ผู้สำเร็จราชการอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุปราช และ
ผู้สำเร็จราชการอินเดีย
ธงของ บริติชราช (1858–1947)
การเรียกขานHis Excellency
จวน
ผู้แต่งตั้ง
สถาปนา20 ตุลาคม ค.ศ. 1773
คนแรกวอร์เรน เฮสติงส์
คนสุดท้าย
ยกเลิก26 มกราคม ค.ศ. 1950

ผู้สำเร็จราชการอินเดีย เป็นผู้แทนพระองค์ของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร และภายหลังเอกราชของอินเดีย ในปี ค.ศ. 1947 ซึ่งเป็นผู้แทนพระองค์ในฐานะประมุขแห่งรัฐอินเดีย ตำแหน่งตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1773 โดยมีตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่มีอำนาจที่สมบูรณ์เหนืออินเดียทั้งหมดเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1833 และต่อมาได้เป็นที่รู้จักในนาม "ผู้สำเร็จราชการอินเดีย"

ในปี ค.ศ. 1858 อันเป็นผลมาจาก กบฏอินเดีย ค.ศ. 1857 ดินแดนและทรัพย์สินของบริษัทอินเดียตะวันออกตกอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของราชวงศ์อังกฤษ ด้วยเหตุนี้ การปกครองของบริษัทในอินเดียจึงสืบทอดโดยบริติชราช ผู้สำเร็จราชการ เป็นหัวหน้ารัฐบาลกลางของอินเดีย ซึ่งปกครองจังหวัดต่างๆ ของบริติชอินเดียรวมถึงแคว้นปัญจาบ เบงกอล บอมเบย์ มัทราส สหมณฑล และอื่น ๆ[1] อย่างไรก็ตาม อินเดียส่วนใหญ่ไม่ได้ปกครองโดยตรงจากรัฐบาลอังกฤษ นอกการควบคุมของบริติชอินเดียมีรัฐมหาราชา หรือ "รัฐพื้นเมือง" หลายร้อยรัฐซึ่งไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับพระมหากษัตริย์อังกฤษในฐานะผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจาก จักรพรรดิโมกุล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1858 เพื่อสะท้อนบทบาทใหม่ของผู้สำเร็จราชการในฐานะผู้แทนของพระมหากษัตริย์ในการตอบสนองต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐมหาราชาจึงได้พระราชทานตำแหน่งอุปราชเพิ่มเข้ามาโดยมีชื่อเรียกตำแหน่งใหม่ว่า "อุปราชและผู้สำเร็จราชการแห่งอินเดีย" โดยมักจะย่อเหลือเพียง "อุปราชแห่งอินเดีย"

ตำแหน่งของอุปราชยกเลิกเมื่อบริติชอินเดียแยกออกเป็นสองประเทศคือ อินเดีย และ ปากีสถานแต่ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการยังคงมีอยู่ในทั้ง 2 ประเทศแยกจากกัน จนกระทั่ง อินเดีย และ ปากีสถาน ได้นำรัฐธรรมนูญมาบังคับใช้ในปี ค.ศ. 1950 และ ค.ศ. 1956 ตามลำดับ

ก่อนปี ค.ศ. 1858 ผู้สำเร็จราชการได้รับเลือกจากที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทอินเดียตะวันออก ต่อมาได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของรัฐบาลอังกฤษ รัฐมนตรีต่างประเทศที่ดูแลประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร มีหน้าที่รับผิดชอบในการสั่งการผู้สำเร็จราชการเกี่ยวกับการใช้อำนาจ หลังปี ค.ศ. 1947 พระมหากษัตริย์ยังคงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการต่อไป แต่ภายหลังดำเนินการตามคำแนะนำของรัฐบาลประเทศอินเดียในเครือจักรภพ

ผู้สำเร็จราชการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ผู้สำเร็จราชการอาจปลดออกหรือย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่ได้ บางครั้งมีการแต่งตั้งรักษาการผู้สำเร็จราชการ จนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการคนใหม่ที่ได้รับการเห็นชอบ ผู้สำเร็จราชการคนแรกในอินเดียคือวอร์เรน เฮสติงส์ ผู้สำเร็จราชการคนแรกของจักรวรรดิบริติชคือ Lord William Bentinck และผู้สำเร็จราชการคนแรกของประเทศอินเดียในเครือจักรภพ คือ ลอร์ด เมานต์แบ็ตเทน

อ้างอิง[แก้]

  1. The term British India is mistakenly used to mean the same as the British Indian Empire, which included both the provinces and the Native States.