ปฏิวัติ คำไหม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิวัติ คำไหม
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ปฏิวัติ คำไหม
วันเกิด 24 ธันวาคม พ.ศ. 2537 (29 ปี)
สถานที่เกิด จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
ส่วนสูง 1.86 m (6 ft 1 in)
ตำแหน่ง ผู้รักษาประตู
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
แบงค็อก ยูไนเต็ด
หมายเลข 1
สโมสรเยาวชน
2552–2555 อัสสัมชัญ ยูไนเต็ด
2555–2557 เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2557–2559 เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด 0 (0)
2557อัสสัมชัญ ยูไนเต็ด (ยืมตัว)
2559–2561 พัทยา ยูไนเต็ด 44 (0)
2562–2565 สมุทรปราการ ซิตี้ 52 (0)
2565– แบงค็อก ยูไนเต็ด 12 (0)
2566เมืองทอง ยูไนเต็ด (ยืมตัว) 14 (0)
ทีมชาติ
2564– ไทย 6 (0)
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2566
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 1 มกราคม 2567

ปฏิวัติ คำไหม (24 ธันวาคม พ.ศ. 2538 —) เป็นนักฟุตบอลชาวไทย ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งผู้รักษาประตูให้กับแบงค็อก ยูไนเต็ดในไทยลีก และทีมชาติไทย

สโมสร[แก้]

อัสสัมชัญ ยูไนเต็ด[แก้]

ปฏิวัติได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี จึงมีสิทธิ์ได้โควตาในการเล่นฟุตบอลให้กับอัสสัมชัญ ยูไนเต็ด ชุดเยาวชน[1]

เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด[แก้]

เมื่อครั้งที่ปฏิวัติยังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เขาได้เซ็นสัญญาอาชีพกับเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด สโมสรพันธมิตรของอัสสัมชัญ อย่างไรก็ตาม เขาแทบไม่ได้รับโอกาสลงสนาม และถูกปล่อยยืมตัวให้กับพัทยา ยูไนเต็ด อยู่ 2 ปี[1]

พัทยา ยูไนเต็ด และสมุทรปราการ ซิตี้[แก้]

ในฤดูกาล 2560 ปฏิวัติได้ย้ายจากเมืองทองไปยังพัทยา หลังจากที่เคยเล่นให้กับพัทยาด้วยสัญญายืมตัว เขาได้รับการคัดเลือกจากสุรพงษ์ คงเทพ ให้เป็นผู้รักษาประตูมือหนึ่งของสโมสร[1]

หลังจบฤดูกาล 2561 พัทยา ยูไนเต็ด ได้ย้ายที่ตั้งสนามและเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็นสมุทรปราการ ซิตี้ ซึ่งปฏิวัติ คำไหม ยังคงเล่นให้กับสโมสรต่อไป

ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ไทยลีกนัดที่สมุทรปราการเปิดบ้านเอาชนะชลบุรีไปได้ 1–0 ปฏิวัติได้รับบาดเจ็บที่กระดูกหน้าแข้งขวา ทำให้เขาไม่สามารถลงเล่นให้กับสโมสรในนัดที่เหลือของฤดูกาล[2] อย่างไรก็ตาม จากผลงานที่ยอดเยี่ยมในเดือนก่อนหน้านั้น ทำให้เขาได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมของไทยลีก ประจำเดือนมิถุนายน 2562[3]

เกียรติประวัติ[แก้]

รางวัลส่วนตัว
  • ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำเดือนของไทยลีก: มิถุนายน 2562[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "7 เด็กปั้นเมืองทองที่ไปได้ดีทีมอื่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-02. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ปราการซิตี้ทรุด ปฏิวัติ มือกาวแข้งหัก". โกล ประเทศไทย. 7 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. 3.0 3.1 "ไร้พ่ายทั้งคู่! "มาโน-ปฏิวัติ" คว้ายอดเยี่ยมไทยลีก มิ.ย." โกล ประเทศไทย. 19 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)