ฮอกกี้น้ำแข็งชายทีมชาติไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮอกกี้น้ำแข็งชายทีมชาติไทย
Shirt badge/Association crest
สมาคมสมาคมกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งแห่งประเทศไทย
ผู้จัดการทั่วไปไทย ม.ล.กฤษฎา เกษมสันต์ ณ อยุธยา
หัวหน้าโค้ชไทย สุดใจ สอนใจ
ผู้ช่วยไทย อรรถพรรณ วงศ์นันทวัฒน์
กัปตันลิขิต เนียมวัน
แข่งขันสูงสุดเทวินทร์ ชาติสุวรรณ และคนอื่นอีก 3 คน (35)
ทำประตูสูงสุดเทวินทร์ ชาติสุวรรณ (88)
อักษรย่อTHA
นานาชาติครั้งแรก
 ญี่ปุ่น 39 - 0 ไทย ไทย
(อะโอะโมะริ ประเทศญี่ปุ่น; 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003)
ชัยชนะครั้งใหญ่สุด
 ไทย 29 - 0 บาห์เรน บาห์เรน
(อัสตานา ประเทศคาซัคสถาน; 29 มกราคม ค.ศ. 2011)
 ไทย 29 - 0 อินเดีย อินเดีย
(คูเวตซิตี ประเทศคูเวต; 25 เมษายน ค.ศ. 2011)
ความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่สุด
 คาซัคสถาน 52 - 1 ไทย ไทย
(ฉางชุน ประเทศจีน; 29 มกราคม ค.ศ. 2007)
เอเชียนเกมส์ฤดูหนาว
จำนวนครั้งที่แข่ง3 (ครั้งแรกใน ค.ศ. 2003)
ผลการแข่งที่ดีที่สุดอันดับ 5 (ค.ศ. 2003)
ไอ​ไอ​เอช​เอฟชาลเลนจ์คัพออฟเอเชีย
จำนวนครั้งที่แข่ง5 (ครั้งแรกใน ค.ศ. 2008)
ผลการแข่งที่ดีที่สุด (ค.ศ. 2009, 2012)
สถิติการแข่งนานาชาติ (ชนะ–แพ้–เสมอ)
25-15-1
ธีระศักดิ์ รัตนโชติ และเทวินทร์ ชาติสุวรรณ สองนักฮอกกี้น้ำแข็งทีมชาติไทย

ฮอกกี้น้ำแข็งชายทีมชาติไทย เป็นทีมชาติฮอกกี้น้ำแข็งของประเทศไทย และเป็นสมาชิกสหพันธ์กีฬาฮอกกี้น้ำแข็งนานาชาติเมื่อปี ค.ศ. 1989 ซึ่งเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการแข่งขันระดับนานาชาติ และได้รับการกล่าวถึงในหลายประเทศ รวมทั้งเป็นเจ้าของตำแหน่งรองแชมป์การแข่งขันดิวิชัน 2 ของไอ​ไอ​เอช​เอฟชาลเลนจ์คัพออฟเอเชีย 2009 เมื่อครั้งที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นเจ้าภาพ[1] และได้อันดับ 3 ในการแข่งขันไอ​ไอ​เอช​เอฟชาลเลนจ์คัพออฟเอเชีย 2011 เมื่อครั้งที่ประเทศคูเวตเป็นเจ้าภาพ[2]

ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2011 ที่ประเทศคาซัคสถาน ซึ่งการแข่งขันในนัดที่ 1 ทีมชาติไทยเป็นฝ่ายแพ้ทีมคีร์กีซสถาน 4 ประตูต่อ 15 โดยทีมชาติไทยได้รับความสนใจในช่วงพิธีเปิดจากสื่อต่างชาติเป็นอย่างสูงในฐานะทีมชาติจากประเทศเขตร้อน[3] และในการแข่งขันนัดที่ 2 ทีมไทยเป็นฝ่ายชนะทีมบาห์เรน ด้วยผลการแข่งขัน 29 ต่อ 0 [4] จากนั้น ในการแข่งขันนัดที่ 3 ทีมชาติไทยเป็นฝ่ายชนะทีมคูเวต 5 ประตูต่อ 3 [5] และในนัดที่ 4 ทีมชาติไทยเป็นฝ่ายชนะทีมมาเลเซีย 16 ประตูต่อ 1 ก่อนที่จะเป็นฝ่ายชนะทีมมองโกเลีย 7 ประตูต่อ 1 และในนัดที่ 6 ทีมชาติไทยเป็นฝ่ายชนะทีมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ด้วยผลการแข่งขัน 9 ประตูต่อ 2 โดยทีมชาติไทยได้อันดับ 2 ในระดับพรีเมียร์ดิวิชันของการแข่งขันดังกล่าว[6]

สถิติการแข่งขัน[แก้]

ข้อมูล ณ วันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2011 [7]

ทีม พบ ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
ธงชาติฮ่องกง ฮ่องกง 4 3 0 1 17 14
ธงชาติมาเก๊า มาเก๊า 2 2 0 0 9 2
ธงชาติมองโกเลีย มองโกเลีย 2 2 0 0 9 5
ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 2 1 1 0 10 4
ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน 1 1 0 0 29 0
ธงชาติอินเดีย อินเดีย 1 1 0 0 14 0
ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ 1 0 0 1 0 1
ธงชาติคีร์กีซสถาน คีร์กีซสถาน 1 0 0 1 4 15
ธงชาติจีน จีน 1 0 0 1 2 24
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 1 0 0 1 0 39
ธงชาติคาซัคสถาน คาซัคสถาน 1 0 0 1 1 52
ธงชาติจีนไทเป จีนไทเป 2 0 0 2 4 8
Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2 0 0 2 3 9

เจ้าหน้าที่[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

ข้อมูล ค.ศ. 2013 [9]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ""ฮอกกี้น้ำแข็ง" กีฬาหนาวๆ บนลาน"สเก็ต"ด้วยลูกตีเจ๋งๆ ฝีมือ"คนไทย" ก้าวไกลสู่"อินเตอร์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-30. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  2. คอลัมน์: ข่าวย่อยกีฬา​โลก: ฮอกกี้น้ำ​แข็ง​ไทย​ได้ที่ 3 ศึก​เอ​เชียที่คู​เวต
  3. ฮอกกี้น้ำแข็งไทยประเดิมอชก.ฤดูหนาวพ่ายคีร์กีซ
  4. ฮอกกี้น้ำแข็งไทยเก็บชัยนัดที่ 2 อชก.ฤดูหนาว
  5. ฮอกกี้น้ำแข็ง ไทยชนะนัด 2
  6. ฮอกกี้น้ำแข็งไทยได้ที่ 2 อชก.ฤดูหนาว
  7. THAILAND - National Teams of Ice Hockey เก็บถาวร 2016-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  8. ฮอกกี้น้ำแข็งพร้อมลุยเอเชี่ยนเกมส์ฤดูหนาว
  9. "ฮอกกี้หนุ่มไทยเจ๋งเฉือนยูเออี 3-2 ศึกชิงแชมป์อช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]