ฟุตบอลทีมชาติอิรัก
![]() | |||
ฉายา | اسود الرافدين Usood Al Rafidain (สิงโตแห่งเมโสโปเตเมีย) สิงโตแห่งสองแม่น้ำ (ในภาษาไทย) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลอิรัก (IFA) | ||
สมาพันธ์ย่อย | สหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก (WAFF) | ||
สมาพันธ์ | เอเอฟซี (ทวีปเอเชีย) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | บาซิม กอซิม ![]() | ||
กัปตัน | โมฮัมเหม็ด กาสสิด | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | ยูนิส มะห์มูด (148) | ||
ทำประตูสูงสุด | ฮุสเซ็น ซะอีด มุฮัมมัด (78) | ||
สนามเหย้า | สนามศูนย์กีฬาบัสเราะห์ | ||
รหัสฟีฟ่า | IRQ | ||
อันดับฟีฟ่า | 77 ![]() | ||
อันดับฟีฟ่าสูงสุด | 39 (ตุลาคม 2001) | ||
อันดับฟีฟ่าต่ำสุด | 139 (กรกฎาคม 1996) | ||
อันดับอีแอลโอ | 85 (กรกฎาคม 2016) | ||
อันดับอีแอลโอสูงสุด | 26 (ธันวาคม 1982) | ||
อันดับอีแอลโอต่ำสุด | 86 (กุมภาพันธ์ 2006) | ||
| |||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
![]() ![]() (เลบานอน; 19 ตุลาคม 2500) | |||
ชนะสูงสุด | |||
![]() ![]() (กรุงอัมมาน, จอร์แดน; 18 สิงหาคม 1992) | |||
แพ้สูงสุด | |||
![]() ![]() (อาดานา, ตุรกี; 6 ธันวาคม, 1959) ![]() ![]() สเวดแบงค์ สเตเดี้ยม (มัลเมอ, สวีเดน; 11 ตุลาคม 2012) ![]() ![]() บรอนด์บี้ สเตเดี้ยม (โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก; 14 สิงหาคม 2013) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 1986) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบแรก 1986 | ||
เอเชียนคัพ | |||
เข้าร่วม | 8 (ครั้งแรกใน 1972) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ 2007 | ||
กีฬาโอลิมปิก | |||
เข้าร่วม | 4 (ครั้งแรกใน 1980) | ||
ผลงานดีที่สุด | อันดับ 4 2004 | ||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 2009) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบแรก, 2009 |
ฟุตบอลทีมชาติอิรัก (منتخب العراق لكرة القدم) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของสาธารณรัฐอิรัก อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสมาคมฟุตบอลอิรัก (IFA) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1948 และได้เข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกของฟีฟ่า ในปี 1950 จากนั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ในปี 1970 และเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก (WAFF) ในปี 2000
ทีมชาติอิรักถือว่าเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จอย่างมากชาติหนึ่งในกลุ่มประเทศแถบอาหรับ เคยเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก 4 ครั้ง (1980,1984,1988,2004) โดยผลงานดีที่สุดของทีมชาติอิรักในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกคือการคว้าอันดับ 4 ในโอลิมปิก 2004 ที่ประเทศกรีซ และเคยผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 1 ครั้ง ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1986 ที่ประเทศเม็กซิโก
สำหรับผลงานในระดับทวีปเอเชียนั้นทีมชาติอิรักเคยได้เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 1982 ที่กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย และสามารถสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์เอเชียนคัพ ซึ่งเป็นรายการใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียได้ 1 สมัย ในปี 2007
ส่วนในการแข่งขันในระดับภูมิภาค ทีมชาติอิรักเคยชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียตะวันตก ในปี 2002 รวมถึงคว้าแชมป์ฟุตบอลรายการ อาหรับ เนชันส์คัพ ได้ถึง 4 สมัย (ปี 1964,1966,1984,1988)
นอกจากนี้ทีมชาติอิรักยังเคยได้รับเลือกจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ให้เป็นทีมชาติยอดเยี่ยมประจำทวีปเอเชียถึง 2 ครั้ง (ปี 2003 และ 2007) โดยเป็นชาติเดียวในเอเชียตะวันตกที่เคยได้รับรางวัลนี้
ประวัติ[แก้]
ยุคแรก[แก้]
อิรักลงแข่งขันฟุตบอลในระดับชาติครั้งแรกกับทีมชาติโมร็อกโก โดยแข่งขันกันที่ประเทศเลบานอน ในปี ค.ศ. 1957 ซึ่งเสมอกันไป 3–3 จากนั้นได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกเป็นครั้งแรก ในการคัดเลือกฟุตบอลโลก 1974
ยุค 1970–1980 ถือเป็นยุครุ่งเรืองของวงการฟุตบอลในประเทศอิรัก โดยอิรักสามารถผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ในฟุตบอลโลก 1986 ที่สหรัฐเม็กซิโก และผ่านเข้าไปเล่นในโอลิมปิก 3 ครั้งติดต่อกันในโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 ที่กรุงมอสโก สหภาพโซเวียต, โอลิมปิกฤดูร้อน 1984 ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกาและโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 ที่กรุงโซล เกาหลีใต้
นอกจากนี้อิรักยังคว้าแชมป์เอเชียนเกมส์ 1982 , แชมป์อาหรับเนชันส์คัพ 4 สมัย ,แชมป์กัลฟ์คัพ 3 สมัย และคว้าอันดับ 4 ในเอเชียนคัพ 1976
ฟุตบอลโลก 1986[แก้]
ในฟุตบอลโลก 1986 รอบคัดเลือกรอบสุดท้าย โซนเอเชีย อิรักต้องแข่งขันกับทีมชาติซีเรีย โดยนัดแรกที่ดามัสกัสทั้งสองทีมเสมอกันไป 0–0 และนัดที่สองที่เมืองทาอิฟ อิรักสามารถเอาชนะไป 3–1 และผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ในฟุตบอลโลก 1986 อิรักลงเล่นภายใต้การคุมทีมของ เอวาริสตู เดอ มาเชดู อดีตกองหน้าทีมชาติบราซิล ที่เคยค้าแข้งกับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาและเรอัลมาดริด โดยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มบี ร่วมกับทีมชาติปารากวัย, ทีมชาติเบลเยียม และทีมชาติเม็กซิโก โดยอิรักลงเล่นฟุตบอลโลกนัดแรกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ.1986 ด้วยการแพ้ทีมชาติปารากวัย 1–0 ที่สนามเนเมซิโอ ดิเอซ เมืองโตลูกา และมายิงประตูในฟุตบอลโลกได้เป็นครั้งแรกในการแข่งขันนัดที่สองที่แพ้ให้กับทีมชาติเบลเยียม 1–2 โดย อาเหม็ด รอฎีย์ ได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้ยิงประตูแรกและประตูเดียวให้กับทีมชาติอิรักได้ในฟุตบอลโลก จากนั้นทีมชาติอิรักได้ลงแข่งนัดสุดท้ายในรอบแบ่งกลุ่มกับเจ้าภาพอย่างเม็กซิโก และแพ้ไป 1–0 ตกรอบไปในที่สุด
ยุคมืด (1990-99)[แก้]
ในช่วงยุครัฐบาลซัดดัม ฮุสเซน นั้น ทีมชาติอิรักควบคุมโดยลูกของประธานาธิบดีซัดดัม คือ อูเดย์ ฮุสเซน โดยภายใต้การควบคุมนั้น จะมีการลงโทษและข่มขู่อย่างแรง ไม่ว่าจะโดนให้ตัดขาถ้าขาดซ้อม หรือจับขังคุก เตะลูกบอลเหล็ก รวมไปถึงถูกเฆี่ยนด้วยแส้ด้วยไฟฟ้า ซึ่งการลงโทษนี้รวมไปถึง นักฟุตบอลที่ยิงลูกจุดโทษพลาดในการแข่งขันนัดสำคัญ [1] ซึ่งภายหลังจากที่ประเทศถูกคุมคามจากสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 2546 ทีมชาติได้มีผู้จัดการคนใหม่เข้ามา คือ อัดนัน ฮามัด ซึ่งมีผลงานทำให้ทีมชาติอิรัก ผ่านรอบคัดเลือกในการแข่งขัน โอลิมปิก 2004 โดยชนะ ทีมชาติคอสตาริกา ทีมชาติโปรตุเกส และทีมชาติออสเตรเลีย โดยได้อันดับที่ 4 ในการแข่งขัน
ผู้เล่น[แก้]
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]
- 23 ผู้เล่นที่ถูกเรียกมาติดทีมชาติในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบที่ 2 (นัดที่ 4):
- วันที่: 17 พฤศจิกายน ค.ศ.2015
- คู่แข่งขัน:
ไต้หวัน
- สนาม: เนชันนัล สเตเดียม
(เกาสง, ไต้หวัน) - จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2015 หลังแข่งกับ ทีมชาติไต้หวัน (ชนะ 2–0)
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | คาร์รา อิบรอฮีม | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 (27 ปี) | 0 | 0 | ![]() |
12 | GK | มุฮัมมัด กอสสิด | 13 ธันวาคม ค.ศ. 1986 (34 ปี) | 55 | 0 | ![]() |
22 | GK | นูร ซอบรี อับบาส | 6 มิถุนายน ค.ศ. 1984 (36 ปี) | 97 | 0 | ![]() |
2 | DF | อะหมัด อิบรอฮีม | 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 (28 ปี) | 53 | 1 | ![]() |
3 | DF | ดุรกอม อิสมาอีล | 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (26 ปี) | 32 | 3 | ![]() |
4 | DF | มุศเฏาะฟา นาดิม | 23 กันยายน ค.ศ. 1993 (27 ปี) | 13 | 3 | ![]() |
6 | DF | อะลี อัดนาน | 19 ธันวาคม ค.ศ. 1993 (27 ปี) | 38 | 2 | ![]() |
14 | DF | สลาม ชากีร | 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1986 (34 ปี) | 90 | 4 | ![]() |
15 | DF | อะลี เรห์มา | 8 สิงหาคม ค.ศ. 1983 (37 ปี) | 111 | 2 | ![]() |
18 | DF | คาร์รา โมฮัมเหม็ด | 6 ธันวาคม ค.ศ. 1989 (31 ปี) | 0 | 0 | ![]() |
23 | DF | ฟัยศ็อล ญัสซิม | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1986 (34 ปี) | 1 | 0 | ![]() |
5 | MF | ยาซิร กอซิม | 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 (29 ปี) | 17 | 3 | ![]() |
8 | MF | คาร์รา ญัสซิม | 15 มีนาคม ค.ศ. 1987 (33 ปี) | 64 | 6 | ![]() |
11 | MF | ฮุมาม ฏอริก | 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 (24 ปี) | 32 | 1 | ![]() |
16 | MF | อะลี ฮุสนี ฟัยศอล | 1 ตุลาคม ค.ศ. 1994 (26 ปี) | 9 | 1 | ![]() |
19 | MF | มะฮ์ดี กามีล | 6 มกราคม ค.ศ. 1995 (26 ปี) | 13 | 0 | ![]() |
20 | MF | อะลี กอซิม | 5 มีนาคม ค.ศ. 1996 (24 ปี) | 5 | 1 | ![]() |
21 | MF | ซาอัด อับดุล อะมีร | 19 มกราคม ค.ศ. 1992 (29 ปี) | 52 | 1 | ![]() |
7 | FW | จัสติน มีรอม ฮิกมะฮ์ อะซิส | 4 ธันวาคม ค.ศ. 1988 (32 ปี) | 17 | 2 | ![]() |
8 | FW | มุฮันนัด อับดุล-รอฮีม | 22 กันยายน ค.ศ. 1993 (27 ปี) | 21 | 4 | ![]() |
10 | FW | ยูนิส มะห์มูด | 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 (37 ปี) | 145 | 57 | ![]() |
17 | FW | อะลา อับดุลซะรอฮ์ | 22 ธันวาคม ค.ศ. 1987 (33 ปี) | 87 | 14 | ![]() |
ชุดแข่งขัน[แก้]
ช่วงปี | ผู้สนับสนุน |
---|---|
1984–1986 | ![]() |
1986–1994 | ![]() |
1996 | ![]() |
2004–2005 | ![]() |
2006 | ![]() |
2007 | ![]() |
2008–2014 | ![]() |
2014–ปัจจุบัน | ![]() |
ผลงาน[แก้]
- ตัวหนา คือผลงานที่ดีที่สุดในรายการนั้นๆ
ฟุตบอลโลก[แก้]
- 1930 ถึง 1970 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1974 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1978 - ถอนตัว
- 1982 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1986 - รอบแรก
- 1990 ถึง 2014 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
เอเชียนคัพ[แก้]
- 1956 ถึง 1968 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1972 - รอบแรก
- 1976 - อันดับ 4
- 1980 ถึง 1992 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1996 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
- 2000 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
- 2004 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
- 2007 - ชนะเลิศ
- 2011 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
- 2015 - อันดับ 4
- 2019 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
เอเชียนเกมส์[แก้]
- 1951 ถึง 1970 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1974 - รอบแรก
- 1978 - อันดับ 4
- 1982 - เหรียญทอง
- 1986 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
- 1990 ถึง 2002 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 2006 - เหรียญเงิน
- 2010 - ถูกแบน
- 2014 - เหรียญทองแดง
- 2018 - ถูกแบน
เวสต์เอเชียนฟุตบอลเฟเดอเรชันแชมเปียนชิพ[แก้]
- 2000 - อันดับ 3
- 2002 - ชนะเลิศ
- 2004 - อันดับ 4
- 2007 - รองชนะเลิศ
- 2008 - ถอนตัว
- 2010 - รอบรองชนะเลิศ
- 2012 - รองชนะเลิศ
อาหรับเนชันส์คัพ[แก้]
- 1963 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1964 - ชนะเลิศ
- 1966 - ชนะเลิศ
- 1985 - ชนะเลิศ
- 1988 - ชนะเลิศ
- 1992 ถึง 2002- ถูกแบน
- 2012 - อันดับสาม
อดีตผู้เล่นคนสำคัญ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ฟุตบอลทีมชาติอิรัก |