ศักราช
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ศักราช เป็นช่วงเวลาที่จัดขึ้นด้วยจุดประสงค์ทางวิทยาการลำดับเวลาหรือประวัติศาสตร์นิพนธ์ เช่น รัชกาลในประวัติศาสตร์สำหรับพระมหากษัตริย์ ศักราชปฏิทินที่ใช้ในปฏิทิน หรือธรณีกาลสำหรับประวัติศาสตร์โลก[1]
ศัพท์ที่เทียบเคียงได้คือ ต้นยุคอ้างอิง, กาล, ช่วงเวลา, saeculum, aeon (กรีก aion)[2] และยุคจากสันสกฤต[3]
การใช้งานในวิทยาการลำดับเวลา
[แก้]ในวิทยาการลำดับเวลา "ศักราช" เป็นหน่วยวัดเวลาระดับสูงสุด "ศักราชปฏิทิน"หมายถึงช่วงหลายปีซึ่งมีการนับเลขเริ่มต้นที่ต้นยุคอ้างอิงเฉพาะ[4] ซึ่งมักถือเป็นจุดเริ่มต้นของรัฐหรือจักรวาลวิทยา ราชวงศ์ ผู้ปกครอง ปีเกิดของผู้นำ หรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หรือตำนานที่สำคัญ[5]
ธรณีวิทยา
[แก้]ในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีมุมมองด้านเวลาอื่นที่เป็นอิสระจากกิจกรรมของมนุษย์ และครอบคลุมช่วงระยะเวลาที่นานกว่ามาก (ส่วนใหญ่เป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์) โดย"ธรณีกาล"คือช่วงเวลาที่กำหนดไว้อย่างดี[5] หน่วยเวลาที่ใหญ่กว่ามหายุคคือบรมยุค[6] เช่น บรมยุคฟาเนอโรโซอิกแบ่งออกเป็นหลายมหายุค[7] ปัจจุบันมีมหายุคในฟาเนอโรโซอิกถึงสามมหายุค ตารางข้างล่างเรียงจากน้อยสุดไปมากสุด
มหายุค[8][9] | เริ่มต้น (ล้านปีก่อนปัจจุบัน) | สิ้นสุด (ล้านปีก่อนปัจจุบัน) |
---|---|---|
ซีโนโซอิก | 66.038 | ไม่ทราบ |
มีโซโซอิก | 252.17 | 66.038 |
พาลีโอโซอิก | 542 | 252.17 |
บรมยุคโพรเทอโรโซอิกและบรมยุคอาร์เคียนที่เก่าแก่กว่าก็แบ่งออกเป็นหลายมหายุค[10][11]
จักรวาลวิทยา
[แก้]สำหรับสมัยในประวัติศาสตร์จักรวาลจะใช้คำว่า "สมัย " (Epoch) แต่ก็มีการใช้คำว่า "ยุค" ด้วย เช่น "ยุคแห่งดวงดาว"[12]
ปฏิทิน
[แก้]ศักราชปฏิทินนับปีตั้งแต่วันที่เฉพาะ (ต้นยุคอ้างอิง) ส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องในด้านศาสนา Anno mundi (ปีของโลก) คือกลุ่มปีปฏิทินที่อิงจากการคำนวณอายุของโลก โดยสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตามที่ระบุไว้ในหนังสือปฐมกาล[13] โดยในทางศาสนายูดาห์ยังคงมีการใช้งาน และปฏิทินศาสนาของอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์หลายแห่งใช้ปฏิทินอีกแบบจนถึง ค.ศ. 1728 ปีฮีบรู 5772 AM เริ่มต้นตอนดวงอาทิตย์ตกในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2011[14] และสิ้นสุดในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2012[15] ในคริสต์จักรตะวันตก Anno Domini (AD หรือเขียนเป็น CE) นับปีตั้งแต่วันประสูติของพระเยซูตามการคำนวณแบบดั้งเดิม เป็นรูปแบบที่แพร่หลายเสมอ[16]
ปฏิทินอิสลามนับปีตั้งแต่การฮิจเราะห์หรืออพยพของศาสดามุฮัมมัดจากมักกะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์ ซึ่งเกิดขึ้นใน ค.ศ. 622[17] ปฏิทินอิสลามมีวันน้อยกว่า 365 วัน ทำให้มกราคม ค.ศ. 2012 อยู่ใน ฮ.ศ. 1433[18]
ประเทศญี่ปุ่นใช้ระบบปีจักรวรรดิ (โคกิ) ตั้งแต่ ค.ศ. 1872 จนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง[19] ปีนั้นเริ่มต้นในตอนที่จักรพรรดิจิมมุในตำนานสถาปนาญี่ปุ่นเมื่อ 660 ปีก่อน ค.ศ.[20]
ปฏิทินพุทธหลายแบบนับตั้งแต่วันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งตามการคำนวณแบบทั่วไปอยู่ในช่วง 545–543 ปีก่อน ค.ศ. หรือ 483 ปีก่อน ค.ศ.[21] นั่นทำให้ ค.ศ. 2000 ตรงกับ พ.ศ. 2543 ในปฏิทินสุริยคติไทย (นับหลังปีที่ปรินิพพาน 1 ปี)[21]
ศักราชปฏิทินอื่น ๆ นับตามเหตุการณ์ทางเมือง เช่น ศักราชเซลูซิด[22] และ ab urbe condita ("AUC") ของโรมันโบราณที่นับตั้งแต่ปีก่อตั้งเมือง[23]
รัชสมัย
[แก้]ประวัติศาสตร์นิพนธ์
[แก้]ศักราชในประเทศไทย
[แก้]- พุทธศักราช (พ.ศ.)
- ประเทศไทยเริ่มใช้พุทธศักราชในหมู่พระสงฆ์ ก่อนที่รัชกาล 6 จะเกล้าให้นำมาใช้แทน ร.ศ. ปีพุทธศักราชของไทย ถือกำเนิดโดยให้วันปรินิพพานเป็นปี พ.ศ. 0 แต่ ศรีลังกา พม่า ลาว และเขมร นับมากกว่าเรา 1 ปี คือนับเอาวันปรินิพพานเป็นปีที่ 1 ในปัจจุบันมีค้นพบว่าพุทธศักราช มีความคลาดเคลื่อนไปจากความเข้าใจข้างต้น 60 ปี นั่นคือ เขาเชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานปี พ.ศ. 60 มิใช่ พ.ศ. 0
- คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
- เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์เกิดเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.ศ. มีมาแล้วนับได้ 543 ปี ดังนั้นวันคริสต์มาสในปี 2001 จึงครบรอบวันสมภพ 2000 ปี โดยมีวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่
- มหาศักราช (ม.ศ.)
- หรือที่ชาวอินเดียเรียกว่า ศกาพทะ หรือ ศาลิวาหนกาล แปลว่า ปีของชาวศกะ (Scythian) เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเจ้าศาลิวาหนะ หรือบางตำนานเรียกว่า พระเจ้ากนิษกะ แห่งศกราชวงศ์ ทรงมีชัยชนะเหนือแคว้นโดยรอบ เป็นมหาศักราชที่ 1 มีวิธีการนับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายนของทุกปี เกิดหลังพุทธศักราช 621 ปี
- จุลศักราช (จ.ศ.)
- เป็นการนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ เริ่มนับ จ.ศ. 1 เมื่อปี พ.ศ. 1181 โดยนับเอาวันที่พระบุพโสระหัน สึกออกจากการเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์เป็นวันแรกของศักราช ในสมัยโบราณถือตามสุริยคติ (คัมภีร์สุริยยาตร์) ใช้วันเถลิงศก (ปัจจุบันตกราว 16 เมษายน) เป็นวันปีใหม่ แต่ต่อมาเนื่องจากเดือน 5 ไทยเราจะไปตรงกับเดือนจิตรามาสอันเป็นเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติทางชมพูทวีป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ถือตามจันทรคติ คือใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติและให้เป็นวันเปลี่ยนนักษัตรด้วย แต่ยังคงเปลี่ยนปีจุลศักราชในวันเถลิงศก
- รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)
- เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 108 โดยถือเอาปีที่ตั้งกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง เป็นปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 1 และใช้อยู่จนถึง ร.ศ. 131 เป็น ร.ศ. สุดท้าย หรือเพียง 23 ปี ก็เลิกใช้ไป เพราะเห็นว่าไม่สะดวกในการอ้างอิงปีในประวัติศาสตร์ เช่น กล่าวว่า ไทยเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปีที่ 15 ก่อน ร.ศ. เป็นต้น
- กลียุคศักราช หรือกลียุคกาล (ก.ศ.)
- เป็นศักราชจากชมพูทวีป และเป็นศักราชที่เก่าที่สุดที่ปรากฏในบันทึกของไทย เกิดก่อนพุทธศักราชถึง 2558ปี
- วิกรมาทิตย์ศักราช (ว.ศ.) หรือวิกรมสังวัต
- เป็นศักราชจากชมพูทวีป แต่ไม่มีปรากฏในบันทึกของไทย เกิดหลังพุทธศักราช 785 ปี
- ศักราชพระเจ้าเหลือง (ล.ศ.)
- เป็นศักราชที่ถือกำเนิดโดยพระเจ้าเหลืองมหาราช ของดินแดนที่เป็นประเทศจีนในปัจจุบัน เกิดก่อนพุทธศักราช 2154 ปี ในปัจจุบันมีข้อถกเถียงว่า ตัวเลขของศักราชนี้อาจมีค่ามากเกินไป 60 ปี เช่นเดียวกับ พ.ศ. และหรืออาจนับเอา ล.ศ. 0 เป็นปีตั้งศักราชด้วยก็ได้
- ศักราชจุฬามณี (ศักราชกฎหมาย)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Era | definition in the Cambridge English Dictionary". Cambridge Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
- ↑ "Thesaurus.com - The world's favorite online thesaurus!". Thesaurus.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-12-06. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
- ↑ "Yuga". Dictionary.com Unabridged. Random House. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
- ↑ Richards, E. G. (2013). "Calendars". ใน Urban, Sean E.; Seidelmann, P. Kenneth (บ.ก.). Explanatory Supplement to the Astronomical Almanac (3 ed.). Mill Valley, CA: Univ Science Books. ISBN 978-1-891389-85-6.
- ↑ 5.0 5.1 "The Geological Society of London - How are Geological Periods Determined?". www.geolsoc.org.uk. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
- ↑ Martin Harweit (1991). Astrophysical Concepts (2nd ed.). Springer-Verlag. ISBN 3-540-96683-8. p. 4.
- ↑ Short, N.M. (2009). "Geologic Time" เก็บถาวร 2005-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in Remote Sensing Tutorial เก็บถาวร 2009-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. NASA.
- ↑ Lide, D. R. (1990). Handbook of Chemistry and Physics. Boca Raton: CRC Press. pp. 14–16.
- ↑ "International Stratigraphic Chart". International Commission on Stratigraphy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2014.
- ↑ "Proterozoic Eon | Oxygen Crisis, Animals, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
- ↑ "Archean Eon | Atmosphere, Timeline, and Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
- ↑ "Big Bang Timeline- The Big Bang and the Big Crunch - The Physics of the Universe". www.physicsoftheuniverse.com. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
- ↑ "Anno mundi | Jewish Calendar, History & Origins | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
- ↑ "Hebrew Date Converter - September 28, 2011 after sunset / 1st of Tishrei, 5772". www.hebcal.com. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
- ↑ "Hebrew Date Converter - September 16, 2012 after sunset / 1st of Tishrei, 5773". www.hebcal.com. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
- ↑ "Chronology - Christian History, Dates, Events | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
- ↑ "Islamic calendar | Months, Definition, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-14. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
- ↑ "Hijri to Gregorian Date Converter - Islamic Date Converter". IslamicFinder (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
- ↑ Louis-Frédéric (2002). Japan Encyclopedia (ภาษาอังกฤษ). Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01753-5.
- ↑ Gubbins, John Harrington. (1922). The Making of Modern Japan, p. 71; Mossman, Samuel. (1873). New Japan, the Land of the Rising Sun, p. 462.
- ↑ 21.0 21.1 "Calendar systems and their role in patent documentation | Epo.org". www.epo.org. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
- ↑ Denis C. Feeney, Caesar's Calendar, University of California Press, Berkeley 2007, p. 139.
- ↑ Wiseman, Timothy Peter (1995). Remus: A Roman Myth. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-48366-7.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ความรู้เรื่องศักราชที่ใช้ในหนังสือไทย เก็บถาวร 2008-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สนง.วัฒนธรรมแห่งชาติ)