ฟุตบอลทีมชาติไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้านี้สำหรับทีมฟุตบอลชาย สำหรับทีมหญิงดูได้ที่ ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย
ฟุตบอลทีมชาติไทย
Shirt badge/Association crest
ฉายาช้างศึก
สมาคมสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมาพันธ์ย่อยสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
สมาพันธ์สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (ทวีปเอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนนวลพรรณ ล่ำซำ
กัปตันศิวรักษ์ เทศสูงเนิน
ติดทีมชาติสูงสุด เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (134)
ทำประตูสูงสุด เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (71)
สนามเหย้าราชมังคลากีฬาสถาน
รหัสฟีฟ่าTHA
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน120 Steady (12 สิงหาคม 2564)
อันดับสูงสุด42 (กันยายน 2541)
อันดับต่ำสุด165 (ตุลาคม 2558)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ไต้หวัน สาธารณรัฐจีน 6–1 ไทย ไทย
(กรุงเทพ, ไทย; 20 สิงหาคม พ.ศ. 2491) [1]
ชนะสูงสุด
ไทย ไทย 10–0 บรูไน บรูไน
(กรุงเทพ, ไทย; 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2514)
แพ้สูงสุด
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 9–0 ไทย ไทย
(เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย; 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499)

ฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ และอยู่ภายใต้การบริหารของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[2] โดยทีมมีประวัติของความสำเร็จในการแข่งขันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือชนะเลิศ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 5 สมัย และชนะเลิศซีเกมส์ 16 สมัย รวมทั้งคว้าอันดับ 3 ในรายการเอเชียนคัพ 1972 และเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2 ครั้ง และในเอเชียนเกมส์ อีก 4 ครั้ง โดยอันดับโลกฟีฟ่าที่ดีที่สุดของทีมชาติไทย คือ อันดับที่ 42 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 จากเกียรติประวัติดังกล่าวทำให้ทีมชาติไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันทีมชาติไทยอยู่ในอันดับที่ 120 ของโลก[3] และอันดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียใต้[4] จากการจัดอันดับโดยฟีฟ่า เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564[5]

ทีมชาติไทยมีผลงานที่ดีที่สุดคือการผ่านเข้าถึงรอบที่ 3 (รอบ 12 ทีมสุดท้าย) ในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2545 และ 2561 แต่ยังไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้าย

ประวัติ

ปี สมาคม
2459 ก่อตั้ง
2468 ฟีฟ่า
2500 เอเอฟซี
2537 เอเอฟเอฟ

ยุคแรกของการก่อตั้ง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามขึ้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2459

ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ในนามคณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม[6] โดยนักฟุตบอลทีมชาติสยาม 11 คนแรก มีรายชื่อดังนี้ อิน สถิตยวณิช (ผู้รักษาประตู) – แถม ประภาสะวัต, ต๋อ ศุกระศร, ภูหิน สถาวรวณิช (กองหลัง) – ตาด เสตะกสิกร, นายกิมฮวด วณิชยจินดา (กองกลาง) – หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร, ชอบ หังสสูต, โชติ ยูปานนท์, ศรีนวล มโนหรทัต, จรูญ รัตโนดม (กองหน้า) และลงเล่นในการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรกพบกับทีมสปอร์ตคลับฝ่ายยุโรปซึ่งใช้นักเตะอังกฤษทั้งหมด โดยแข่งขันกันที่สนามราชกรีฑาสโมสร ในวันที่ 20 ธันวาคม ซึ่งทีมชาติสยามเอาชนะไปได้ 2-1 จากชัยชนะดังกล่าวทำให้กระแสความสนใจในกีฬาฟุตบอลในสยามประเทศเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามฯ ขึ้นอย่างเป็นทางการพร้อมทั้งตราข้อบังคับสมาคมฯ และแต่งตั้งคณะสภากรรมการชุดแรก ประกอบด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ 7 ท่าน โดยมีพระยาประสิทธิ์ศุภการ เป็นนายกสภาฯ[7] และพระราชดรุณรักษ์ เป็นเลขาธิการ[8] ในปีเดียวกันได้ริเริ่มจัดการแข่งขันฟุตบอลถ้วยใหญ่ (ถ้วยพระราชทาน ก) และฟุตบอลถ้วยน้อย (ถ้วยพระราชทาน ข) ขึ้นเป็นครั้งแรก

ทีมชาติสยามได้ลงแข่งขันในเกมระหว่างประเทศครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 พบกับทีมชาติอินโดจีน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เล่นเวียดนามใต้ และ ฝรั่งเศส เพื่อต้อนรับการเสด็จประพาสอินโดจีนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยต่อมาชื่อของทีมชาติและชื่อของสมาคมได้ถูกเปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2482 เมื่อรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ประกาศนโยบาย “รัฐนิยม” ฉบับแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2481[9] ให้เปลี่ยนชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ จาก “สยาม” เป็น “ไทย”[10] จึงเป็นสาเหตุให้มีการเปลี่ยนชื่อจากสมาคมฟุตบอลแห่งชาติสยามเป็นสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อฟุตบอลทีมชาติสยามเป็นฟุตบอลทีมชาติไทยมาจนถึงปัจจุบัน[11]

คณะฟุตบอลชาติสยามในช่วงแรกของการก่อตั้ง

การแข่งขันโอลิมปิกและซีเกมส์

ในปี พ.ศ. 2499 พล.ต.เผชิญ นิมิบุตร ซึ่งเป็นนายกสมาคม ได้มีการหาผู้เล่นจากหลายสโมสรเพื่อจัดตั้งทีมที่จะลงแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1956 ที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นครั้งแรกของทีมชาติไทยที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิก ในการแข่งขันครั้งนั้นเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออก โดยทีมไทยซึ่งมี บุญชู สมุทรโคจร เป็นผู้จัดการทีมชาติคนแรก จับฉลากพบกับทีมสหราชอาณาจักร ในวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยทีมไทยพ่ายแพ้ไป 0-9 (นับเป็นความพ่ายแพ้ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์) และตกรอบทันที โดยในรอบที่สอง ทีมสหราชอาณาจักรก็พ่ายแพ้ให้กับทีมชาติบัลแกเรีย 1-6 ก่อนที่บัลแกเรียจะคว้าเหรียญทองแดง ส่วนเหรียญเงินและเหรียญทองตกเป็นของทีมชาติยูโกสลาเวีย และสหภาพโซเวียตตามลำดับ[12] ภายหลังจากการแข่งขัน หนังสือพิมพ์สยามนิกร ฉบับวันที่ 28 พฤศจิกายน ได้พาดหัวข่าวหน้ากีฬาว่า "ทีมชาติอังกฤษเฆี่ยนทีมชาติไทย 9 - 0" ซึ่งภายหลังจบการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีรับสั่งถึงสมาคมฟุตบอลฯ ให้ส่ง พล.ต.ดร.สำเริง ไชยยงค์ หนึ่งในนักฟุตบอลชุดโอลิมปิกไปศึกษาพื้นฐานการเล่นฟุตบอลจากประเทศเยอรมนี[13] เพื่อให้กลับมาสอนการเล่นฟุตบอลให้แก่ทีมไทย[14]

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 ทีมชาติไทยก็สามารถคว้าเหรียญทองแรกในกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันคือกีฬาซีเกมส์) ครั้งที่ 3 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้สำเร็จ และหากนับจนถึงปัจจุบันทีมชาติไทยสามารถคว้าแชมป์ซีเกมส์ได้รวม 16 สมัย (รวมทั้งทำสถิติคว้าแชมป์ติดต่อกัน 8 สมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2536-2550) ทีมชาติไทยได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนเป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2511 ภายใต้การคุมทีมของ พลเอก ประเทียบ เทศวิศาล โดยแพ้ทีมชาติบัลแกเรีย 0-7, แพ้ทีมชาติกัวเตมาลา 1-4 และแพ้ทีมชาติเช็กโกสโลวาเกีย 0-8 ตกรอบแรกในการแข่งขัน ซึ่งผู้ชนะในรายการนี้ได้แก่ทีมชาติฮังการี ซึ่งคว้าเหรียญทองไปครอง และนั่นเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิกเป็นครั้งสุดท้ายของทีมชาติไทยจนถึงปัจจุบัน

การแข่งขันเอเชียนคัพ, คิงส์คัพ, เอเชียนเกมส์ และ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน

ในปี พ.ศ. 2515 ประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลเอเชียนคัพ 1972 ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันเอเชียนคัพครั้งที่ 5 โดยในการแข่งขันนี้ ทีมชาติไทยได้อันดับที่ 3 โดยยิงลูกโทษตัดสินเอาชนะทีมชาติกัมพูชา ไปได้ 5-3 ภายหลังจากเสมอกัน 2-2 ซึ่งในการแข่งขันนี้ ทีมชาติอิหร่าน คว้าตำแหน่งชนะเลิศ และทีมชาติเกาหลีใต้ได้รางวัลรองชนะเลิศตามลำดับ

ในปี พ.ศ. 2519 ประเทศไทยได้แชมป์คิงส์คัพเป็นสมัยแรกโดยเป็นแชมป์ร่วมกับทีมชาติมาเลเซีย ภายหลังจากที่มีการเริ่มมีการจัดคิงส์คัพในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 โดยต่อมาทีมชาติไทยได้เป็นแชมป์คิงส์คัพรวมทั้งสิ้น 11 ครั้งด้วยกัน

สำหรับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ทีมชาติไทยยังไม่สามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศได้ โดยความสำเร็จสูงสุดคือเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่จัดขึ้นที่ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2533 เช่นเดียวกับ เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2541 และเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 14 ที่จัดขึ้นที่ ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในปี พ.ศ. 2545 และล่าสุดในเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่จัดขึ้นที่ โดฮา ประเทศกาตาร์ในปี พ.ศ. 2549 ทีมชาติไทยทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการเป็นทีมเดียวในอาเซียนที่ผ่านเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ (รอบ 8 ทีมสุดท้าย) และผ่านเข้ารอบโดยเป็นที่ 1 ของกลุ่มซี

ในปี พ.ศ. 2537 ทีมชาติไทยได้ร่วมก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (เอเอฟเอฟ) ร่วมกับอีก 9 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน และนอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการเชิญสโมสรชั้นนำจากทั่วโลกมาแข่งขันในประเทศไทยหลายครั้งด้วยกัน ได้แก่ เอฟซีปอร์โต (2540) อินเตอร์มิลาน (2540) โบคาจูเนียร์ (2540) ลิเวอร์พูล (2544) นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (2547) เอฟเวอร์ตัน (2548) โบลตันวันเดอร์เรอร์ (2548) แมนเชสเตอร์ซิตี (2548 ที่ไทย และ 2550 ที่อังกฤษ[15]) และสโมสรชั้นนำอื่น ๆ อีกมากมาย

ถัดมาในช่วง พ.ศ. 2539 ทีมชาติไทยภายใต้การคุมทีมของธวัชชัย สัจจกุล ได้มีผู้เล่นชื่อดังในทีมชุดใหญ่หลายคน อาทิ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, ตะวัน ศรีปาน, ดุสิต เฉลิมแสน, นที ทองสุขแก้ว, และ เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์ จนได้รับการขนานนามจากสื่อว่าเป็น "ทีมชาติไทยชุดดรีมทีม (Dream Team)"[16][17][18] โดยมีผลงานโดดเด่นคือการชนะเลิศรายการ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน (ปัจจุบันคือรายการเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ) ที่ประเทศสิงคโปร์ และคว้าแชมป์รายการดังกล่าวได้รวม 5 สมัยจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นสถิติสูงสุด

การคุมทีมของชาญวิทย์ ผลชีวิน และ ปีเตอร์ รีด

โลโก้ทีมชาติไทยในช่วงปี 2006-2017 (พ.ศ. 2549-2560)

ในปี พ.ศ. 2551 ไทยได้ตกรอบฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกในรอบ 20 ทีมสุดท้าย โดยได้อยู่สายเดียวกับทีมชาติญี่ปุ่น โอมาน บาห์เรน โดยมีผลงานคือเสมอ 1 นัด และแพ้ไปถึง 5 นัด ทำให้ชาญวิทย์ ผลชีวิน ประกาศลาออกจากตำแหน่ง[19] หลังจากนั้น ปีเตอร์ รีด อดีตนักเตะสโมสรเอฟเวอร์ตันและทีมชาติอังกฤษได้เข้ามารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนต่อ แต่ทีมชาติไทยก็พลาดแชมป์สำคัญในรายการ อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 2007 โดยแพ้ให้กับทีมชาติเวียดนามรวมผลสองนัดด้วยประตูรวม 2-3 และยังพลาดแชมป์คิงส์คัพอีกรายการหนึ่งโดยดวลจุดโทษแพ้ ทีมชาติเดนมาร์ก ทำให้ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ปีเตอร์ รีด ถูกปลดออกจากตำแหน่งรวมทั้งอนาคตที่ไม่แน่นอนของเจ้าตัวเนื่องด้วยขณะนั้นมีข่าวว่ารีดจะไปรับงานที่สโมสรฟุตบอลสโตกซิตี ในฐานะผู้ช่วยผู้จัดการทีมของ โทนี พูลิส

การคุมทีมของไบรอัน ร็อบสัน

ในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552, ไบรอัน ร็อบสัน ได้เข้ามาทำหน้าที่ผู้จัดการทีมชาติไทยซึ่งเซ็นสัญญาไปจนถึงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014[20] ต่อมาในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552, ร็อบสันสามารถนำทีมชาติไทยคว้าชัยชนะนัดแรกในการแข่งขันรายการ เอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือกโดยพบกับ ทีมชาติสิงคโปร์ โดยเอาชนะไป 3-1[21] แต่ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552, ร็อบสันนำทีมชาติไทยแพ้นัดแรกต่อทีมชาติสิงคโปร์เช่นกันด้วยผลประตู 0-1 โดยเป็นการแพ้ในบ้านที่ประเทศไทย ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ทีมชาติไทยสามารถยันเสมอกับจอร์แดนและทีมชาติอิหร่าน 0-0 ทั้งสองนัดในการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่ม แต่ก็ไม่สามารถช่วยให้ทีมชาติไทยได้เข้ารอบสุดท้ายในการแข่งขัน เอเชียนคัพ 2011 ที่ประเทศกาตาร์ได้

ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ร็อบสันสามารถนำทีมชาติไทยชนะทีมชาติสิงคโปร์ 1-0 ที่ประเทศไทย ในการแข่งขันกระชับมิตร ถัดมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ร็อบสันนำทีมชาติไทยเอาชนะทีมชาติอินเดียได้ 2-1 ในการแข่งขันกระชับมิตรเช่นกัน แต่ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ร็อบสันนำทีมชาติไทยตกรอบ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2010 ตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่มภายหลังจากการเสมอ 2 นัดกับทีมชาติลาว และ ทีมชาติมาเลเซีย และแพ้ให้กับทีมชาติอินโดนีเซีย ซึ่งช่วงนั้นถือเป็นยุคมืดของทีมชาติไทยอย่างแท้จริงทำให้ร็อบสันยกเลิกสัญญาจากการเป็นผู้จัดการทีมชาติไทย[22]

การคุมทีมของวินฟรีด เชเฟอร์

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 วินฟรีด เชเฟอร์ อดีตผู้จัดการทีมเฟาเอฟเบชตุทท์การ์ทและอดีตแมวมองสโมสรโบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัคสโมสรฟุตบอลชื่อดังในบุนเดิสลีกาและอดีตผู้จัดการทีมทีมชาติแคเมอรูนวัย 61 ปีได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมชาติไทยแทนไบรอัน ร็อบสัน ที่มีปัญหาสุขภาพ โดยงานแรกของเชเฟอร์คือการนำทีมชาติไทยไปแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2014 ในรอบคัดเลือกโซนเอเชีย ซึ่งแฟนบอลทุกคนได้สนับสนุนการทำงานของเชเฟอร์มาตลอดไม่ว่าการแข่งขันในบ้านหรือเกมเยือนจะปรากฏภาพแฟนบอลชาวไทยไปให้กำลังใจเสมอ[23] โดยนัดแรกทีมชาติไทยได้บุกไปแพ้ทีมชาติออสเตรเลีย 1-2 โดยออกนำไปก่อนจากประตูของธีรศิลป์ แดงดา[24] และในนัดต่อมาสามารถเอาชนะทีมชาติโอมานได้ 3-0 จากประตูของสมปอง สอเหลบ, ธีรศิลป์ แดงดา และการทำเข้าประตูตัวเองของราชิค จูมา อัล-ฟาร์ซี โดยเป็นชัยชนะนัดที่สองของทีมชาติไทยในการแข่งขันรอบคัดเลือกครั้งนี้ ซึ่งนัดแรกคือการเอาชนะปาเสลสไตน์ได้ 3-2 ในรอบคัดเลือกรอบที่ 2[25] และยังสามารถยันเสมอกับซาอุดีอาระเบียได้ 0-0 ในนัดถัดมา แต่หลังจากนั้นทีมชาติไทยได้แพ้ 3 นัดรวดในการไปเยือน 2 นัดและเล่นในบ้าน 1 นัด ยุติเส้นทางการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ไว้ที่รอบคัดเลือกรอบที่ 3

ถัดมา ในการแข่งขัน เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2012 ทีมชาติไทยสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศได้ซึ่งพบกับทีมชาติสิงคโปร์ด้วยการเอาชนะทีมชาติมาเลเซีย 3-1 ในรอบรองชนะเลิศ[26] ในรอบชิงชนะเลิศนัดแรกทีมชาติไทยบุกไปแพ้ทีมชาติสิงคโปร์ 1-3 แต่ก็ยังได้ประตูทีมเยือน (อเวย์โกล์) จากอดุลย์ หละโสะและในนัดที่สองแข่งกันที่กรีฑาสถานแห่งชาติทีมชาติไทยสามารถเอาชนะทีมชาติสิงคโปร์ไปได้ 1-0 จากประตูของกีรติ เขียวสมบัติแต่รวมผลประตูรวมสองนัดทีมชาติไทยแพ้ไป 2-3[27] ต่อมาเชเฟอร์ได้นำทีมชาติไทยไปแข่งในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือก (แบ่งกลุ่ม) ซึ่งเขานำทีมชาติไทยพ่ายแพ้ทั้ง 2 นัดและทำให้เขายกเลิกสัญญาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556

การคุมทีมของร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง

ต่อมาทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แต่งตั้งร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยชื่อดังเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ ซึ่งนัดแรกของเกียรติศักดิ์ในการคุมทีมชาติไทยคือการแข่งขันกระชับมิตรพบกับทีมชาติจีน โดยทีมชาติไทยสามารถบุกไปชนะทีมชาติจีนถึงบ้านได้ถึง 5-1[28]

ทีมชาติไทยคว้าตำแหน่งชนะเลิศรายการ ซูซูกิ คัพ ในปี 2014 (พ.ศ. 2557) ที่ประเทศมาเลเซีย

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แต่งตั้งให้ สุรชัย จตุรภัทรพงษ์ อดีตนักฟุตบอลชื่อดังเป็นผู้ฝึกสอนและเตรียมทีมชาติไทยไปแข่งกับทีมชาติอิหร่านในการแข่งขัน เอเชียนคัพ 2015 รอบแบ่งกลุ่ม[29] ก่อนที่เกียรติศักดิ์จะมาคุมทีมต่อและสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการคว้าแชมป์เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 มาครองได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี โดยเอาชนะทีมชาติมาเลเซียในรอบชิงชนะเลิศด้วยผลประตูรวมสองนัด 4-3 ตามด้วยการคว้ารองแชมป์คิงส์คัพในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ถัดมา ในปี พ.ศ. 2559 เขาก็สามารถพาทีมชาติไทยเป็นแชมป์กลุ่มเอฟในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบที่ 2 ผ่านเข้าสู่รอบที่ 3 ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี และสามารถผ่านเข้าไปเล่นเอเชียนคัพ 2019 ได้สำเร็จ ซึ่งยังเป็นการผ่านเข้าไปเล่นเอเชียนคัพได้เป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปีอีกด้วย และยังสามารถคว้าแชมป์ได้อีก 2 รายการ คือ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 44 และเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2016 เอาชนะทีมชาติจอร์แดนและทีมชาติอินโดนีเซียตามลำดับ แต่ในรอบที่ 3 ของการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก ทีมชาติไทยทำผลงานได้อย่างย่ำแย่โดยนับจนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 ไทยทำได้เพียงเสมอ 1 นัด และแพ้รวดในนัดที่เหลือ ทำให้เกียรติศักดิ์ประกาศลาออกจากตำแหน่ง[30][31]

การคุมทีมของมิลอวัน ราเยวัตส์

ทีมชาติไทยในการแข่งขัน คิงส์ คัพ ปี 2017 (พ.ศ. 2560)
ทีมชาติไทยในการแข่งขันเอเชียน คัพ ปี 2019 (พ.ศ. 2562)

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 ทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกาศแต่งตั้ง มิลอวัน ราเยวัตส์ อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติกานาชุดสร้างประวัติศาสตร์พาทีมผ่านเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ เข้ามาทำหน้าที่หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทยคนใหม่ซึ่งก็สามารถพาทีมไทยคว้าแชมป์รายการฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 45 ได้สำเร็จ แต่ผลงานโดยรวมยังไม่ดีขึ้น เมื่อทีมชาติไทยแพ้ไปถึง 8 นัด และเสมออีก 2 นัดในการแข่งขันรวมทุกรายการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ไทยลงแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 46 ไปสองนัด ปรากฏว่านัดแรกเสมอทีมชาติกาบอง 0-0 ก่อนจะชนะในการดวลจุดโทษไปได้ 4-2 แต่ในนัดชิงชนะเลิศทีมชาติไทยแพ้ให้กับทีมชาติสโลวาเกียไป 2-3 ทำได้เพียงคว้าตำแหน่งรองชนะเลิศ และถือเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาที่ทีมมีผลงานย่ำแย่ในรายการถัดมา โดยทีมชาติไทยตกรอบรองชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018 และในนัดแรกของการแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไทยถูกทีมชาติอินเดียถล่มไปถึง 1-4 จากผลงานดังกล่าวทำให้พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกาศปลดมิลอวัน ราเยวัตส์ ลงจากตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอน[32]

ต่อมา สมาคมได้ประกาศแต่งตั้ง ศิริศักดิ์ ยอดญาติไทย ขึ้นรักษาการตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนเป็นการชั่วคราวเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2562[33] โดยศิริศักดิ์สามารถพาทีมชาติไทยทำผลงานดีขึ้นกว่าเดิม โดยเอาชนะบาห์เรน 1-0 และเสมอยูเออีซึ่งเป็นเจ้าภาพได้ 1-1 สามารถผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จซึ่งนี่ถือเป็นการผ่านเข้ารอบแบบแพ้คัดออก (Knockout) ในรายการนี้ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ซึ่งทีมไทยเป็นเจ้าภาพและสามารถคว้าอันดับ 3 ได้ในครั้งนั้น ก่อนที่ทีมชาติไทยจะเข้าไปแพ้ให้กับทีมชาติจีน 1-2 ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ต่อมาในการแข่งขันคิงส์คัพครั้งที่ 47 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ทีมชาติไทยได้แพ้เวียดนามไป 0-1 และแพ้ให้กับอินเดียด้วยสกอร์เดิมจบได้เพียงอันดับ 4 ในการแข่งขันเท่านั้น

ปัจจุบัน

จากนั้น ทีมชาติไทยทำการแต่งตั้ง อากิระ นิชิโนะ อดีตนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาติญี่ปุ่นทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนทั้งทีมชาติชุดใหญ่และทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี โดยนิชิโนะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเขาถือเป็นผู้จัดการทีมชาวเอเชียคนแรก (ที่ไม่ใช่ชาวไทย) ที่ได้เป็นผู้จัดการทีมชาติไทย[34] ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563 นิชิโนะได้รับการขยายสัญญาจากสมาคมไปจนถึงต้นปี 2565[35]

แต่ในที่สุด วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ทีมชาติไทยได้ตัดสินใจยกเลิกสัญญากับนิชิโนะ เนื่องจากผลงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย[36] โดยในรอบคัดเลือกดังกล่าว ทีมชาติไทยอยู่ร่วมกลุ่มจีกับคู่แข่งสำคัญได้แก่ เวียดนาม, มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แม้ว่าทีมไทยจะสามารถเอาชนะอินโดนีเซียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ พวกเขากลับมีผลงานที่ย่ำแย่ในการเสมอกับเวียดนามสองนัดและตามด้วยการแพ้ให้กับมาเลเซีย 1-2 ทำให้พวกเขาอยู่ในอันดับ 3 และภายหลังจากมีการพักการแข่งขันเป็นเวลาหนึ่งปีเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ผลงานของทีมไทยก็ยังไม่ดีขึ้น พวกเขาลงแข่งขันสามนัดสุดท้ายโดยปราศจากผู้เล่นคนสำคัญได้แก่ ชนาธิป สรงกระสินธ์, ธีราทร บุญมาทัน และ ธีรศิลป์ แดงดา โดยทำได้เพียงเสมออินโดนีเซีย 2-2 ตามด้วยการแพ้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1-3 และปิดท้ายด้วยการแพ้มาเลเซีย 0-1

ข้อมูลทั่วไป

ชุดที่ใช้สำหรับการแข่งขัน

ชุดแข่งขันของทีมชาติไทยในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน พ.ศ. 2511

แต่เดิมชุดแข่งขันของฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดที่หนึ่งประกอบด้วย เสื้อสีแดง กางเกงสีแดง และถุงเท้าสีแดง ส่วนชุดที่สองประกอบด้วย เสื้อสีน้ำเงิน กางเกงสีน้ำเงิน และ ถุงเท้าสีน้ำเงิน ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ทำเรื่องขอเปลี่ยนชุดที่หนึ่งไปยัง สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) เป็นเสื้อสีเหลือง กางเกงสีเหลือง และถุงเท้าสีเหลือง ซึ่งเป็นสีประจำพระองค์ใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเทิดพระเกียรติเนื่องในวโรกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ต่อมาเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่ประชุมกรรมการสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีมติให้ทำเรื่องขอเปลี่ยนชุดที่หนึ่งไปยังฟีฟ่า กลับมาเป็นเสื้อสีแดง กางเกงสีแดงและถุงเท้าสีแดงอีกครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2560 สมาคมฯ ได้ขอทางฟีฟ่าเปลี่ยนสีเสื้อทั้งเหย้าและเยือนเป็นสีดำและขาว เพื่อเป็นการถวายอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นเวลา 1 ปี [37][38]

ผู้ผลิตชุดแข่งทีมชาติไทย
ปี ผู้ผลิต ชุดแข่ง
2545–2550 ไทย เอฟบีที
  • 2545 (เหย้า–เยือน)
  • 2546–2547 (เหย้า–เยือน)
  • 2547-2548 (เหย้า–เยือน)
  • 2549–2550 (เหย้า–เยือน)
2550–2554 สหรัฐ ไนกี
  • เอเชียนคัพ 2550 (เหย้า–เยือน)
  • 2550 (ชุดที่สาม)
  • 2551–2553 (เหย้า–เยือน)
  • 2553–2555 (เหย้า–เยือน)
2555–2559 ไทย แกรนด์สปอร์ต
  • 2555–2557 (เหย้า–เยือน)
  • 2557–2559 (เหย้า–เยือน)
  • คิงส์คัพ 2559
  • 2559 (เหย้า–เยือน)
2560–2571 ไทย วอริกซ์
  • 2560–2563 (เหย้า–เยือน–ชุดที่สาม)
  • 2564–2571 (เหย้า–เยือน–ชุดที่สาม)
ราชมังคลากีฬาสถาน

สนามเหย้า

ปัจจุบันทีมชาติไทย ได้มีการใช้ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้า โดยมีความจุ 49,722 ที่นั่ง โดยสนามราชมังคลากีฬาสถาน เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2541 เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 1998 โดยทีมชาติไทยลงแข่งขัน ณ สนามแห่งนี้เป็นครั้งแรกในนัดที่เสมอกับทีมชาติคาซัคสถานไป 1–1 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งในยุคสมัยนั้นยังมีการใช้สนามเหย้าทั้งกรีฑาสถานแห่งชาติและราชมังคลากีฬาสถานสำหรับเกมนานาชาติสลับหมุนเวียนไป ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ราชมังคลากีฬาสถานเป็นสนามเหย้าของทีมชาติไทยในเกมระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการเพียงแห่งเดียว (ในบางโอกาสและการแข่งขันบางรายการอาจใช้สนามศุภชลาศัย)

การถ่ายทอดสด

ปัจจุบัน การแข่งขันในรายการกระชับมิตรของทีมชาติไทยจะถ่ายทอดสดผ่านไทยรัฐทีวี และรายการระดับเอเชียทางช่อง 7 เอชดี

ทีมงานผู้ฝึกสอน

ตำแหน่ง ชื่อ
ผู้จัดการทีม ไทย นวลพรรณ ล่ำซำ
หัวหน้าผู้ฝึกสอน
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ไทย อนุรักษ์ ศรีเกิด
ไทย อิสระ ศรีทะโร
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู ไทย อัมรินทร์ เยาดำ
ผู้ฝึกสอนด้านสมรรถภาพทางกาย ญี่ปุ่น โยเฮ ชิรากิ

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

รายชื่อผู้เล่น 23 คน สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบที่ 2 กับมาเลเซีย ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564
จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564 หลังแข่งขันกับมาเลเซีย

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK ฉัตรชัย บุตรพรม (1987-02-04) 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987 (37 ปี) 10 0 ไทย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
23 1GK ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน (1984-04-20) 20 เมษายน ค.ศ. 1984 (40 ปี) 25 0 ไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

2 2DF สุพรรณ ทองสงค์ (1994-08-26) 26 สิงหาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 11 0 ไทย สุพรรณบุรี
3 2DF สถาพร แดงสี (1988-05-13) 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 (36 ปี) 3 0 ไทย หนองบัว พิชญ
4 2DF มานูเอล บีร์ (1993-09-17) 17 กันยายน ค.ศ. 1993 (30 ปี) 12 0 ไทย แบงค็อก ยูไนเต็ด
5 2DF พรรษา เหมวิบูลย์ (1990-07-08) 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 (33 ปี) 23 4 ไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
12 2DF เอร์เนสโต ภูมิภา (1990-04-16) 16 เมษายน ค.ศ. 1990 (34 ปี) 3 0 ไทย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
15 2DF นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม (1994-07-12) 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 33 1 ไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
19 2DF ทริสตอง โด (1993-01-31) 31 มกราคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 37 0 ไทย แบงค็อก ยูไนเต็ด

6 3MF สารัช อยู่เย็น (1992-05-30) 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี) 48 0 ไทย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
7 3MF สุภโชค สารชาติ (1998-05-22) 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 11 2 ไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
8 3MF ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ (1993-09-01) 1 กันยายน ค.ศ. 1993 (30 ปี) 36 6 ไทย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
10 3MF ธนวัฒน์ ซึ้งจิตถาวร (2000-01-08) 8 มกราคม ค.ศ. 2000 (24 ปี) 3 0 อังกฤษ เลสเตอร์ซิตี
11 3MF พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี (1992-09-15) 15 กันยายน ค.ศ. 1992 (31 ปี) 6 0 ไทย สมุทรปราการ ซิตี้
13 3MF เจริญศักดิ์ วงษ์กรณ์ (1997-05-18) 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 1 0 ไทย สมุทรปราการ ซิตี้
16 3MF พิธิวัต สุขจิตธรรมกุล (1995-02-01) 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 (29 ปี) 8 0 ไทย เชียงราย ยูไนเต็ด
18 3MF เอกนิษฐ์ ปัญญา (1999-10-21) 21 ตุลาคม ค.ศ. 1999 (24 ปี) 7 1 ไทย เชียงราย ยูไนเต็ด
20 3MF จักรพันธ์ แก้วพรม (1988-05-24) 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 (36 ปี) 23 2 ไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
21 3MF สุมัญญา ปุริสาย (1986-12-05) 5 ธันวาคม ค.ศ. 1986 (37 ปี) 22 0 ไทย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด

9 4FW อดิศักดิ์ ไกรษร (1991-02-01) 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 (33 ปี) 39 17 ไทย เมืองทอง ยูไนเต็ด
14 4FW ณัฐวุฒิ สุขสุ่ม (1997-11-06) 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 (26 ปี) 0 0 ไทย แบงค็อก ยูไนเต็ด
17 4FW ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา (2002-08-02) 2 สิงหาคม ค.ศ. 2002 (21 ปี) 7 3 ไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
22 4FW ศุภชัย ใจเด็ด (1998-12-01) 1 ธันวาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 18 4 ไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

ผู้เล่นที่เคยถูกเรียกตัว

รายชื่อผู้เล่นที่เคยถูกเรียกตัวติดทีมชาติไทยในรอบ 12 เดือนหลังสุด:

ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร ถูกเรียกครั้งล่าสุด
GK อภิรักษ์ วรวงษ์ (1996-01-07) 7 มกราคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 0 0 ไทย เชียงราย ยูไนเต็ด v. ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม, 5 กันยายน 2562PRE
GK กรพัฒน์ นารีจันทร์ (1997-10-07) 7 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 0 0 ไทย ขอนแก่น v. ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม, 5 กันยายน 2562PRE
GK วัชระ บัวทอง (1993-04-20) 20 เมษายน ค.ศ. 1993 (31 ปี) 0 0 ไทย การท่าเรือ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47PRE
GK ปฏิวัติ คำไหม (1994-12-24) 24 ธันวาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 0 0 ไทย สมุทรปราการ ซิตี้ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47PRE
GK วรวุฒิ ศรีสุภา (1992-05-25) 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี) 0 0 ไทย การท่าเรือ ไชนาคัพ 2019
GK สรานนท์ อนุอินทร์ (1994-03-24) 24 มีนาคม ค.ศ. 1994 (30 ปี) 0 0 ไทย เชียงราย ยูไนเต็ด ไชนาคัพ 2019PRE
GK ขวัญชัย สุขล้อม (1995-01-12) 12 มกราคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) 0 0 ไทย ประจวบ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018PRE

DF ชินภัทร ลีเอาะ (1997-02-02) 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 (27 ปี) 0 0 ไทย เชียงราย ยูไนเต็ด v. ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย, 10 กันยายน 2562
DF พัชรพล อินทนี (1998-10-12) 12 ตุลาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 0 0 ไทย เมืองทอง ยูไนเต็ด v. ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย, 10 กันยายน 2562
DF พีระพัฒน์ โน๊ตชัยยา (1993-02-04) 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (31 ปี) 29 1 ไทย แบงค็อก ยูไนเต็ด ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47
DF ปวีร์ ตัณฑะเตมีย์ (1996-10-22) 22 ตุลาคม ค.ศ. 1996 (27 ปี) 1 0 ไทย ราชบุรี มิตรผล ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47
DF นัสตพล มาลาพันธ์ (1994-01-10) 10 มกราคม ค.ศ. 1994 (30 ปี) 3 0 ไทย ประจวบ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47PRE
DF จักพัน ไพรสุวรรณ (1994-08-16) 16 สิงหาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 0 0 ไทย สมุทรปราการ ซิตี้ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47PRE
DF มิก้า ชูนวลศรี (1989-03-26) 26 มีนาคม ค.ศ. 1989 (35 ปี) 7 0 ไทย แบงค็อก ยูไนเต็ด ไชนาคัพ 2019PRE
DF ธนะศักดิ์ ศรีใส (1989-09-25) 25 กันยายน ค.ศ. 1989 (34 ปี) 1 0 ไทย เชียงราย ยูไนเต็ด ไชนาคัพ 2019PRE
DF เฉลิมพงษ์ เกิดแก้ว (1986-11-07) 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 (37 ปี) 19 0 ไทย นครราชสีมา เอเชียนคัพ 2019
DF ฟิลิป โรลเลอร์ (1994-06-10) 10 มิถุนายน ค.ศ. 1994 (29 ปี) 11 1 ไทย ราชบุรี มิตรผล เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018
DF เควิน ดีรมรัมย์ (1997-09-11) 11 กันยายน ค.ศ. 1997 (26 ปี) 1 0 ไทย การท่าเรือ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018
DF มาร์โค บัลลินี (1998-06-12) 12 มิถุนายน ค.ศ. 1998 (25 ปี) 0 0 ไทย เมืองทอง ยูไนเต็ด เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018 PRE

MF ชนาธิป สรงกระสินธ์ (1993-10-05) 5 ตุลาคม ค.ศ. 1993 (30 ปี) 54 7 ญี่ปุ่น คอนซาโดเล ซัปโปะโระ v. Flag of the Republic of the Congo สาธารณรัฐคองโก, 10 ตุลาคม 2562INJ
MF อานนท์ อมรเลิศศักดิ์ (1997-11-06) 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 (26 ปี) 2 0 ไทย แบงค็อก ยูไนเต็ด v. ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย, 10 กันยายน 2562
MF สรรวัชญ์ เดชมิตร (1989-08-03) 3 สิงหาคม ค.ศ. 1989 (34 ปี) 29 0 ไทย แบงค็อก ยูไนเต็ด v. ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม, 5 กันยายน 2562PRE
MF พิชา อุทรา (1996-01-07) 7 มกราคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 1 0 ไทย สมุทรปราการ ซิตี้ v. ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม, 5 กันยายน 2562PRE
MF รัตนากร ใหม่คามิ (1998-01-07) 7 มกราคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 0 0 ไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด v. ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม, 5 กันยายน 2562PRE
MF ศิวกร จักขุประสาท (1992-04-23) 23 เมษายน ค.ศ. 1992 (32 ปี) 0 0 ไทย การท่าเรือ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47
MF นูรูล ศรียานเก็ม (1992-02-08) 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 (32 ปี) 15 0 ไทย การท่าเรือ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47INJ
MF เกริกฤทธิ์ ทวีกาญจน์ (1990-11-19) 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 (33 ปี) 33 7 ไทย ชลบุรี ไชนาคัพ 2019
MF ศนุกรานต์ ถิ่นจอม (1993-09-12) 12 กันยายน ค.ศ. 1993 (30 ปี) 1 0 ไทย เมืองทอง ยูไนเต็ด ไชนาคัพ 2019
MF จิตปัญญา ทิสุด (1991-10-04) 4 ตุลาคม ค.ศ. 1991 (32 ปี) 0 0 ไทย ประจวบ ไชนาคัพ 2019
MF ปกเกล้า อนันต์ (1991-03-04) 4 มีนาคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 42 6 ไทย แบงค็อก ยูไนเต็ด เอเชียนคัพ 2019
MF ปกรณ์ เปรมภักดิ์ (1993-02-02) 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (31 ปี) 5 0 ไทย การท่าเรือ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018

FW สุรชาติ สารีพิมพ์ (1986-05-24) 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1986 (38 ปี) 6 0 ไทย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47
FW อภิวัฒน์ เพ็งประโคน (1988-09-22) 22 กันยายน ค.ศ. 1988 (35 ปี) 0 0 ไทย พีทีที ระยอง ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47PRE
FW อาทิตย์ บุตรจินดา (1994-08-07) 7 สิงหาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 0 0 ไทย ชลบุรี ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47PRE
FW สิโรจน์ ฉัตรทอง (1992-12-08) 8 ธันวาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี) 25 3 ไทย ประจวบ เอเชียนคัพ 2019

INJ ผู้เล่นที่ถูกเรียกแต่ถอนตัวเนื่องจากอาการบาดเจ็บ
PRE ผู้เล่นชุดเบื้องต้น
RET ผู้เล่นที่เลิกเล่นให้กับทีมชาติ
WD ผู้เล่นที่ถูกเรียกแต่ถอนตัวเนื่องจากปัญหาส่วนตัว

กัปตันทีม

หมายเลขเสื้อ ผู้เล่น ดำรงตำแหน่ง
23 ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน พ.ศ. 2562–
4

เฉลิมพงษ์ เกิดแก้ว

รายการ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018
1 กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ พ.ศ. 2560–2561
10 ธีรศิลป์ แดงดา พ.ศ. 2559–รายการ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2016, พ.ศ. 2562–
3 ธีราทร บุญมาทัน พ.ศ. 2558–2560
19 อดุลย์ หละโสะ พ.ศ. 2557–2558
18 สินทวีชัย หทัยรัตนกุล พ.ศ. 2556–2557
2 ภานุพงศ์ วงศ์ษา พ.ศ. 2555–2556
6 ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์ พ.ศ. 2553–2554
7 ดัสกร ทองเหลา พ.ศ. 2551–2552
10 ตะวัน ศรีปาน พ.ศ. 2550–2551
17 สุธี สุขสมกิจ พ.ศ. 2549
1

5

กิตติศักดิ์ ระวังป่า

นิเวส ศิริวงศ์

พ.ศ. 2549, พ.ศ. 2551
6 รุ่งโรจน์ สว่างศรี พ.ศ. 2547–2548
8 เทิดศักดิ์ ใจมั่น พ.ศ. 2546
12 สุรชัย จิระศิริโชติ พ.ศ. 2545
13 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง พ.ศ. 2544–พ.ศ. 2545, พ.ศ. 2547, พ.ศ. 2550
5 โชคทวี พรหมรัตน์ พ.ศ. 2542–พ.ศ. 2543, พ.ศ. 2546
7 นที ทองสุขแก้ว พ.ศ. 2539–พ.ศ. 2541
14 วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์ พ.ศ. 2538
9 ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน พ.ศ. 2536

ผู้ฝึกสอนทีมชาติ

ผู้ฝึกสอนตั้งแต่ (พ.ศ. 2499–ปัจจุบัน)

ชื่อ สัญชาติ ช่วงเวลา สถิติ ผลงาน
แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ Win %
บุญชู สมุทรโคจร ไทย 2499–2507 ? ? ? ? ?
ประเทียบ เทศวิศาล ไทย 2508–2511 ? ? ? ? ?
กึนเทอร์ กลอมบ์ เยอรมนี 2511–2518 ? ? ? ? ? โอลิมปิกฤดูร้อน 1968 - รอบแบ่งกลุ่ม

เอเชียนคัพ 1972 - อันดับ 3

เนาวรัตน์ ปทานนท์ ไทย 2518 ? ? ? ? ?
เพเทอร์ ชนิทเกอร์ เยอรมนี 2519–2521 ? ? ? ? ?
แวร์เนอร์ บิคเคลเฮาพท์ เยอรมนี 2522 ? ? ? ? ?
วิชิต แย้มบุญเรือง ไทย 2522 ? ? ? ? ?
ศุภกิจ มีลาภกิจ ไทย 2523 ? ? ? ? ?
ประวิทย์ ไชยสาม ไทย 2524–2526 ? 2 3 ? ?
ยรรยง ณ หนองคาย ไทย 2526 ? 2 3 ? ?
เสนอ ไชยยงค์ ไทย 2527 ? 2 3 ? ?
บัวร์กฮาร์ด ซีเซอ เยอรมนี 2528–2529 ? ? ? ? ?
เชิดศักดิ์ ชัยบุตร ไทย 2530 ? ? ? ? ?
ประวิทย์ ไชยสาม ไทย 2531–2532 ? ? ? ? ?
การ์ลูส โรเบร์ตู จี การ์วัลยู บราซิล 2532–2534 ? ? ? ? ? ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 20ชนะเลิศ
เอเชียนเกมส์ 1990 - อันดับ 4
ปีเตอร์ สตัปป์ เยอรมนี 2534–2537 ? 6 2 1 ? เอเชียนคัพ 1992 - รอบแบ่งกลุ่ม
ซีเกมส์ 1993 - ชนะเลิศ
วรวิทย์ สัมปชัญญสถิตย์ ไทย 2537 ? 2 3 ? ?
ชัชชัย พหลแพทย์ ไทย 2537–2538 ? ? ? ? ? ซีเกมส์ 1995 - ชนะเลิศ
ธวัชชัย สัจจกุล ไทย 2539 ? ? ? ? ? ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 1996 - ชนะเลิศ
อาจหาญ ทรงงามทรัพย์ ไทย 2539 15 9 3 3 60.0 เอเชียนคัพ 1996 - รอบแบ่งกลุ่ม
เด็ทมาร์ คราเมอร์ เยอรมนี 2540 ? ? ? ? ?
วิทยา เลาหกุล ไทย 2540–2541 24 10 9 5 41.7 ซีเกมส์ 1997 - ชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 1998 - อันดับ 4
ปีเตอร์ วิธ อังกฤษ 2541–2546 101 46 25 30 45.5 เอเชียนเกมส์ 1998 - อันดับ 4
ซีเกมส์ 1999 - ชนะเลิศ
เอเชียนคัพ 2000 - รอบแบ่งกลุ่ม
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2000 - ชนะเลิศ
คิงส์คัพ 2000 - ชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2002 - ชนะเลิศ
เอเชียนเกมส์ 2002 - อันดับ 4
การ์ลูส โรเบร์ตู จี การ์วัลยู บราซิล 2546–2547 13 6 2 5 46.1
ชัชชัย พหลแพทย์ ไทย มิถุนายน – สิงหาคม 2547 8 2 1 5 25.0 เอเชียนคัพ 2004 - รอบแบ่งกลุ่ม
ซีคฟรีท เฮ็ลท์ เยอรมนี สิงหาคม 2547–2548 11 4 4 3 36.4 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2004 - รอบแบ่งกลุ่ม
ชาญวิทย์ ผลชีวิน ไทย 2548–มิถุนายน 2551 39 18 11 10 46.1 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 37 - ชนะเลิศ
2006 T&T Cup - ชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 38 - ชนะเลิศ
เอเชียนคัพ 2007 - รอบแบ่งกลุ่ม
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2007- รองชนะเลิศ
ปีเตอร์ รีด อังกฤษ กันยายน 2551–กันยายน 2552 15 8 4 3 53.3 2008 T&T Cup - ชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2008 - รองชนะเลิศ
ไบรอัน ร็อบสัน อังกฤษ กันยายน 2552–มิถุนายน 2554 18 7 4 7 38.8 ภูเก็ต กะตะกรุ๊ป คัพ 2009 (รายการการแข่งขันกระชับมิตรกับทีมสโมสร)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2010 – รอบแบ่งกลุ่ม
วินฟรีท เชเฟอร์ เยอรมนี กรกฎาคม 2554–มิถุนายน 2556 28 14 6 8 50 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 41 – อันดับ 4
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2012 – รองชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 42 – อันดับ 3
เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง
ไทย กรกฎาคม 2556–31 มีนาคม 2560 42 21 7 14 50 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 43 – รองชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2014ชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 44ชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016ชนะเลิศ
ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบ 12 ทีม
มิลอวัน ราเยวัตส์
เซอร์เบีย 5 พฤษภาคม 2560–7 มกราคม 2562 20 8 7 5 40 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 45ชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 46 – รองชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018 – รอบรองชนะเลิศ
เอเชียนคัพ 2019 (นัดที่ 1)
ศิริศักดิ์ ยอดญาติไทย
ไทย 7 มกราคม 2562–
14 มิถุนายน 2562
7 2 1 4 28 เอเชียนคัพ 2019 – รอบ 16 ทีม

ไชนาคัพ 2019 – รองชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47 – อันดับ 4

อากิระ นิชิโนะ ญี่ปุ่น 17 กรกฎาคม 2562–
29 กรกฎาคม 2564
11 2 5 4 18.2 ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2

การแข่งขัน

การแข่งขันที่สำคัญ

# วันที่ สถานที่ คู่แข่ง สกอร์ ผล หมายเหตุ
1. 26/11/56 ออสเตรเลีย เมลเบิร์น, ประเทศออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่ 0-9 แพ้ การแข่งขันของทีมชาติไทยที่แพ้สูงสุด
2. 19/10/68 เม็กซิโก เอสตาดีโอโนว์กัมป์, เลออน ประเทศกัวเตมาลา กัวเตมาลา 4-1 แพ้ การแข่งขันและประตูครั้งแรกของทีมชาติไทยในการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์
3. 24/5/71 ไทย กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย บรูไนบรูไน 10-0 ชนะ การแข่งขันของทีมชาติไทยที่ชนะสูงสุด
4. 19/5/72 ไทย สนามศุภชลาศัย, กรุงเทพมหานคร ธงชาติกัมพูชา กัมพูชา กัมพูชา 2-2 จุดโทษ 3-5 ชนะ ทีมชาติไทยคว้าอันดับ 3 ในการแข่งขัน เอเชียนคัพ 1972
5. 4/6/83 เกาหลีใต้ สนามตองแตมุน, โซล ไนจีเรีย ไนจีเรีย 0-0 เสมอ
6. 12/6/83 เกาหลีใต้ สนามชอนจู, ชอนจู สหรัฐ สหรัฐอเมริกา 3-2 แพ้
7. 15/4/84 ไทย สนามศุภชลาศัย, กรุงเทพมหานคร ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 5-2 ชนะ
8. 21/6/92 ไทย สนามศุภชลาศัย, กรุงเทพมหานคร เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 2-1 ชนะ เอเชียนคัพ 1992 รอบคัดเลือก
9. 29/6/93 สิงคโปร์ สิงคโปร์ ประเทศพม่า เมียนมาร์ 4-3 ชนะ เริ่มประสบความสำเร็จในระดับทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
10. 15/9/96 สิงคโปร์ สนามกีฬาแห่งชาติ, สิงคโปร์ มาเลเซีย มาเลเซีย 1-0 ชนะ ชนะการแข่งขัน อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ รอบชิงชนะเลิศ
11. 16/2/96 ไทย สนามศุภชลาศัย, กรุงเทพมหานคร ฟินแลนด์ ฟินแลนด์ 5-2 ชนะ
12. 13/2/97 ไทย สนามศุภชลาศัย, กรุงเทพมหานคร โรมาเนีย โรมาเนีย 1-0 ชนะ
13. 15/3/97 ไทย สนามศุภชลาศัย, กรุงเทพมหานคร ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 3-1 ชนะ
14. 14/12/98 ไทย สนามศุภชลาศัย, กรุงเทพมหานคร เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 2-1 ชนะ
15. 23/2/00 ไทย ราชมังคลากีฬาสถาน, กรุงเทพมหานคร บราซิล บราซิล 0-7 แพ้
16. 21/12/04 ไทย ราชมังคลากีฬาสถาน, กรุงเทพมหานคร เยอรมนี เยอรมนี 1-5 แพ้
17. 6/6/07 ไทย สนามศุภชลาศัย, กรุงเทพมหานคร เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 1-3 แพ้
18. 3/10/07 ไทย สนามศุภชลาศัย, กรุงเทพมหานคร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1-1 เสมอ การแข่งขันครั้งสุดท้ายของ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ในนามทีมชาติไทย
19. 28/3/09 ไทย สนามศุภชลาศัย, กรุงเทพมหานคร นิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ 3-1 ชนะ การแข่งขันครั้งสุดท้ายของ ธชตวัน ศรีปาน ในนามทีมชาติไทย
20. 16/5/10 แอฟริกาใต้ สนามกีฬาเคปทาวน์, เคปทาวน์ แอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ 4-0 แพ้
21. 2/9/11 ออสเตรเลีย สนามกีฬาซันคอร์ป, บริสเบน ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 2-1 แพ้ การแข่งขันครั้งแรกกับออสเตรเลีย
22. 6/9/11 ไทย ราชมังคลากีฬาสถาน, กรุงเทพมหานคร โอมาน โอมาน 3-0 ชนะ

สถิติการแข่งขันแบบเฮดทูเฮด

ทีมที่เคยแข่งกับทีมชาติไทย
ผลการแข่งขันเฮดทูเฮดของทีมชาติไทย
ทีม ตั้งแต่ ถึง ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง สมาพันธ์
ธงชาติอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถาน 2015 2015 1 1 0 0 2 0 +2 AFC
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 1982 2017 7 0 1 6 4 17 −13 AFC
ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน 1980 2019 8 2 4 2 8 9 −1 AFC
ธงชาติบังกลาเทศ บังกลาเทศ 1973 2012 14 9 3 2 29 11 +18 AFC
ธงชาติเบลารุส เบลารุส 2017 2017 1 0 1 0 0 0 0 UEFA
ธงชาติภูฏาน ภูฏาน 2012 2012 1 1 0 0 5 0 +5 AFC
ธงชาติบราซิล บราซิล 2000 2000 1 0 0 1 0 7 −7 CONMEBOL
ธงชาติบรูไน บรูไน 1971 1997 7 6 1 0 33 5 +28 AFC
ธงชาติบัลแกเรีย บัลแกเรีย 1968 1996 2 0 0 2 0 13 −13 UEFA
ธงชาติกัมพูชา กัมพูชา 1957 1997 15 8 5 2 36 17 +19 AFC
ธงชาติแคเมอรูน แคเมอรูน 2015 2015 1 0 0 1 2 3 −1 CAF
ธงชาติจีน จีน 1975 2019 28 5 5 18 24 61 −37 AFC
ธงชาติจีนไทเป จีนไทเป 1963 2015 9 4 1 4 16 16 0 AFC
Flag of the Republic of the Congo สาธารณรัฐคองโก 2019 2019 1 0 1 0 1 1 0 CAF
ธงชาติเช็กเกีย เช็กเกีย 1968 1968 1 0 0 1 0 8 −8 UEFA
ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก 2009 2010 2 0 1 1 2 5 −3 UEFA
ธงชาติอียิปต์ อียิปต์ 1998 1998 1 0 1 0 1 1 0 CAF
ธงชาติเอสโตเนีย เอสโตเนีย 2000 2004 2 1 1 0 2 1 +1 UEFA
ธงชาติฟินแลนด์ ฟินแลนด์ 1996 2000 4 3 1 0 11 3 +8 UEFA
ธงชาติกาบอง กาบอง 2018 2018 1 0 1 0 0 0 0 CAF
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี 2004 2004 1 0 0 1 1 5 −4 UEFA
ธงชาติกานา กานา 1982 1983 2 0 0 2 2 6 −4 CAF
ธงชาติประเทศกัวเตมาลา กัวเตมาลา 1968 1968 1 0 0 1 1 4 −3 CONCACAF
ธงชาติฮ่องกง ฮ่องกง 1961 2018 26 9 6 11 39 33 +6 AFC
ธงชาติอินเดีย อินเดีย 1962 2019 23 11 6 6 37 26 +11 AFC
ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 1957 2021 69 33 18 18 121 82 +39 AFC
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน 1972 2013 14 0 3 11 5 32 −27 AFC
ธงชาติอิรัก อิรัก 1972 2017 17 2 5 10 18 45 −27 AFC
ธงชาติอิสราเอล อิสราเอล 1973 1973 1 0 0 1 0 6 −6 UEFA
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 1962 2017 19 1 3 15 11 49 −38 AFC
ธงชาติจอร์แดน จอร์แดน 2004 2016 7 1 5 1 4 3 +1 AFC
ธงชาติคาซัคสถาน คาซัคสถาน 1998 2006 4 2 2 0 5 3 +2 UEFA
ธงชาติเคนยา เคนยา 1990 2017 2 2 0 0 3 1 +2 CAF
ธงชาติคูเวต คูเวต 1972 2014 12 4 1 7 18 30 −12 AFC
ธงชาติคีร์กีซสถาน คีร์กีซสถาน 2001 2001 1 1 0 0 3 1 +2 AFC
ธงชาติลาว ลาว 1961 2010 12 10 1 1 45 14 +31 AFC
ธงชาติลัตเวีย ลัตเวีย 2005 2005 1 0 1 0 1 1 0 UEFA
ธงชาติเลบานอน เลบานอน 1998 2014 7 3 2 2 12 15 −3 AFC
ธงชาติไลบีเรีย ไลบีเรีย 1984 1984 1 0 0 1 1 2 −1 CAF
ธงชาติลิเบีย ลิเบีย 1977 1977 1 0 1 0 2 2 0 CAF
ธงชาติลีชเทินชไตน์ ลีชเทินชไตน์ 1981 1981 1 1 0 0 2 0 +2 UEFA
ธงชาติลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก 1980 1980 1 0 0 1 0 1 −1 UEFA
ธงชาติมาเก๊า มาเก๊า 2007 2007 2 2 0 0 13 2 +11 AFC
ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 1959 2021 98 29 31 38 136 141 −5 AFC
Flag of the Maldives มัลดีฟส์ 1996 2012 3 3 0 0 19 0 +19 AFC
ธงชาติมอลตา มอลตา 1981 1981 1 0 0 1 0 2 −2 UEFA
ธงชาติโมร็อกโก โมร็อกโก 1980 1980 1 0 0 1 1 2 −1 CAF
ธงชาติประเทศพม่า พม่า 1957 2017 48 20 14 14 89 62 +27 AFC
ธงชาติเนปาล เนปาล 1982 2008 3 3 0 0 12 1 +11 AFC
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 2007 2007 1 0 0 1 1 3 −2 UEFA
ธงชาตินิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ 1976 2014 5 2 2 1 9 7 +2 OFC
ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรีย 1983 1983 1 0 1 0 0 0 0 CAF
ธงชาติไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์เหนือ 1997 1997 1 0 1 0 0 0 0 UEFA
ธงชาติเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ 1978 2017 20 5 4 11 18 32 −14 AFC
ธงชาตินอร์เวย์ นอร์เวย์ 1965 2012 2 0 0 2 0 8 −8 UEFA
ธงชาติโอมาน โอมาน 1986 2021 12 5 1 6 11 10 +1 AFC
ธงชาติปากีสถาน ปากีสถาน 1960 2001 5 4 0 1 16 7 +9 AFC
ธงชาติรัฐปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์ 2011 2011 2 1 1 0 3 2 +1 AFC
ธงชาติปาปัวนิวกินี ปาปัวนิวกินี 1984 1984 1 0 0 1 1 4 −3 OFC
ธงชาติฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 1971 2018 21 17 2 2 65 10 +55 AFC
ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์ 2010 2010 1 0 0 1 1 3 −2 UEFA
ธงชาติประเทศกาตาร์ กาตาร์ 1992 2016 11 4 3 4 15 15 0 AFC
ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย 1982 2017 16 1 1 14 9 42 −33 AFC
ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ 1957 2018 62 33 17 12 107 62 +45 AFC
ธงชาติสโลวาเกีย สโลวาเกีย 2004 2018 2 0 1 1 3 4 –1 UEFA
ธงชาติแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ 2010 2010 1 0 0 1 0 4 −4 CAF
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 1961 2016 61 8 12 41 43 120 −77 AFC
ธงชาติศรีลังกา ศรีลังกา 1979 2001 5 5 0 0 15 2 +13 AFC
ธงชาติสวีเดน สวีเดน 1962 2003 5 0 1 4 4 13 −9 UEFA
ธงชาติซีเรีย ซีเรีย 1978 2016 5 3 2 0 12 7 +5 AFC
ธงชาติทาจิกิสถาน ทาจิกิสถาน 2003 2021 3 1 1 1 3 3 0 AFC
ธงชาติติมอร์-เลสเต ติมอร์-เลสเต 2004 2018 2 2 0 0 15 0 +15 AFC
ธงชาติตรินิแดดและโตเบโก ตรินิแดดและโตเบโก 2003 2018 2 2 0 0 4 2 +2 CONCACAF
ธงชาติเติร์กเมนิสถาน เติร์กเมนิสถาน 1998 1998 1 0 1 0 3 3 0 AFC
Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1986 2021 12 2 3 7 12 19 −7 AFC
ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 1987 1987 1 0 0 1 0 1 −1 CONCACAF
ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย 2019 2019 1 0 0 1 0 4 −4 CONMEBOL
ธงชาติอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน 1994 2017 8 5 0 3 18 15 +3 AFC
ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม 1957 2019 47 19 6 22 48 48 0 AFC
ธงชาติเยเมน เยเมน 1988 2007 6 2 4 0 9 5 +4 AFC
80 ประเทศ 1948 2021 796 293 189 314 1214 1195 +19 ทั้งหมด
การแข่งขันนัดล่าสุด: พบทีมชาติมาเลเซียในวันที่ 15 มิถุนายน 2021

สถิติฟุตบอลโลก

ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
ปี ผล อันดับ ลงเล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย ลงเล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
อุรุกวัย 1930 -
เม็กซิโก 1970
ไม่ได้เข้าร่วม - - - - - - - - - - - - -
เยอรมนีตะวันตก 1974 ไม่ผ่านเข้ารอบ - - - - - - - 4 0 0 4 0 13
อาร์เจนตินา 1978 - - - - - - - 4 1 0 3 8 12
สเปน 1982 - - - - - - - 3 0 1 2 3 13
เม็กซิโก 1986 - - - - - - - 6 1 2 3 4 4
อิตาลี 1990 - - - - - - - 6 1 0 5 2 14
สหรัฐ 1994 - - - - - - - 8 4 0 4 13 7
ฝรั่งเศส 1998 - - - - - - - 4 1 1 2 5 6
เกาหลีใต้ญี่ปุ่น 2002 - - - - - - - 14 5 5 4 25 20
เยอรมนี 2006 - - - - - - - 6 2 1 3 9 10
แอฟริกาใต้ 2010 - - - - - - - 10 3 2 5 20 17
บราซิล 2014 - - - - - - - 8 2 2 4 7 10
รัสเซีย 2018 - - - - - - - 16 4 4 8 20 30
ประเทศกาตาร์ 2022 - - - - - - - 8 2 3 3 9 9
รวม - - - - - - - 97 26 21 50 125 165

ประวัติในการแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิก

(ใช้ทีมเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2535)

สถิติเอเอฟซี เอเชียนคัพ

เอเชียนคัพ นัดแข่งขันกับโอมาน ในปี 2007
เอเชียนคัพรอบสุดท้าย เอเชียนคัพรอบคัดเลือก
ปี ผลการแข่งขัน อันดับ ลงเล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย ลงเล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
ฮ่องกง 1956 ถึง เกาหลีใต้ 1960 ไม่ได้เข้าร่วม - - - - - - - - - - - - -
อิสราเอล 1964 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - - 3 0 1 2 4 9
อิหร่าน 1968 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - - 4 2 0 2 5 4
ไทย 1972 อันดับ 3 5 0 3 2 6 9 2 1 0 1 10 1
อิหร่าน 1976 ถอนทีมหลังจากผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - - 4 3 0 1 8 2
คูเวต 1980 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - - 5 3 0 2 11 3
สิงคโปร์ 1984 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - - 5 3 0 2 9 10
ประเทศกาตาร์ 1988 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - - 5 1 2 2 5 12
ญี่ปุ่น 1992 รอบที่ 1 3 0 2 1 1 5 2 2 0 0 3 1
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1996 รอบที่ 1 3 0 0 3 2 13 6 4 2 0 31 5
เลบานอน 2000 รอบที่ 1 3 0 2 1 2 4 6 4 1 1 13 8
จีน 2004 รอบที่ 1 3 0 0 3 1 9 6 3 0 3 10 7
อินโดนีเซียมาเลเซียไทยเวียดนาม 2007 รอบที่ 1 3 1 1 1 3 5 เข้ารอบสุดท้ายในฐานะเจ้าภาพร่วม
ประเทศกาตาร์ 2011 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - 6 1 3 2 3 3
ออสเตรเลีย 2015 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - 6 0 0 6 7 21
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2019 รอบ 16 ทีม 4 1 1 2 4 7 6 4 2 0 14 6
รวม ดีที่สุด: อันดับ 3 24 2 9 13 19 52 61 30 10 21 119 822

สถิติเอเชียนเกมส์

(ใช้ทีมเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2545)

เอเชียนเกมส์
ปี รอบ ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
อินเดีย 1951 ถึง
อินโดนีเซีย 1962
ไม่ได้เข้าร่วม
-
-
-
-
-
-
ไทย 1966
รอบก่อนรองชนะเลิศ
4
1
1
2
5
8
ไทย 1970
รอบก่อนรองชนะเลิศ
4
1
2
1
6
6
อิหร่าน 1974
รอบที่ 1
2
0
0
2
2
4
ไทย 1978
รอบที่ 2
5
2
0
3
6
12
อินเดีย 1982
รอบที่ 1
3
1
0
2
3
5
เกาหลีใต้ 1986
รอบที่ 1
4
1
1
2
8
4
จีน 1990
รอบรองชนะเลิศ
6
3
1
2
5
3
ญี่ปุ่น 1994
รอบที่ 1
4
0
1
3
8
12
ไทย 1998
รอบรองชนะเลิศ
8
4
1
3
12
10
เกาหลีใต้ 2002
รอบรองชนะเลิศ
5
4
0
1
0
4
ประเทศกาตาร์ 2006
รอบก่อนรองชนะเลิศ
4
3
0
1
4
3
จีน 2010
รอบก่อนรองชนะเลิศ
5
2
2
1
8
2
เกาหลีใต้ 2014
รอบรองชนะเลิศ
7
5
0
2
15
3
อินโดนีเซีย 2018
รอบที่ 1
3
0
2
1
2
3
รวม
ดีที่สุด: รอบรองชนะเลิศ
63
25
11
25
97
78

ประวัติการแข่งขันในอาเซียน

สถิติอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ

การแข่งขันนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อไทเกอร์คัพและเอเอฟเอฟซูซูกิคัพ

สถิติซีเกมส์

ใช้ทีมเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 2001 - ค.ศ. 2015 ใช้ทีมเยาวชนอายุไม่เกิน 21 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 2017

ซีเกมส์
เจ้าภาพ/ปี รอบ ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
ไทย 1959 รองชนะเลิศ 4 2 0 2 9 10
ประเทศพม่า 1961 อันดับ 3 3 1 2 0 7 4
มาเลเซีย 1965 ชนะเลิศ 3 2 1 0 6 3
ไทย 1967 อันดับ 3 4 2 0 2 9 8
ประเทศพม่า 1969 รองชนะเลิศ 3 1 1 1 4 4
มาเลเซีย 1971 อันดับ 3 5 1 2 2 7 8
สิงคโปร์ 1973 รอบที่ 1 2 0 1 1 1 2
ไทย 1975 ชนะเลิศ 3 1 2 0 5 4
มาเลเซีย 1977 รองชนะเลิศ 4 1 1 2 3 6
อินโดนีเซีย 1979 อันดับ 3 5 2 2 1 6 5
ฟิลิปปินส์ 1981 ชนะเลิศ 4 2 2 0 9 6
สิงคโปร์ 1983 ชนะเลิศ 5 3 1 1 10 4
ไทย 1985
ชนะเลิศ
4
3
1
0
17
1
อินโดนีเซีย 1987
อันดับ 3
4
2
1
1
7
3
มาเลเซีย 1989
รอบรองชนะเลิศ
4
1
2
1
5
3
ฟิลิปปินส์ 1991
รองชนะเลิศ
4
2
1
1
10
2
สิงคโปร์ 1993
ชนะเลิศ
6
6
0
0
18
6
ไทย 1995
ชนะเลิศ
6
5
1
0
19
2
อินโดนีเซีย 1997
ชนะเลิศ
6
4
2
0
15
3
บรูไน 1999
ชนะเลิศ
6
5
1
0
24
1
มาเลเซีย 2001
ชนะเลิศ
6
6
0
0
14
2
เวียดนาม 2003
ชนะเลิศ
5
4
1
0
20
2
ฟิลิปปินส์ 2005
ชนะเลิศ
5
5
0
0
10
2
ไทย 2007
ชนะเลิศ
5
5
0
0
18
3
ลาว 2009
รอบที่ 1
4
2
1
1
15
3
อินโดนีเซีย 2011
รอบที่ 1
4
1
0
3
6
7
ประเทศพม่า 2013
ชนะเลิศ
6
4
2
0
10
3
สิงคโปร์ 2015
ชนะเลิศ
6
6
0
0
21
1
มาเลเซีย 2017
ชนะเลิศ
7
6
1
0
12
1
ฟิลิปปินส์ 2019
รอบที่ 1
5
3
1
1
14
4
รวม
ดีที่สุด: ชนะเลิศ
138
88
30
20
331
113

สถิติ

อันดับฟีฟ่า

อันดับฟีฟ่าของทีมชาติไทย
ปี อันดับ เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ดีที่สุด แย่ที่สุด
อันดับ เปลี่ยนแปลง อันดับ เปลี่ยนแปลง
พ.ศ. 2536 69 19 10 2 7 66 เพิ่มขึ้น 9 69 ลดลง 1
พ.ศ. 2537 85 4 0 1 3 67 เพิ่มขึ้น 2 85 ลดลง 8
พ.ศ. 2538 77 8 6 1 1 77 เพิ่มขึ้น 26 103 ลดลง 19
พ.ศ. 2539 57 18 11 3 4 50 เพิ่มขึ้น 11 72 ลดลง 4
พ.ศ. 2540 54 16 7 6 3 54 เพิ่มขึ้น 8 70 ลดลง 4
พ.ศ. 2541 45 20 9 5 6 43 เพิ่มขึ้น 8 60 ลดลง 7
พ.ศ. 2542 60 9 6 3 0 60 เพิ่มขึ้น 9 78 ลดลง 25
พ.ศ. 2543 61 24 13 5 6 57 เพิ่มขึ้น 3 65 ลดลง 6
พ.ศ. 2544 61 23 10 6 7 60 เพิ่มขึ้น 3 64 ลดลง 1
พ.ศ. 2545 66 11 5 3 3 60 เพิ่มขึ้น 4 71 ลดลง 5
พ.ศ. 2546 60 11 5 2 4 54 เพิ่มขึ้น 15 75 ลดลง 9
พ.ศ. 2547 79 20 4 5 11 57 เพิ่มขึ้น 6 79 ลดลง 7
พ.ศ. 2548 111 2 0 1 1 80 เพิ่มขึ้น 1 111 ลดลง 8
พ.ศ. 2549 137 8 5 2 1 108 เพิ่มขึ้น 2 137 ลดลง 12
พ.ศ. 2550 121 20 11 6 3 107 เพิ่มขึ้น 15 126 ลดลง 8
พ.ศ. 2551 126 19 8 4 7 90 เพิ่มขึ้น 15 126 ลดลง 18
พ.ศ. 2552 105 8 3 3 2 105 เพิ่มขึ้น 7 124 ลดลง 3
พ.ศ. 2553 120 12 4 3 5 98 เพิ่มขึ้น 7 120 ลดลง 6
พ.ศ. 2554 122 11 3 5 3 114 เพิ่มขึ้น 10 132 ลดลง 18
พ.ศ. 2555 136 13 9 1 3 124 เพิ่มขึ้น 16 152 ลดลง 13
พ.ศ. 2556 146 6 1 0 5 135 เพิ่มขึ้น 6 146 ลดลง 5
พ.ศ. 2557 142 12 7 2 3 140 เพิ่มขึ้น 21 165 ลดลง 8
พ.ศ. 2558 133 11 7 2 2 129 เพิ่มขึ้น 13 145 ลดลง 11
พ.ศ. 2559 126 17 7 3 7 117 เพิ่มขึ้น 7 146 ลดลง 15
พ.ศ. 2560 130 9 3 1 5 126 เพิ่มขึ้น 6 138 ลดลง 7
พ.ศ. 2561 118 11 5 4 2 116 เพิ่มขึ้น 8 129 Steady 0
พ.ศ. 2562 114 10 3 2 5 114 เพิ่มขึ้น 1 116 ลดลง 2

เกียรติยศอื่น ๆ

ผู้สนับสนุน

ฟุตบอลทีมชาติไทยมีผู้สนับสนุนหลักประกอบด้วย เครื่องดื่มตราช้าง,โตโยต้า,เมืองไทยประกันภัย, วอริกซ์, เถ้าแก่น้อย, แกรนด์สปอร์ต, เอ็ม 150, ซิตี้แบงค์, สายการบินไทยแอร์เอเชีย,แบรนด์ และ เน็กซ์แคร์

ฟุตบอลทีมชาติไทยในวัฒนธรรมสมัยนิยม

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม ทีมชาติไทยได้มีการถูกอ้างถึงในหลายสื่อ เช่น ภาพยนตร์หมากเตะรีเทิร์นส, ในการ์ตูนญี่ปุ่นกัปตันซึบาสะ และการ์ตูนไทย มหาสนุก รวมไปถึงยังมีการดัดแปลงเป็นตัวละครในวิดีโอเกมชื่อดังหลาย ๆ เกม เช่น เกมชุดแชมเปียนชิพเมเนเจอร์ เกมชุดฟุตบอลเมเนเจอร์ เกมชุดฟีฟ่า และเกมส์วินนิงอีเลฟเวนภาค 2000 ยู-23 และล่าสุดกับเกมส์โปร อีโวลูชั่น ซ็อคเกอร์ 2009 นอกจากนั้นแล้ว โปรแกรมเมอร์ชาวไทยบางคนยังได้นำเกมส์บางเกมเหล่านี้ เช่น วินนิงอีเลฟเวน หรือแชมเปียนชิพเมเนเจอร์ มาดัดแปลงเพื่อเพิ่มทีมชาติไทย นักฟุตบอลไทย และรายการการแข่งขันที่เกี่ยวข้องกับทีมชาติไทยลงไปอีกด้วย

หมากเตะรีเทิร์นส

ในภาพยนตร์หมากเตะรีเทิร์นส เป็นเรื่องราวของพงศ์นรินทร์ผู้ฝึกสอนฟุตบอลชาวไทยที่มีฝีมือควบคุมทีมระดับสูงกับน้าสาวเจ๊มิ่งที่ถูกหวยรางวัลที่ 1 โดยทั้งสองคนต้องการพาทีมฟุตบอลไทยไปแข่งฟุตบอลโลกโดยพร้อมที่จะใช้ค่าใช้จ่าย 192 ล้านบาทที่ได้มาจากรางวัล แต่ปรากฏว่าหลังจากคุยกับทาง "สมาพันธ์ฟุตบอลไทย" ทางสมาพันธ์ไม่เห็นด้วยไม่ยอมให้พงศ์นรินทร์มาเป็นผู้ฝึกสอน โดยได้แต่งตั้งให้ผู้ฝึกสอนชาวบราซิลมาควบคุมทีมแทน เจ๊มิ่งกับหลานชายเลยโมโหและเดินทางไป "ราชรัฐอาวี" ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทนและสนับสนุนทีมฟุตบอลราชรัฐอาวีจนในที่สุดทีมฟุตบอลอาวีได้ชนะผ่านเข้ารอบจนถึงรอบสุดท้ายและต้องตัดสินกับทีมชาติไทยที่นำโดยผู้ฝึกสอนชาวบราซิลเพื่อจะชิงสิทธิที่จะไปร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลก

กัปตันซึบาสะ

ไฟล์:Singprasert Bunnaak.png
บุนนาค สิงห์ประเสริฐ ตัวละครการ์ตูนจากเรื่องกัปตันซึบาสะเล่นตำแหน่งกองหลังทีมไทย และสโมสรอัตเลติโกเดมาดริดในสเปน

ในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องกัปตันซึบาสะ ทีมเยาวชนไทยได้แข่งขันกับทีมเยาวชนญี่ปุ่นในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียเยาวชน โดยทีมไทยมีผู้เล่นหลัก สามพี่น้องนักตะกร้อ ฟ้าลั่น สกุล ชนะ กรสวัสดิ์ เล่นในตำแหน่งกองหน้า และมี บุนนาค สิงห์ประเสริฐอดีตแชมป์มวยไทย ที่เล่นให้กับสโมสรอัตเลติโกเดมาดริดในสเปนในตำแหน่งกองหลังโดยเป็นกัปตันทีมและเป็นตัวกดดันซึบาสะจนเล่นไม่ออก ในครึ่งแรกนั้นทีมไทยนำทีมญี่ปุ่นถึง 4 ประตูต่อ 1 แต่ในช่วงครึ่งหลัง วากาบายาชิ และ อาโออิ ได้ลงเล่น ทำให้ญี่ปุ่นพลิกล็อกชนะไป 5 ประตูต่อ 4 (วากาบายาชิ ในขณะนั้น ถือว่าเป็นผู้รักษาประตูที่เหนียวมาก) โดยนิตยสารอะเดย์ฉบับที่ 70 ได้มีการกล่าวถึงการ์ตูนกัปตันซึบาสะ ที่ทีมชาติญี่ปุ่นได้แข่งกับทีมชาติไทยนี้

มหาสนุก

ในหนังสือการ์ตูนไทยมหาสนุก ได้เคยมีเรื่องราวเกี่ยวกับฟุตบอลทีมชาติไทยโดยเขียนเป็นเรื่องสั้นมีภาพประกอบโดย เฟน สตูดิโอ พิมพ์ลงในมหาสนุก ฉบับกระเป๋า เล่มที่ 25 เดือน กรกฎาคม 2533 ปักษ์แรก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ หนุ่มไทย 3 คน ที่ชอบเล่นฟุตบอลเป็นชีวิตจิตใจแต่เนื่องจากไม่มีเงินซื้อลูกฟุตบอลจึงได้ฝึกเล่นฟุตบอลกับลูกมะพร้าวอยู่เป็นเวลานาน จนมาวันหนึ่ง ผู้จัดการทีมชาติไทยได้ขับรถเที่ยวต่างจังหวัดและได้เห็นฝึมือของทั้งสามคนนี้จึงซื้อลูกฟุตบอลมาให้พร้อมกับชวนไปเล่นเป็นตัวแทนทีมชาติไทย จนในที่สุด ทีมชาติไทยได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทย โดยในระหว่างการแข่งได้เจอกับคู่แข่งที่เก่งกาจไม่ว่านักเตะชื่อดังอย่างรืด คึลลิต, มาร์โก ฟัน บัสเติน และแกรี ลินิเกอร์ ผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมไทยชนะ และผ่านไปถึงรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งในตอนจบนั้นทีมชาติไทยกำลังจะทำประตูชนะการแข่งขัน แต่เกิดแผ่นดินไหวขึ้น และโลกระเบิด ทำให้ทีมไทยไม่ได้แชมป์บอลโลกในครั้งนั้น

อินาสึมะอิเลฟเวน GO กาแลคซี่

ในอนิเมะและเกม อินาสึมะอิเลฟเวน GO กาแลคซี่ ทีมชาติไทยมีชื่อว่า มัคไทเกอร์ ซึ่งเป็นทีมชาติที่ร่วมการแข่งขันฟุตบอลฟรอนเทียร์อินเตอร์เนชันแนล วิชั่นทู โซนเอเชีย ซึ่งเป็นผู้ผ่านเข้ารอบการแข่งขันระหว่างทีมเดเซิร์ทไลออนของประเทศกาตาร์ โดยมี นภา ลาดำ เป็นกัปตันทีมและเป็นผู้เล่นตำแหน่งกองหลังของทีม

การวิพากษ์วิจารณ์

ทีมชาติไทยเคยสร้างความอัปยศโดยพยายามแข่งกันแพ้ (ล้มบอล) กับทีมอินโดนีเซียในการแข่งขันไทเกอร์คัพ 1998 ที่นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2541 เนื่องจากทั้งสองทีมเข้ารอบรองชนะเลิศแน่นอนแล้ว แต่ผู้ชนะซึ่งจะเป็นที่หนึ่งของกลุ่มเอจะต้องเดินทางไปแข่งในรอบรองชนะเลิศกับทีมชาติเวียดนามที่ฮานอยในวันชาติเวียดนาม ครึ่งแรกต่างฝ่ายต่างพยายามไม่ยิงประตู แต่หลังจากมีการพูดคุยกันระหว่างกรรมการและผู้ฝึกสอน ครึ่งหลังจึงทำประตูได้ทีมละสองประตู จนกระทั่งใกล้หมดเวลา นักเตะของอินโดนีเซียยิงเข้าประตูตัวเอง ทีมชาติไทยจึงชนะไป 3 ต่อ 2 ประตู การแข่งขันนัดนี้ทำให้ทั้งสองทีมถูกปรับเป็นเงิน 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,400,000 บาท[40][41][42]

อ้างอิง

  1. "Thailand matches, ratings and points exchanged". World Football Elo Ratings: Thailand. สืบค้นเมื่อ 24 November 2016.
  2. http://fathailand.org/
  3. https://www.fifa.com/fifa-world-ranking/ranking-table/men/
  4. "FIFA". fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  5. "Men's Ranking". origin1904-p.cxm.fifa.com (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย]
  6. https://www.vajiravudh.ac.th/OVtoVC/OVtoVC_83.htm
  7. https://www.siamfootball.com/index.php/2017-07-18-12-23-04/63-2017-07-30-11-28-45
  8. http://fathailand.org/history
  9. https://www.bbc.com/thai/thailand-53399231
  10. https://lek-prapai.org/home/view.php?id=447
  11. http://fathailand.org/history
  12. สถิติฟุตบอลในโอลิมปิก 1956
  13. http://fathailand.org/news/3797
  14. http://toplinediamond.com/TabNews/TabNewsDetail/21520
  15. บังยีแจงแม้วควักตังค์พาแข้งไทยบินซ้อมที่เรือใบ ข่าวจากสยามกีฬา
  16. "Asian Nations Cup 1992". www.rsssf.com.
  17. "The Dream Team Era". Charnpipop (ภาษาอังกฤษ). 2017-09-12.
  18. Wilson, Simon. "Flashback: 2000 ASEAN Football Championship". www.affsuzukicup.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  19. https://hilight.kapook.com/view/25731
  20. "Bryan Robson to coach Thailand Bryan Robson has agreed to replace his former England team-mate Peter Reid as coach of Thailand". The Daily Telegraph. London. 23 September 2009. สืบค้นเมื่อ 27 April 2010.
  21. Singapore 1–3 Thailand: Sutee Suksomkit gives Bryan Robson crucial win
  22. "Bryan Robson resigns as Thailand manager". BBC Sport. 8 June 2011. สืบค้นเมื่อ 8 June 2011.
  23. http://fathailand.org/
  24. "จิงโจ้เฉือนไทย 2-1 ประเดิมคัดบอลโลก". Manger Online. 2 September 2011. สืบค้นเมื่อ 2 September 2011.
  25. "แข้งไทยสุดยอด!ดับโอมาน 3-0 ประเดิมชัยนัดที่สองในฟุตบอลโลก 2014". Siamsport. 6 September 2011. สืบค้นเมื่อ 6 September 2011.
  26. http://www.soccerway.com/news/2012/December/14/aff-suzuki-cup-thailand-2-malaysia-0-3-1-agg/
  27. "ไทยเชือดสิงคโปร์ 1-0 รวมผลได้รองแชมป์อาเซียน". Siamsport. 22 December 2012. สืบค้นเมื่อ 22 December 2012.
  28. "ขุนพลช้างศึกฟอร์มเทพ!บุกขยี้จีนเละคาถิ่น 5-1". Siamsport. 15 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-06. สืบค้นเมื่อ 15 June 2013.
  29. "ตั้งโค้ชง้วน คุมทีมชาติชุดใหญ่ประเดิมคัดเอเชียนคัพบุกอิหร่าน". Thairath. 22 August 2013. สืบค้นเมื่อ 22 August 2013.
  30. https://news.thaipbs.or.th/content/261297
  31. https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_279818
  32. https://www.khaosod.co.th/sports/news_2053936
  33. สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (7 มกราคม 2562). "ถ้อยแถลงของนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์". fathailand.org. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. https://www.mainstand.co.th/catalog/1-FEATURE/857
  35. http://fathailand.org/
  36. เปิดสถิติ "นิชิโนะ" คุมทีมชาติไทยในเกมทางการก่อนถูก "ส.ฟุตบอล" ยุติสัญญา - ไทยรัฐ (29 กรกฎาคม 2564)
  37. https://www.facebook.com/warrixofficial/photos/a.1620139491615372.1073741827.1620139098282078/1620139468282041/?type=3&theater
  38. https://football-tribe.com/thailand/2017/10/13/king-rama9-thailand/
  39. 39.0 39.1 Roberto Mamrud. "Thailand – Record International Players". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  40. The New York Times, Indonesia and Thailand Fined, เข้าถึงเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2550
  41. Game Theory and Business Strategy, Autogoal in the Tiger Cup, เข้าถึงเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2550
  42. 1998 Tiger Cup - Vietnam, เข้าถึงเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2550

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น


ก่อนหน้า ฟุตบอลทีมชาติไทย ถัดไป
เริ่มการแข่งขัน อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
(1996 (สมัยที่ 1))
1998 สิงคโปร์ สิงคโปร์
1998 สิงคโปร์ สิงคโปร์ อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
(2000 (สมัยที่ 2)
2002 (สมัยที่ 3))
2004 สิงคโปร์ สิงคโปร์
2012 สิงคโปร์ สิงคโปร์ อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
(2014 (สมัยที่ 4)
2016 (สมัยที่ 5))
2018 เวียดนาม เวียดนาม