ไทยลีกคัพ
![]() | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2530 (ยุคแรก) พ.ศ. 2553 (ยุคที่สอง) |
---|---|
ยกเลิก | พ.ศ. 2537 (ยุคแรก) |
ภูมิภาค | ![]() |
ทีมชนะเลิศล่าสุด | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (7 สมัย) |
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (7 สมัย) |
ผู้แพร่ภาพโทรทัศน์ | เอไอเอส |
![]() |
ไทยลีกคัพ เป็นการแข่งขันฟุตบอลถ้วยระดับรองในประเทศไทย จัดขึ้นโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2553 โดยมีบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้สนับสนุนหลัก จึงมีชื่อเรียกว่า โตโยต้า ลีกคัพ รูปแบบการแข่งขันเป็นระบบแพ้คัดออก (Knock-out) โดยกำหนดสัดส่วนของสโมสรฟุตบอลที่เข้าแข่งขัน ตามระดับชั้นของลีกที่ลงแข่งขันในฤดูกาลนั้น และใช้การแข่งขันแบบสองนัดเหย้าเยือน อนึ่ง บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) เคยให้การสนับสนุนการแข่งขันฟุตบอลถ้วยของสมาคมฟุตบอลฯ มาแล้ว 8 ครั้งในชื่อว่า โตโยต้าคัพ ระหว่างปี พ.ศ. 2530-2537
รายการนัดชิงชนะเลิศ[แก้]
โตโยต้า คัพ[แก้]
ปี | ชนะเลิศ[1] |
---|---|
2530 | ทหารอากาศ |
2531 | ธนาคารกรุงเทพ |
2532 | สโมสรตำรวจ |
2533 | กรุงเทพมหานคร (โอสถสภา+ราชนาวี) |
2534 | สโมสรตำรวจ |
2535 | ธนาคารกรุงไทย |
2536 | สโมสรตำรวจ |
2537 | ทหารอากาศ |
โตโยต้า ลีกคัพ[แก้]
ปี | ชนะเลิศ | ผลการแข่งขัน | รองชนะเลิศ | สนามแข่งขัน |
---|---|---|---|---|
2553 | การท่าเรือไทย | 2–1 | บุรีรัมย์ พีอีเอ | สนามศุภชลาศัย |
2554 | บุรีรัมย์ พีอีเอ | 2–0 | การท่าเรือไทย | สนามศุภชลาศัย |
2555 | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 4–1 | ราชบุรี มิตรผล | สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต |
2556 | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 2–1 | ราชบุรี มิตรผล | สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต |
2557 | บีอีซี เทโรศาสน | 2–0 | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | สนามศุภชลาศัย |
2558 | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 1–0 | ศรีสะเกษ | สนามศุภชลาศัย |
2559 | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด (ครองแชมป์ร่วมกัน) | |||
2560 | เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด | 2–0 | เชียงราย ยูไนเต็ด | สนามศุภชลาศัย |
2561 | เชียงราย ยูไนเต็ด | 1–0 | บางกอกกล๊าส | สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต |
2562 | พีที ประจวบ | 1–1 หลังต่อเวลา (8–7 ลูกโทษ) |
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | สนามเอสซีจีสเตเดียม |
2563–64 | ยกเลิกการแข่งขัน[2] |
รีโว่ ลีกคัพ[แก้]
ปี | ชนะเลิศ | ผลการแข่งขัน | รองชนะเลิศ | สนามแข่งขัน |
---|---|---|---|---|
2564–65 | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 4–0 | พีที ประจวบ | สนามบีจีสเตเดียม |
รีโว่ คัพ[แก้]
ปี | ชนะเลิศ | ผลการแข่งขัน | รองชนะเลิศ | สนามแข่งขัน |
---|---|---|---|---|
2565–66 | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 2–0 | บีจี ปทุม ยูไนเต็ด | ธันเดอร์โดมสเตเดียม |
ทำเนียบผู้ชนะเลิศจำแนกตามสโมสร[แก้]
สโมสร | ชนะเลิศ |
---|---|
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 7 (25542, 2555, 2556, 2558, 25591, 2564–65, 2565–66) |
สโมสรตำรวจ | 3 (2532, 2534, 2536) |
เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด | 2 (25591, 2560) |
ทหารอากาศ | 2 (2530, 2537) |
ธนาคารกรุงเทพ | 1 (2531) |
ธนาคารกรุงไทย | 1 (2535) |
โอสถสภา | 1 (25331) |
ราชนาวี | 1 (25331) |
การท่าเรือ | 1 (25533) |
โปลิศ เทโร | 1 (25574) |
เชียงราย ยูไนเต็ด | 1 (2561) |
พีที ประจวบ | 1 (2562) |
1ชนะเลิศร่วมกัน
2ส่งแข่งในนาม บุรีรัมย์ พีอีเอ
3ส่งแข่งในนาม การท่าเรือไทย เอฟซี
4ส่งแข่งในนาม บีอีซี เทโรศาสน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Toyota Cup : Hall of Fame". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-31. สืบค้นเมื่อ 2012-09-30.
- ↑ ""กรวีร์"ชี้ลีกคัพจ่อยกเลิกหลังไม่มีสปอนเซอร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-16. สืบค้นเมื่อ 2020-10-22.
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ[แก้]
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2010-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน