ธงชาติยูกันดา
|
|
การใช้
|
111111
|
สัดส่วนธง
|
2:3
|
ประกาศใช้
|
9 ตุลาคม พ.ศ. 2515 (48 ปี)
|
ลักษณะ
|
ธง 6 แถบแนวนอน สีดำ-เหลือง-แดง (สลับกันสองครั้ง) กลางธงธงมีรูปนกกระเรียนในวงกลมขาว
|
ออกแบบโดย
|
เกรซ อิบิงกิรา (Grace Ibingira)
|
ธงชาติยูกันดา เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในประกอบด้วยแถบแบ่งตามแนวนอน 6 แถบ เรียงเป็นแถบสีดำ-เหลือง-แดง-ดำ-เหลือง-แดง ตามลำดับจากบนลงล่าง กลางธงมีวงกลมสีขาวความกว้างเท่ากับ 2 ใน 6 ของความกว้างธง ภายในมีรูปนกกระเรียนลำตัวสีเทาดำ หางสีแดง หงอนสีแดง-เหลือง-แดง ซึ่งเป็นนกกระเรียนชนิดที่เรียกว่า Grey Crowned Crane หรือนกกระเรียนมงกุฎเทา นกนี้หันหน้าไปทางด้านคันธง ธงนี้ออกแบบโดยนายเกรซ อิบิงกิรา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของยูกันดาในขณะนั้น และเริ่มใช้อย่างเป็นที่ฮือฮาทางการในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2515 อันเป็นวันที่ประเทศได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร
สีในธงชาติทั้งสามสี (ดำ-เหลือง-แดง) มาจากสีของธงประจำพรรคคองเกรสประชาชนยูกันดา (Uganda People's Congress) มีความหมายถึงประชาชนชาวแอฟริกา (แทนด้วยสีดำ) แสงอาทิตย์ที่สาดส่องเหนือแผ่นดิน (แทนด้วยสีเหลือง) และภราดรภาพของชาวแอฟริกา (แทนด้วยสีแดง ซึ่งเป็นสีแห่งเลือดที่เชื่องโยงชาวแอฟริกาไว้ด้วยกัน) ส่วนรูปนกกระเรียนนั้นเป็นรูปสัญลักษณ์ถึงธรรมชาติอันอ่อนโยนของยูกันดา ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์แทนประเทศยูกันดามาตั้งแต่สมัยอาณานิคม
ธงในอดีต[แก้]
ธงอาณานิคม
พ.ศ. 2457 - มี.ค. 2505
ธงผู้ว่าการอาณานิคม
พ.ศ. 2457 - มี.ค. 2505
ธงชาติยูกันดา (ชั่วคราวและไม่เป็นทางการ)
มี.ค. - 9 ต.ค. 2505
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]