ฟุตบอลโลก
การแก้ไขบทความนี้ของผู้ใช้ใหม่หรือผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนถูกปิดใช้งาน ดูนโยบายการป้องกันและปูมการป้องกันสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม หากคุณไม่สามารถแก้ไขบทความนี้และคุณประสงค์เปลี่ยนแปลง คุณสามารถส่งคำขอแก้ไข อภิปรายการเปลี่ยนแปลงทางหน้าคุย ขอเลิกป้องกัน ล็อกอิน หรือสร้างบัญชี |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2473 (1930) |
---|---|
ภูมิภาค | นานาชาติ (ฟีฟ่า) |
จำนวนทีม | 32 (รอบสุดท้าย) |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | อาร์เจนตินา (สมัยที่ 3) |
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด | บราซิล (5 สมัย) |
เว็บไซต์ | www |
ฟุตบอลโลก 2022 |
อาร์เจนตินา ผู้ชนะเลิศในปัจจุบัน | |
การแข่งขัน | |
---|---|
ฟุตบอลโลก หรือ ฟีฟ่าเวิลด์คัพ (อังกฤษ: FIFA World Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศโดยมีชุดทีมชาติชายร่วมเข้าแข่งในกลุ่มสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) การแข่งขันจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี เริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 ใน ฟุตบอลโลก 1930 ยกเว้นในปี ค.ศ. 1942 และ 1946 ที่งดเว้นไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทีมชนะเลิศการแข่งขันครั้งล่าสุดคือทีมชาติอาร์เจนตินา ในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022
รูปแบบการแข่งขันในปัจจุบัน การแข่งขันประกอบด้วย 32 ทีม เพื่อเข้าร่วมแข่งขันในสถานที่จัดงานของประเทศเจ้าภาพ ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณ 1 เดือน การแข่งขัน 32 ทีมสุดท้ายนี้เรียกว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ส่วนในรอบคัดเลือกที่แข่งขันก่อนหน้านั้น ในปัจจุบันจะต้องใช้เวลาร่วม 3 ปี เพื่อตัดสินว่าทีมใดที่จะร่วมเข้าแข่งกับทีมประเทศเจ้าภาพ
ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 22 ครั้ง มีชาติที่ชนะเลิศการแข่งขันทั้งสิ้น 8 ชาติ ได้แก่ ทีมชาติบราซิล (5 ครั้ง) และเป็นทีมเดียวที่เข้าร่วมการแข่งขันในทุกครั้ง ส่วนชาติอื่นที่ชนะเลิศการแข่งขันได้แก่ ทีมชาติอิตาลีและทีมชาติเยอรมนี (4 ครั้ง), ทีมชาติอาร์เจนตินา 3 ครั้ง, ทีมชาติอุรุกวัย, ทีมชาติฝรั่งเศส (2 ครั้ง) และทีมชาติอังกฤษและทีมชาติสเปน (1 ครั้ง)
การแข่งขันฟุตบอลโลกถือเป็นการแข่งขันกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก มีผู้ชมราว 715.1 ล้านคนในการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเยอรมนี[1]
ตั้งแต่ ค.ศ. 1930 มีชาติที่เคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกมาแล้ว 18 ชาติ การแข่งขันในครั้งต่อไปคือ ฟุตบอลโลก 2026 จะจัดขึ้นที่ประเทศแคนาดา, สหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก ในฐานะเจ้าภาพร่วมสามชาติ โดยเม็กซิโกจะถือเป็นชาติแรกที่ได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 3 ครั้ง[2]
ประวัติ
การแข่งขันฟุตบอลนานาชาติยุคก่อน
นัดการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศเกิดขึ้นครั้งแรก ในการแข่งขันที่กลาสโกว์ ในปี ค.ศ. 1872 ระหว่างสก็อตแลนด์กับอังกฤษ[3] และในการแข่งขันชิงชนะเลิศระหว่างประเทศครั้งแรกที่ชื่อ บริติชโฮมแชมเปียนชิป ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1884[4] กีฬาฟุตบอลเติบโตในส่วนอื่นของโลกนอกเหนือจากอังกฤษในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ มีการแนะนำกีฬาและแข่งขันประเภทนี้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1900 และ 1904 และที่กีฬาโอลิมปิกซ้อน 1906[5]
หลังจากที่สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1904 ได้มีการพยายามจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงชนะเลิศระหว่างประเทศ นอกเหนือจากประเทศที่เข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ปี 1906 ที่สวิตเซอร์แลนด์ ถือเป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศในยุคแรก ๆ แต่ประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของฟีฟ่าอธิบายว่าการแข่งขันนั้นล้มเหลวไป[6]
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1908 ในกรุงลอนดอน ฟุตบอลถือเป็นหนึ่งในกีฬาที่แข่งขันอย่างเป็นทางการ จัดขึ้นโดยสมาคมฟุตบอล อังกฤษได้ดูแลในการจัดการแข่งขัน โดยผู้แข่งขันเป็นมือสมัครเล่นเท่านั้นและดูเป็นการแสดงมากกว่าการแข่งขัน โดยบริเตนใหญ่ (แข่งขันโดยทีมฟุตบอลสมัครเล่นทีมชาติอังกฤษ) ได้รับเหรียญทองในการแข่งขัน ต่อมาในโอลิมปิกฤดูร้อน 1912 ที่สต็อกโฮล์มก็มีจัดขึ้นอีก โดยการแข่งขันจัดการโดยสมาคมฟุตบอลสวีเดน
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกซึ่งแข่งขันฟุตบอลเฉพาะในทีมสมัครเล่น เซอร์โทมัส ลิปตันได้จัดการการแข่งขันที่ชื่อ การแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเซอร์โทมัสลิปตัน จัดขึ้นในตูรินในปี ค.ศ. 1909 เป็นการแข่งขันระหว่างสโมสร (ไม่ใช่ทีมชาติ) จากหลาย ๆ ประเทศ บางทีมเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศ การแข่งขันครั้งนี้บางครั้งอาจเรียกว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก[7] มีทีมอาชีพเข้าแข่งขันจากทั้งในอิตาลี เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ แต่สมาคมฟุตบอลอังกฤษปฏิเสธที่จะร่วมในการแข่งขันและไม่ส่งทีมนักฟุตบอลอาชีพมาแข่ง ลิปตันเชิญสโมสรเวสต์อ็อกแลนด์ทาวน์ จากมณฑลเดอแรม เป็นตัวแทนของอังกฤษแทน ซึ่งสโมสรเวสต์อ็อกแลนด์ทาวน์ชนะการแข่งขันและกลับมารักษาแชมป์ในปี 1911 ได้สำเร็จ
ในปี ค.ศ. 1914 ฟีฟ่าได้จำแนกการแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิกว่าเป็น "การแข่งขันชิงแชมป์สำหรับมือสมัครเล่น" และลงรับผิดชอบในการจัดการการแข่ง[8] และนี่เป็นการปูทางให้กับการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทวีปเป็นครั้งแรก โดยในโอลิมปิกฤดูร้อน 1920 ที่มีทีมแข่งขันอย่างอียิปต์และทีมจากยุโรปอีก 13 ทีม มีผู้ชนะคือทีมเบลเยี่ยม[9] ต่อมาทีมอุรุกวัย ชนะในการแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิกในอีก 2 ครั้งถัดไปคือในปี ค.ศ. 1924 และ 1928 และในปี ค.ศ. 1924 ถือเป็นยุคที่ฟีฟ่าก้าวสู่ระดับมืออาชีพ
จากความสำเร็จในการแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิก ฟีฟ่าพร้อมด้วยประธานที่ชื่อ ชูล รีเม ได้ผลักดันอีกครั้งโดยเริ่มมองหาหนทางในการจัดการแข่งขันนอกเหนือการแข่งขันโอลิมปิก ในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1928 ที่ประชุมฟีฟ่าในอัมสเตอร์ดัมตัดสินใจที่จะจัดการแข่งขันด้วยตัวเอง[10] กับอุรุกวัย ที่เป็นแชมเปียนโลกอย่างเป็นทางการ 2 ครั้ง และเพื่อเฉลิมฉลอง 1 ศตวรรษแห่งอิสรภาพของอุรุกวัยในปี ค.ศ. 1930 ฟีฟ่าได้ประกาศว่าอุรุกวัยเป็นประเทศเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก
สมาคมฟุตบอลของประเทศที่ได้รับการเลือก ได้รับการเชิญให้ส่งทีมมาร่วมแข่งขัน แต่เนื่องจากอุรุกวัยที่เป็นสถานที่จัดงาน นั่นหมายถึงระยะทางและค่าใช้จ่ายที่ต้องเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมาจากฝั่งยุโรปมา ซึ่งแท้จริงแล้ว ไม่มีประเทศไหนในยุโรปตอบตกลงว่าจะส่งทีมมาร่วม จนกระทั่ง 2 เดือนก่อนการแข่งขัน ในที่สุดริเมตจึงสามารถเชิญทีมจากเบลเยี่ยม ฝรั่งเศส โรมาเนีย และยูโกสลาเวีย มีทีมเข้าร่วมทั้งหมด 13 ทีม โดยมี 7 ทีมจากทวีปอเมริกาใต้ 4 ทีมจากยุโรป และ 2 ทีมจากอเมริกาเหนือ
2 นัดแรกของการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก จัดขึ้นในวันเดียวกันเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 ผู้ชนะคือทีมฝรั่งเศส และทีมสหรัฐอเมริกา ชนะเม็กซิโก 4–1 และเบลเยี่ยม 3–0 ตามลำดับ โดยผู้ทำประตูแรกในฟุตบอลโลกมาจากลุกแซง โลร็องต์ จากฝรั่งเศส[11] ในนัดตัดสินทีมชาติอุรุกวัยชนะทีมชาติอาร์เจนตินา 4–2 ต่อหน้าผู้ชม 93,000 คนที่เมืองมอนเตวิเดโอ ทีมอุรุกวัยจึงเป็นชาติแรกที่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก[12]
ฟุตบอลโลกก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
หลังจากที่เกิดการแข่งขันฟุตบอลโลกขึ้นแล้ว ในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1932 ที่จัดขึ้นที่เมืองลอสแอนเจลิส ก็ไม่ได้รวมการแข่งขันฟุตบอลเข้าไปด้วย เนื่องจากความไม่ได้รับความนิยมในกีฬาฟุตบอลในสหรัฐอเมริกา ในขณะที่อเมริกันฟุตบอลได้รับความนิยมมากขึ้น ทางฟีฟ่าและคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ที่มีความคิดเห็นต่างกันในเรื่องผู้เล่นในฐานะมือสมัครเล่น ดังนั้นจึงไม่มีการแข่งขันฟุตบอลในเกมนี้[13] แต่ต่อมาฟุตบอลได้กลับมาในกีฬาโอลิมปิกใน โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 แต่ถูกลดความสำคัญลง เพราะความมีชื่อเสียงของฟุตบอลโลก
ประเด็นในการจัดการแข่งขันในช่วงแรกของฟุตบอลโลกที่เป็นความยากลำบากในการเดินทางข้ามทวีปและสงครามนั้น มีทีมจากอเมริกาใต้บางทีมยินดีที่จะเดินทางไปยุโรปในการแข่งขันในปี 1934 และ 1938 โดยทีมบราซิลเป็นทีมเดียวในอเมริกาใต้ที่เข้าแข่งขันทั้ง 2 ครั้งนี้ ส่วนการแข่งขันฟุตบอลโลก 1942 และ 1946 ได้มีการยกเลิกไปเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สองและพักจากผลกระทบของสงครามโลก
ฟุตบอลโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ฟุตบอลโลก 1950 จัดขึ้นที่ประเทศบราซิล เป็นครั้งแรกที่สหราชอาณาจักรเข้าร่วมการแข่งขัน ทีมสหราชอาณาจักรถอนตัวจากฟีฟ่าในปี ค.ศ. 1920 ที่ไม่พอใจในบางส่วนที่ต้องเล่นกับประเทศที่พวกเขาทำสงครามด้วย และบางส่วนเพื่อประท้วงด้านอิทธิพลและการบังคับจากต่างชาติ[14] แต่ก็กลับเข้ามาร่วมในปี ค.ศ. 1946 หลังจากได้รับคำเชื้อเชิญจากฟีฟ่า[15] การแข่งขัน ทีมแชมเปียนอย่างอุรุกวัยก็กลับเข้ามาร่วม หลังจากที่คว่ำบาตรฟุตบอลโลกก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง โดยทีมอุรุกวัยชนะในการแข่งขันอีกครั้ง หลังจากที่ชนะประเทศเจ้าภาพบราซิล นัดการแข่งขันนี้เรียกว่า "มารากานาซู" (โปรตุเกส: Maracanaço)
ในการแข่งขันระหว่างปี ค.ศ. 1934 และ 1978 มีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 16 ทีม ยกเว้นในปี ค.ศ. 1938 เมื่อออสเตรียรวมเข้ากับเยอรมนี หลังจากรอบคัดเลือก ทำให้มีทีมแข่งขันเหลือเพียง 15 ทีม และในปี ค.ศ. 1950 เมื่ออินเดีย สก็อตแลนด์ และตุรกี ถอนตัวจากการแข่งขัน ทำให้มีทีมร่วมแข่งขันเพียง 13 ทีม[16] ทีมที่เข้าร่วมแข่งขันส่วนใหญ่เป็นทีมจากยุโรปและอเมริกาใต้ มีส่วนน้อยจากอเมริกาเหนือ แอฟริกา เอเชียและโอเชียเนีย ทีมเหล่านี้มักจะแพ้อย่างง่ายดายกับทีมจากยุโรปและอเมริกาใต้ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1982 มีทีมนอกเหนือจากยุโรปและอเมริกาใต้ที่เข้าสอบรอบสุดท้าย คือ ทีมสหรัฐอเมริกา เข้ารอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1930, ทีมคิวบาเข้ารอบรองชนะเลิศใน ปี ค.ศ. 1938, ทีมเกาหลีเหนือ เข้าสู่รอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1966 และทีมเม็กซิโกเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1970
ขยายเป็น 32 ทีม
การแข่งขันขยายเป็น 24 ทีมในปี ค.ศ. 1982[17] จากนั้นเป็น 32 ทีมในปี ค.ศ. 1998[18] ทำให้มีทีมจากแอฟริกา เอเชียและอเมริกาเหนือเข้ารอบมากขึ้น และในปีครั้งหลัง ๆ ทีมในภูมิภาคเหล่านี้ก็ประสบความสำเร็จมากขึ้น และสามารถติดในรอบก่อนรองชนะเลิศมากขึ้น ได้แก่ ทีมเม็กซิโก เข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1986, ทีมแคเมอรูน เข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1990, ทีมเกาหลีใต้ได้อันดับ 4 ในปี ค.ศ. 2002, ขณะที่ทีมเซเนกัลและสหรัฐอเมริกา ทั้ง 2 ทีมเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 2002 และทีมกานา เข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศในปี 2010 แต่ถึงอย่างไรก็ตามทีมจากยุโรปและอเมริกาใต้ก็ยังคงมีความโดดเด่นอยู่ เช่นในปี ค.ศ. 1998 และ 2006 ที่ทีมทั้งหมดในรอบรองชนะเลิศมาจากยุโรปและอเมริกาใต้
ในฟุตบอลโลก 2002 ในรอบคัดเลือก มีทีมเข้าร่วมคัดเลือก 200 ทีม และในฟุตบอลโลก 2006 มีทีมที่พยายามเข้าคัดเลือก 198 ทีม ขณะที่ในฟุตบอลโลก 2010 มีประเทศที่เข้าร่วมรอบคัดเลือก 204 ทีม ซึ่งถือเป็นสถิติเป็นปีที่มีประเทศเข้าคัดเลือกมากที่สุด[19]
ขยายเป็น 48 ทีม
ต่อมาการแข่งขันขยายเป็น 48 ทีมในปี ค.ศ. 2026 โดยโควต้าของแต่ละทวีปจะมีต่างกันคือ เอเชีย 8.5 ทีม, โอเชียเนีย 1.5 ทีม, แอฟริกา 9 ทีม, อเมริกาเหนือ 5.5 ทีม, ยุโรป 16 ทีม, อเมริกาใต้ 6.5 ทีม และประเทศเจ้าภาพอีก 1 ทีม
การแข่งขันอื่นของฟีฟ่า
ในการแข่งขันของฟุตบอลสำหรับผู้หญิง คือ ฟุตบอลโลกหญิง จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1991 ที่ประเทศจีน[20] ฟุตบอลโลกหญิงจะมีการแข่งขันที่เล็กกว่าฟุตบอลของผู้ชาย แต่กำลังเติบโตอยู่เรื่อย ๆ มีทีมเข้าร่วมแข่งขันในปี ค.ศ. 2007 อยู่ 120 ทีม มากกว่า 2 เท่าของในปี ค.ศ. 1991
กีฬาฟุตบอลนั้นได้มีอยู่ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนทุก ๆ ครั้ง ยกเว้นในปี ค.ศ. 1896 และ 1932 แตกต่างจากกีฬาประเภทอื่นซึ่งในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิก ทีมที่ร่วมแข่งจะไม่ใช่ทีมระดับสูงสุด จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1992 ที่แต่เดิมให้ผู้แข่งขันอายุ 23 ปีเข้าแข่งขัน แต่ก็อนุญาตให้มีผู้เล่นที่อายุมากกว่า 23 ปี จำนวน 3 คนของแต่ละทีม ลงแข่งขันได้[21] ส่วนฟุตบอลหญิงในโอลิมปิก แข่งขันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1996 เป็นการแข่งขันทีมชาติเต็มทีม ไม่มีจำกัดอายุ
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นก่อน 1 ปีที่จะมีการแข่งขันฟุตบอลโลก ในประเทศเจ้าภาพที่จะแข่งขัน เหมือนเป็นการอุ่นเครื่องฟุตบอลโลกที่จะมาถึง เป็นการแข่งขันระหว่างผู้ชนะเลิศจากแต่ละภูมิภาคทั่วโลก (เอเชียนคัพ แอฟริกันคัพ โกลด์คัพ โกปาอาเมริกา เนชันส์คัพ และ ฟุตบอลยูโร) พร้อมทั้งทีมที่ชนะฟุตบอลโลกครั้งล่าสุดและทีมเจ้าภาพ[22]
ฟีฟ่าจะจัดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนระดับนานาชาติ (ฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี, ฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 17 ปี, ฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 20 ปี, ฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 17 ปี, การแข่งขันฟุตบอลระหว่างสโมสร (ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ), และการแข่งขันฟุตบอลอื่นเช่น ฟุตซอล (ฟุตซอลชิงแชมป์โลก) และฟุตบอลชายหาด (ฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์โลก)
ถ้วยรางวัล
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถึง 1970 ถ้วยรางวัลชูลส์รีเมต์เป็นถ้วยที่มอบให้แก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลก เดิมทีเรียกง่ายๆ ว่า เวิลด์คัพ (อังกฤษ: World Cup) หรือ คูปดูมอนด์ (ฝรั่งเศส: Coupe du Monde) แต่ในปี ค.ศ. 1946 ได้เปลี่ยนชื่อตามประธานฟีฟ่า ที่ชื่อ ชูลส์ รีเมต์ ที่ได้ริเริ่มการแข่งขันครั้งแรก และเมื่อในปี ค.ศ. 1970 เมื่อทีมบราซิลชนะการแข่งขันเป็นครั้งที่ 3 ได้ครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์จากการที่ได้แชมป์ 3 สมัย แต่ในปี ค.ศ. 1983 ถ้วยถูกขโมยไปและไม่มีใครได้เห็นอีกเลย[23]
หลังจากปี ค.ศ. 1970 ก็มีถ้วยรางวัลใหม่ ที่รู้จักในชื่อ ถ้วยรางวัลฟีฟ่าเวิลด์คัพ โดยผู้เชี่ยวชาญของฟีฟ่าที่มาจาก 7 ประเทศ ประเมินจากแบบ 53 แบบ จนสรุปที่ผลงานการออกแบบของนักออกแบบชาวอิตาลีที่ชื่อซิลวีโอ กัซซานีกา (Silvio Gazzaniga) ถ้วยรางวัลใหม่นี้มีความสูง 36 ซม. (14.2 นิ้ว) ทำจากทองคำ 18 กะรัต (75%) น้ำหนัก 6.175 กก. (13.6 ปอนด์) ฐานของถ้วยมีเส้น 2 ชั้นทำจากมรกต ในส่วนใต้ฐานของถ้วยรางวัลสลักปีและชื่อของทีมผู้ชนะเลิศฟุตบอลโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 ผู้ออกแบบอธิบายถ้วยรางวัลนี้ว่า "เส้นที่โดดเด่นจากฐาน ที่หมุนรอบนั้นได้ขยายเพื่อรองรับโลก จากแรงดึงที่เคลื่อนที่ที่โดดเด่นของในส่วนตัวของถ้วยของประติมากรรมนี้ ได้ช่วยให้รูปร่างนักกีฬาดูเคลื่อนไหวไปกับห้วงเวลาแห่งชัยชนะ"[24]
ชาติผู้ชนะไม่ได้กรรมสิทธิ์การครอบครองถ้วยถาวร แต่ผู้ชนะฟุตบอลโลกจะเก็บถ้วยไว้จนกว่าจะถึงการแข่งขันครั้งต่อไป และจะได้ถ้วยจำลองจากทองผสมไปแทน[25]
ในปัจจุบัน สมาชิกทุกคน (ทั้งผู้เล่นและโค้ช) ของทีมใน 3 อันดับแรกจะได้รับเหรียญตรารูปถ้วยฟุตบอลโลก ผู้ชนะได้เหรียญทอง รองชนะเลิศได้เหรียญเงิน และที่ 3 ได้เหรียญทองแดง นอกจากนั้นในปี ค.ศ. 2002 มีการมอบเหรียญที่ 4 ให้ประเทศเจ้าภาพคือเกาหลีใต้ ก่อนหน้าการแข่งขันปี ค.ศ. 1978 จะมอบเหรียญให้กับ ผู้เล่นเพียง 11 คน ในนัดสุดท้ายของการแข่งขันรวมถึงนัดการแข่งขันชิงที่ 3 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ฟีฟ่าประกาศว่าสมาชิกทุกคนของทีมผู้ชนะในการแข่งขันฟุตบอลโลกระหว่างปี ค.ศ. 1930 และ 1974 จะได้รับรางวัลย้อนหลังเป็นเหรียญตรา[26][27][28]
รูปแบบการแข่งขัน
รอบคัดเลือก
ตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ 1934 ก็เริ่มมีการจัดการแข่งขันคัดเลือกเพื่อจำกัดทีมในรอบสุดท้ายให้น้อยลง[29] จัดในเขตการแข่งขันทั้ง 6 เขตของฟีฟ่า (แอฟริกา, เอเชีย, อเมริกาเหนือและกลางและแคริบเบียน, อเมริกาใต้, โอเชียเนีย, และยุโรป) ตรวจสอบโดยสมาพันธ์ที่เกี่ยวข้อง ในการแข่งขันในแต่ละครั้ง ฟีฟ่าจะกำหนดล่วงหน้าเรื่องจำนวน ว่าจะมีกี่ทีมในแต่ละเขตที่จะได้เข้าสู่รอบสุดท้าย โดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของทีมของสมาพันธ์
กระบวนการคัดเลือก จะเริ่มในเกือบ 3 ปีก่อนที่จะแข่งรอบสุดท้ายและจะสิ้นสุดในช่วง 2 ปีก่อนการแข่งขัน รูปของการแข่งขันรอบคัดเลือกจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสมาพันธ์ โดยปกติแล้ว ที่ 1 หรือ 2 อันดับแรกที่ชนะเพลย์ออฟระหว่างทวีป ตัวอย่างเช่น ผู้ชนะของเขตโอเชียเนีย และที่ 5 ของทีมในโซนเอเชีย จะแข่งรอบเพลย์ออฟในฟุตบอลโลก 2010[30] และจากฟุตบอลโลก 1938 เป็นต้นมา ประเทศเจ้าภาพจะเข้าสู่รอบสุดท้ายโดยทันที และทีมแชมป์จะเข้ารอบสุดท้ายเพื่อป้องกันตำแหน่งในระหว่างปี 1938 และ 2002 แต่ในปี 2006 ได้งดไป ทีมบราซิลที่ชนะในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 เป็นทีมแรกที่แข่งขันรอบคัดเลือกเพื่อป้องกันตำแหน่ง[31]
รอบสุดท้าย
การแข่งขันรอบสุดท้ายปัจจุบัน มีทีมเข้าแข่งขัน 32 ชาติ ที่จะแข่งขันนานร่วม 1 เดือน ในประเทศเจ้าภาพการแข่งขัน โดยแบ่งเป็น 2 รอบคือ รอบแรก (แบ่งกลุ่ม) และรอบแพ้คัดออก[32]
ในรอบแบ่งกลุ่ม จะแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี 4 ทีม โดยมี 8 ทีม (รวมถึงประเทศเจ้าภาพด้วย) ที่จะถูกเลือกออกมาจากอันดับโลกฟีฟ่า และ/หรือ ผลการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ผ่านมา ทั้ง 8 ทีมจะถูกแยกออกไปในแต่ละกลุ่ม[33] ส่วนทีมที่เหลือจะใส่ลงโถ โดยมากเป็นแบ่งจากเขตทางภูมิศาสตร์ แต่ละทีมในโถจะจับสลากกลุ่มที่อยู่ และตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1998 มีข้อบังคับว่าในแต่ละกลุ่มจะไม่มีทีมจากยุโรปมากกว่า 2 ทีม และมากกว่า 1 ทีม จากสมาพันธ์ฟุตบอลของแต่ละทวีปอื่น[34]
แต่ละทีมในกลุ่มจะแข่งแบบพบกันหมด กล่าวคือแต่ละทีมจะแข่ง 3 นัด กับทีมอื่นในกลุ่มจนครบ ส่วนนัดสุดท้ายของการแข่งขันแบ่งกลุ่มจะแข่งเวลาเดียวกัน เพื่อให้ความยุติธรรมกับทั้ง 4 ทีม[35] ทีมที่มีคะแนนสูงสุด 2 อันดับแรกในกลุ่มจะเข้าสู่รอบแพ้คัดออก โดยคะแนนมาจากการทำคะแนนในการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่ม โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 กำหนดให้ทีมผู้ชนะได้ 3 คะแนน ทีมที่เสมอได้ 1 คะแนน และทีมที่แพ้ไม่ได้คะแนน (ก่อนหน้านี้ ทีมที่ชนะได้ 2 คะแนน)
อันดับของแต่ละทีมในกลุ่ม พิจารณาจาก[36]
- จำนวนคะแนนในกลุ่ม
- จำนวนความแตกต่างในการทำประตูในกลุ่ม
- จำนวนการทำประตูในกลุ่ม
- ถ้าหากยังอยู่ในระดับเท่ากัน จะพิจารณาเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
- จำนวนคะแนนในนัดที่ทีมเหล่านั้นเจอกัน
- จำนวนความแตกต่างในนัดที่ทีมเหล่านั้นเจอกัน
- จำนวนประตูในนัดที่ทีมเหล่านั้นเจอกัน
- หากทีมยังอยู่ในระดับเท่ากันอีก หลังจากพิจารณาเกณฑ์ด้านบน จะใช้อันดับโลกฟีฟ่าในการพิจารณา
รอบแพ้คัดออก แต่ละรอบจะแข่งกันเพียงครั้งเดียว โดยจะหลังต่อเวลาพิเศษและยิงลูกโทษหากไม่สามารถทำประตูได้ โดยเริ่มที่รอบ 16 ทีมสุดท้าย (หรือรอบที่ 2) ผู้ชนะจะเข้าแข่งต่อในรอบ 8 ทีมสุดท้าย และนำไปสู่รอบรองชนะเลิศ นัดชิงอันดับที่สาม (แข่งจากผู้แพ้ในรอบรองชนะเลิศ) และนัดชิงชนะเลิศ[32]
เจ้าภาพ
ขั้นตอนการคัดเลือก
การคัดเลือกเจ้าภาพในครั้งแรก ๆ จัดขึ้นในการประชุมของสภาฟีฟ่า สถานที่การจัดการแข่งขันมักเกิดความขัดแย้งเนื่องจาก ทวีปอเมริกาใต้และยุโรป ไกลเกินกว่าจะเป็นศูนย์กลางของทีมที่แข็งแกร่งและต้องใช้เวลาในการเดินทางนาน 3 สัปดาห์ โดยเรือ การตัดสินใจเลือกประเทศอุรุกวัยเป็นประเทศเจ้าภาพครั้งแรกนั้น เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน มีทีมจากประเทศยุโรปเพียง 4 ทีมที่เข้าแข่งขัน[37] ส่วนเจ้าภาพในอีก 2 ครั้งถัดมาจัดขึ้นในยุโรป ในการจัดการแข่งขันที่ประเทศเจ้าภาพคือ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งก็เกิดข้อขัดแย้งขึ้นมา เพราะจัดในฝั่งยุโรปเพื่อให้เข้าใจว่า สถานที่จัดนั้นจะสลับกันไปมาระหว่าง 2 ทวีป ซึ่งทั้งอาร์เจนตินาและอุรุกวัย คว่ำบาตรฟุตบอลโลก 1938[38]
ตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1958 เป็นต้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรและข้อขัดแย้งในอนาคต ฟีฟ่าได้เริ่มรูปแบบที่ชัดเจน โดยเลือกประเทศเจ้าภาพสลับกัน 2 ทวีป ระหว่างทวีปอเมริกาและยุโรป ดำเนินมาถึงฟุตบอลโลก 1998 จนฟุตบอลโลก 2002 ที่ประเทศเจ้าภาพคือเกาหลีใต้และญี่ปุ่น เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปเอเชีย และเป็นครั้งเดียวของการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยมีเจ้าภาพร่วมกัน[39] และในฟุตบอลโลก 2010 แอฟริกาใต้ ก็เป็นชาติแรกในทวีปแอฟริกาที่ได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ส่วนการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 จะจัดขึ้นที่ประเทศบราซิล เป็นเจ้าภาพครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978[40] และถือเป็นครั้งแรกที่ฟุตบอลโลกจัด 2 ครั้งติดต่อกัน นอกยุโรป
การคัดเลือกประเทศเจ้าภาพจะผ่านการลงคะแนนจากคณะผู้บริหารระดับสูงของฟีฟ่า โดยการทำบัตรลงคะแนนที่รัดกุม สมาคมฟุตบอลแห่งชาติของแต่ละประเทศที่ต้องการเสนอตนเป็นเจ้าภาพ จะได้รับหนังสือ "ข้อตกลงการเป็นประเทศเจ้าภาพ" จากฟีฟ่า ที่อธิบายถึงขั้นตอนและสิ่งที่ต้องการและคาดหวังจากการประมูล สมาคมที่ประมูลก็ได้รับแบบฟอร์ม เรื่องการยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ ในการยืนยันอย่างเป็นทางการในการเป็นผู้เสนอตัวเป็นประเทศเจ้าภาพ หลังจากนั้นฟีฟ่าจะแต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบเดินทางไปประเทศที่เสนอตัว เพื่อตรวจสอบสิ่งที่ต้องการต่าง ๆ ในการจัดการแข่งขันและรายงานที่ประเทศนั้นอำนวยการสร้าง โดยการตัดสินใจคัดเลือกว่าประเทศใดเป็นประเทศเจ้าภาพนั้น โดยมากจะตัดสินใจล่วงหน้า 6-7 ปีก่อนปีที่จัด อย่างไรก็ตาม มีบางครั้งที่มีการประกาศประเทศเจ้าภาพหลายเจ้าภาพในเวลาเดียวกัน เช่นในกรณี ฟุตบอลโลก 2018 และ 2022
สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 และ 2014 เจ้าภาพที่เลือกจำกัดขึ้นเฉพาะประเทศที่เลือกจากเขตสมาพันธ์ (แอฟริกา ในฟุตบอลโลก 2010 และอเมริกาใต้ ในฟุตบอลโลก 2014) ที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ นโยบายการหมุนเวียนนี้เกิดขึ้นหลังจากข้อพิพาท ที่เจ้าภาพเยอรมนีชนะการลงคะแนนเสียงเหนือแอฟริกาใต้ ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 อย่างไรก็ตามนโยบายการหมุนเวียนทวีป จะไม่มีต่อไปหลังปี 2014 ดังนั้นไม่ว่าจะประเทศใด (ยกเว้นประเทศที่เป็นเจ้าภาพ 2 ครั้งก่อน) ก็สามารถเสนอตัวเป็นประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลกได้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018[41]
ผลการแข่งขันของเจ้าภาพ
ผู้ชนะในการแข่งขันฟุตบอลโลก 6 ทีม จาก 8 ทีมที่ได้รับตำแหน่งชนะเลิศในการเป็นเจ้าภาพ ยกเว้นทีมบราซิล ที่แพ้ในนัดชิงชนะเลิศในนัดที่บ้านเกิดในปี ค.ศ. 1950 และสเปน ที่ได้ที่ 2 ในบ้านเกิดในปี ค.ศ. 1982 ส่วนอังกฤษ (ค.ศ. 1966) และฝรั่งเศส (ค.ศ. 1998) ได้รับตำแหน่งชนะเลิศเพียงครั้งเดียวในครั้งที่ประเทศของตนเป็นประเทศเจ้าภาพ ในขณะที่อุรุกวัย (ค.ศ. 1930), อิตาลี (ค.ศ. 1934) และอาร์เจนตินา (ค.ศ. 1978) ชนะครั้งแรกในการเป็นประเทศเจ้าภาพ แต่ในปีถัดมาก็ได้รับตำแหน่งชนะเลิศอีก ขณะที่เยอรมนี (ค.ศ. 1974) ชนะเลิศครั้งที่ 2 ในครั้งที่เป็นประเทศเจ้าภาพ
ส่วนชาติอื่นที่ประสบความสำเร็จในครั้งที่เป็นประเทศเจ้าภาพ เช่น สวีเดน (ที่ 2 ในปี ค.ศ. 1958), ชิลี (ที่ 3 ในปี ค.ศ. 1962), เกาหลีใต้ (ที่ 4 ในปี ค.ศ. 2002) และเม็กซิโก (รอบ 8 ทีมสุดท้ายทั้งในปี 1970 และ 1986) ทุกทีมที่เป็นเจ้าภาพ มีผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการแข่งขัน เว้นแต่ แอฟริกาใต้ (ค.ศ. 2010) ที่เป็นประเทศเจ้าภาพประเทศเดียวที่ตกรอบตั้งแต่รอบแรก
การจัดการและสื่อครอบคลุม
ฟุตบอลโลกเผยแพร่ภาพทางโทรทัศน์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1954 และปัจจุบันถือเป็นรายการโทรทัศน์งานแข่งขันกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก มากกว่างานแข่งขันโอลิมปิกเสียอีก โดยมีผู้ชมรวมในทุกนัดการแข่งขันของฟุตบอลโลก 2006 มีราว 26.29 พันล้านคน[1] มีผู้ชม 715.1 ล้านคนเฉพาะในนัดตัดสิน (1 ใน 9 ของประชากรโลก) ส่วนในรอบคัดเลือกในรอบแบ่งกลุ่ม มีผู้ชม 300 ล้านคน[42]
การแข่งขันฟุตบอลโลกในแต่ละครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1966 เป็นต้นมาจะมีสิ่งนำโชค (มาสคอต) หรือโลโก้ประจำของการแข่งขัน ซึ่งสิ่งนำโชคตัวแรกของฟุตบอลโลกคือ วิลลี สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 1966[43] ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลครั้งล่าสุด (2010) มีการออกแบบลูกฟุตบอล เป็นพิเศษสำหรับการแข่งขัน
ผลการแข่งขัน
- หมายเหตุ
- ↑ ไม่มีประกาศที่ 3 อย่างเป็นทางการในนัดปี ค.ศ. 1930 โดยทีมสหรัฐอเมริกาและทีมยูโกสลาเวียแพ้ในรอบรองชนะเลิศ แต่ต่อมาฟีฟ่าได้ให้ทีมสหรัฐอเมริกาได้ที่ 3 ส่วนทีมยูโกสลาเวียได้ที่ 4 โดยใช้กติกา ดูผลของทีมตลอดทั้งการแข่งขัน[44]
- ↑ 2.0 2.1 ไม่มีนัดชิงชนะเลิศในฟุตบอลโลก 1950[45] เพราะการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศใช้แบบ 4 ทีม แต่ชัยชนะของอุรุกวัยต่อบราซิล 2-1 เป็นการตัดสินเพราะแต้มเพียงพอต่อการเป็นแชมป์ อันดับในรอบชิงชนะเลิศ: (1) อุรุกวัย (2) บราซิล (3) สวีเดน (4) สเปน[46] ซึ่งบังเอิญว่า 1 ใน 2 นัดสุดท้ายของการแข่งขัน ทีม 2 อันดับแรกแข่งขันด้วยกัน ซึ่งอุรุกวัยชนะบราซิล จึงถือว่าเป็นผลการตัดสินรอบสุดท้ายไปโดยปริยายของฟุตบอลโลก 1950[47]ขณะที่ทีมที่คะแนนน้อยที่สุด ที่เล่นในเวลาเดียวกับที่อุรุกวัยเจอกับบราซิล ก็ถือว่าเป็นนัดชิงอันดับ 3 ซึ่งสวีเดนชนะสเปนไป 3-1
ในการแข่งขันทั้งหมด ใน 76 ชาติ ที่เข้าร่วมแข่งฟุตบอลโลกอย่างน้อย 1 ครั้งนั้น[48] โดยมี 8 ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลก ซึ่งพวกเขาจะได้ติดดาวประดับอยู่บนเสื้อ ตามจำนวนครั้งที่ชนะเลิศฟุตบอลโลก (อย่างไรก็ตาม อุรุกวัยถือเป็นข้อยกเว้นสำหรับกฎนี้ ทีมอุรุกวัยเลือกที่จะเลือกดาว 4 ดวงประดับบนเสื้อ แสดงถึงการได้เหรียญทอง 2 เหรียญในโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 และ 1928 และชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก 2 ครั้งในปี 1930 และ 1950)
บราซิลเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดกับชัยชนะ 5 ครั้งในฟุตบอลโลก และเป็นชาติเดียวที่ได้แข่งฟุตบอลโลกทุกครั้ง (19 ครั้ง) นับถึงปัจจุบัน[49] และพวกเขาก็จะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 20 ในปี ค.ศ. 2014 และทีมที่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก 2 ครั้งติดต่อกันคือ ทีมอิตาลี (1934 และ 1938) และทีมบราซิล (1958 และ 1962) ส่วนทีมที่เข้าสู่นัดตัดสินติดต่อกัน 3 ครั้งได้แก่ทีมเยอรมนี (1982–1990) และทีมบราซิล (1994–2002) นอกจากนั้นทีมเยอรมนียังเป็นทีมที่ติดในรอบ 4 ทีมสุดท้ายมากที่สุด ถึง 12 ครั้ง ขณะที่ติด 2 ทีมสุดท้ายมากที่สุดเทียบเท่ากับทีมบราซิล ที่ 7 ครั้ง
ผู้ชนะเลิศฟุตบอลโลก
ชนะเลิศ | ทีม | ปี |
---|---|---|
5 | บราซิล | 1958, 1962, 1970, 1994, 2002 |
4 | อิตาลี | 1934, 1938, 1982, 2006 |
4 | เยอรมนี | 1954, 1974, 1990, 2014 |
3 | อาร์เจนตินา | 1978, 1986, 2022 |
2 | อุรุกวัย | 1930, 1950 |
2 | ฝรั่งเศส | 1998, 2018 |
1 | อังกฤษ | 1966 |
1 | สเปน | 2010 |
ทีมที่ติด 4 อันดับแรก
ทีม | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | ที่ 3 | ที่ 4 | จำนวนครั้ง 4 อันดับ |
จำนวนครั้ง 3 อันดับ |
จำนวนครั้ง 2 อันดับ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
บราซิล | 5 (1958, 1962, 1970, 1994, 2002) | 2 (1950*, 1998) | 2 (1938, 1978) | 2 (1974, 2014*) | 11 | 9 | 7 |
เยอรมนี^ | 4 (1954, 1974*, 1990, 2014) | 4 (1966, 1982, 1986, 2002) | 4 (1934, 1970, 2006*, 2010) | 1 (1958) | 13 | 12 | 8 |
อิตาลี | 4 (1934*, 1938, 1982, 2006) | 2 (1970, 1994) | 1 (1990*) | 1 (1978) | 8 | 7 | 6 |
อาร์เจนตินา | 3 (1978*, 1986, 2022) | 3 (1930, 1990, 2014) | — | — | 5 | 5 | 5 |
ฝรั่งเศส | 2 (1998*, 2018) | 2 (2006, 2022) | 2 (1958, 1986) | 1 (1982) | 6 | 5 | 3 |
อุรุกวัย | 2 (1930*, 1950) | — | — | 3 (1954, 1970, 2010) | 5 | 2 | 2 |
อังกฤษ | 1 (1966*) | — | — | 2 (1990, 2018) | 3 | 1 | 1 |
สเปน | 1 (2010) | — | — | 1 (1950) | 2 | 1 | 1 |
เนเธอร์แลนด์ | — | 3 (1974, 1978, 2010) | 1 (2014) | 1 (1998) | 5 | 4 | 3 |
เชโกสโลวาเกีย# | — | 2 (1934, 1962) | — | — | 2 | 2 | 2 |
ฮังการี | — | 2 (1938, 1954) | — | — | 2 | 2 | 2 |
สวีเดน | — | 1 (1958*) | 2 (1950, 1994) | 1 (1938) | 4 | 3 | 1 |
โครเอเชีย | — | 1 (2018) | 2 (1998, 2022) | — | 3 | 2 | 1 |
โปแลนด์ | — | — | 2 (1974, 1982) | — | 2 | 2 | — |
ออสเตรีย | — | — | 1 (1954) | 1 (1934) | 2 | 1 | — |
โปรตุเกส | — | — | 1 (1966) | 1 (2006) | 2 | 1 | — |
เบลเยียม | — | — | 1 (2018) | 1 (1986) | 2 | 1 | — |
สหรัฐ | — | — | 1 (1930) | — | 1 | 1 | — |
ชิลี | — | — | 1 (1962*) | — | 1 | 1 | — |
ตุรกี | — | — | 1 (2002) | — | 1 | 1 | — |
ยูโกสลาเวีย# | — | — | — | 2 (1930, 1962) | 2 | — | — |
สหภาพโซเวียต# | — | — | — | 1 (1966) | 1 | — | — |
บัลแกเรีย | — | — | — | 1 (1994) | 1 | — | — |
เกาหลีใต้ | — | — | — | 1 (2002*) | 1 | — | — |
โมร็อกโก | — | — | — | 1 (2022) | 1 | — | — |
- * = เป็นเจ้าภาพ
- ^ = รวมกับทีมเยอรมนีตะวันตกระหว่างปี ค.ศ. 1954 ถึง 1990
- # = ทีมที่มีการแยกประเทศออกภายหลัง[48]
ผลงานที่ดีที่สุดในแต่ละทวีป
ถึงวันนี้ ในรอบตัดสินของฟุตบอลโลกล้วนแต่มีแต่ทีมจากยุโรปและอเมริกาใต้ ทีมจากยุโรปชนะ 10 ครั้ง ทีมจากอเมริกาใต้ชนะ 9 ครั้ง มีเพียง 2 ทีมนอกเหนือจากทวีปทั้ง 2 นี้ที่เข้าสู่รอบรองชนะเลิศ คือทีมสหรัฐอเมริกา (ในเขตอเมริกาเหนือ อเมริกากลางและแคริบเบียน) ในปี ค.ศ. 1930 และทีมเกาหลีใต้ (เขตเอเชีย) ที่เข้ารอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 2002 ส่วนผลที่ดีที่สุดของทีมจากแอฟริกาคือเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ ได้แก่ ทีมแคเมอรูน ในปี ค.ศ. 1990 ทีมเซเนกัล ในปี ค.ศ. 2002 และทีมกานา ในปี ค.ศ. 2010 และทีมจากเขตโอเชียเนีย ที่ผ่านเข้ารอบคือ ทีมออสเตรเลีย ในปี ค.ศ. 2006 เข้าสู่รอบ 2 ได้[50]
ทีมบราซิล อาร์เจนตินา และสเปน เป็นทีมที่สามารถชนะฟุตบอลโลกนอกทวีปของตัวเองได้ บราซิลได้รับชัยชนะในยุโรป (ค.ศ. 1958) อเมริกาเหนือ (ค.ศ. 1970 และ 1994) และในเอเชีย (ค.ศ. 2002) ส่วนทีมอาร์เจนตินาชนะฟุตบอลโลกในอเมริกาเหนือในปี ค.ศ. 1986 ขณะที่ทีมจากสเปนชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกในแอฟริกาในปี ค.ศ. 2010 นอกเหนือจากนั้นแล้ว มี 3 ครั้งที่ทีมชนะติดต่อกันในฟุตบอลโลกจากทีมในทวีปเดียวกัน คือ อิตาลีและบราซิลป้องกันแชมป์ได้ในปี ค.ศ. 1938 และ 1962 ตามลำดับ ขณะที่ทีมจากสเปนชนะการแข่งขันในฟุตบอลโลก 2010 ถัดจากทีมอิตาลี ในปี ค.ศ. 2006
เอเอฟซี | ซีเอเอฟ | คอนคาแคฟ | คอนเมบอล | โอเอฟซี | ยูฟ่า | รวม | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ทีม | 37 | 44 | 42 | 85 | 4 | 245 | 457 |
Top 16 | 6 | 9 | 14 | 35 | 1 | 91 | 156 |
Top 8 | 2 | 3 | 5 | 34 | 0 | 100 | 144 |
Top 4 | 1 | 0 | 1 | 22 | 0 | 60 | 84 |
Top 2 | 0 | 0 | 0 | 14 | 0 | 28 | 42 |
1 | 0 | 0 | 0 | 9 | 0 | 12 | 21 |
2 | 0 | 0 | 0 | 5 | 0 | 16 | 21 |
3 | 0 | 0 | 1 | 3 | 0 | 18 | 22 |
4 | 1 | 1 | 0 | 5 | 0 | 15 | 22 |
รางวัลฟุตบอลโลก
เมื่อจบการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในแต่ละปี จะมีการจัดรางวัลให้กับทีมและผู้เล่นในด้านต่าง ๆ ในปัจจุบันมี 6 รางวัล[51]
- รางวัลบอลทองคำ สำหรับผู้เล่นยอดเยี่ยม พิจารณาจากการลงคะแนนของสมาชิกสื่อมวลชน (เริ่มมีการมอบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1982) และรางวัลบอลเงินและบอลทองแดง ให้กับผู้เล่นยอดเยี่ยมอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ[52]
- รางวัลรองเท้าทองคำ สำหรับผู้ทำประตูสูงสุดในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในแต่ละปี (เริ่มมีการมอบรางวัลครั้งแรกในปี ค.ศ. 1982 แต่ก็มีผลย้อนหลังในทุกการแข่งขันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930) ส่วนรางวัลรองเท้าเงิน และรองเท้าทองแดง มอบให้กับผู้ทำประตูในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายอันดับ 2 และอันดับ 3 ตามลำดับ[53]
- รางวัลถุงมือทองคำ (แต่เดิมใช้ชื่อรางวัลยาชิน) มอบให้กับผู้รักษาประตูยอดเยี่ยม ตัดสินโดยกลุ่มศึกษาด้านเทคนิคฟีฟ่า (เริ่มมีการมอบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1994)[54]
- รางวัลดาวรุ่งยอดเยี่ยม สำหรับดาวรุ่งยอดเยี่ยม ที่อายุไม่เกิน 21 ปี นับจากปีเกิด ตัดสินโดยกลุ่มศึกษาด้านเทคนิคฟีฟ่า (เริ่มมีการมอบครั้งแรกในปี ค.ศ. 2006)[55]
- รางวัลทีมที่เล่นขาวสะอาด สำหรับทีมเล่นที่มีสถิติการเล่นขาวสะอาดที่สุด นับจากระบบการให้คะแนนและเกณฑ์ของคณะกรรมการการเล่นอย่างขาวสะอาดของฟีฟ่า (FIFA Fair Play Committee) (เริ่มมีการมอบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1978)[55]
- รางวัลทีมที่น่าสนใจ หรือทีมที่เล่นได้สนุกที่สุด สำหรับทีมที่ให้ความบันเทิงกับผู้ชมมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลก ตัดสินจากแบบสำรวจจากผู้ชม (เริ่มมีการมอบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1994)[55]
ทีมรวมดารา เป็นทีมที่รวบรวมรายชื่อนักฟุตบอลยอดเยี่ยม 23 คนจากนักฟุตบอลทั้งหมด ของการแข่งขันแต่ละครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998
การบันทึกและสถิติ
มีนักฟุตบอล 2 คนที่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกสูงสุดคือ อันโตเนียว การ์บาคัล จากเม็กซิโก (1950–1966) และ โลทาร์ มัทเทอูส (1982–1998) ทั้งคู่เข้าร่วมการแข่งขันในฟุตบอลโลก 5 ครั้ง[56] โดยมัทเทอูสเป็นผู้เล่นลงสนามในฟุตบอลโลกสูงสุดคือ 25 นัด[57] ขณะที่เปเล่จากบราซิลเป็นผู้เล่นคนเดียวที่ได้รับเหรียญจากฟุตบอลโลก 3 ครั้ง (1958, 1962, และ 1970)[58] ส่วนผู้เล่นคนอื่นอีก 20 คนได้รับเหรียญจากการชนะเลิศ 2 ครั้ง[59] ฟรันซ์ เบคเคนเบาเออร์จากเยอรมนี (1966–1974) เป็นผู้เล่นคนเดียวที่ได้ลงแข่งในทีมรวมดารา ถึง 3 ครั้ง และยังเป็นผู้เล่นคนเดียวที่ได้รับเหรียญทั้ง 3 แบบ คือเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง
ผู้เล่นทำประตูสูงสุดในฟุตบอลโลก คือ มิโรสลาฟ โคลเซ (2002–2014) จากเยอรมนี ทำประตูได้ 16 ประตู รองลงมาคือ โรนัลโด จากบราซิล ทำประตูได้ 15 ประตู (1994–2010) ผู้เล่นทำประตูได้เป็นอันดับ 3 คือ แกร์ด มึลเลอร์ จากเยอรมนีตะวันตก (1970–1974) ทำประตูได้ 14 ประตู[60] ผู้เล่นทำประตูได้เป็นอันดับ 4 คือ ชุสต์ ฟงแตน จากฝรั่งเศส และยังถือสถิติทำประตูสูงสุดในฟุตบอลโลก 1 ครั้ง คือ 13 ประตูในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1958[61]
มาริโอ ซากัลโล จากบราซิล และ ฟรันซ์ เบคเคนเบาเออร์ จากเยอรมนีตะวันตก เป็นผู้เดียวจนถึงวันนี้ที่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกในฐานะผู้เล่นและหัวหน้าโค้ช ซากัลโลชนะในฐานะผู้เล่นในปี ค.ศ. 1958 และ 1962 และในฐานะหัวหน้าโค้ชในปี ค.ศ. 1970[62] เบคเคนเบาเออร์ชนะในฐานะผู้เล่นในตำแหน่งกัปตันทีมในปี ค.ศ. 1974 และในฐานะหัวหน้าโค้ชในปี ค.ศ. 1990[63] และวิตโตริโอ ปอซโซ เป็นโค้ชคนเดียวที่ทำให้ทีมชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกได้ 2 ครั้ง (1934 และ 1938)[64] และหัวหน้าโค้ชในฟุตบอลโลกทุกครั้งล้วนแต่เป็นคนจากประเทศนั้นที่นำชัยชนะมาได้
ในบรรดาทีมชาติทั้งหมด ทีมเยอรมนีเป็นทีมที่มีจำนวนนัดในการลงแข่งขันมากที่สุด คือ 99 นัด[65] และทำประตูในฟุตบอลโลกมากที่สุดคือ 224 ประตู
อันดับผู้ทำประตู
อันดับ | ผู้เล่น | ทีม | ทำประตู | จำนวนนัด | อัตราการยิง | ทัวร์นาเมนต์ | ข้อมูล |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | มีโรสลัฟ โคลเซอ♦ | เยอรมนี | 16 | 24 | 0.67 | 2002, 2006, 2010, 2014 | list[67] |
2 | โรนัลโด♦ | บราซิล | 15 | 19 | 0.79 | [1994], 1998, 2002, 2006 | list[68] |
3 | แกร์ด มึลเลอร์ | เยอรมนีตะวันตก | 14 | 13 | 1.08 | 1970, 1974 | list[69] |
4 | ชุสต์ ฟงแตน♦ | ฝรั่งเศส | 13 | 6 | 2.17 | 1958 | list[70] |
ลิโอเนล เมสซิ♦# | อาร์เจนตินา | 26 | 0.50 | 2006, (2010), 2014, 2018, 2022 | list[71][72] | ||
6 | เปเล่ | บราซิล | 12 | 14 | 0.86 | 1958, 1962, 1966, 1970 | list[73] |
กีลียาน อึมบาเป# | ฝรั่งเศส | 14 | 0.86 | 2018, 2022 | list | ||
8 | ซานดอร์ ค็อกซิส♦ | ฮังการี | 11 | 5 | 2.20 | 1954 | list[74] |
เยือร์เกิน คลินส์มันน์ | เยอรมนีตะวันตก เยอรมนี |
17 | 0.65 | 1990, 1994, 1998 |
list[75] |
ตารางเวลาแชมป์ของฟุตบอลโลก
ตำแหน่ง | ชื่อทีม | เข้าร่วม | Pld | W | D | L | GF | GA | GD | Pts | Avg Pts |
ถ้วยรางวัล |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | บราซิล | 21 | 109 | 73 | 18 | 18 | 229 | 105 | 124 | 237 | 2.17 | 5 |
2 | เยอรมนี[76] | 19 | 109 | 67 | 20 | 22 | 226 | 125 | 101 | 221 | 2.03 | 4 |
3 | อิตาลี | 18 | 83 | 45 | 21 | 17 | 128 | 77 | 51 | 156 | 1.88 | 4 |
4 | อาร์เจนตินา | 17 | 81 | 43 | 15 | 23 | 137 | 93 | 44 | 144 | 1.78 | 2 |
5 | ฝรั่งเศส | 15 | 66 | 34 | 13 | 19 | 120 | 77 | 43 | 115 | 1.74 | 2 |
6 | อังกฤษ | 15 | 69 | 29 | 21 | 19 | 91 | 64 | 27 | 108 | 1.59 | 1 |
7 | สเปน | 15 | 63 | 30 | 15 | 18 | 99 | 72 | 27 | 105 | 1.67 | 1 |
8 | อุรุกวัย | 13 | 56 | 24 | 12 | 20 | 87 | 74 | 13 | 84 | 1.50 | 2 |
ดูเพิ่ม
- รายชื่อฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศ
- ทีมชาติที่ลงแข่งขันฟุตบอลโลก
- ฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี
- ฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 17 ปี
- ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก
- ฟุตบอลโลกหญิง
- ฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์โลก
- ฟุตซอลชิงแชมป์โลก
- ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
- ฟุตบอลโอลิมปิก
เชิงอรรถและอ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "2006 FIFA World Cup broadcast wider, longer and farther than ever before". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-24. สืบค้นเมื่อ 11 October 2009.
- ↑ "FIFA". fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "England National Football Team Match No. 1". England Football Online. สืบค้นเมื่อ 19 November 2007.
- ↑ "British PM backs return of Home Nations championship". Agence France-Presse. สืบค้นเมื่อ 16 December 2007.
- ↑ Elbech, Søren; Stokkermans, Karel (26 June 2008). "Intermediate Games of the IV. Olympiad". rec.sport.soccer Statistics Foundation.
- ↑ "History of FIFA – FIFA takes shape". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-09. สืบค้นเมื่อ 19 November 2007.
- ↑ "'The First World Cup'. The Sir Thomas Lipton Trophy". Shrewsbury and Atcham Borough Council. 10 October 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-11-29. สืบค้นเมื่อ 11 April 2006.
- ↑ "History of FIFA – More associations follow". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-09. สืบค้นเมื่อ 19 November 2007.
- ↑ Reyes, Macario (18 October 1999). "VII. Olympiad Antwerp 1920 Football Tournament". rec.sport.soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 10 June 2006.
- ↑ "History of FIFA – The first FIFA World Cup". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 19 November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-09. สืบค้นเมื่อ 2010-09-08.
- ↑ Molinaro, John F. "Lucien Laurent: The World Cup's First Goal Scorer". CBC. สืบค้นเมื่อ 6 May 2007.
- ↑ "FIFA World Cup Origin" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-14. สืบค้นเมื่อ 19 November 2007.
- ↑ "The Olympic Odyssey so far... (Part 1: 1908–1964)". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-11. สืบค้นเมื่อ 8 January 2008.
- ↑ "Scotland and the 1950 World Cup". BBC. สืบค้นเมื่อ 2007-05-13.
- ↑ Glanville
- ↑ Glanville, p45
- ↑ Glanville, p238
- ↑ Glanville, p359
- ↑ "Record number of 204 teams enter preliminary competition". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-17. สืบค้นเมื่อ 19 November 2007.
- ↑ "FIFA Women's World Cup". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-21. สืบค้นเมื่อ 22 December 2007.
- ↑ "Regulations Men's Olympic Football Tournament 2008" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 22 December 2007.
- ↑ "FIFA Confederations Cup". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-06. สืบค้นเมื่อ 22 December 2007.
- ↑ "Jules Rimet Trophy". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-18. สืบค้นเมื่อ 19 November 2007.
- ↑ "FIFA World Cup Trophy". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-28. สืบค้นเมื่อ 19 November 2007.
- ↑ "FIFA Assets – Trophy". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-04. สืบค้นเมื่อ 19 November 2007.
- ↑ "122 forgotten heroes get World Cup medals". ESPNSoccernet.com. ESPN. 25 November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-20. สืบค้นเมื่อ 2010-10-25.
- ↑ "World Cup 1966 winners honoured". BBC Sport. 10 June 2009.
- ↑ "Jimmy Greaves finally gets his 1966 World Cup medal". Mirror.co.uk. MGN.
- ↑ "FIFA World Cup qualifying: Treasure-trove of the weird and wonderful". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-08. สืบค้นเมื่อ 23 December 2007.
- ↑ "2010 World Cup Qualifying". ESPNSoccernet.com. ESPN. 26 November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 23 December 2007.
- ↑ "History of the FIFA World Cup Preliminary Competition (by year)" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-14. สืบค้นเมื่อ 2010-10-30.
- ↑ 32.0 32.1 "Formats of the FIFA World Cup final competitions 1930–2010" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-30. สืบค้นเมื่อ 1 January 2008.
- ↑ "FIFA World Cup: seeded teams 1930–2010" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-07-08. สืบค้นเมื่อ 2010-10-31.
- ↑ ก่อนหน้านี้ เนื่องจากมีทีมจากยุโรปเข้ารอบตัดสินมากกว่า จึงมีหลายครั้งที่มี 3 ทีมในยุโรปอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่นในปี ค.ศ. 1986 (เยอรมนีตะวันตก, สก็อตแลนด์ และ เดนมาร์ก), ค.ศ. 1990 (อิตาลี, เชกโกสโลวาเกีย และ ออสเตรีย) และ ค.ศ. 1994 (อิตาลี, ไอร์แลนด์ และนอร์เวย์) ("History of the World Cup Final Draw" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-07-08. สืบค้นเมื่อ 2010-10-31.)
- ↑ เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1986 เพราะเคยเกิดกรณีไม่เป็นธรรมก่อนหน้านี้ ตัวอย่างเช่น การแข่งขันของ อาร์เจนตินา-เปรู (6-0) ในฟุตบอลโลก 1978 และเยอรมนีตะวันตก-ออสเตรีย (1-0) ในฟุตบอลโลก 1982 ที่ทีมที่แข่งที่หลังได้ใช้ประโยชน์จากการรู้คะแนนในนัดก่อนหน้า ("1978 Argentina". CBC.; "1982 Spain". CBC.)
- ↑ "Regulations of the 2010 FIFA World Cup" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. p. 41. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-10-20. สืบค้นเมื่อ 21 June 2010.
- ↑ "Uruguay 1930". BBC Sport. 11 April 2002. สืบค้นเมื่อ 13 May 2006.
- ↑ "France 1938". BBC Sport. 17 April 2002. สืบค้นเมื่อ 13 May 2006.
- ↑ "Asia takes World Cup center stage". CNN. 3 June 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-01. สืบค้นเมื่อ 1 January 2008.
- ↑ "Brazil will stage 2014 World Cup". BBC Sport. 10 October 2007. สืบค้นเมื่อ 1 January 2008.
- ↑ "Rotation ends in 2018". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-01. สืบค้นเมื่อ 10 October 2007.
- ↑ "Socceroos face major challenge: Hiddink". ABC Sport. 10 December 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-30. สืบค้นเมื่อ 13 May 2006.
- ↑ "FIFA Assets – Mascots". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-04. สืบค้นเมื่อ 19 November 2007.
- ↑ "1930 FIFA World Cup". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-12. สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
- ↑ "1950 FIFA World Cup". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-10. สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
- ↑ "FIFA World Cup Finals since 1930" (PDF). Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-03. สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|owrk=
ถูกละเว้น (help) - ↑ "FIFA World Cup Finals since 1930" (PDF). Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-03. สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|owrk=
ถูกละเว้น (help) - ↑ 48.0 48.1 ฟีฟ่าถือว่าฟุตบอลทีมชาติรัสเซียรับช่วงต่อจากฟุตบอลทีมชาติสหภาพโซเวียต, ฟุตบอลทีมชาติเซอร์เบีย รับช่วงต่อจากฟุตบอลทีมชาติยูโกสลาเวีย/ฟุตบอลทีมชาติเซอร์เบียและมอนเตเนโกร, และฟุตบอลทีมชาติสาธารณรัฐเช็กและฟุตบอลทีมชาติสโลวาเกีย ทั้ง 2 ทีม รับช่วงต่อจากฟุตบอลทีมชาติเชโกสโลวาเกีย ("Russia". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-01. สืบค้นเมื่อ 2010-11-14.; "Serbia". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-28. สืบค้นเมื่อ 2010-11-14.; "Czech Republic". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-17. สืบค้นเมื่อ 2010-11-14.; "Slovakia". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 2010-11-14.)
- ↑ "Brazil". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-19. สืบค้นเมื่อ 2010-11-14.
- ↑ Australia's qualification in 2006 was through the Oceanian zone as they were a member of the OFC member during qualifying. However, on 1 January 2006, they left the Oceania Football Confederation and joined the Asian Football Confederation.
- ↑ "FIFA World Cup awards" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
- ↑ "Golden Ball for Zinedine Zidane". Soccerway. 10 July 2006. สืบค้นเมื่อ 31 December 2007.
- ↑ "adidas Golden Shoe – FIFA World Cup Final". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 4 March 2009.
- ↑ "Kahn named top keeper". BBC Sport. 30 June 2002. สืบค้นเมื่อ 31 December 2007.
- ↑ 55.0 55.1 55.2 Pierrend, José Luis (18 May 2007). "FIFA Awards". rec.sport.soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 8 January 2008.
- ↑ Yannis, Alex (10 November 1999). "Matthaus Is the Latest MetroStars Savior". New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 December 2007.
- ↑ "World Cup Hall of Fame: Lothar Matthaeus". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-27. สืบค้นเมื่อ 23 December 2007.
- ↑ Kirby, Gentry (5 July 2006). "Pele, King of Futbol". ESPN. สืบค้นเมื่อ 23 December 2007.
- ↑ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ฟีฟ่าประกาศว่าผู้ที่เล่นที่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกระหว่างปี 1930-1974 จะได้รับเหรียญรางวัลย้อนหลัง ทำให้เปเล่เป็นส่วนหนึ่งของผู้ได้รับเหรียญในฟุตบอลโลก 3 ครั้ง รวมถึงในปี ค.ศ. 1962 ที่เขาไม่ได้เล่นในนัดตัดสินเนื่องจากบาดเจ็บ ("122 forgotten heroes get World Cup medals". ESPNSoccernet.com,. ESPN. 25 November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-20. สืบค้นเมื่อ 2010-10-25.
{{cite news}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)) - ↑ Chowdhury, Saj (27 June 2006). "Ronaldo's riposte". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 23 December 2007.
- ↑ "Goal machine was Just superb". BBC Sport. 4 April 2002. สืบค้นเมื่อ 23 December 2007.
- ↑ Hughes, Rob (11 March 1998). "No Alternative to Victory for National Coach : 150 Million Brazilians Keep Heat on Zagalo". International Herald Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 31 December 2007.
- ↑ Brewin, John (21 December 2007). "World Cup Legends – Franz Beckenbauer". ESPNSoccernet.com. ESPN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-19. สืบค้นเมื่อ 31 December 2007.
- ↑ "1938 France". CBC. สืบค้นเมื่อ 31 December 2007.
- ↑ "Germany move ahead of Brazil". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-09. สืบค้นเมื่อ 6 July 2010.
- ↑ "FIFA World Cup All Time Statistics — All editions". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 5, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-09-14.
- ↑ "Miroslav Klose". FIFA. 2014-07-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-07-30.
- ↑ "Ronaldo". FIFA. 2014-07-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2008. สืบค้นเมื่อ 2014-07-30.
- ↑ "Gerd Mueller". FIFA. 2014-07-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-07-30.
- ↑ "Just Fontaine". FIFA. 2014-07-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-07-30.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ2018gs
- ↑ "Lionel Messi". FIFA. 2014-07-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 21, 2008. สืบค้นเมื่อ 2014-07-30.
- ↑ "Pelé (Edson Arantes do Nascimento)". FIFA. 2014-07-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 20, 2008. สืบค้นเมื่อ 2014-07-30.
- ↑ "Sandor Kocsis". FIFA. 2014-07-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-07-30.
- ↑ "Juergen Klinsmann". FIFA. 2014-07-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 15, 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-07-30.
- ↑ includes results of เยอรมนีตะวันตก from 1954 to 1990
บรรณานุกรม
- Glanville, Brian (2005). The Story of the World Cup. Faber. p. 44. ISBN 0-571-22944-1.
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของฟีฟ่า เก็บถาวร 2007-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งก่อนหน้า เก็บถาวร 2013-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน