ฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์
![]() | |||
ฉายา | Al-Fursan (The Knights) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์ (PFA) | ||
สมาพันธ์ย่อย | สหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก (WAFF) | ||
สมาพันธ์ | เอเอฟซี (ทวีปเอเชีย) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | อับดุล นาศิร บารอกัต ![]() | ||
กัปตัน | รัมซี ศอลิห์ | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | รัมซี ศอลิห์ (107) | ||
ทำประตูสูงสุด | ฟะฮัด อัตตาล อัชรอฟ นุอ์มาน (14) | ||
สนามเหย้า | ฟัยศ็อล อัลฮุสเซนี สเตเดี้ยม | ||
รหัสฟีฟ่า | PLE | ||
อันดับฟีฟ่า | 137 (พฤศจิกายน ค.ศ. 2015) | ||
อันดับฟีฟ่าสูงสุด | 85 (กรกฎาคม ค.ศ. 2014) | ||
อันดับฟีฟ่าต่ำสุด | 191 (เมษายน ค.ศ. 2009) | ||
อันดับอีแอลโอ | 130 (มิถุนายน ค.ศ. 2015) | ||
อันดับอีแอลโอสูงสุด | 123 (พฤษภาคม ค.ศ. 2014) | ||
อันดับอีแอลโอต่ำสุด | 159 (ตุลาคม ค.ศ. 2011) | ||
| |||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
![]() ![]() (อะเล็กซานเดรีย,อียิปต์; 26 กรกฎาคม, ค.ศ. 1953) | |||
ชนะสูงสุด | |||
![]() ![]() สนามกีฬาแห่งชาติบังกาบันธุ (กรุงธากา, บังกลาเทศ; 1 เมษายน, ค.ศ. 2006) | |||
แพ้สูงสุด | |||
![]() ![]() อซาดี้ สเตเดี้ยม (กรุงเตหะราน,อิหร่าน; 5 ตุลาคม, ค.ศ. 2011) | |||
เอเชียนคัพ | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 2015) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบแรก (2015) | ||
เอเอฟซี แชลเลนจ์คัพ | |||
เข้าร่วม | 3 (ครั้งแรกใน 2006) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (2014) |
ฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์ เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากรัฐปาเลสไตน์ สำหรับการแข่งขันในระดับชาติ อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์ (PFA) โดยเป็นชาติสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC)
ในสมัยที่รัฐปาเลสไตน์ยังเป็นดินแดนปาเลสไตน์ในอาณัติที่ปกครองโดยสหราชอาณาจักร สมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์ในอาณัติได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1928 ต่อมาดินแดนปาเลสไตน์ได้ประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ.1988 และสมาคมฟุตบอลของปาเลสไตน์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของฟีฟ่าและสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC) ในปี ค.ศ. 1998 ภายหลังจากการก่อตั้งองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์
ทีมชาติปาเลสไตน์ยังไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก แต่ผ่านเข้าไปเล่นในรายการสำคัญระดับทวีปเอเชียเป็นครั้งแรกในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบสุดท้ายที่ประเทศออสเตรเลีย โดยผ่านเข้ารอบมาในฐานะแชมป์ของรายการเอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ 2014 ที่จัดขึ้นที่สาธารณรัฐมัลดีฟส์ โดยในนัดชิงชนะเลิศที่สนามกีฬาแห่งชาติมัลดีฟส์ กรุงมาเล ปาเลสไตน์สามารถเอาชนะทีมชาติฟิลิปปินส์ได้ 1-0 โดยถือเป็นแชมป์รายการแรกของปาเลสไตน์
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทีมชาติปาเลสไตน์ไม่มีการแข่งในบ้าน เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งและสงคราม ในบริเวณเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา ซึ่งการแข่งครั้งทั้งหมดจะแข่งในประเทศกาตาร์และประเทศอียิปต์ นอกจากนี้ปัญหาในทีมชาติปาเลสไตน์ที่เกิดขึ้นได้แก่ การห้ามเดินทางออกนอกประเทศของประชาชนปาเลสไตน์ ที่เกิดจากความขัดแย้งกับอิสราเอล รวมถึงการขอวีซ่าในการเข้าประเทศจากทางรัฐบาล
ในปี 2549 ได้มีภาพยนตร์ชื่อ โกลดรีมส์ (Goal Dreams) ถูกสร้างขึ้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทีมชาติปาเลสไตน์ที่พยายามจะผ่านรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 2006 และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถูกนำมาออกอากาศเป็นสารคดีในช่องสถานีบีบีซี
โดยในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบแรก ทีมชาติปาเลสไตน์ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม D ร่วมกับญี่ปุ่น ,จอร์แดน และอิรัก
เนื้อหา
ผลงาน[แก้]
ฟุตบอลโลก[แก้]
- 1930 - 1998 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 2002 - 2014 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
เอเชียนเกมส์[แก้]
- 2010 - รอบแรก
- 2014 - รอบ 16 ทีมสุดท้าย
เอเชียนคัพ[แก้]
- 1956 - 1996 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 2000 - 2011 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2015 - รอบแรก
เวสต์เอเชียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ[แก้]
- 2000 - 2014 - รอบแรก
เอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ[แก้]
- 2006 - รอบ 8 ทีมสุดท้าย
- 2008 - ถอนตัว
- 2010 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2012 - อันดับ 4
- 2014 - ชนะเลิศ
ทีมชาติชุดปัจจุบัน[แก้]
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]
- 22 ผู้เล่นที่ถูกเรียกมาติดทีมชาติในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก:
- วันที่: 11-16 มิถุนายน 2015.
- คู่แข่งขัน:
ซาอุดีอาระเบีย,
มาเลเซีย
- สนาม: สนามกีฬามุฮัมมัด บิน ฟะฮัต (อัดดัมมาม,ซาอุดิอาระเบีย) วันที่ 11 มิถุนายน 2015 และสนามกีฬาแห่งชาติบูกิตจาลิล (กัวลาลัมเปอร์,มาเลเซีย) วันที่ 16 มิถุนายน 2015
- จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2015 หลังแข่งกับ
มาเลเซีย. (ชนะ 2 - 0)
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | เตาฟีก อะลี อะบู ฮัมมัด | 08 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 (29 ปี) | 19 | 0 | ![]() | ||
16 | GK | ฆอนีม มะฮัจนา | 20 เมษายน ค.ศ. 1991 (28 ปี) | 0 | 0 | ![]() | ||
22 | GK | คอลิด อัสซัม | 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 (27 ปี) | 0 | 0 | ![]() | ||
21 | DF | มุฮัมมัด อะบู คอมิส | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 (28 ปี) | 1 | 0 | ![]() | ||
7 | DF | มุสอับ อัลบาตัด | 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 (26 ปี) | 11 | 1 | ![]() | ||
6 | DF | มะห์มูด เดฟัลละฮ์ | 1 มกราคม ค.ศ. 1990 (29 ปี) | 0 | 0 | ![]() | ||
DF | ฆาเบียร์ โคเฮน | 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1987 (32 ปี) | 1 | 1 | ![]() | |||
DF | คอลิด มะฮ์ดี | 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987 (32 ปี) | 25 | 0 | ![]() | |||
15 | DF | อับดุลลาตีฟ บะฮ์ดารี | 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 (35 ปี) | 32 | 1 | ![]() | ||
17 | DF | อเล็กซิส ปาทริซิโอ โนรัมบูเอนา | 31 มีนาคม ค.ศ. 1984 (35 ปี) | 7 | 0 | ![]() | ||
3 | MF | ฮัซซัม อะบู ศอลิฮ์ | 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 (36 ปี) | 46 | 3 | ![]() | ||
MF | ฮิลาล มูซา | 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 (29 ปี) | 4 | 0 | ![]() | |||
23 | MF | มูรัด อิสมาอิล ซะอีด | 15 ธันวาคม ค.ศ. 1982 (36 ปี) | 29 | 1 | ![]() | ||
MF | อะฮ์มัด มาฮีร | 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 (28 ปี) | 6 | 0 | ![]() | |||
MF | อิมัด ซาตารา | 1 ตุลาคม ค.ศ. 1984 (35 ปี) | 17 | 2 | ![]() | |||
MF | อับดีลฮะมิด อะบูฮะบิบ | 8 มิถุนายน ค.ศ. 1989 (30 ปี) | 17 | 4 | ![]() | |||
MF | กอดีร์ ยุสเซฟ | 10 มิถุนายน ค.ศ. 1984 (35 ปี) | 39 | 0 | ![]() | |||
FW | รามี มุซัลมีฮ์ | 2 | 0 | ![]() | ||||
19 | FW | มาเธียส จาเด กอนซาเลส | 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 (27 ปี) | 2 | 1 | ![]() | ||
12 | FW | มะห์มูด อีด | 23 มิถุนายน ค.ศ. 1993 (26 ปี) | 9 | 1 | ![]() |
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- โกลดรีมส์ ภาพยนตร์เกี่ยวกับทีมชาติปาเลสไตน์