโคโลนี ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของเคปโคโลนี
ค.ศ. 1900-1910 ธงอาณานิคมแม่น้ำออเรนจ์ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของอาณานิคมแม่น้ำออเรนจ์ (กวางสปริงบอกซ์) ที่ปลายธง
ค.ศ. 1900-1910 ธงอาณานิคมทรานส์วาล - "Vierkleur". ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของอาณานิคมทรานส์วาล ที่ด้านปลายธง


ค.ศ. 1910-1928 ธงเรือพลเรือนของแอฟริกาใต้ ธงเรือเอกชนสหราชอาณาจักร มีรูปตราแผ่นดินสหภาพแอฟริกาใต้ ส่วนธงเรือพาณิชยนาวีนั้น ตราอาณานิคมภายในวงกลมสีขาว

ธงเรือราชการแอฟริกาใต้ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินสหภาพแอฟริกาใต้อยู่ที่ด้านปลายธง ส่วนธงเรือราชการนั้น ตราอาณานิคมภายในวงกลมสีขาว
ค.ศ. 1928-1961 ธงชาติสหภาพแอฟริกาใต้ ธงสามสีพื้นสีส้ม-ขาว-น้ำเงิน แบ่งตามแนวนอน ภายในแถบสีขาวมีภาพธงอื่นๆ ประกอบอยู่อีก 3 ธง เรียงจากซ้ายไปขวา ได้แก่ ธงชาติสหราชอาณาจักร ธงรัฐอิสระออเรนจ์ (ออเรนจ์ฟรีสเตท-Orange Free State) และธงแคว้นทรานส์วาล (Transval) เฉพาะธงรัฐอิสระออเรนจ์เท่านั้นที่วางไว้ในแนวตั้ง
ค.ศ. 1923-1953 ธงชาติโรดีเซียใต้ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของโรดีเซีย
ค.ศ. 1953-1963 ธงชาติสหพันธรัฐโรดีเซีย และ ไนยาซาแลนด์ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร ที่ด้านชายธงมีตราแผ่นดินสหพันธรัฐโรดิเซีย และ ไนยาซาแลนด์ ตราโล่อาร์ม ซึ่งมีลวดลายของโรดิเซียเหนือ โรดิเซียใต้ และ ไนยาซาแลนด์ รวมอยู่ด้วยกันในโล่เดียว
ค.ศ. 1963-1980 ธงชาติโรดีเซีย ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักรพื้นสีฟ้า มีภาพตราแผ่นดินของโรดิเซียที่ด้ายชายธง
ค.ศ. 1870-1946 ธงราชอาณาจักรซาราวัก (ซาราวักในอารักขา) ธงพื้นเลือง กางเขนแห่งเซนต์จอร์จแถบสีดำ กับ สีแดง กลางธงมีมงกุฎสีเหลือง
ค.ศ. 1946-1963 ธงมกุฎราชอาณานิคมซาราวัก ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีภาพตราประจำรัฐซาราวัก.
ค.ศ. 1874-1942 ธงอาณานิคมช่องแคบ ธงนี้สิงคโปร์ใช้ร่วมกับรัฐปีนัง และ รัฐมะละกา ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอาณานิคมเดียวกัน
ค.ศ. 1946-1959 ธงอาณานิคมสิงคโปร์ สหราชอาณาจักรได้แยกสิงคโปร์ออกจากกลุ่มอาณานิคมช่องแคบ และยกฐานะเป็นคราวน์โคโลนี (Crown Colony - อาณานิคมที่สหราชอาณาจักรทำการปกครองโดยตรง) ธงที่ปรากฏอยู่นี้ดัดแปลงลักษณะมาจากธงอาณานิคมช่องแคบเดิม
ค.ศ. 1919-1961 ธงชาติแทนกันยีกา ธงเรือเอกชนสหราชอาณาจักร มีรูปหัวยีราฟ ส่วนธงเรือราชการนั้น ใช้ธงเรือรัฐบาลพื้นนำเงิน
ค.ศ. 1889-1958 ธงอาณานิคมตรินิแดดและโตเบโก ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีรูปเรือสัญจรผ่านภูเขา
ค.ศ. 1958-1962
ค.ศ. 1976-1978 ธงอาณานิคมตูวาลู ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของตูวาลูภายในวงกลมสีขาว
ค.ศ. 1914-1962 ธงอาณานิคมยูกันดา ธงเรือราชการสหราชอาณาจักร มีรูปนกกะเรียน (Grey Crowned Crane)
ค.ศ. 1958-1962 ธงชาติสหพันธรัฐอินเดียตะวันตก ธงพื้นสีนำเงิน มีริ้วคดสีขาว4ริ้ว พาดตามแนวนอน ตรงกลางธงนั้นมีรูปวงกลมสีเหลืองทอง
ค.ศ. 1393-1920 ธงวิตูแลนด์ในอารักขา ธงชาติสหราชอาณาจักร ขอบนอกเป็นพื้นสีแดง

ธงผู้ว่าการอาณานิคม[แก้]

ลักษณะโดยรวมของธงประจำตำแหน่งผู้ว่าการดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร เป็นรูปธงชาติ (ธงสหภาพ) ที่ใจกลางธงมีเครื่องหมายตราแผ่นดินของที่แดนที่ผู้นั้นปกครองอยู่ ซึ่งก่อนหน้าปี ค.ศ. 1999 ตราแผ่นดินของอาณานิคมที่ใจกลางธงนี้มีขนาดเล็กกว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

Flag Date Use Description
ค.ศ. 1959–1997 ธงประจำตำแหน่งผู้ว่าการแห่งฮ่องกง
ค.ศ. 1855–1947 ธงประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการอินเดีย ธงยูเนี่ยนแจ็ค กลางธงมีรูปตราดาราแห่งภารตะ
ค.ศ. 1875–1948 ธงประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการซีลอน A ธงยูเนี่ยนแจ็ค กลางธงมีรูปตราดาราแห่งภารตะ
ค.ศ. 1875–1906 ธงประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการจาเมกา ธงยูเนี่ยนแจ็ค กลางธงมีรูปตราแผ่นดินของจาเมกา
ค.ศ. 1906–1957
ค.ศ. 1957–1962
ค.ศ. 1962
ค.ศ. 1922–1973 ธงประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการไอร์แลนด์เหนือ ธงยูเนี่ยนแจ็ค กลางธงมีรูปตราแผ่นดินของไอร์แลนด์เหนือ
ค.ศ. 1955-1963 ธงประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแซนซิบาร์ ธงยูเนี่ยนแจ็ค กลางธงมีรูปตราแผ่นดินของแซนซิบาร์

ธงอื่นๆ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ค.ศ. 1600 - 1858 ธงบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ธงพื้นแถบขาว 4 แถบ สลับแถบแดง 5 แถบ มีรูปธงกางเขนแห่งนักบุญจอร์จที่มุมธงบนด้านคันธง
ค.ศ. 1707 - 1858 ธงพื้นแถบขาว 6 แถบ สลับแถบแดง 7 แถบ มีรูปธงสหภาพ ยุคก่อน ค.ศ. 1801 ที่มุมธงบนด้านคันธง ธงนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบธงแกรนด์ยูเนียน (Grand Union Flag) ในดินแดนอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งต่อมาจะพัฒนาเป็นธงชาติสหรัฐอเมริกา
ค.ศ. 1801 - 1858 ธงพื้นแถบขาว 6 แถบ สลับแถบแดง 7 แถบ ที่มุมธงบนด้านคันธง มีรูปธงชาติสหราชอาณาจักร
ค.ศ. 1707 - 1801 ธงบริษัทฮัดสันเบย์ (Hudson's Bay Company) ธงเรือพลเรือน (ธงเรือแดง) ที่ด้านปลายธงมีอักษรย่อว่า "HBC"
ค.ศ. 1801 - ?
ค.ศ. 1801 - 1922 ธงประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งไอร์แลนด์ (Lord Lieutenant of Ireland) ธงชาติสหราชอาณาจักร กลางธงมีภาพตราแผ่นดินของไอร์แลนด์
ค.ศ. 1701 - 1800 ธงเรือเขียว (Green Ensign) ธงสำหรับเรือค้าขายของไอร์แลนด์ พื้นธงสีเขียวมีรูปพิณแห่งไอร์แลนด์สีเหลือง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีธงกางเขนแห่งนักบุญจอร์จ
ค.ศ. 1800 - 1922 พื้นธงสีเขียวมีรูปพิณแห่งไอร์แลนด์สีเหลือง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีธงชาติสหราชอาณาจักร ปัจจุบันไม่ปรากฏบันทึกว่ามีการใช้


ค.ศ. 1889-1961 ธงเรือบริษัทแอฟริกาใต้ของอังกฤษ (British South Africa Company) ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร และ ธงเรือพลเรือนสหราชอาณาจักร มีตราประจำบริษัท

อ้างอิง[แก้]

  1. * The Union Flags and flags of the United Kingdom เก็บถาวร 2008-05-21 ที่ UK Government Web Archive
  2. "FIFA- Northern Ireland". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-25. สืบค้นเมื่อ 2007-12-15.
  3. "UEFA- Northern Ireland". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-24. สืบค้นเมื่อ 2007-12-15.
  4. "Commonwealth Games- Northern Ireland". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-02. สืบค้นเมื่อ 2007-12-15.
  5. [https://www.fotw.info/flags/gb-lthse.html#cnlc www.fotw.net/flags/gb-lthse.html#cnlc

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]