ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตรินิแดดและโตเบโก
Shirt badge/Association crest
ฉายาSoca Warriors
ทีมลิมโบ (ฉายาในภาษาไทย)
สมาคมสมาคมฟุตบอลตรินิแดดและโตเบโก
สมาพันธ์ย่อยCFU (แคริบเบียน)
สมาพันธ์CONCACAF (อเมริกาเหนือ)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนแองกัส อีฟ
กัปตันคาลีม ไฮแลนด์
ติดทีมชาติสูงสุดแองกัส อีฟ (117)
ทำประตูสูงสุดสเติร์น จอห์น (70)
สนามเหย้าสนามกีฬาเฮสลีย์ ครอว์ฟอร์ด
รหัสฟีฟ่าTRI
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 99 ลดลง 1 (20 มิถุนายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด25 (มิถุนายน 2001)
อันดับต่ำสุด106 (ตุลาคม 2010)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติกายอานาของอังกฤษ กายอานาของอังกฤษ 1–4 ตรินิแดดและโตเบโก ธงชาติตรินิแดดและโตเบโก
(บริติชเกียนา; 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1905)[2]
ชนะสูงสุด
ธงชาติตรินิแดดและโตเบโก ตรินิแดดและโตเบโก 15–0 แองกวิลลา ธงชาติแองกวิลลา
(อารีมา ประเทศตรินิแดดและโตเบโก; 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019)
แพ้สูงสุด
ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก 7–0 ตรินิแดดและโตเบโก ธงชาติตรินิแดดและโตเบโก
(เม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก; 8 ตุลาคม ค.ศ. 2000)
ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 7–0 ตรินิแดดและโตเบโก ธงชาติตรินิแดดและโตเบโก
(ออร์แลนโด สหรัฐ; 31 มกราคม ค.ศ. 2021)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2006)
ผลงานดีที่สุดรอบกลุ่ม (2006)
โกลด์คัพ
เข้าร่วม16 (ครั้งแรกใน 1967)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ (1973)

ฟุตบอลทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโกในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติ บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลตรินิแดดและโตเบโก (TTFA) โดยเป็นสมาชิกของคอนคาแคฟ และสหภาพฟุตบอลแคริบเบียน

ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก เคยผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก 1 ครั้ง ในฟุตบอลโลก 2006 ทำให้ได้รับการบันทึกว่าเป็นทีมชาติที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ได้เล่นในฟุตบอลโลกเมื่อวัดจากขนาดพื้นที่ของประเทศและจำนวนประชากร

นอกจากนี้ทีมชาติตรินิแดดฯยังเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปอย่าง คอนคาเคฟ โกลด์คัพ และการแข่งขันในระดับภูมิภาคอย่าง แคริบเบียน คัพ ซึ่งทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก จัดว่าเป็นทีมชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในกลุ่มประเทศแถบทะเลแคริบเบียน เมื่อชนะเลิศการแข่งขันแคริบเบียน คัพ ถึง 8 สมัย และได้ตำแหน่งรองชนะเลิศอีก 5 สมัย ได้รับการจารึกไว้ว่าครองสถิติชนะเลิศมากที่สุดในการแข่งขันรายการนี้

โดยในการแข่งขัน แคริบเบียน คัพ 2014 รอบสุดท้ายที่เมืองมอนเตโก เบย์ ประเทศจาเมกา ในวันที่ 10 - 17 พฤศจิกายน 2014 ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโกได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ หลังดวลจุดโทษแพ้ทีมชาติจาเมกา ในนัดชิงชนะเลิศ โดยเป็นการได้ตำแหน่งรองชนะเลิศรายการนี้เป็นสมัยที่ 5

สำหรับฉายา เดอะ โซก้า วอริเออร์ส ของทีมชาติตรินิแดดและโตเบโกนั้น คำว่า โซก้า หมายถึง โซก้า มิวสิค เป็นดนตรีพื้นเมืองอันเป็นเอกลักษณ์และมีต้นกำเนิดมาจากประเทศตรินิแดดและโตเบโก ดนตรีประเภทนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มประเทศแถบแคริบเบียน

ประวัติ

[แก้]

ฟุตบอลโลก 2006

[แก้]

ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก ผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2006 ที่ประเทศเยอรมัน ภายใต้การคุมทีมของลีโอ บีนฮัคเคอร์ โค้ชชาวฮอลแลนด์ ที่ได้เรียกตัวผู้เล่นประสบการณ์สูงอย่างดไวต์ ยอร์ก และ รัสเซลล์ ลาตาปี ให้กลับมารับใช้ชาติอีกครั้ง และสามารถคว้าอันดับ 4 ในการแข่งขันรอบคัดเลือกโซนคอนคาแคฟ รอบสุดท้าย ได้สำเร็จ โดยต้องไปเล่นเพลย์ออฟ กับทีมชาติบาห์เรน จากทวีปเอเชีย เพื่อหาทีมสุดท้ายที่จะได้เข้าร่วมฟุตบอลโลก

ในการแข่งขันรอบเพลย์ออฟนัดแรกที่สนามกีฬาเฮสลีย์ ครอว์ฟอร์ด ทั้งสองทีมเสมอกันไป 1-1 และในเกมส์นัดที่สองที่สนามกีฬาแห่งชาติบาห์เรน เมืองริฟฟา ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโกสามารถบุกมาเอาชนะได้ 1-0 จากลูกโหม่งของ เดนิส ลอว์เรนซ์ นักเตะจากสโมสรเร็กซ์แฮม ถือเป็นประตูชัยที่พาตรินิแดดฯเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

โดยในฟุตบอลโลก 2006 ที่ประเทศเยอรมัน ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มบี ร่วมกับทีมชาติอังกฤษ,ทีมชาติสวีเดน และทีมชาติปารากวัย

วันที่ 10 มิถุนายน ปี 2006 ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก ลงแข่งขันในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเป็นนัดแรก โดยเป็นเกมส์รอบแบ่งกลุ่มระหว่างทีมชาติตรินิแดดฯและทีมชาติสวีเดน ที่สนามเว็สท์ฟาเลินชตาดีอ็อน เมืองดอร์ทมุนท์ เกมนัดดังกล่าวจบลงด้วยผลเสมอ 0 - 0 โดย เอเวรี่ จอห์น กองหลังทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก จากสโมสรนิว อิงแลนด์ เรฟโวลูชั่น โดนใบแดงในครึ่งหลัง

เกมส์ในรอบแบ่งกลุ่มอีก 2 นัดที่เหลือ ทีมชาติตรินิแดดฯ แข่งกับทีมชาติอังกฤษ ที่สนามแฟรงเกนชตาดิโยน เมืองเนือร์นแบร์ก โดยแพ้ 2-0 และพบกับทีมชาติปารากวัย ที่สนามฟริตซ์ วอลเตอร์ เมืองไคเซอร์สเลาเทิร์น และแพ้ปารากวัยไป 2 - 0 ตกรอบแบ่งกลุ่มในที่สุด

ฟุตบอลโลก 2018

[แก้]

ในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนคอนคาแคฟ ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก จัดเป็นทีมวางและได้เริ่มแข่งขันในรอบที่ 4 หรือ รอบ 12 ทีมสุดท้าย โดยการแข่งขันในรอบนี้จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม คัดเอาอันดับที่ 1-2 ของกลุ่ม เข้าไปเล่นในรอบคัดเลือกรอบที่ 5 รวม 6 ทีม

ในรอบที่ 4 นี้ ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก ถูกจัดให้อยู่ร่วมกลุ่มกับทีมชาติสหรัฐอเมริกา, กัวเตมาลา และเซนต์วินเซนต์แอนด์เกรนาดีนส์ โดยทีมชาติตรินิแดดฯ ได้อันดับที่ 2 ของกลุ่ม ตามหลังทีมชาติสหรัฐอเมริกา และผ่านเข้ารอบ ได้ไปแข่งขันต่อในรอบที่ 5 ซึ่งเป็นการคัดเลือกรอบสุดท้าย

สนามเหย้า

[แก้]
สนามกีฬาเฮสลีย์ ครอว์ฟอร์ด ถูกใช้เป็นสนามเหย้าของทีมตั้งแต่ ปี 1980

ในยุคแรกทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก ต้องใช้สนาม ควีนส์ปาร์ค โอวัล ซึ่งเป็นสนามที่ใช้แข่งกีฬาคริกเก็ตที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในแถบเวสต์ อินดีส ตั้งอยู่ที่เมืองพอร์ต-ออฟ-สเปน เป็นสนามเหย้าสำหรับแข่งฟุตบอลทีมชาติ จนกระทั่งรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโกได้สร้างสนามกีฬาแห่งชาติแล้วเสร็จในปี ค.ศ.1980 โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการแข่งขันกรีฑาและฟุตบอล มีความจุทั้งสิ้น 27,000 ที่นั่ง สมาคมฟุตบอลตรินิแดดและโตเบโก (TTFA) จึงได้รับอนุญาตจากกระทรวงการกีฬาของตรินิแดดฯ ให้ใช้สนามแห่งนี้เป็นสนามเหย้า ในการแข่งขันฟุตบอลทีมชาตินับแต่นั้นมา

ปี ค.ศ. 2001 สนามกีฬาแห่งชาตินี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เฮสลีย์ ครอว์ฟอร์ด สเตเดี้ยม เพื่อเป็นเกียรติแก่ เฮสลีย์ โจอาคิม ครอว์ฟอร์ด นักกรีฑา ที่เป็นชาวตรินิแดดและโตเบโกคนแรกที่ได้เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โดยเขาสามารถคว้าเหรียญทองได้จากการแข่งขันวิ่งระยะสั้น 100 เมตร ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 ที่มอนทรีออล ประเทศแคนาดา รวมทั้งได้เหรียญเงินจากการวิ่งผลัด 4×100 เมตร ในการแข่งขันกีฬาคอมมอนเวลธ์เกมส์ ปี 1978 ที่เมืองเอ็ดมอนตัน ประเทศแคนาดา

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นทีมชาติชุดใหญ่

[แก้]

รายชื่อผู้เล่นที่ใช้ในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนคอนคาแคฟ รอบที่ 5 โดยพบกับทีมชาติคอสตาริกา วันที่ 11 พฤศจิกายน 2016 ที่กรุงพอร์ต-ออฟ-สเปน และพบกับทีมชาติฮอนดูรัส วันที่ 15 พฤศจิกายน 2016 ที่ ซานเปโดรซูลา

  • จำนวนนัดและสถิติยิงประตูในทีมชาตินับถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2016 หลังจบการแข่งขันกับฮอนดูรัส
0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1GK แยน-ไมเคิล วิลเลียมส์ (1984-10-26) 26 ตุลาคม ค.ศ. 1984 (40 ปี) 75 0 ตรินิแดดและโตเบโก เซ็นทรัล เอฟซี
1GK มาร์วิน ฟิลลิป (1984-08-01) 1 สิงหาคม ค.ศ. 1984 (40 ปี) 68 0 ตรินิแดดและโตเบโก เซ็นทรัล
1GK อาเดรียน ฟอนเซ็ตเต (1988-10-10) 10 ตุลาคม ค.ศ. 1988 (36 ปี) 11 0 ตรินิแดดและโตเบโก โปลิส เอฟซี

2DF อูเบรย์ เดวิด (1990-10-11) 11 ตุลาคม ค.ศ. 1990 (34 ปี) 34 1 สหรัฐ เอฟซี ดัลลัส
2DF เชลดอน บาโต (1991-01-29) 29 มกราคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 27 3 รัสเซีย ครีเลีย โซเวตอฟ สมารา
2DF ดานีล ไซรัส (1990-12-15) 15 ธันวาคม ค.ศ. 1990 (33 ปี) 61 0 ตรินิแดดและโตเบโก ดับบลิว คอนเนคชัน
2DF คาร์ลีล มิทเชลล์ (1987-08-08) 8 สิงหาคม ค.ศ. 1987 (37 ปี) 33 1 เกาหลีใต้ โซล อี แลนด์
2DF ราดานฟะฮ์ อะบู บักร์ (1987-02-12) 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987 (37 ปี) 32 2 เอสโตเนีย ซิลลาเม คาเลฟ
2DF โยฮันซ์ มาร์แชลล์ (1986-01-22) 22 มกราคม ค.ศ. 1986 (38 ปี) 14 1 เม็กซิโก มูร์ซีลากอส

3MF โจวิน โจนส์ (1991-08-03) 3 สิงหาคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 59 6 สหรัฐ ซีแอตเติล ซอนเดอส์
3MF คาลีม ไฮแลนด์ (1989-06-05) 5 มิถุนายน ค.ศ. 1989 (35 ปี) 68 4 เบลเยียม เวสเตอร์โล
3MF อันเดร บูโก (1984-10-10) 10 ตุลาคม ค.ศ. 1984 (40 ปี) 44 2 อังกฤษ ดาเกแนม แอนด์ เร้ดบริดจ์
3MF คอร์เดลล์ คาโต (1992-07-15) 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 20 2 สหรัฐ ซาน โฮเซ เอิร์ทเควกส์
3MF คีแวน จอร์จ (1990-01-30) 30 มกราคม ค.ศ. 1990 (34 ปี) 27 0 สหรัฐ แจคสันวิลล์ อมาดา
3MF เนเวียล แฮคชอว์ (1995-09-21) 21 กันยายน ค.ศ. 1995 (29 ปี) 6 0 สหรัฐ ชาร์เลสตัน แบตเตอร์รี
3MF มาร์คัส โจเซฟ (1991-04-29) 29 เมษายน ค.ศ. 1991 (33 ปี) 11 1 ตรินิแดดและโตเบโก เซ็นทรัล
3MF เลวี การ์เซีย (1997-11-20) 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 (27 ปี) 10 2 เนเธอร์แลนด์ อัล์คมาร์
3MF โจมาล วิลเลียมส์ (1994-04-28) 28 เมษายน ค.ศ. 1994 (30 ปี) 8 1 เม็กซิโก มูร์เซียลากอส
3MF จอห์น บอสต็อก (1992-01-15) 15 มกราคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 0 0 ฝรั่งเศส ล็องส์

4FW เทรวิน เซซาร์ (1987-08-27) 27 สิงหาคม ค.ศ. 1987 (37 ปี) 12 3 สหรัฐ ออเรนจ์ เคาน์ตี บลูส์
4FW เคนวีน โจนส์ (c) (1984-10-05) 5 ตุลาคม ค.ศ. 1984 (40 ปี) 87 23 ตรินิแดดและโตเบโก เซ็นทรัล เอฟซี
4FW วิลลิส พลาซา (1987-10-03) 3 ตุลาคม ค.ศ. 1987 (37 ปี) 25 7 ตรินิแดดและโตเบโก ซาน ฮวน จาโบลเตห์

ดาวยิงทีมชาติ

[แก้]

ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2015 หลังจบคอนคาแคฟ โกลด์คัพ 2015 ที่เสมอปานามา 1-1 (ผู้เล่นที่ยังเล่นทีมชาติอยู่ ตัวหนา)[3]:

# ซื่อ ประตู นัด
1 สเติร์น จอห์น 70 115
2 แองกัส อีฟ 34 117
3 รัสเซลล์ ลาตาปี 29 81
4 อาร์โนลด์ ดวาริก้า 28 73
5 คอร์เนลล์ เกล็น 24 72
6 เคนวีน โจนส์ 23 90
7 ลีออนสัน ลูอิส 22 36
ไนเจล ปิแอร์ 56
9 ดไวต์ ยอร์ก 19 74
เควิน โมลิโน 43
11 เดวอร์น จอร์สลิง 18 41

ผู้จัดการทีม

[แก้]
ชื่อ ช่วงเวลา
ตรินิแดดและโตเบโก อีฟรัลด์ คัมมิงส์ 1988–1989
ตรินิแดดและโตเบโก เคนวีน คูเปอร์ 1989
ตรินิแดดและโตเบโก อัลวิน คอร์นีล 1990
ตรินิแดดและโตเบโก เอ็ดการ์ วิเดล 1990–1991
ตรินิแดดและโตเบโก มุฮัมหมัด อีซา 1992
บราซิล โคลวิส ดิโอลิเวยร่า 1992
ตรินิแดดและโตเบโก อีฟรัลด์ คัมมิงส์ 1993
เคนนี โจเซฟ 1994
เซอร์เบีย โซรัน วราเนส 1994–1996
เยอรมนี โจเชน ฟิกเก้ 1995
เคนนี โจเซฟ 1996
เซบาสเตียน เดอ อเราโช 1996
ตรินิแดดและโตเบโก เอ็ดการ์ วิเดล 1997
ตรินิแดดและโตเบโก เบอร์ทิลล์ เซนต์แคลร์ 1997–2000
สกอตแลนด์ เอียน พอร์เตอร์ฟิลด์ 2000–2001
บราซิล เรเน่ โรดริเกวซ ซิโมเอส 2001–2002
ตรินิแดดและโตเบโก เคลย์ตัน มอร์ริส 2002
ตรินิแดดและโตเบโก ฮันนิบาล นัจญาร์ 2002–2003
เซอร์เบีย โซรัน วราเนส 2003
เซนต์ลูเชีย สจ๊วต ชาร์ลส์-ฟีฟริเยร์ 2003
ตรินิแดดและโตเบโก รอน ลา ฟอเรสต์ 2004
ตรินิแดดและโตเบโก เบอร์ทิลล์ เซนต์แคลร์ 2004–2005
เนเธอร์แลนด์ ลีโอ บีนฮัคเคอร์ 2005–2006
เนเธอร์แลนด์ วิม ไรจส์เบอร์เกน 2006–2007
ตรินิแดดและโตเบโก แอนตัน คอร์นีล 2008
โคลอมเบีย ฟรานซิสโก อันโตนิโอ มาทูรานา 2008–2009
ตรินิแดดและโตเบโก รัสเซลล์ ลาตาปี 2009–2011
เยอรมนี อ็อตโต ฟิสเตอร์ 2011–2012
ตรินิแดดและโตเบโก ฮัดสัน ชาร์ลส์
ตรินิแดดและโตเบโก ญะมาล ชับบาส
2012–2013
ตรินิแดดและโตเบโก สตีเฟ่น ฮาร์ท 2013–2016
เบลเยียม ทอม เซนต์เฟียต 2016–2017
ตรินิแดดและโตเบโก เดนนิส ลอว์เรนซ์ 2017–2019
อังกฤษ เทอร์รี เฟนวิค 2019–

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  2. Trinidad and Tobago – List of International Matches
  3. "อันดับดาวยิงทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-06. สืบค้นเมื่อ 2014-11-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]