ฟุตบอลทีมชาติสิงคโปร์
Shirt badge/Association crest | |||
ฉายา | The Lions | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลสิงคโปร์ (FAS) | ||
สมาพันธ์ย่อย | สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (เอเอฟเอฟ) | ||
สมาพันธ์ | สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | สึโตมุ โอกุระ | ||
กัปตัน | ฮาริซซ์ ฮารุน | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | ดาเนียล เบนเนตต์ (146)[1] | ||
ทำประตูสูงสุด | ฟันดี อะฮ์มัด (55)[2] | ||
สนามเหย้า | สนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ สนามกีฬาจาลันเบอซาร์ | ||
รหัสฟีฟ่า | SIN | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 155 (28 เมษายน พ.ศ 2567)[3] | ||
อันดับสูงสุด | 73 (สิงหาคม ค.ศ. 1993) | ||
อันดับต่ำสุด | 173 (ตุลาคม ค.ศ. 2017) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
[[Image:{{{flag alias-colonial}}}|22x20px|border |ธงชาติสิงคโปร์]] สิงคโปร์ 1–0 สาธารณรัฐจีน (สิงคโปร์; 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1948)[4] | |||
ชนะสูงสุด | |||
สิงคโปร์ 11–0 ลาว (ประเทศสิงคโปร์; 15 มกราคม ค.ศ. 2007) | |||
แพ้สูงสุด | |||
พม่า 9–0 สิงคโปร์ (กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย; 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969) | |||
เอเชียนคัพ | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 1984) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบกลุ่ม (1984) | ||
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน | |||
เข้าร่วม | 12 (ครั้งแรกใน 1996) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1998, 2004, 2007, 2012) |
ฟุตบอลทีมชาติสิงคโปร์ เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากประเทศสิงคโปร์ ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลสิงคโปร์ ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน สีประจำทีมคือสีแดงและสีขาว มีฉายาที่เป็นที่รู้จักคือ "The Lions" (สิงโต) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นประจำชาติ ทีมชาติสิงคโปร์เป็นทีมฟุตบอลที่เก่าแก่ทีมหนึ่งในทวีปเอเชีย โดยสมาคมฟุตบอลสิงคโปร์ถือเป็นสมาคมที่เก่าแก่ที่สุดในทวีป
สิงคโปร์ถือเป็นหนึ่งในชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 4 สมัยใน ค.ศ. 1998, 2004, 2007 และ 2012 ซึ่งเป็นสถิติอันดับสอง มีสีประจำทีมคือสีแดงและสีขาว มีฉายาคือ แม้จะมีประชากรน้อย แต่พวกเขามีนโยบายการสร้างทีมที่แข็งแกร่งและสามารถแข่งขันกับทีมอื่นในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างมั่นคง โดยเน้นการใช้นักเตะโอนสัญชาติ สิงคโปร์เป็นชาติแรกที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน และเป็นทีมเดียวในรายการดังกล่าวที่ชนะในรอบชิงชนะเลิศทุกครั้งที่ตนเองเข้าชิง โดยคว้าแชมป์สมัยแรกใน ค.ศ. 1998 จากการชนะเวียดนาม ตามด้วยการชนะอินโดนีเซียใน ค.ศ. 2004 และชนะไทยใน ค.ศ. 2007 และ 2012
สิงคโปร์ยังเคยทำผลงานได้ดีในการแข่งระดับทวีป ในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2007 รอบคัดเลือก พวกเขาเป็นทีมเดียวในที่เอาชนะอิรักได้ ซึ่งอิรักเป็นทีมแชมป์ในการแข่งขันรอบสุดท้าย รวมทั้งสามารถเสมอกับทีมที่มีอันดับโลกเหนือกว่าพวกเขาอย่างจีน (ค.ศ. 2006, 2009 และ 2024) และออสเตรเลีย (ค.ศ. 2008) ได้ รวมถึงเสมอกับออสเตรเลียในปี 2008 และในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก สิงคโปร์บุกไปยันเสมอญี่ปุ่นได้ถึงสนามกีฬาไซตามะ 2002 ด้วยผลประตู 0–0 ซึ่งถือเป็นเกมเดียวที่ญี่ปุ่นไม่สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ในรอบคัดเลือกดังกล่าว สิงคโปร์ยังเคยทำผลงานได้ในบางนัดที่แข่งขันกับทีมจากทวีปยุโรปด้วยการเสมอคาซัคสถานในวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ด้วยผลประตู 0–0 และเสมออาเซอร์ไบจาน 2–2 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012
ประวัติ
[แก้]ยุคแรก (1892–1994)
[แก้]สมาคมฟุตบอลสิงคโปร์ ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1892 ถือเป็นองค์กรทางด้านฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย การแข่งขันครั้งแรกของทีมชาติสิงโปร์เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1921 ในรายการ มาลายา คัพ (มาเลเซีย คัพ ในปัจจุบัน) ซึ่งจัดการแข่งขันโดยทหารเรือจากบริติชมาลายา สิงคโปร์เป็นหนึ่งในหกชาติที่ได้ร่วมแข่งขันในปีแรก สิงคโปร์ยังคงร่วมแข่งขันรายการนี้อย่างต่อเนื่อง และไม่เคยทำผลงานที่แย่กว่าตำแหน่งแชมป์หรือรองแชมป์เลย กระทั่งการแข่งขันได้ยุติลงชั่วคราวใน ค.ศ. 1941 เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงเวลานั้นสิงคโปร์ยังได้ร่วมแข่งขันมาเลเซียนลีก
สิงคโปร์ชนะเลิศมาเลเซีย คัพ 24 สมัย และมาเลเซียนลีก 2 สมัย และหลังจากคว้าแชมป์ลีกและมาเลเซีย คัพ ได้ทั้งสองรายการใน ค.ศ. 1994 สมาคมฟุตบอลสิงคโปร์ได้ถอนตัวจากการแข่งขันทุกรายการในประเทศมาเลเซีย ภายหลังเกิดข้อพิพาทกับสมาคมฟุตบอลมาเลเซียในเรื่องการจัดสรรจำนวนเงินในการจำหน่ายบัตรเข้าชม สิงคโปร์จึงไปก่อตั้งลีกของตนเองในนาม สิงคโปร์พรีเมียร์ลีก ใน ค.ศ. 1996 และสมาคมฟุตบอลสิงคโปร์ได้เริ่มมีการพัฒนาทีมชาติให้แข็งแกร่งในการแข่งขันระดับนานาชาติ
สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพการแข่งขันเอเชียนคัพ 1984 ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวจนถึงปัจจุบันที่พวกเขาได้ร่วมแข่งขันรายการนี้ โดยตกรอบแบ่งกลุ่มจากการมี 4 คะแนน แม้จะเอาชนะอินเดียและเสมอกับทีมใหญ่อย่างอิหร่านได้ และพวกเขามีอันดับโลกฟีฟ่าที่ดีที่สุดคืออันดับ 73 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1993
เริ่มพัฒนาทีม (1995–2003)
[แก้]สิงคโปร์คว้าเหรียญทองแดงในซีเกมส์ 1995 ที่จังหวัดเชียงใหม่[5] หลังจากแพ้เจ้าภาพและทีมแชมป์ในครั้งนั้นอย่างทีมชาติไทย 0–1 ในรอบรองชนะเลิศ ต่อมา สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 1996 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีแรก แต่พวกเขาตกรอบแบ่งกลุ่มโดยแพ้ไทยในนัดสุดท้าย[6] ตามด้วยการตกรอบรองชนะเลิศซีเกมส์ 1997 โดยแพ้อินโดนีเซีย และแพ้เวียดนามในนัดชิงเหรียญทองแดง[7][8]
สิงคโปร์คว้าแชมป์รายการแรกได้ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 1998 ภายใต้การนำของ แบร์รี วิทเบรด ผู้ฝึกสอนชาวอังกฤษโดยไม่แพ้ทีมใดในรอบแบ่งกลุ่มรวมถึงเอาชนะมาเลเซียและลาว และเอาชนะอินโดนีเซียในรอบรองชนะเลิศ 2–1 ก่อนจะชนะเวียดนามในรอบชิงชนะเลิศ 1–0[9][10] แยน บอร์ก โพลเซน ชาวเดนมาร์กได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของสมาคมใน ค.ศ. 1999[11] ก่อนจะรับตำแหน่งเป็นผู้ฝึกสอนแทนที่ วินเซนต์ สุบรามาเนียม ซึ่งลาออกใน ค.ศ. 2000 จากผลงานย่ำแย่ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2000 ซึ่งพวกเขาตกรอบแรก โดยต่อมาสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพร่วมรายการดังกล่าวอีกครั้งใน ค.ศ. 2002 แต่ก็ตกรอบแรกอีกครั้ง โดยแพ้คู่ปรับสำคัญอย่างมาเลเซียในนัดแรก 0–4 และการเอาชนะลาวรวมถึงเสมอทีมไทยในนัดสุดท้ายนั้นไม่เพียงพอต่อการเข้ารอบ โพลเซนถูกปลดหลังจบการแข่งขัน
ประสบความสำเร็จในภูมิภาค (2004–2012)
[แก้]ราดอยโก อัฟราโมวิช เข้ามารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนต่อในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2004 พวกเขาผ่านรอบแบ่งกลุ่มโดยไม่แพ้ทีมใด ตามด้วยการชนะพม่าไปอย่างสนุกด้วยผลประตูรวมสองนัด 8–5 ซึ่งต้องเล่นกันถึงช่วงต่อเวลา และพวกเขาคว้าแชมป์สมัยที่สองได้จากการชนะอินโดนีเซียในรอบชิงชนะเลิศด้วยผลประตูรวม 5–2 โดยบุกไปชนะถึงกรุงจาการ์ตาได้ 3–1 ในเลกแรก และกลับมาชนะได้อีก 2–1 ต่อหน้าแฟน ๆ 55,000 คนที่สิงคโปร์
สิงคโปร์ตกรอบเอเชียนคัพ 2007 รอบคัดเลือกโดยชนะได้เพียงหนึ่งนัดจากห้านัด และอัฟราโมวิชนำทีมลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2007 ในฐานะแชมป์เก่าและเป็นเจ้าภาพร่วมกับทีมชาติไทย พวกเขาเริ่มต้นด้วยการเสมอเวียดนาม แต่ในนัดที่สองพวกเขาชนะลาว 11–0 นับเป็นสถิติการชนะด้วยผลประตูที่มากที่สุดตลอดกาลของทีม และเสมออินโดนีเซียในนัดสุดท้าย ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศเอาชนะจุดโทษมาเลเซีย ภายหลังจากเสมอกัน 1–1 ทั้งสองนัด และเข้าไปป้องกันแชมป์ได้โดยชนะไทยด้วยผลประตูรวม 3–2 โดยชนะในเลกแรกในบ้านได้ 2–1 และบุกไปเสมอ 1–1 ที่สนามศุภชาศัย จากประตูท้ายเกมของ ไครูล อัมรี คว้าแชมป์สมัยที่สาม
อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ล้มเหลวในการแข่งขัน ค.ศ. 2008 แม้พวกเขาจะชนะสามนัดรวดในรอบแบ่งกลุ่มที่พบกับอินโดนีเซีย, พม่า และกัมพูชา โดยทำประตูไปได้ถึง 10 ประตู ทว่าพวกเขาแพ้เวียดนามแชมป์ในปีนั้นในรอบรองชนะเลิศด้วยผลประตูรวม 0–1
ในฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก สิงคโปร์ผ่านปาเลสไตน์ และ ทาจิกิสถาน เข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มก่อนจะตกรอบเมื่อแพ้ต่อคู่แข่งที่แข็งแกร่งจากตะวันออกกลางอย่างซาอุดีอาระเบีย ต่อมาใน เอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือก สิงคโปร์ตกรอบโดยชนะได้สองจากหกนัด จบอันดับสุดท้าย รวมถึงแพ้ทีมดังอย่างอิหร่าน 0–6 และแพ้ในบ้านต่อทีมชาติไทย 1–3 แต่พวกเขาก็เล่นได้ยอดเยี่ยมโดยบุกไปชนะไทยได้ 1–0 เช่นกัน และสิงคโปร์ยังมีผลงานย่ำแย่ต่อเนื่องจากการตกรอบแบ่งกลุ่ม ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2010 โดยชนะเพียงนัดเดียว และแพ้เวียดนามในนัดสุดท้าย และจากผลงานดังกล่าวทำให้แฟนบอลวิจารณ์อย่างหนัก สมาคมฟุตบอลตัดสินใจพักการแข่งขันทุกรายการเป็นเวลา 6 เดือนเพื่อวางแผนและปรับปรุงทีมใหม่ และกลับมาเอาชนะมัลดีฟส์ในเกมกระชับมิตร 4–0 ณ สนามกีฬาจาลันเบอซาร์ และเสมอไทย 0–0 ตามด้วยการลงแข่งขันสุลต่านออฟสลังงอร์ รายการพิเศษที่จัดขึ้นระหว่างสองสโมสรฟุตบอลคู่แข่ง ได้แก่ สโมสรสลังงอร์และสิงคโปร์ และสิงคโปร์ชนะ 1–0 คว้าแชมป์สมัยที่หก
สิงคโปร์ตกรอบในฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก แต่คว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2012 ได้เป็นสมัยที่สี่ เอาชนะฟิลิปปินส์ในรอบรองชนะเลิศ และชนะไทยในรอบชิงชนะเลิศด้วยผลประตูรวม 3–2 โดยชนะในเลกแรกที่บ้าน 3–1 และแพ้ที่กรุงเทพมหานคร 0–1[12] ราดอยโก อัฟราโมวิช ลาทีมหลังจบการแข่งขัน เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ฝึกสอนที่ดีที่สุดของทีมชาติสิงคโปร์มาถึงปัจจุบัน ถัดมาในเอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือก สิงคโปร์ตกรอบโดยแพ้ทีมร่วมกลุ่มอย่างจอร์แดน และซีเรีย
2013–ปัจจุบัน
[แก้]เบิร์นด์ ชตังเงอ เข้ามารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนใน ค.ศ. 2013[13] พาทีมชนะในเกมกระชับมิตรสองนัดที่พบกับพม่าและลาว และชตังเงอเป็นผู้เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการเล่นของทีม ให้เคลื่อนที่ด้วยความรวดเร็ว เน้นการวิ่งและการจ่ายลูกบอลแบบจังหวะเดียว และยังเพิ่มความฟิตให้นักเตะ พวกเขาเป็นเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2014 ร่วมกับเวียดนาม แต่ไม่สามารถป้องกันแชมป์ได้ และย่ำแย่ถึงขั้นตกรอบแบ่งกลุ่มโดยชนะพม่าได้เพียงนัดเดียว แต่แพ้คู่ปรับอย่างไทย (1–2) และ มาเลเซีย (1–3) และตกรอบฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก รอบที่ 2 แต่ก็เก็บได้ถึง 10 คะแนน และได้รับเสียงชื่นชมจากการบุกไปเสมอทีมใหญ่อย่างญี่ปุ่นได้ถึงสนามกีฬาไซตามะ 2002 รวมทั้งเอาชนะชาติตะวันออกกลางอย่างอัฟกานิสถาน 1–0 และแพ้ซีเรียไปเพียงหนึ่งประตู[14]
ชตังเงอไม่ได้รับการขยายสัญญา และเขาถูกแทนที่โดย วี. ซุนดรามูร์ธี พาทีมลงแข่งฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016 แต่พวกเขาตกรอบแรกอีกครั้ง โดยเสมอหนึ่งนัด แพ้สองนัดไม่ชนะทีมใด และในเอเชียนคัพ 2019 รอบคัดเลือก – รอบที่ 3 สิงคโปร์ตกรอบโดยไม่ชนะทีมใด ต่อมา ทัตสึมะ โยชิดะ ผู้ฝึกสอนชาวญี่ปุ่นเข้ามาทำหน้าที่ต่อ แต่ทีมก็ตกรอบในฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 โดยชนะได้ 2 นัดจาก 8 นัด และประเทศสิงคโปร์ได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020 พวกเขาอยู่ในกลุ่มเอร่วมกับไทย, ฟิลิปปินส์, พม่า, และติมอร์-เลสเต และสิงคโปร์ผ่านรอบแบ่งกลุ่มในฐานะรองแชมป์กลุ่มด้วยผลงานชนะ 3 นัด และแพ้ 1 นัด โดยแพ้ทีมชาติไทยในนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม 0–2[15] และแพ้อินโดนีเซียในรอบรองชนะเลิศด้วยผลประตูรวมสองนัด 3–5 ซึ่งในนัดที่สองต้องเล่นกันถึงช่วงต่อเวลา เป็นผลให้โยชิดะอำลาตำแหน่งผู้ฝึกสอน[16] และ ทาคายูกิ นิชิกายะ เข้ามารับตำแหน่งต่อ
การคุมทีมนัดแรกของนิชิกายะคือเกมกระชับมิตรซึ่งพวกเขาแพ้คูเวต 0–2 ณ สนามกีฬาอัลนะฮ์ยาน ถัดมาในเอเชียนคัพ 2023 รอบคัดเลือก – รอบที่ 3 สิงคโปร์ตกรอบจากผลงานชนะ 1 และแพ้ 2 นัด ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 1 สิงคโปร์เอาชนะกวมด้วยผลประตูรวม 2 นัด 3–1 แต่การแข่งขันครั้งนี้ไม่เป็นที่พึงพอใจของผู้สนับสนุน เนื่องจากผลงานโดยรวมไม่ดีนัก โดยสิงคโปร์มีโอกาสมากมายในการทำประตูเพิ่ม แต่ชนะด้วยผลประตูที่น้อยกว่าที่คาดไว้ สิงคโปร์ผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือก – รอบที่ 2 แต่จบในอันดับสุดท้ายของกลุ่มเริ่มต้นด้วยการบุกไปแพ้เกาหลีใต้ 0–5, แพ้ไทย 1–3, เสมอจีน 2–2, บุกไปแพ้จีน 1–4, แพ้เกาหลีใต้ 0–7 ปิดท้ายด้วยการบุกไปแพ้ไทย 1–3 สิงคโปรลงแข่งขันกระชับมิตรในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2024 โดยชนะพม่า 3–2 และแพ้ไทเป 2–3 ต่อมาในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2024 กลุ่มเอ สิงคโปร์เอาชนะกัมพูชาในนัดแรก 2–1 จากนั้น เอาชนะติมอร์-เลสเต 3–0 และแพ้ไทย 2–4 พวกเขาเข้ารอบเป็นอันดับ 2 ของกลุ่มจากการเสมอมาเลเซีย 0–0 แต่แพ้เวียดนามในรอบรองชนะเลิศด้วยผลประตูรวมสองนัด 1–5
สนามแข่งขัน
[แก้]สนามเหย้าของทีมชาติสิงคโปร์ | ||||
---|---|---|---|---|
สนาม | ความจุ | ที่ตั้ง | ใข้งานล่าสุด | |
สนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ | 55,000 | กัลลัง | v พม่า (5 ธันวาคม 2021; ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020 กลุ่ม เอ) | |
สนามกีฬาจาลันเบอซาร์ | 8,000 | กัลลัง | v เติร์กเมนิสถาน (5 กันยายน 2017; เอเชียนคัพ 2019 รอบคัดเลือก – รอบที่ 3) | |
Bishan Stadium | 3,500 | Bishan | v มองโกเลีย (12 ตุลาคม 2018; กระชับมิตร) | |
Choa Chu Kang Stadium | 4,268 | Choa Chu Kang | v อินเดีย (16 ตุลาคม 2012; กระชับมิตร) | |
Jurong West Stadium | 4,200 | Jurong West | v ปากีสถาน (19 พฤศจิกายน 2012; กระชับมิตร) | |
Jurong East Stadium | 2,700 | Jurong East | v บรูไน (6 มิถุนายน 2015; กระชับมิตร) | |
Hougang Stadium | 3,800 | Hougang | v ฮ่องกง (9 กันยายน 2014; กระชับมิตร) | |
Yishun Stadium | 3,400 | Yishun | v กัมพูชา (17 พฤศจิกายน 2014; กระชับมิตร) |
ผลงาน
[แก้]- 1998 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2002 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2006 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2010 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2014 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2018 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2022 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2026 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1956-2023 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]รายชื่อผู้เล่น 27 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 พบกับ เกาหลีใต้ และ ไทย ในวันที่ 6 และ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2567[17]
จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567 หลังแข่งขันกับ เกาหลีใต้
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | Hairul Syirhan | 21 สิงหาคม ค.ศ. 1995 | 0 | 0 | เกย์ลัง อินเตอร์เนชันแนล |
12 | GK | Zharfan Rohaizad | 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 | 0 | 0 | ไลออนซิตีเซเลอส์ |
18 | GK | Hassan Sunny | 2 เมษายน ค.ศ. 1984 | 114 | 0 | อัลบิเร็กซ์ นีงาตะ (S) |
GK | Syazwan Buhari | 22 กันยายน ค.ศ. 1992 | 2 | 0 | บีจี ทัมปิเนสโรเวอร์ | |
2 | DF | Fairuz Fazli | 20 มกราคม ค.ศ. 2005 | 0 | 0 | Young Lions |
3 | DF | ไรฮาน สจวร์ต | 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 | 14 | 0 | บีจี ปทุม ยูไนเต็ด |
4 | DF | Christopher van Huizen | 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 | 20 | 1 | ไลออนซิตีเซเลอส์ |
5 | DF | Amirul Adli | 13 มกราคม ค.ศ. 1996 | 27 | 0 | บีจี ทัมปิเนสโรเวอร์ |
6 | DF | Nur Adam Abdullah | 13 เมษายน ค.ศ. 2001 | 8 | 0 | Young Lions |
15 | DF | Lionel Tan | 5 มิถุนายน ค.ศ. 1997 | 12 | 3 | ไลออนซิตีเซเลอส์ |
17 | DF | Jordan Emaviwe | 9 เมษายน ค.ศ. 2001 | 0 | 0 | Balestier Khalsa |
20 | DF | Joshua Pereira | 10 ตุลาคม ค.ศ. 1997 | 6 | 0 | เกย์ลัง อินเตอร์เนชันแนล |
21 | DF | Safuwan Baharudin | 22 กันยายน ค.ศ. 1991 | 112 | 13 | เซอลาโงร์ |
DF | Jacob Mahler | 10 เมษายน ค.ศ. 2000 | 11 | 3 | มาดูรา ยูไนเต็ด | |
DF | อีร์ฟัน ฟันดี | 13 สิงหาคม ค.ศ. 1997 | 48 | 2 | บีจี ปทุม ยูไนเต็ด | |
DF | Raoul Suhaimi | 18 กันยายน ค.ศ. 2005 | 0 | 0 | Young Lions | |
7 | MF | Song Ui-young | 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 | 25 | 4 | ไลออนซิตีเซเลอส์ |
8 | MF | Shah Shahiran | 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 | 22 | 1 | ทัมปิเนสโรเวอร์ |
14 | DF | Hariss Harun (กัปตัน) | 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 | 130 | 12 | ไลออนซิตีเซเลอส์ |
16 | MF | Hami Syahin | 16 ธันวาคม ค.ศ. 1998 | 22 | 0 | ไลออนซิตีเซเลอส์ |
22 | MF | Glenn Kweh | 26 มีนาคม ค.ศ. 2000 | 12 | 0 | บีจี ทัมปิเนสโรเวอร์ |
23 | MF | ฮาฮิส สจวร์ต | 20 มีนาคม ค.ศ. 2001 | 3 | 0 | เชียงราย ยูไนเต็ด |
MF | Farhan Zulkifli | 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 | 1 | 0 | Young Lions | |
9 | FW | อิคซัน ฟันดี | 9 เมษายน ค.ศ. 1999 | 37 | 17 | บีจี ปทุม ยูไนเต็ด |
10 | FW | Faris Ramli | 24 สิงหาคม ค.ศ. 1992 | 80 | 13 | บีจี ทัมปิเนสโรเวอร์ |
11 | FW | Daniel Goh | 13 สิงหาคม ค.ศ. 1999 | 5 | 0 | อัลบิเร็กซ์ นีงาตะ (S) |
13 | FW | Taufik Suparno | 31 ตุลาคม ค.ศ. 1995 | 7 | 0 | บีจี ทัมปิเนสโรเวอร์ |
19 | FW | อิลฮาน ฟานดี | 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 | 13 | 2 | Deinze |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "FIFA Century Club" (PDF). Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2015.
- ↑ Morrison, Neil. "Fandi Ahmad – Century of International Appearances". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 30 January 2010.
- ↑ [1]
- ↑ "Singapore matches, ratings and points exchanged". World Football Elo Ratings: Singapore. สืบค้นเมื่อ 24 November 2016.
- ↑ "30 and that's it: [New Sunday Times, , 2* - ProQuest". www.proquest.com.
- ↑ "Singapore lure the Johor fans: [Main/Lifestyle, , - ProQuest". www.proquest.com.
- ↑ "SEA Games – 1997". AFF - The Official Website Of The Asean Football Federation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2010-11-25.
- ↑ "South East Asian Games 1997 (Jakarta, Indonesia)". www.rsssf.com.
- ↑ "Flash Back: AFF Championship 1998 | Goal.com". www.goal.com.
- ↑ Gene, Ng Keng (2016-05-28). "Football: Singapore's national coaches through the years". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0585-3923. สืบค้นเมื่อ 2021-12-17.
- ↑ Gene, Ng Keng (2016-05-28). "Football: Singapore's national coaches through the years". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0585-3923. สืบค้นเมื่อ 2021-12-17.
- ↑ "AFF Suzuki Cup 2020". www.affsuzukicup.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-12-17.
- ↑ "Bernd Stange unveiled as new Singapore coach | Goal.com". www.goal.com.
- ↑ "FAS HEADLINES | The Football Association of Singapore". web.archive.org. 2016-03-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-12-17.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Thailand beat Singapore 2-0 to remain unbeaten in Suzuki Cup". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04.
- ↑ "Singapore national football coach Tatsuma Yoshida quits post to be with family in Japan". CNA (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Ogura names Singapore squad for upcoming matches against Korea Republic and Thailand".