ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
![]() | |
ก่อตั้ง | 2560 |
---|---|
ภูมิภาค | ![]() |
จำนวนทีม | 2 |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | เชียงราย ยูไนเต็ด (2 สมัย) |
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด | เชียงราย ยูไนเต็ด (2 สมัย) |
ผู้แพร่ภาพโทรทัศน์ | ทรูวิชั่นส์ |
![]() |
ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ (อังกฤษ: Thailand Champions Cup) หรืออีกชื่อเรียกคือ ออมสินไทยแลนด์ แชมเปียนส์คัพ ตามชื่อของสปอนเซอร์ผู้สนับสนุนคือ ธนาคารออมสิน การแข่งขัน ฟุตบอลไทย ประจำปีระหว่างแชมป์ ไทยลีก และแชมป์ ไทยเอฟเอคัพ รูปแบบเดียวกับ เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ ของอังกฤษถูกจัดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2560 โดยจัดขึ้นแทน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. ที่ยุบไป เนื่องจากถ้วยพระราชทานประเภท ก. ได้ถูกนำไปใช้เป็นถ้วยแชมป์ไทยลีกตั้งแต่ พ.ศ. 2559[1] โดยคู่แรกที่ประเดิมสนามในการแข่งขันในชื่อนี้คือ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด แชมป์ไทยลีก ฤดูกาล 2559 และ สุโขทัย เอฟซี แชมป์เอฟเอคัพ 2559 ผลปรากฏว่าเป็น เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ดที่เอาชนะไปได้ 5–0
รายชื่อทีมชนะเลิศ[แก้]
2560 ถึง ปัจจุบัน[แก้]
ครั้งที่ | ปี | ชนะเลิศ | ผู้ทำประตู | ผล | ผู้ทำประตู | รองชนะเลิศ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2560 | เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด | ซิสโก คีเมเนซ 20' เคลตัน ซิลวา 40' , 58' สารัช อยู่เย็น 56' ธีรศิลป์ แดงดา 86' |
5 – 0 | สุโขทัย เอฟซี | |
2 | 2561 | เชียงราย ยูไนเต็ด | ศิวกรณ์ เตียตระกูล 45+1' วิคเตอร์ คาร์โดโซ่ 67' |
2 – 2 (8–7 ลูกโทษ) | เอ็ดการ์ บรูโน ดา ซิลวา 6' ดิโอโก้ หลุยส์ ซานโต 34' |
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด |
3 | 2562 | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | ศุภชัย ใจเด็ด 42' , 45+1' โมดิโบ ไมกา 90' |
3 – 1 | บรินเนอร์ เอ็นริเก้ 2' | เชียงราย ยูไนเต็ด |
4 | 2563 | เชียงราย ยูไนเต็ด | อี ย็อง-แร 51' ชัยวัฒน์ บุราณ 55' |
2 – 0 | การท่าเรือ เอฟซี |
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ชื่อใหม่ถ้วยใหม่! Thailand Champions Cup กิเลนหวดสุโขทัย". สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2560. Check date values in:
|accessdate=
(help)