ธงชาติสหพันธรัฐอินเดียตะวันตก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธงชาติสหพันธรัฐอินเดียตะวันตก
การใช้ ธงชาติ, ธงเรือราษฎร์และธงเรือรัฐบาล
สัดส่วนธง 1:2
ประกาศใช้ พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2505
ลักษณะ ธงพื้นสีแดง มีแถบสีดำขอบขาวพาดผ่านตามแนวทแยงมุม
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ ธงนาวี
สัดส่วนธง 1:2
ลักษณะ ธงพื้นขาวกางเขนแดง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีภาพธงชาติ

สหพันธรัฐอินเดียตะวันตก เป็นอดีตรัฐอธิปไตยในภูมิภาคแคริบเบียน ซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2505 ธงชาติของประเทศนี้มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีน้ำเงิน กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ในพื้นธงมีริ้วคดสีขาวพาดตามแนวนอน ตรงกลางธงนั้นมีรูปวงกลมสีเหลืองทอง ความกว้างเท่ากับระยะขอบนอกสุดของริ้วคดสีขาวสองริ้วตอนใน รูปสัญลักษณ์ดังกล่าวนี้หมายถึงทะเลแคริบเบียนและดวงอาทิตย์ทีฉายแสงเหนือท้องทะเล ธงนี้ออกแบบโดย เอ็ดนา มาร์เลย์ (Edna Manley)

คำบรรยายลักษณะของธงอย่างเป็นทางการ ปรากฏในวารสาร West Indies Gazette ดังนี้

"ธงซึ่งได้รับการรับรองนั้นมีพื้นสีฟ้าพร้อมด้วยลายคลื่นสีขาว 4 เส้น (ลายคู่บนขนานซึ่งกันและกัน ลายคู่ล่างขนานซึ่งกันและกันด้วยเช่นกัน) และมีรูปดวงตะวันสีส้มอยู่ตรงกลาง"

คำว่าสีฟ้า (blue) ในเอกสารดังกล่าวนั้นมิได้ระบุว่าเป็นสีฟ้าแบบใด แต่โดยทั่วไปมักหมายถึงสีฟ้าเข้มอย่างสีน้ำเงินในธงบลูเอนไซน์ (Blue Ensign) ของสหราชอาณาจักร สำเนาของภาพธงที่ยังคงหลงเหลืออยู่นั้นปรากฏว่าใช้สีฟ้าหลากหลายระดับทั้งสีอ่อนและสีแก่ ส่วนธงของกองทัพเรือ ใช้ธงเซนต์จอร์จ (ธงพื้นขาวมีรูปกากบาทแดง) มีรูปธงสหพันธรัฐที่มุมธงบนด้านคันธง เช่นเดียวกับธงราชนาวี[1]

วันที่กำหนดให้ประดับธงชาติได้แก่วันที่ 3 มกราคม (วันที่ระลึกแห่งการชักธงชาติบริเตนและธงชาติสหพันธรัฐ) วันที่ 23 กุมภาพันธ์ (วันสหพันธรัฐ) และวันที่ 22 เมษายน (วันที่ระลึกการเปิดประชุมรัฐสภาสหพันธรัฐ) อาคารต่างๆ ซึ่งมีเสาธงสองเสาจะต้องชักธงชาติสหราชอาณาจักรและธงชาติสหพันธรัฐไว้ร่วมกันในวันที่ระลึกและวันสหพันธรัฐ โดยธงชาติสหราชอาณาจักรจะต้องอยู่ทางด้านซ้ายเมื่อผู้ดูหันหน้าเข้าหาอาคาร สำหรับอาคารที่มีเสาธงเสาเดียวจะชักเพียงแต่ธงชาติสหราชอาณาจักรในวันที่ระลึกและวันสหพันธรัฐ

อ้างอิง[แก้]

  1. Roberto Breschi. "Federazione delle Indie Occidentali, Bandiera della marina da guerra" (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 2004-09-04.
  • Observer's Book of Flags, I.O. Evans 1959
  • The Book of Flags, I.O. Evans 1960
  • Flags of the World, G. Carr 1961
  • West Indies Gazette Volume 1 No. 9, February 21, 1958

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]