อะเดย์
อะเดย์ (อังกฤษ: a day) เป็นนิตยสารเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปในสังคมไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน เป็นนิตยสารที่เป็นต้นแบบนิตยสารทางเลือกของวัยรุ่น ถึงขั้นวงการนิตยสารไทยยกให้นิตยสารอะเดย์เป็นดั่งนิตยสาร 'ขวัญใจเด็กแนว' นิตยสารอะเดย์ ผลิตโดย บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำกัด (Day Poets Co.,Ltd.) โดยบริษัทก่อตั้งขึ้นโดยบุคคล 3 คน ได้แก่ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์, นิติพัฒน์ สุขสวย และ ภาสกร ประมูลวงศ์ ด้วยความเชื่อที่ว่า "ทำหนังสือเหมือนทำชีวิต"[ต้องการอ้างอิง]
จนถึง พ.ศ. 2552 ออกมาแล้วมากกว่าหนึ่งร้อยฉบับ รวมทั้งฉบับพิเศษอีก 9 ฉบับ และยังมีนิตยสารในเครือบริษัทเดียวกันอีกสองฉบับคือ นิตยสารสำหรับวัยรุ่นหญิงสาว Knock Knock! และนิตยสารบันเทิงเชิงสาระ Hamburger พร้อมกับได้เปิดสำนักพิมพ์ของตัวเองในนามสำนักพิมพ์อะบุ๊ค (a book)
ต่อมาหลังจาก ทรงกลด บางยี่ขัน ลาออกไปทำนิตยสารออนไลน์ The Cloud ก็ได้ ศิวะภาค เจียรวนาลี มารับหน้าที่บรรณาธิการบริหารตั้งแต่ ฉบับที่ 201 จนถีงฉบับที่ 223
ตั้งแต่ฉบับที่ 224 จนถึงปัจจุบัน a day อยู่ภายใต้การนำของบรรณาธิการบริหารคนใหม่ จิรเดช โอภาสพันธ์วงศ์
คอลัมน์ต่างๆ ในนิตยสารอะเดย์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นิตยสารอะเดย์แบ่งคอลัมน์ในนิตยสารออกเป็นสามส่วนด้วยกัน ได้แก่
- Somebody
- Talking Head -- (ฉบับ ?? - 84) -- คอลัมน์สัมภาษณ์แบบถามตอบที่สั้นกระชับ โดยคำถามจะเป็นคำถามทั่ว ๆ ไปและคำถามกวน ๆ โดยคำถามที่ถามนั้น เป็นคำถามที่แสดงถึงตัวตนและแนวคิดของผู้ถูกสัมภาษณ์ ได้อย่างชัดเจน
- The Outsider -- (ฉบับ ?? - 84) -- คอลัมน์กึ่งสัมภาษณ์กึ่งบทความ ที่นำเสนอบุคคลที่อยู่ทั้งนอกกระแส และในกระแส โดยจะเลือกจากความสามารถ ความคิด รวมทั้งการจับตามองของสังคมด้วย
- Q&A Day -- (ฉบับ ?? - 84) -- คอลัมน์สัมภาษณ์ขนาด 3 - 6 หน้าโดยจะสัมภาษณ์บุคคลที่กำลังเป็นกระแส หรือมีเรื่องราวที่น่าสนใจเหมาะกับวัยรุ่น
- Cover Ground -- (คอลัมน์ไม่ประจำ) -- เป็นคอลัมน์ที่จะมีเฉพาะในฉบับที่มีบุคคลขึ้นปก โดยบทสัมภาษณ์จะพูดถึงสาเหตุที่บุคคลนั้น ๆ ได้ขึ้นปก พร้อมทั้งบทสัมภาษณ์ขนาดความยาวประมาณ 2 - 4 หน้า
- A Day with a View -- (ฉบับ 1 - 84) -- คอลัมน์สัมภาษณ์ขนาด 18 - 24 หน้า โดยเลือกจากบุคคลที่มีจุดเด่นในด้านความคิด การสร้างแรงบัลดาลใจ รวมถึงเป็นบุคคลที่เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม โดยบทสัมภาษณ์จะเปรียบเสมือนการพูดคุยตามปกติ โดยแต่ละคำถามจะเป็นการถามสั้นบ้างยาวบ้าง แต่คำตอบที่ได้มักจะออกมายาวเสมอ
- Ordinary People -- (ฉบับ ?? - 84) -- คอลัมน์สัมภาษณ์คนธรรมดา ๆ สี่คน โดยที่ผู้ที่ถูกสัมภาษณ์นั้นจะมีบางอย่างเกี่ยวข้องกัน เช่นทำงานในสถานที่เดียวกัน ชื่อของอาชีพมีคำที่คล้ายกัน ไล่ไปจนถึงคนที่ทำงานอาชีพเดียวกัน โดยในช่วงแรก ๆ ของคอลัมน์นี้นั้นเป็นลักษณะของบทสัมภาษณ์ที่มีแต่คำตอบ ไม่มีคำถามให้อ่าน แต่ในช่วงหลังคอลัมน์นี้จะเป็นลักษณะของประโยคที่บุคคลนั้น ๆ พูดออกมาแล้วมีคุณค่าและมีแนวคิดมากที่สุดเพียงประโยคเดียวเท่านั้น
- A Pen Interview -- (ฉบับ ?? - 84) -- คอลัมน์สัมภาษณ์ปากกา ดินสอ เครื่องเขียน ของนักเขียนและนักคิดในกระแส เขียนโดย กริชเทพ ศรศิลป์ ลักษณะเป็นบทสัมภาษณ์ที่ไม่สัมภาษณ์เจ้าของดินสอ ปากกาหรือเครื่องเขียนนั้น ๆ แต่กลับไปสัมภาษณ์ปากกา ดินสอ หรือเครื่องเขียนของเจ้าของแทน
- Nostalgia
- Idea
ปก อะเดย์ ฉบับต่างๆ
[แก้]ทรงพล จั่นลา บรรณาธิการศิลปกรรม หรือเป้ง ผู้ออกแบบหัวหนังสือและปกของนิตยสารอะเดย์ เล่าเรื่องหัวหนังสือของอะเดย์ว่า ได้ออกแบบตัวหนังสือมาเป็นสิบๆ แบบ รวมทั้งหาฟอนต์แปลกๆ แต่ยังไงก็ไม่ใช่ เลยกลับมามองที่ตัวเอง แล้วรู้สึกว่าอะเดย์ก็เกิดมาจากกลุ่มคนธรรมดาๆ ที่ทำนิตยสารธรรมดาๆ เล่มหนึ่งขึ้นมา แบบหัวหนังสือของอะเดย์ ก็น่าจะดูเรียบง่าย แต่สามารถอยู่ได้นาน [ต้องการอ้างอิง] ทรงพล จึงเลือกใช้ฟอนต์ Arial Black ที่เป็นฟอนต์มาตรฐานที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง มันดูเรียบง่าย แต่หนักแน่นแข็งแรง เพราะว่าเวลาไปอยู่บนปกหนังสือ มันจะเล็กแน่ๆ เพราะคำมันน้อย จะขยายใหญ่มากก็ไม่ได้ เพราะถ้าใหญ่ ขนาดพาดเต็มปก ตัว a day สเกลจะใหญ่มาก จึงต้องเล็กหน่อย แล้วก็ให้อยู่บนแถบ เพราะถ้าเล็กปุ๊บ แล้วไม่มีแถบมารองรับมันจะหายไปไม่โดดเด่น [ต้องการอ้างอิง]
วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ เล่าเรื่องปก นอกจากเนื้อหาในเล่มที่น่าสนใจแล้ว 'หน้าปก' ก็คือหน้าบ้านเบื้องแรกที่ให้ความสำคัญในการเชื้อเชิญให้ผู้อ่านอยากหยิบจับ หรือไม่กวาดสายตาผ่านเลยไปเวลาถูกวางรวมกันอยู่บนแผง ซึ่งปกของอะเดย์นั้น ยืนพื้นอยู่บนเนื้อหาหลัก 3 ส่วนนั่นคือ Idea, Nostalgia และ Somebody ซึ่งกว่าแต่ละปกจะหลุดออกมาได้นั้น ต้องผ่านการประชุมที่เข้มข้นจากทีมงาน [ต้องการอ้างอิง]
รายชื่ออะเดย์ฉบับต่างๆ
[แก้]นิตยสารอะเดย์ออกมานับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 249 ฉบับ ในแต่ละฉบับมีภาพปก เนื้อหาหลัก และรายละเอียดเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกัน
ปี 2543
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
1 | กันยายน 2543 | ธนกร ฮุนตระกูล, เร แมคโดนัลด์, วนิดา เฟเวอร์ และ ปราบดา หยุ่น | |
2 | ตุลาคม 2543 | อำพล ลำพูน | ภาพยนตร์ น้ำพุ |
3 | พฤศจิกายน 2543 | เฉลียง | การรวมตัวของเฉลียง |
4 | ธันวาคม 2543 | อุดม แต้พานิช | Fast Forward for 2001 |
ปี 2544
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
5 | มกราคม 2544 | มานะ มานี และ เจ้าโต | แบบเรียนมานะ มานี ปิติ ชูใจ |
6 | กุมภาพันธ์ 2544 | รวมศิลปินค่ายเบเกอรี่มิวสิค | เบเกอรี่มิวสิค |
7 | มีนาคม 2544 | เจษฎาภรณ์ ผลดี | ยกพลขึ้น (ตะวัน) ตก |
8 | เมษายน 2544 | ทราย เจริญปุระ | นิยายวิทยาศาสตร์ |
9 | พฤษภาคม 2544 | อภิสิทธิ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต (โจอี้ บอย) | กราฟฟิตี้ |
10 | มิถุนายน 2544 | ชาติ กอบจิตติ | สิ่งของขาว-ดำ |
11 | กรกฎาคม 2544 | คิงคอง | ของใหญ่ยักษ์ |
12 | สิงหาคม 2544 | ปราบดา หยุ่น | 99 เกร็ดความรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์ |
12A | กันยายน 2544 | อุลตร้าแมนมิลเลเนี่ยม | อุลตร้าแมน |
14 | ตุลาคม 2544 | กฤตธีรา อินทพรวิจิตร | นิวยอร์ก |
15 | พฤศจิกายน 2544 | พันธกานต์ ทองเจือ | วงการนักแสดง |
16 | ธันวาคม 2544 | นูโว และ เป็นเอก รัตนเรือง | วงนูโว |
ปี 2545
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
17 | มกราคม 2545 | ดู๋ ดอกกระโดน | ยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 |
18 | กุมภาพันธ์ 2545 | โดราเอมอน, โนบิตะ, ชิซุกะ, ไจแอนท์, ซึเนะโอะ | โดราเอมอน |
19 | มีนาคม 2545 | พรู | นิยายกำลังภายใน |
20 | เมษายน 2545 | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี | หนุ่มสาวนักกิจกรรมทางสังคม |
21 | พฤษภาคม 2545 | ชูศักดิ์ เอี่ยมสุข | ฟุตบอลโลก |
22 | มิถุนายน 2545 | เจ้าชายน้อย | เจ้าชายน้อย |
23 | กรกฎาคม 2545 | ฟุกุ ฮ๊อกกี้ (สินค้าเลียนแบบ กูลิโกะ ป๊อกกี้) | ของเลียนแบบ |
24 | สิงหาคม 2545 | ปราบดา หยุ่น, วนิดา เฟเวอร์, เร แมคโดนัลด์ และ ธนกร ฮุนตระกูล | เกมโชว์ |
25 | กันยายน 2545 | พิสิทธิ์ กีรติการกุล | Dark side of the day |
26 | ตุลาคม 2545 | เรวัต พุทธินันทน์ | เรวัต พุทธินันทน์ |
27 | พฤศจิกายน 2545 | วิริฒิพา ภักดีประสงค์, เจนนี่ เออร์วิน, ณัฐฐาวีรนุช ทองมี และ พอลล่า เทเลอร์ | สุภาพสตรี |
28 | ธันวาคม 2545 | ธงชาติไทย | ความเป็นไทย |
ปี 2546
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
29 | มกราคม 2546 | สันติสุข พรหมศิริ และ จินตหรา พูนลาภ | ความรัก |
30 | กุมภาพันธ์ 2546 | วิชัย จงประสิทธิพร | ผู้ช่วย |
31 | มีนาคม 2546 | ภาพสายไฟและตัวเสียบ บนพื้นหลังสีแดง พร้อมข้อความ Seize the day | โอกาส |
32 | เมษายน 2546 | ตัวปิศาจในเกมแพคแมน | เกม |
33 | พฤษภาคม 2546 | เฉินหลง | เฉินหลง |
34 | มิถุนายน 2546 | อุดม แต้พานิช | อะดม (ล้อเลียนอะเดย์) |
35 | กรกฎาคม 2546 | เดวิด เบคแฮม | 13 เรื่องรอบตัวตั้งแต่ เรื่องของสากกระเบือ ยัน เรือรบ |
36 | สิงหาคม 2546 | เป็นเอก รัตนเรือง | ผู้สูงอายุ |
37 | กันยายน 2546 | ภาพกราฟิกแสดงลักษณะทางกายภาพของผู้หญิง | หนังสือโป๊ |
38 | ตุลาคม 2546 | หน้ากากเสือ | หน้ากากเสือ |
39 | พฤศจิกายน 2546 | การ์ตูนฮีชีอิท | วิศุทธิ์ พรนิมิตร และ ฮีชีอิท |
40 | ธันวาคม 2546 | ไบรโอนี รอดโพธิ์ทอง สไมธ์ | อนาคตศาสตร์ |
ปี 2547
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
41 | มกราคม 2547 | ณรงค์ วงษ์สวรรค์ | ’รงค์ วงษ์สวรรค์ |
42 | กุมภาพันธ์ 2547 | ณัฐวุฒิ ศรีหมอก, มนต์ทิพย์ ลิปิสุนทร, โมโมโกะ อุเอดะ, พุฒิพงษ์ ศรีวัฒน์ และ วิชุพันธ์ นาคประสม | ละครจักรๆ วงศ์ๆ |
43 | มีนาคม 2547 | ธวัชพนธ์ วงศ์บุญศิริ | ความคิดต่าง |
44 | เมษายน 2547 | อิคคิวซัง | การ์ตูนอิคคิวซัง |
45 | พฤษภาคม 2547 | ภาพขวดนมสีชมพู พร้อมข้อความ โตแล้วไปไหน | อะเดย์ จูเนียร์ |
46 | มิถุนายน 2547 | ภาพคอลลาจ | สารานุกรมเรื่องที่ไม่ต้องรู้ก็ได้ |
47 | กรกฎาคม 2547 | พิชญ์นาฎ สาขากร | นิตยสารไปยาลใหญ่ |
48 | สิงหาคม 2547 | ภาพด้านหน้าของตู้เย็น พร้อมแผ่นแม่เหล็กติดบนตู้ มีข้อความ ฉบับนี้แม่เยอะ | แม่ |
49 | กันยายน 2547 | อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, ขันเงิน เนื้อนวล, แสงทอง เกตุอู่ทอง และ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล | เกมโชว์ |
50 | ตุลาคม 2547 | ธนญชัย ศรศรีวิชัย | วงการโฆษณา |
51 | พฤศจิกายน 2547 | ภาพคอลลาจ | 10 ปี เบเกอรี่มิวสิค |
52 | ธันวาคม 2547 | เดวิด เบคแฮม, โคลิน ฟาร์เรล, จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช, มาเรีย ชาราโปวา และ เคต มอส | ท็อป ไฟฟ์ ออฟ เดอะ เยียร์ |
ปี 2548
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
53 | มกราคม 2548 | รวมตัวละครในการ์ตูนดราก้อนบอล | ดราก้อนบอล |
54 | กุมภาพันธ์ 2548 | มณฑล จิรา | วิทยุ |
55 | มีนาคม 2548 | รูปก้นเพนต์เป็นรูปหน้าสัตว์ พร้อมข้อความ ฮ่า ฮ่า | ตลก ขำขำ |
56 | เมษายน 2548 | ของแถม | ของแถม |
57 | พฤษภาคม 2548 | จุลจักร จักรพงษ์ | มหาวิทยาลัย |
58 | มิถุนายน 2548 | ปฏิทิน | 365 วันพลิกโลก |
59 | กรกฎาคม 2548 | ยูริ กาการิน | อวกาศ |
60 | สิงหาคม 2548 | นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ | เรื่องราวต่อจากฉบับที่แล้ว |
61 | กันยายน 2548 | วชิรา รุธิรกนก, วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์, จันทร์เพ็ญ ตั้งสัมปัตติวงศ์ และ นิติพัฒน์ สุขสวย | อะเดย์ |
62 | ตุลาคม 2548 | วินทร์ เลียววาริณ, วาณิช จรุงกิจอนันต์, ปราบดา หยุ่น, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์,
ชาติ กอบจิตติ, บินหลา สันกาลาคีรี, จิระนันท์ พิตรปรีชา และ คำพูน บุญทวี |
รางวัลซีไรต์ |
63 | พฤศจิกายน 2548 | ทาเครุ โคบายาชิ | ทีวีแชมเปียน |
64 | ธันวาคม 2548 | อะเดย์ อวอร์ดส์ | ประกาศผลรางวัลอะเดย์ |
ปี 2549
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
65 | มกราคม 2549 | ชาร์ลี แชปลิน | ภาพยนตร์ตลกเงียบคลาสสิก |
66 | กุมภาพันธ์ 2549 | จักรพงศ์ สิริริน, วสุ แสงสิงแก้ว และ อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา | นักศึกษาวิชาทหาร |
67 | มีนาคม 2549 | กนก รัตน์วงศ์สกุล และ สรยุทธ สุทัศนะจินดา | รายการโทรทัศน์ประเภทข่าว |
68 | เมษายน 2549 | โปงลางสะออน | ทีม |
69 | พฤษภาคม 2549 | ไมเคิล โอเวน, เดวิด เบคแฮม, เวย์น รูนีย์ และ สตีเฟน เจอร์ราร์ด | ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ |
70 | มิถุนายน 2549 | โอโซระ ซึบาสะ | กัปตันซึบาสะ |
71 | กรกฎาคม 2549 | สินค้าที่จำหน่ายในตลาดนัดจตุจักร | ตลาดนัดจตุจักร |
72 | สิงหาคม 2549 | กตัญญู สว่างศรี (แฟนพันธุ์แท้อะเดย์) | แฟนพันธุ์แท้ |
73 | กันยายน 2549 | ป้ายจราจร “หยุด” ในภาษาลาว ธงชาติลาว และข้อความ I LOVE LAOS | ประเทศลาว |
74 | ตุลาคม 2549 | พงษ์สิทธิ์ คำภีร์, สุรชัย จันทิมาธร และ ยืนยง โอภากุล | เพลงเพื่อชีวิต |
75 | พฤศจิกายน 2549 | ภาพการ์ตูนของจิมมี เลี่ยว | จิมมี เลี่ยว |
76 | ธันวาคม 2549 | สามารถ พยัคฆ์อรุณ | มวยไทย |
ปี 2550
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
77 | มกราคม 2550 | 100 สิ่งแรกในเมืองไทย | 100 สิ่งแรกในเมืองไทย |
78 | กุมภาพันธ์ 2550 | กิตติพงศ์ วิจิตรจรัสกุล, วรภัทร จิตต์แก้ว, สุวิกรม อัมระนันทน์ และ สราวุฒิ ปัญญาธีระ | มัธยมศึกษาปีที่ 6 |
79 | มีนาคม 2550 | เร แมคโดนัลด์ | การท่องเที่ยว, แบ็กแพ็กเกอร์ |
80 | เมษายน 2550 | ปังคุงและเจมส์ | ขำกลิ้งลิงกับหมา |
81 | พฤษภาคม 2550 | ศศิธร พานิชนก | ศาสนาอิสลาม |
82 | มิถุนายน 2550 | เลโก้รูปจตุคามรามเทพ | ของเล่น |
83 | กรกฎาคม 2550 | รวมศิลปินค่ายอาร์เอส (อัลบั้มรวมศิลปินอาร์เอส ซูเปอร์ทีนส์) | อาร์เอส ป๊อป ไอดอล |
84 | สิงหาคม 2550 | บอย โกสิยพงษ์ และ ธนชัย อุชชิน | Featuring |
85 | กันยายน 2550 | ยุคนธร อักษรพันธุ์, ตรีชฎา เพชรรัตน์, วรชาติ ธรรมวิจินต์ | นิตยสารคลีโอ |
86 | ตุลาคม 2550 | ชูศักดิ์ เอี่ยมสุข, พงศ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ, พิยดา อัครเศรณี, ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง, ณัฏฐพงศ์ ชาติพงศ์, สุมนต์รัตน์ วัฒนาเศลารัตน์, ธีระชาติ ธีระวิทยากุล, สินีนาฏ โพธิเวส |
ซิทคอม |
87 | พฤศจิกายน 2550 | ธัญญาภัสส์ บริบูรณ์ธนะชัย และ ต่อพงศ์ ศรีรัตนาวิชัยกุล | จังหวัดเชียงใหม่ |
88 | ธันวาคม 2550 | พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช | พระอัจฉริยภาพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ |
ปี 2551
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
89 | มกราคม 2551 | มหาตมะ คานธี | มหาตมะ คานธี |
90 | กุมภาพันธ์ 2551 | ต้นไม้ | ต้นไม้ |
91 | มีนาคม 2551 | การ์ตูนของทรงศีล ทิวสมบุญ | ทรงศีล ทิวสมบุญ |
92 | เมษายน 2551 | ภาพถ่ายโดย นพดล กันบัว, ธาดา วารีช, อนุชัย ศรีเจริญพู่ทอง, ชิรา วิชัยสุทธิกุล,
ยศยุต เวียงวิเศษ, ยุทธนา อัจฉริยวิญญู, ภิรักษ์ อนุรักษ์เยาวชน, สุรัตน์ จริยวัฒนวิจิตร |
ภาพถ่ายและช่างภาพ |
93 | พฤษภาคม 2551 | สัญลักษณ์ผู้พิการทางสายตา พร้อมข้อความ When you see nothing at all | ผู้พิการสายตา |
94 | มิถุนายน 2551 | ภาพปกหนังสือพิมพ์อะเดย์ | หนังสือพิมพ์ |
95 | กรกฎาคม 2551 | ประภาส ชลศรานนท์ | ประภาส ชลศรานนท์ |
96 | สิงหาคม 2551 | ตุล ไวฑูรเกียรติ | วิทยาศาสตร์ |
97 | กันยายน 2551 | โมเดิร์นด็อก | โมเดิร์นด็อก |
98 | ตุลาคม 2551 | ภาพการ์ตูนโดย วัฒนา เพ็ชรสุวรรณ์ | ขายหัวเราะ |
99 | พฤศจิกายน 2551 | ภาพ Very Japanese โดย ฮารุโอะ ซึเอะคิชิ | ประเทศญี่ปุ่น |
100 | ธันวาคม 2551 | a day archive | เบื้องหลังของนิตยสารอะเดย์ |
ปี 2552
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
101 | มกราคม 2552 | อรอนงค์ คงประกอบ และ พรทิพย์ ทองกลัด | เพลงลูกทุ่ง |
102 | กุมภาพันธ์ 2552 | ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ และ สุวิกรม อัมระนันทน์ | 20 คำคมเปลี่ยนประเทศไทย |
103 | มีนาคม 2552 | ภาพปกพ็อกเก็ตบุ๊ก "วิธีเขียนพ็อกเก็ตบุ๊ก" | พ็อกเก็ตบุ๊ก |
104 | เมษายน 2552 | สิรินยา เบอร์บริดจ์ | แฟชั่น |
105 | พฤษภาคม 2552 | พลอย หอวัง, ปาณิสรา พิมพ์ปรุ และ วิริฒิพา ภักดีประสงค์ | ผู้ประกอบการชาวไทย ที่ขึ้นชื่อลือชา |
106 | มิถุนายน 2552 | สินค้าที่จำหน่ายบริเวณถนนข้าวสาร | ถนนข้าวสาร |
107 | กรกฎาคม 2552 | อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร (เล็ก Greasy Café), ญารินดา บุนนาค, อนุสรณ์ มณีเทศ (โย่ง Armchair),
เจตมนต์ มละโยธา (เจ Penguin Villa), หรินทร์ สุธรรมจรัส (ดิม Tattoo Colour), วีรณัฐ ทิพยมณฑล (แจ๊ป The Richman Toy) และอารักษ์ อมรศุภศิริ (เป้ Slur) |
สมอลล์รูม |
108 | สิงหาคม 2552 | ภาพวาดพระพุทธเจ้า | หลักธรรมในพระพุทธศาสนาและพระสงฆ์ผู้มีบทบาทสำคัญในประเทศไทย |
109 | กันยายน 2552 | do it yourself | do it yourself |
110 | ตุลาคม 2552 | อุดม แต้พานิช | จดหมาย |
111 | พฤศจิกายน 2552 | Unseen Japan | Unseen Japan |
112 | ธันวาคม 2552 | แทททู คัลเล่อร์ | เดินเท้าเที่ยวกรุง |
ปี 2553
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
113 | มกราคม 2553 | เจ้าหนูปรมาณู | เจ้าหนูปรมาณูและผลงานของโอซามุ เท็ตซึกะ |
114 | กุมภาพันธ์ 2553 | คริส หอวัง | ชาวไทยเชื้อสายจีน |
115 | มีนาคม 2553 | อังศุมาลิน สิรภัทรศักดิ์เมธา | 50 Women who will make a change |
116 | เมษายน 2553 | ภาพประกอบ | Illustration Issue |
117 | พฤษภาคม 2553 | ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์, ไมเคิล เบิร์น และ ฮิโรโนริ ซารุตะ | ไทยพรีเมียร์ลีก |
118 | มิถุนายน 2553 | ภาพ Paper Structure จากนิทานเรื่องต่างๆ (หนูน้อยหมวกแดง ซินเดอเรลล่า) | นิทาน |
119 | กรกฎาคม 2553 | เสงี่ยม (สุนัข) | สุนัข |
120 | สิงหาคม 2553 | ธนญชัย ศรศรีวิชัย พร้อมคำโปรย Cannes lion mean nothing to me. | งานประกวดโฆษณา Cannes Lion |
121 | กันยายน 2553 | คัพเค้ก รูปโลโก้อะเดย์ชวนชิม พร้อมคำโปรย ชวนชิม 100 ร้านอร่อยทั่วไทย | a day ชวนชิม |
122 | ตุลาคม 2553 | บารัก โอบามา, Here it goes again โดย โอเคโก, Perspolis, ทวิตเตอร์, ฮีชีอิท, อวตาร, ทวิตเตอร์, ทเวนตี้เซนจูรี่บอย, เหยา หมิง, โมโนเคิล, วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และ ยูทูบ | บุคคลสำคัญที่เคยมีส่วนร่วมในอะเดย์ และเหตุการณ์สำคัญในรอบ 10 ปีของนิตยสาร |
123 | พฤศจิกายน 2553 | วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล พร้อมคำโปรย ธุรกิจส่วนรวม | กิจการเพื่อสังคม |
124 | ธันวาคม 2553 | ตรัย ภูมิรัตน อารักษ์ อมรศุภศิริ ธวัชพนธ์ วงศ์บุญศิริ (เมื่อย สครับบ) และสมพล รุ่งพาณิชย์ (แหลม ทเวนตีไฟฟ์อาวส์) | แฟตเรดิโอ |
ปี 2554
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
125 | มกราคม 2554 | การ์ตูนญี่ปุ่น (ทเวนตี้เซนจูรี่บอย, สแลมดังก์, เซนต์เซย์ย่า และ วัน พีช) | 50 การ์ตูนที่คิด (ไม่) ถึง |
126 | กุมภาพันธ์ 2554 | มาริโอ จาก ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 3 | Game Start! (วิดีโอเกมก่อนทศวรรษ 1990) |
127 | มีนาคม 2554 | จารุนันท์ ทวีปัญญา, ดรัลชรัส ศุขีวิริยะ และ อายากะ ฮิชิมูระ | เรื่องเล่าจากคนทะเล |
128 | เมษายน 2554 | Inspiration | แรงบันดาลใจ |
129 | พฤษภาคม 2554 | ภาพประกอบจากแบบสอนอ่านวิชาสังคมศึกษา ชั้นประถมปีที่ 1 | โรงเรียนที่เป็นมากกว่า "โรงเรียน" |
130 | มิถุนายน 2554 | ชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา | ชมรม |
131 | กรกฎาคม 2554 | อุดม แต้พานิช | เรื่องของอุดม แต้พานิช ที่ไม่เกี่ยวกับเดี่ยวไมโครโฟน |
132 | สิงหาคม 2554 | จินตนัดดา ลัมะกานนท์ | นิตยสารอายุครบ 11 ปี[1] |
133 | กันยายน 2554 | สายเชีย วงศ์วิโรจน์ | 100 ผลงานโฆษณาโดดเด่น จากคานส์ ไลออนส์ 2011 |
134 | ตุลาคม 2554 | ภาพวาด ไอ้มดแดง 1 ไอ้มดแดง 2 และ คาเมนไรเดอร์ V3 โดย ธีรวัฒน์ เธียรฆประสิทธิ์ | คาเมนไรเดอร์ (ไอ้มดแดง) |
135 | พฤศจิกายน 2554 | แทนธรณ์ สร่างทุกข์ (ลูกชาย เชาวเลข สร่างทุกข์ ผู้บริหารค่ายเพลงสมอลล์รูม) | ชีวิต (บทสัมภาษณ์บุคคลอายุ 1-100 ปี) |
136 | ธันวาคม 2554 | ภาพกล่องของขวัญพร้อมข้อความ 50 Best Green Gifts | ของขวัญปีใหม่ 50 ชิ้น เพื่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และสังคม |
ปี 2555
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
137 | มกราคม 2555 | ภาพปกนิตยสารแพรวสุดสัปดาห์ ฉบับเดือนมกราคม พ.ศ. 2530 ปกบิลลี่ โอแกน | เรื่องราวในปี พ.ศ. 2530 |
138 | กุมภาพันธ์ 2555 | หอไอเฟล | กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส |
139 | มีนาคม 2555 | สถิติ | สถิติเกี่ยวกับคนไทย |
140 | เมษายน 2555 | ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ | ช่าง |
141 | พฤษภาคม 2555 | เด๋อ ดอกสะเดา โน้ต เชิญยิ้ม หม่ำ จ๊กมก เทพ โพธิ์งาม เท่ง เถิดเทิง โหน่ง ชะชะช่า โก๊ะตี๋ อารามบอย ค่อม ชวนชื่น และจาตุรงค์ มกจ๊ก | ศิลปินตลก |
142 | มิถุนายน 2555 | จักรยานเด็ก โดย ธีรพันธ์ ลีลาวรรณสุข | บันทึกการเดินทางด้วยจักรยาน |
143 | กรกฎาคม 2555 | จิระ มะลิกุล ฉันทวิชช์ ธนะเสวี ปรีชญา พงษ์ธนานิกร เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์ พชร จิราธิวัฒน์ ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ ปาณิสรา พิมพ์ปรุ และ อังศุมาลิน สิรภัทรศักดิ์เมธา | จีเอ็มเอ็ม ไท หับ |
144 | สิงหาคม 2555 | ภาพถ่ายจากบัญชีผู้ใช้อินสตาแกรม เรียงสีเป็นธงชาติไทย | ภาพถ่ายจากบัญชีผู้ใช้อินสตาแกรม ที่ติดแท็ก #adayinthailand |
145 | กันยายน 2555 | ประภาส ชลศรานนท์ และตัวการ์ตูนจากภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องยักษ์ | เบื้องหลังการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องยักษ์ |
146 | ตุลาคม 2555 | ตราสัญลักษณ์งานประกวดโฆษณา Cannes Lions สีทองบนพื้นสีดำพร้อมคำโปรย 100 Best Ads from Cannes Lions 2012 | 100 โฆษณาเด่น จากกานลียง 2012 |
147 | พฤศจิกายน 2555 | หน้าปก Photo book มิรัยจัง (Mirai-Chan) โดย โคโทริ คาวาชิมา พร้อมคำโปรย Japanese Conceptual Photo book | หนังสือภาพถ่ายของญี่ปุ่นที่มีแนวคิดโดดเด่น |
148 | ธันวาคม 2555 | ภาพคอลลาจโปสเตอร์ภาพยนตร์ ปกอัลบั้มเพลง และโฆษณา | สุดยอดสิ่งพิมพ์ไทยในรอบ 25 ปี |
ปี 2556
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
149 | มกราคม 2556 | ภาพวาดสีน้ำ เลียวเนล เมสซี โดย พัฒนพงศ์ มณเฑียร | 10 บุคคลมีชื่อเสียงที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี |
150 | กุมภาพันธ์ 2556 | จักรยานกลางถนน | การเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยานในประเทศญี่ปุ่น (HUMAN RIDE in Japan) |
151 | มีนาคม 2556 | สุรางค์ เปรมปรีดิ์ | ละครโทรทัศน์ไทย |
152 | เมษายน 2556 | แมว | แมว |
153 | พฤษภาคม 2556 | เทปที่มีข้อความเขียนบนเทปว่า "Life Performance" | 16 ศิลปินเพลงจากหลากหลายหมวดดนตรีที่ต่างมีความฝัน |
154 | มิถุนายน 2556 | น้องภู (ด.ช.อินทัช เสริมสุขเจริญชัย) ใส่ชุดลูกเสือพร้อมถือธงสีแดงสามเหลี่ยม | เครื่องแบบ |
155 | กรกฎาคม 2556 | ผักชี | อาหาร |
156 | สิงหาคม 2556 | ร้านหนังสือเปลวเทียน | ร้านหนังสือ |
157 | กันยายน 2556 | ภาพวาดตราสัญลักษณ์ครบรอบ 60 ปี การประกวดโฆษณาคานส์ ไลออนส์ | 100 ผลงานโฆษณาโดดเด่น จากคานส์ ไลออนส์ 2013 |
158 | ตุลาคม 2556 | ซองกระดาษที่มีข้อความประทับว่า "CORRUPTION" | การทุจริต |
159 | พฤศจิกายน 2556 | ภาพวาดสวนสัตว์ดุสิต โดยเด็กชายกตัญญู วุฒิชัยธนากร | สวนสัตว์ดุสิต |
160 | ธันวาคม 2556 | ศิลปะการตัดกระดาษ คำว่า Workpoint Entertainment | 25 ปี เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
ปี 2557
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
161 | มกราคม 2557 | ภาพวาด คริสเตียโน โรนัลโด | 14 นักกีฬาทรงคุณค่าของโลก |
162 | กุมภาพันธ์ 2557 | คุมะมง | คุมะมง |
163 | มีนาคม 2557 | กาแฟ | กาแฟ |
164 | เมษายน 2557 | อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข | อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข |
165 | พฤษภาคม 2557 | สติกเกอร์ ไลน์ | แอพลิเคชั่นไลน์ |
166 | มิถุนายน 2557 | อาทิวราห์ คงมาลัย | การวิ่ง |
167 | กรกฎาคม 2557 | ไอศกรีม | ไอศกรีม |
168 | สิงหาคม 2557 | ต้นฉำฉา สโมสรยิมคานา จังหวัดเชียงใหม่ | คนปลูกต้นไม้ |
169 | กันยายน 2557 | มอนอพอลี | Sustainable Business เทรนด์การทำธุรกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
170 | ตุลาคม 2557 | โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง | สำนักพิมพ์ผีเสื้อ |
171 | พฤศจิกายน 2557 | เซ็ทสุโกะ ฟูรูคาว่า และ ทาคุจิ โคโนะ | ชาวญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ |
172 | ธันวาคม 2557 | ณัฐวุฒิ เจนมานะ, วิโอเลต วอเทียร์, ธชย ประทุมวรรณ และ รังสรรค์ ปัญญาเรือน | เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ |
ปี 2558
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
173 | มกราคม 2558 | ข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้มาตั้งแต่อดีต | The Grandma's Guide to Better Living |
174 | กุมภาพันธ์ 2558 | ชื่นใจ ภูมิรัตน | ขนมปัง |
175 | มีนาคม 2558 | ธนบัตร | เงิน |
176 | เมษายน 2558 | ธงไชย แมคอินไตย์ | ธงไชย แมคอินไตย์ |
177 | พฤษภาคม 2558 | ซะกิ ชิคะระอิฌิ | ศิลปินหญิงชาวญี่ปุ่น |
178 | มิถุนายน 2558 | ภาพถ่ายย้อนแสงโดยธาดา วาริช | แสง |
179 | กรกฎาคม 2558 | กมลพร วชิรมน | เบื้องหลังภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับดาวน์ซินโดรม เรื่อง เดอะดาวน์ |
180 | สิงหาคม 2558 | a day that changed my life | วันเปลี่ยนชีวิตของนักเขียนที่เคยร่วมงานกับ a day ในวาระครบรอบ 15 ปีของนิตยสาร |
181 | กันยายน 2558 | วราพร พลเยี่ยม | Street Food |
182 | ตุลาคม 2558 | Evan Sokal | นิวยอร์กซิตี |
183 | พฤศจิกายน 2558 | กฤษณ อิ่มเอมกมล | หนังสือทำมือ (Zine) |
184 | ธันวาคม 2558 | 88 คำที่รู้ที่มาแล้วคุณจะอึ้ง | คำไทยที่จริงๆๆยืมจากภาษาต่างประเทศ |
ปี 2559
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
185 | มกราคม 2559 | พุทธรักษ์ ดาษดา | ศิลปินในจังหวัดเชียงราย |
186 | กุมภาพันธ์ 2559 | ดอกไม้พลาสติก | ดอกไม้ |
187 | มีนาคม 2559 | สุเชาว์ นุชนุ่ม, ธีราทร บุญมาทัน, จักรพันธ์ แก้วพรม, นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม, | สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด |
188 | เมษายน 2559 | วริศรา ยู | รองเท้าผ้าใบ |
189 | พฤษภาคม 2559 | Work and Travel | |
190 | มิถุนายน 2559 | ลอเรน เยทส์ และ จุฬารัตน์ หาญรุ่งโรจน์ | ธุรกิจที่พักขนาดเล็ก |
191 | กรกฎาคม 2559 | กรรณ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา | 100 สถานที่น่าค้นหาในกรุงเทพมหานคร |
192 | สิงหาคม 2559 | นกุล กวินรัตน์ | เชฟ |
193 | กันยายน 2559 | ณภัสนันท์ สิรินดาศุภสิริ | ผ้า |
194 | ตุลาคม 2559 | ฮ่องกง | ฮ่องกง |
195 | พฤศจิกายน 2559 | ภาพพิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช | พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช |
196 | ธันวาคม 2559 | ภาพวาดสมเด็จย่า โดยธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์ | มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง |
ปี 2560
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
197 | มกราคม 2560 | สวนสาธารณะ | สวนสาธารณะ |
198 | กุมภาพันธ์ 2560 | Edo-Tokyo Open-air Architectural Museum | Tokyo's 100 Hidden Places |
199 | มีนาคม 2560 | สิราษฏร์ อินทรโชติ | 120 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย |
200 | เมษายน 2560 | a day 200 | เบื้องหลังนิตยสารอะเดย์ |
201 | พฤษภาคม 2560 | เคียร่า คีว่า เคนเนดี้ | แว่นตา |
202 | มิถุนายน 2560 | ภาพ illustration โดย มานิตา ส่งเสริม | เด็กสมัยนี้ |
203 | กรกฎาคม 2560 | ภาพคอลลาจ ภาพยนตร์สารคดี กับ นนทวัฒน์ นำเบญจพล | ภาพยนตร์สารคดี |
204 | สิงหาคม 2560 | เวที TEDxBangkok | TEDxBangkok |
205 | กันยายน 2560 | ภาพคอลลาจ โดย นักรบ มูลมานัส | ดวง |
206 | ตุลาคม 2560 | แม่น้ำ | แม่น้ำ |
207 | พฤศจิกายน 2560 | ชิษณุชา ดอนเนลลี่ | วิชาเปิดโลก |
208 | ธันวาคม 2560 | บ้านของ อุทัยวรรณ บุญลอย ที่จังหวัดลำปาง | กลับบ้าน |
ปี 2561
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
209 | มกราคม 2561 | สุทินา เหล่าอำนวยชัย, จรินทรพร จุนเกียรติ, พัชชา พูนพิริยะ, ดาวิกา โฮร์เน่, กรมิษฐ์ วัชรเสถียร, ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์, ชนนิกานต์ เนตรจุ้ย, วิโอเล็ต วอเทียร์, นวพล ธำงรัตนฤทธิ์ | นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ |
210 | กุมภาพันธ์ 2561 | เววิรี อิทธิอนันท์กุล | การบำบัด |
211 | มีนาคม 2561 | ภาพวาดโดย Sundae Kids | เมืองขอนแก่น |
212 | เมษายน 2561 | ศรัณย์ ยิ่งเจริญ | การสัก |
213 | พฤษภาคม 2561 | ต่อพงศ์ จันทบุบผา, ธวัชพนธ์ วงศ์บุญศิริ | คู่ศิลปินสครับบ์ |
214 | มิถุนายน 2561 | 100 สถานที่ลึกลับในกรุงเทพมหานคร | |
215 | กรกฎาคม 2561 | คนรุ่นใหม่ในกรุงโซล | |
216 | สิงหาคม 2561 | สัมพันธ์ระหว่างต้นไม้และผู้คน | |
217 | กันยายน 2561 | วงการแร็ปไทย | |
218 | ตุลาคม 2561 | ร้านอาหารในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทย | |
219 | พฤศจิกายน 2561 | งานหัตกรรมไทย-ญี่ปุ่น | |
220 | ธันวาคม 2561 | กลางคืน |
ปี 2562
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
221 | มกราคม 2562 | บอย โกสิยพงษ์ | บอย โกสิยพงษ์ |
222 | กุมภาพันธ์ 2562 | การเปลี่ยนแปลงในชีวิต | |
223 | มีนาคม 2562 | คราฟต์ช็อกโกแลต | |
224 | เมษายน 2562 | หนังสือที่มีอิทธิพล | |
225 | พฤษภาคม 2562 | วัฒนธรรมการทำงาน | |
226 | มิถุนายน 2562 | เพศ และความหลากหลาย | |
227 | กรกฎาคม 2562 | ไทเป | |
228 | สิงหาคม 2562 | หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร | หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร |
229 | กันยายน 2562 | นักสะสม | |
230 | ตุลาคม 2562 | ชาวไทยเชื้อสายอินเดีย | |
231 | พฤศจิกายน 2562 | จังหวัดน่าน | |
232 | ธันวาคม 2562 | อารยา ราษฎร์จำเริญสุข | "ชีวิตนี้สอนให้รู้ว่า" |
ปี 2563
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
233 | มกราคม 2563 | "สมดุลระหว่างชีวิตและการงาน" | |
234 | กุมภาพันธ์ 2563 | "พิพิธสัมพันธ์" | |
235 | มีนาคม 2563 | บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป | |
236 | เมษายน 2563 | ภาคอีสาน | |
237 | พฤษภาคม 2563 | การทำงานที่บ้าน | |
238 | มิถุนายน 2563 | ความหวัง | |
239 | กรกฎาคม 2563 | แฮร์รี่ พอตเตอร์ | |
240 | สิงหาคม 2563 | การครบรอบ 20 ปีของนิตยสาร | |
241 | กันยายน 2563 | "สถาน ณ กาลไม่ปกติ" | |
242 | ตุลาคม 2563 | เส้นผม แสะเส้นขน | |
243 | พฤศจิกายน 2563 | การออกแบบใหม่ | |
244 | ธันวาคม 2563 | ข่าว |
ปี 2564
[แก้]ฉบับที่ | เดือน/ปี | ภาพปก | เนื้อหาหลัก |
245 | มกราคม 2564 | ภาพวาด "มะม่วง" โดยวิศุทธิ์ พรนิมิตร | "มะม่วง" |
246 | มีนาคม 2564 | "sex is more" | |
247 | พฤศภาคม 2564 | ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ | |
248 | กรกฎาคม 2564 | คอนเทนต์ครีเอเตอร์ | |
249 | กันยายน 2564 | โกลเบิลซิติเซน | |
250 | พฤศจิกายน 2564 | อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล | อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล |
ดูเพิ่ม
[แก้]นิตยสารอะเดย์ ฉบับพิเศษ
[แก้]- a day idols พ.ศ. 2545
- a day 100 idols ธันวาคม พ.ศ. 2551
ในวาระครบรอบ 100 ฉบับ
- a day legend ตุลาคม พ.ศ. 2553
ในวาระครบรอบ 10 ปีของการก่อตั้งนิตยสาร
นิตยสารและสื่อสิ่งพิมพ์ในเครือ
[แก้]- a day weekly (ปัจจุบันปิดตัวไปแล้ว)
- นิตยสาร แฮมเบอร์เกอร์
- นิตยสาร KNOCK KNOCK! (ปัจจุบันปิดตัวไปแล้ว)
- นิตยสารรายสัปดาห์แจกฟรี a day BULLETIN
- สำนักพิมพ์ อะบุ๊ค
- สำนักพิมพ์ Polkadot
กิจกรรม
[แก้]รายการโทรทัศน์
[แก้]- หนึ่งวันเดียวกัน (ปัจจุบันยุติการออกอากาศไปแล้ว)
- ดิ ไอดอล คนบันดาลใจ
- ขอเปลี่ยน
- Hamburger tv
- วิจารณ์ส่งเดช
- โตแล้วไปไหน
- ไทยเท่
อื่นๆ
[แก้]- a day graphic รับออกแบบกราฟิกสื่อสิ่งพิมพ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "a day 132". a day magazine. 23 สิงหาคม 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)