เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงมาร์กาเรต
เคานท์เตสแห่งสโนว์ดอน
เจ้าหญิงมาร์กาเรต ใน ค.ศ. 1965
ประสูติ21 สิงหาคม ค.ศ. 1930(1930-08-21)
ปราสาทกรามิส สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร
สิ้นพระชนม์9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002(2002-02-09) (71 ปี)
โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ลอนดอน อังกฤษ สหราชอาณาจักร
ฝังพระศพ15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002
Ashes placed in the Royal Vault, โบสถ์น้อยเซนต์จอร์จ ปราสาทวินด์เซอร์
9 เมษายน ค.ศ. 2002
Ashes interred in the King George VI Memorial Chapel, โบสถ์น้อยเซนต์จอร์จ ปราสาทวินด์เซอร์
พระสวามีอันโทนี อาร์มสตรอง-โจนส์, เอิร์ลที่ 1 แห่งสโนว์ดอน
(1960–1978)
พระนามเต็ม
มาร์กาเร็ต โรส วินด์เซอร์
พระบุตรเดวิด อาร์มสตรอง-โจนส์ ที่ 2 เอิร์ลแห่งสโนว์ดอน
เลดีซาราห์ แชตโท
ราชวงศ์วินด์เซอร์
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร
พระมารดาสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี

เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคานท์เตสแห่งสโนว์ดอน (มาร์กาเรต โรส; 21 สิงหาคม ค.ศ. 1930 – 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002) พระราชธิดาพระองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 กับสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ และพระขนิษฐาในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระประมุขแห่งอังกฤษ (1952–2022) พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเคานท์เตสแห่งสโนว์ดอนจากการอภิเษกสมรส

ชีวิตในวัยเยาว์[แก้]

เจ้าหญิงมาร์กาเรตประสูติวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1930 ณ ปราสาทกลามีส (Glamis Castle) ประเทศสกอตแลนด์ พระองค์ทรงเป็นรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อังกฤษพระองค์แรกที่ประสูติที่สกอตแลนด์ นับแต่ 300 ปีที่แล้ว พระบิดาและพระมารดาของพระองค์คือ ดยุกและดัชเชสแห่งยอร์ก (Their Royal Highnesses The Duke and Duchess of York) ในฐานะพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์ผ่านทางสายพระราชโอรส ทรงดำรงพระอิสริยยศเจ้าหญิงมาร์กาเรตแห่งยอร์ก มาตั้งแต่แรกเริ่มประสูติ พระองค์ทรงรับศีลล้างบาปที่พระราชวังบักกิงแฮม พ่อและแม่ทูนหัวของพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 อิงกริดแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก เจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร โรส เลเวนสัน-โกเวอร์ เคาน์เตสแกรนด์วิลล์ และฮอนเนอเรเบิ้ลเดวิด โบวส์-ลีออน (พระราชอนุชาในสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี)

เจ้าหญิงมาร์กาเรตมีพี่พระเชษฐภคินี 1 พระองค์คือ

1.สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

เจ้าหญิงมาร์กาเรตได้รับการศึกษาพร้อม ๆ กับพระเชษฐภคินี โดยมารีออน ครอว์ฟอร์ด (Marion Crawford) ใน ค.ศ. 1936 สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 พระปิตุลา (ลุง) ของพระองค์สละราชสมบัติ พระราชบิดาเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 เจ้าหญิงมาร์กาเรตได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเลื่อนเป็นเจ้าฟ้า พระองค์ได้โดยเสด็จไปในพระราชพิธีราชาภิเษกของพระบิดาและพระมารดาในปี 1937

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 มาร์กาเรตประทับอยู่ที่พระราชวังวินด์เซอร์ นอกกรุงลอนดอน ต่อมาใน ค.ศ. 1952 พระบิดาของพระองค์เสด็จสวรรคต พระเชษฐภคินีของพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2

ชีวิตรักกับปีเตอร์ ทาวน์เซนด์[แก้]

สองปีหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระพี่นาง เจ้าหญิงมาร์กาเรตทรงกลายเป็นเป้าหมายของสื่อมวลชนและถูกจับจ้องทุกพระอิริยาบถ เหตุผลก็เพราะเจ้าหญิงทรงมีพระประสงค์ที่จะทรงเสกสมรสกับปีเตอร์ ทาวน์เซนด์ ผู้บัญชาการทหารอากาศและราชองครักษ์ประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชบิดา ปีเตอร์อายุมากกว่าเจ้าหญิงมาร์กาเรตถึง 16 ปี และเคยสมรสพร้อมกับหย่ามาแล้ว จึงเป็นผู้ที่ไม่สมควรจะเสกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักร ในความเห็นของรัฐบาลและนิกายโบสถ์แห่งอังกฤษ

ถึงแม้ว่าเจ้าหญิงมาร์กาเรตจะไม่จำเป็นต้องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระเชษฐภคินี หรือความเห็นชอบจากสภา เพราะขณะนั้นพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะแล้วและมีพระชนม์ 25 ปี จึงทรงมีอิสระที่จะทำทุกอย่างได้ตามพระทัย หากแต่การกระทำเช่นนั้นจะทำให้พระองค์ถูกตัดออกจากผู้มีสิทธิ์รับเงินปีในฐานะพระราชวงศ์ พระองค์จะต้องสูญเสียพระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งบริเตนใหญ่ สหราชอาณาจักรและทั้งหมด ทั้งนี้จะถูกตัดพระราชสิทธิ์ในการเสด็จขึ้นครองราชย์บัลลังก์อีกด้วย ท้ายที่สุดอาจถึงขั้นต้องเสด็จออกไปประทับที่ต่างประเทศ ด้วยพระสามัญสำนึกในฐานะเจ้าหญิงสมเด็จพระราชธิดา และคำแนะนำจากอาร์คบิชอป แห่งแคนเธอเบรี และนักการเมืองอาวุโสอีกหลายท่าน ในที่สุดเจ้าหญิงมาร์กาเรตทรงตัดสินพระทัยที่จะไม่เสกสมรสกับปีเตอร์ ทาวน์เซนด์ โดยมีพระดำรัสต่อหน้าสาธารณชนจำนวนมาก

"ข้าพเจ้าขอประกาศให้ท่านทั้งหลายทราบโดยทั่วกันว่า..ข้าพเจ้าได้ตัดสินใจที่จะไม่แต่งงานกับกัปตัน ปีเตอร์ ทาวน์เซนด์ เพราะเพื่อความถูกต้องแห่งกฎของพระศาสนา และด้วยภาระหน้าที่ที่ข้าพเจ้ามีต่อสหราชอาณาจักรที่ต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด"

ตามความเป็นจริงแล้ว จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2547 ยืนยันว่าหากสมมติมาร์กาเรตทรงเสกสมรสกับปีเตอร์จริง พระองค์จะไม่ทรงถูกตัดออกจากเงินปี และจะไม่สูญเสียพระอิสริยยศใดๆ ด้วย สิ่งที่พอจะเป็นไปได้นั้นก็คือพระองค์จะเสียพระราชสิทธิ์ในการเสด็จขึ้นครองราชย์บัลลังก์ (ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะเจ้าฟ้าชายชาลส์เองก็ไม่สูญเสียพระราชสิทธิ์นี้ไป) เหตุการณ์นี้อาจเป็นไปได้เพราะว่านักการเมืองและประชาชนกำลังรู้สึกเกลียดและกลัวจากการทรงเสกสมรสของ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 กับนางวอลลิส ซิมป์สัน ซึ่งมีท่าทีว่าจะย้อนรอยมาเมื่อเจ้าหญิงมาร์กาเรตทรงพระประสงค์ที่เสกสมรสกับคนที่หย่าแล้วนั่นเอง

เสกสมรส[แก้]

ภายหลังความรักอันไม่สมหวังกับปีเตอร์ ทาวน์เซนด์ เจ้าหญิงมาร์กาเรตทรงอภิเษกสมรสกับช่างถ่ายภาพนามว่า แอนโทนี่ ชาลส์ โรเบิร์ต อาร์มสตรอง-โจนส์ (Antony Charles Robert Amstrong-Jones, 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1930) ณ มหาวิหารเวสมินสเตอร์ กรุงลอนดอน โดยแอนโทนี่ได้รับการสถาปนาเป็นเอิร์ลแห่งสโนว์ดอน (Earl of Snowdon) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1961 ดังนั้นมาร์กาเรตจึงทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน แต่ได้ทรงหย่าร้างเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1978 พระองค์มีพระโอรสและธิดา ดังนี้


เจ้าหญิงมาร์กาเรตเมื่อทรงพระเยาว์และพระราชินีแมรี่ และ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ

พระอิสริยยศ[แก้]

  • 21 สิงหาคม ค.ศ. 1930 – 11 ธันวาคม ค.ศ. 1936: เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งยอร์ก (Her Royal Highness Princess Margaret of York)
  • 11 ธันวาคม ค.ศ. 1936 – 6 ตุลาคม ค.ศ. 1961: เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต (Her Royal Highness The Princess Margaret)
  • 6 ตุลาคม ค.ศ. 1961 – 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002: เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน (Her Royal Highness The Princess Margaret, Countess of Snowdon)

สิ้นพระชนม์[แก้]

เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน

เจ้าหญิงมาร์กาเรตสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 สิริพระชันษา 71 ปี หลังจากทรงทุกข์ทรมานจากโรคร้าย งานพระศพจัดขึ้น 50 ปีหลังจากงานพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร และในงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก (ครองราชย์ครบ 50 ปี) ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 งานพระศพจัดขึ้นโดยพระราชวงศ์ของพระองค์ ส่วนพระราชพิธีพระศพเริ่ม 1 สัปดาห์หลังจากนั้น พระราชพิธีนั้นเป็นครั้งสุดท้ายที่พสกนิกรได้เห็นสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี

ไว้อาลัย[แก้]

พระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร พระภาคิไนย (หลานชาย) ขณะดำรงพระยศ เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ ได้ทรงกล่าวไว้อาลัยถวายแก่เจ้าหญิงมาร์กาเรต ความตอนหนึ่งว่า

"My aunt was one of those remarkable people who apart from being incredibly vital and attractive, and of course when she was young so many people remember her for that vitality and attractiveness and indeed her incredible beauty, but she also, and I think many people do not realise this, but she had such incredible talent."

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]